การจัดโต๊ะหมู่บูชาพระ 3 4 5 7 9 โต๊ะหมู่เฉลิมพระเกียรติ


[ 3 ส.ค. 2554 ] - [ 18459 ] LINE it!

ศาสนพิธีของศาสนาพุทธ
ศาสนพิธีทางพระพุทธศาสนาและหน้าที่ชาวพุทธ
 
การจัดโต๊ะหมู่บูชา
 
การจัดโต๊ะหมู่บูชา
 
การจัดโต๊ะหมู่บูชาเป็นวัฒนธรรมประจำชาติไทยมานาน 
 
     การจัดโต๊ะหมู่บูชา  เป็นวัฒนธรรมประจำชาติไทยมานาน  แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่ามีมาแต่สมัยใด  ปัจจุบันในพิธีเกี่ยวกับพระสงฆ์ในราชพิธี รัฐพิธี  หรือราษฎร์พิธี  เป็นงานมงคลหรืออวมงงคลก็ตาม  นิยมตั้งโต๊ะหมู่ทั้งสิ้น  การจัดโต๊ะหมู่บูชามีจุดประสงค์ เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปพร้อมเครื่องบูชาตามคตินิยมของชาวพุทธ  เท่าที่ปรากฏในสมัยพุทธกาลพุทธบริษัท 4 มีความประสงค์จะบำเพ็ญกุศลอย่างใดอย่างหนึ่ง  นิยมนิมนต์พระภิกษุสงฆ์มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประมุขในงานกุศลนั้นๆ  เพื่อต้องการให้พระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ พร้อมบริบรูณ์
 
     ดังนั้น  ศาสนพิธีต่างๆ ทางพระพุทธศาสนาจึงนิยมอัญเชิญพระพุทธรูปเป็นนิมิตแทนพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาประดิษฐานไว้ในพิธีด้วย  เพื่อให้พระรัตนตรัยครบบริบรูณ์ดังกล่าวแล้ว  แต่การอัญเชิญพระพุทธรูปมาประดิษฐานนั้น  ต่อมาวิวัฒนาการเป็นโต๊ะหมู่บูชาขึ้น  ดังปรากฏในปัจจุบันนี้และมีหลายรูปแบบ  ในปัจจุบันการตั้งโต๊ะหมู่บูชา  นอกจากจะเป็นวัฒนธรรมประเพณีที่สำคัญ  และได้กลายเป็นมรดกของชาติส่วนหนึ่งแล้ว  ยังถือเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยอีก
 
ปัจจุบันการตั้งโต๊ะหมู่บูชา นิยมตั้งใน 2 กรณี คือ
 
      1.  ในพิธีทางพระพุทธศาสนา เช่น  การทำบุญ ฟังเทศน์  เป็นต้น
 
      2.  ในพิธีถวายพระพร  หรือตั้งรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  และพระบรมราชินีนาถ
 
การจัดโต๊ะหมู่ถวายพระพร
 
การจัดโต๊ะหมู่ในพิธีถวายพระพร 
 
 
 
 
 
     การจัดเครื่องบูชาบนโต๊ะหมู่ถือว่าเป็นสิ่งที่ความสำคัญ  ผู้จัดจึงมักทำด้วยความประณีตบรรจง  เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความเคารพต่อพระรัตนตรัย  และเพื่อแสดงถึงศิลปะในการจัดเครื่องบูชา นอกจากนี้หลักเกณฑ์และวิธีจัดก็ถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก  ผู้จัดโต๊ะหมู่บูชาควรทราบหลักเกณฑ์และวิธีจัดโต๊ะหมู่บูชาแบบต่างๆ ไว้  เพื่อจะจัดให้ถูกต้อง  โดยมีหลักเกณฑ์การจัด คือ การตั้งเครื่องบูชาทุกชนิดจะต้องไม่สูงกว่าพระพุทธรูปที่ประดิษฐานที่โต๊ะหมู่บูชา  ส่วนปริมาณอาจแตกต่างกันตามประเภทของโต๊ะหมู่
 
ข้อควรระวังในการจัดโต๊ะหมู่บูชา
  
     1.  หากไม่มีโต๊ะหมู่  จะใช้ตั่งหรือโต๊ะอื่นๆ ที่พอเหมาะ  ลักษณะไม่สูงไม่ต่ำและใหญ่เกินไปที่สะอาดแทนก็ได้ 
 
     2.  ถ้าชุบน้ำยางที่ไส้เทียนและที่ปลายธูปสักเล็กน้อยก่อนจุดไฟ  จะช่วยให้จุดง่ายขึ้น 
 
     3.  การตั้งเครื่องบูชานั้น  ควรจัดให้เรียบร้อยงามตา  อย่าให้มีสิ่งใดบังพระพุทธรูป  ไม่ควรเอาเครื่องบูชาตั้งเสมอพระพุทธรูป 
 
