การลุกจากที่นอน


[ 11 มี.ค. 2554 ] - [ 18257 ] LINE it!

">
การลุกจากที่นอน
">

รายละเอียดการลุกจากที่นอน, การบริหารร่างกายที่พอดี และข้อควรระวังในการบริหารร่างกาย

">
การลุกจากที่นอน
         
">
          ตะแคงตัวไปด้านใดด้านหนึ่ง แล้วก็ดันตัวขึ้นมาสู่ท่านั่ง (รูปที่ 5-(60-64))
 
">
ตะแคงตัวไปด้านใดด้านหนึ่ง
 
ดันตัวขึ้นมาสู่ท่านั่ง

             จัดท่าทางให้อยู่ในท่าพื้นฐาน โดยยืดตัวขึ้น ดึงหน้าท้องให้แฟบ และยืดอกขึ้น พร้อมทั้งดึงกระดูกสะบักด้านหลังให้ชิดกัน คางชิดคอ หน้าตั้งตรง ให้หลังคอและท้ายทอยยืดตรง สูดลมหายใจเข้า ช้าๆ ลึกๆ ให้ทรวงอกขยายเต็มที่ แล้วหายใจออกผ่อนคลาย เป็นการจัดสมดุลร่างกายให้พร้อมกระทำกิจวัตร กิจกรรมต่อไป
 
บริหารร่างกายแค่ไหนจึงจะพอดี
             คนเราต้องฝึกบริหารร่างกายอย่างน้อยวันละครั้ง แต่ดีที่สุดควรเป็น วันละ 2-3 ครั้ง คือ ตอนเช้าเมื่อตื่นนอน ตอนกลางวันช่วงพักจากการทำงาน และตอนเย็นก็บริหารอีกรอบ เพื่อจัดโครงสร้างของร่างกายให้เข้าที่ก่อนจะพักผ่อน
 
            
การบริหารจะเกิดประสิทธิผลอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน ถ้าร่างกายเสียสมดุลเพียงเล็กน้อย ครั้นฝึกเพียงเล็กน้อยก็เข้าที่แล้ว คนที่เสียสมดุลมาก เวลาฝึกจะรู้สึกว่ายาก กรณีเช่นนี้ต้องทำหลายๆ ครั้ง โครงสร้างจึงจะเข้าที่
">
 
          มีคนไข้คนหนึ่ง ปวดหลัง ปวดคอ ทรมานมาก ครั้นมาฝึกท่าบริหาร ในช่วงแรก เขารู้สึกว่า เป็นเรื่องยากมาก แต่ครั้นพอรู้สึกว่า ตนมีอาการดีขึ้น เขาก็เกิดกำลังใจบริหารร่างกายทุกๆ 3 ชั่วโมง 3 วันต่อมา ก็เปลี่ยนเป็นทุกๆ 4 ชั่วโมง เดี๋ยวนี้เขาบริหารร่างกาย วันละ 1-2 ครั้ง ก็รู้สึกสบายแล้ว
 
ข้อควรระวังในการบริหารร่างกาย
">
            สิ่งที่ต้องระวังในการบริหารร่างกาย คือ อย่าบริหารผิดท่าต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามรายละเอียดที่แนะนำไว้ข้างต้น บางคนนั่งดึงแขนแต่หลังงอ เพียงเท่านี้ก็ถือว่าผิดแล้ว หรือเมื่อเหยียดแขน ถ้ายกไหล่ด้วย ก็จะทำให้กล้ามเนื้อเคลื่อนไปอยู่ผิดที่ เป็นต้น
 
            
ต้องตระหนักไว้เสมอว่า ขณะที่เราฝึกท่าต่างๆ ต้องให้กระดูกสันหลังอยู่ในแนวที่ถูกต้อง การวางอวัยวะต่างๆ เช่น แขน ขา ฯลฯ ต้องอยู่ในตำแหน่งถูกต้องตามที่กำหนดไว้
">
">
">
">
">
">
 
จาก...หนังสือสุขภาพนักสร้างบารมี


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
นิสัยดีมีอุปการะต่อการรักษาสมดุลโครงสร้างของร่างกายนิสัยดีมีอุปการะต่อการรักษาสมดุลโครงสร้างของร่างกาย

“คิริมานันทสูตร” -  ตัวอย่างพระสูตรที่ว่าด้วยการหายอาพาธของพระคิริมานนท์“คิริมานันทสูตร” - ตัวอย่างพระสูตรที่ว่าด้วยการหายอาพาธของพระคิริมานนท์

การสร้างนิสัยดีตามพุทธวิธีการสร้างนิสัยดีตามพุทธวิธี



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

สุขภาพและวิธีการดูแลสุขภาพของนักสร้างบารมี