     4.  การตั้งโต๊ะหมู่  ควรตั้งเบื้องขวาของพระภิกษุสงฆ์เสมอ  โดนเรียงเป็นแถวแนวเดียวกัน  ถ้าหากพื้นที่มีจำกัด  ก็ให้พระพุทธรูปผินพระพักตร์มาทางพระสงฆ์  โดยไม่ตรงแถวเดียวกันก็ได้
 
เครื่องสักการบูชาพระรัตนตรัยบนโต๊ะหมู่บูชา
 
     ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา  ทั้งงานมงคลและงานอวมงคล  มีเครื่องสักการะ 3 อย่าง คือ 1 ธูป 2. เทียน 3. ดอกไม้
 
ธูปสำหรับบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบนโต๊ะหมู่บูชา
  
     1.  นิยมจุด 3 ดอก เป็นอย่างน้อย  โดยหมายถึง พระพุทธคุณ 3 ประการ คือ พระปัญญาธิคุณ  พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ  จึงใช้ธูป 3 ดอก จุดบูชาพระคุณทั้ง 3 นี้
 
     2.  แต่บางท่านก็อธิบายว่า ธูป 3 ดอกนั้นบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 3 ประเภท  คือ  พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีต  พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในอนาคต  พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในปัจจุบัน
 
     3.  ธูปมีกลิ่นหอม  ที่แตกต่างจากกลิ่นหอมใดๆ ในทางโลก  เมื่อบุคคลสูดกลิ่นแล้ว  ทำให้กิเลสยุบตัวลง  ทำให้จิตใจสงบไม่ฟุ้งซ่าน  ธูปนั้นแม้ไฟไหม้หมดแล้ว  กลิ่นยังหอมอบอวลอยู่ในบริเวณนั้นเป็นเวลานาน  ดังพระคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เป็นที่ซาบซึ้งถึงจิตใจของบุคคลทั้งหลายสิ้นกาลนาน
 
เทียนสำหรับบูชาพระธรรมบนโต๊ะหมู่บูชา
 
     นิยมจุดบูชาครั้งละ 2 เล่ม  เป็นอย่างน้อย  โดยหมายถึง  พระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่แยกออกเป็น 2 ประเภท  คือ
 
     1.  พระวินัย  สำหรับฝึกหัดกาย  วาจา  ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
 
     2.  พระธรรมสำหรับอบรมจิตใจ  ให้สงบระงับความชั่วทุจริตทุกประการ  นำแสงสว่างแห่งปัญญามาสู่จิตใจ  เหมือนแสงเทียนกำจัดความมืด  นำความสว่างมาสู่ที่นั้นๆ
 
ดอกไม้สำหรับบูชาพระสงฆ์บนโต๊ะหมู่บูชา
  
     ดอกไม้เมื่ออยู่ในที่เกิดของมัน  ย่อมงดงามตามควรแก่สภาพของพันธุ์ไม้นั้นๆ  ครั้นนำมากองรวมกันมิได้จัดสรรก็หาความเป็นระเบียบไม่ได้  ไม่น่าดู  ไม่น่าชมแต่หากช่างดอกไม้ผู้ชาญฉลาดนำมาจัดสรรใส่แจกัน  หรือจัดใส่พานให้เป็นระเบียบ  ย่อมเกิดความเรียบร้อย สวยงามน่าดูน่าชม
 
ดอกไม้บูชาพระ
 
ดอกไม้บูชาพระนิยมให้เพียบพร้อมด้วยลักษณะ 3 ประการ คือ สีสวย กลิ่นหอม กำลังสดชื่น
 
     พระภิกษุสงฆ์สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายก็เช่นกัน  เมื่อยังเป็นคฤหัสถ์  ย่อมมีกริยามารยาททางกาย  วาจา ใจ  เรียบร้อยตามสมควรแก่ภูมิชั้นแห่งตระกูลของตนๆ  หยาบบ้าง  ปานกลางบ้าง ละเอียดบ้าง  ครั้นคฤหัสถ์เหล่านั้นมีศรัทธาเข้ามาบวชอยู่รวมกัน  พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบดั่งช่างทำดอกไม้ผู้ชาญฉลาด  ทรงวางพระธรรมวินัยไว้เป็นแบบแผนประพฤติปฏิบัติ  จัดให้พระภิกษุสงฆ์สาวกเหล่านั้นอยู่ในระเบียบเดียวกัน   จึงเกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยน่าเคารพสักการบูชา
 
     ดอกไม้  นิยมให้เพียบพร้อมด้วยลักษณะ 3 ประการ  คือ  สีสวย  กลิ่นหอม  กำลังสดชื่น  จึงนิยมจัดเปลี่ยนให้สดอยู่เสมอ  อันจะแสดงให้เห็นถึงความสดชื่นความเจริญรุ่งเรือง  ไม่นิยมปล่อยให้เหี่ยวแห้งเพราะความเหี่ยวแห้งเป็นนิมิตหมายของความหดหู่ใจ  ความเสื่อมโทรม
 
การจัดโต๊ะหมู่บูชา
 
การจัดโต๊ะหมู่บูชา
 
การจัดโต๊ะหมู่บูชา
การจัดโต๊ะหมู่บูชา
การจัดโต๊ะหมู่บูชา
การจัดโต๊ะหมู่บูชา
การจัดโต๊ะหมู่บูชา
การจัดโต๊ะหมู่บูชา
การจัดโต๊ะหมู่บูชา
การจัดโต๊ะหมู่บูชา
การจัดโต๊ะหมู่บูชา
การจัดโต๊ะหมู่บูชา
การจัดโต๊ะหมู่บูชา
การจัดโต๊ะหมู่บูชา
การจัดโต๊ะหมู่บูชา
การจัดโต๊ะหมู่บูชา
 
 
ระเบียบปฏิบัติการมอบเทียนชนวนแก่ผู้ใหญ่
  
     1.  นิยมถือด้วยมือขวาหรือสองมือ  โดยหงายมือ  นิ้วทั้ง 4 ของมือทั้งสองรองรับด้ามเทียนชนวนหัวแม่มือจับอยู่เบื้องบนของด้ามเทียน
 
     2.  ไม่นิยมจับกึ่งกลางด้ามเทียนชนวน  จะทำให้ผู้ใหญ่รับไม่สะดวกหรือทำให้เสียภูมิ  เพราะจับภายใต้มือของพิธีกร  ผู้ส่งนิยมจับค่อนลงมาโคนด้าม  เพื่อผู้ใหญ่จะได้จับตรงกลางด้ามพอดี
 
การมอบเทียนชนวน
 
การมอบเทียนชนวนแก่ผู้ใหญ่เพื่อใช้จุดในพิธีต่างๆ
  
วิธีมอบเทียนชนวน
  
     1.  สำรวจตรวจสอบเทียน ธูปว่าพร้อมจุดหรือไม่  คือไส้เทียนหรือปลายธูปพันสำลี  ชุบน้ำมันยางหรือน้ำมันก๊าดเรียบร้อยแล้ว  เพื่อช่วยให้ติดได้รวย
 
     2.  เมื่อถึงกำหนดการ  หรือประธานมาถึงบริเวณพิธี  พิธีกรพึงจุดเทียนชนวนถือเตรียมไว้เมื่อประธานมาถึงหน้าโต๊ะหมู่  พิธีกรยืนตรง โค้งคำนับ (หรือไหว้ตามเพศภาวะของประธาน)
 
     3.  ประธานหยุดยืนหน้าโต๊ะหมู่  พิธีกรจึงนั่งชันเข่า  ถ้าประธานนั่งคุกเข่า  พิธีกรพึงนั่งคุกเข่าทางด้านซ้ายมือของประธาน  ยื่นมือส่งเทียนชนวนให้ด้วยกริยาอาการสุภาพอ่อนน้อม
 
     4.  เมื่อมอบแล้วนิยมถอยหลังออกมาให้ห่างประธานพอสมควร  เพื่อไม่ให้ขัดขวางการถ่ายรูปของช่างภาพ  โดยถอยห่างออกมานั่งชันเข่า  หรือคุกเข่าตามควรแก่กรณีพร้อมกับคอยสังเกตดูถ้าเทียนชนวนดับ  พึงรีบเข้าไปจุดให้ทันที
 
วิธีรับด้ามเทียนชนวนคืน
  
     1.  เมื่อประธานจุดเสร็จแล้ว  พึงเข้าไปทางด้านซ้ายมือของประธาน  ในกรณีที่ประธานจุดพึงนั่งชันเข้ารับ  ในกรณีที่ประธานนั่งคุกเข่าจุดพึงคุกเข่ารับ
 
     2.   นิยมรับด้วยมือขวาหรือสองมือใต้มือของประธาน  แล้วนิยมถอยห่างออกไปเล็กน้อย  ดับเทียนชนวนแล้วเดินกลับไป
 
รับชมวิดีโอ
 
 

รายการวิดีโอที่เกี่ยวข้อง

ธรรมะศึกษา
 
บทความที่เกี่ยวข้องกับศาสนพิธี ตอนการจัดโต๊ะหมู่บูชา
 
  


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
พิธีกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาพิธีกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

พิธีกรรมงานอวมงคลพิธีกรรมงานอวมงคล

เวียนเทียน ขั้นตอนการเวียนเทียนเวียนเทียน ขั้นตอนการเวียนเทียน



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

พุทธประวัติ - วันสำคัญในพระพุทธศาสนา