โคลนนิ่ง ชีวิตเนรมิตได้!


[ 31 ส.ค. 2554 ] - [ 18291 ] LINE it!

ข้อคิดรอบตัว
การโคลนนิ่ง ชีวิตเนรมิตได้
 
การโคลนนิ่ง (Cloning)
 
ก่อนที่จะมาดูเรื่องการโคลนนิ่งเรามาศึกษาเรื่องพันธุกรรมกันก่อนนะคะ...
 
พันธุกรรม คือ?
     ลักษณะของลูกที่รับมาจากพ่อแม่ ทางพุทธศาสนาในเรื่องของกฎแห่งกรรม ดวงจิตที่จะมาเกิดนั้น จะมาหาพ่อแม่ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน โดยมาจากพ่อและแม่อย่างละครึ่ง ลักษณะภายนอกที่เห็นชัดเจน คือ หน้าตา รูปร่าง ผิวพรรณ นั่นหมายรวมถึง โรคทางพันธุกรรมด้วย
     ในทางพุทธศาสนาผู้ที่เกิดมาเป็นโรคทางพันธุกรรม เพราะมีกรรมที่เกี่ยวพันด้านนี้ด้วยกันมา เช่น เคยทรมานสัตว์ เมื่อถึงเวลามาเกิดก็จะมาเจอพ่อแม่ที่มีลักษณะคล้ายๆ กัน คือชอบทรมานสัตว์ จึงมารับช่วงพันธุกรรมเช่นนี้ต่อไปอีก
 

ดีเอ็นเอรหัสพันธุกรรม

ดีเอ็นเอ ถอดรหัสพันธุกรรม

หากไม่อยากเป็น โรคทางพันธุกรรม ต้องทำอย่างไร?
     ทางกฎแห่งกรรม (Kama Law) – เมื่อรู้ว่าการเป็นโรคนี้เกิดจากวิบากกรรมปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์ ทรมานสัตว์ เบียดเบียนชีวิตผู้อื่น ) เมื่อรู้แล้วก็ ไม่ทำอีก รักษาศีลอย่างเคร่งครัด และทำบุญถวายภัตตาหารพระ ไถ่ชีวิตสัตว์ ถวายยารักษาโรค ช่วยเหลือคนที่เจ็บไข้ได้ป่วยเป็นต้น บุญนี้ก็จะทำให้ บาปอกุศลที่เราเคยทำในอดีตนั้นเบาบางลงไม่มีโอกาสส่งผล
     ทางการแพทย์ – เราคงได้ยินกันมาบ้างว่า มีการทำแผนที่ “รหัสพันธุกรรม” มนุษย์เรา เมื่อเอา ดีเอ็นเอ (DNA) ในเซลล์แต่ละเซลล์ เมื่อมาขยายดู จะพบว่า มี ดีเอ็นเอ (DNA) อยู่ประมาณ 3 พันล้านรหัส ใน 3 พันล้านรหัสของ ดีเอ็นเอ (DNA) มีหน้าที่อะไร อยู่ตรงไหน เป็นอย่างไร ซึ่งหากการศึกษาในเรื่องดังกล่าวสรุปได้ชัดเจนแล้ว ในอนาคตใครที่ต้องการมีบุตร เมื่อตรวจพบ ดีเอ็นเอ (DNA) บกพร่อง เช่นมีความเสี่ยงต่อโรคลิ้นหัวใจรั่ว ดาวน์ซินโดรม (Down syndrome) โรคตับ โรคไต ก็สามารถบอกให้หมอตัดส่วนนี้ออกได้แล้วนำเอาส่วนดีๆมาใส่แทน หรือที่เรียกว่า เจเนติกส์เอ็นจิเนียริ่ง (Genetics Engineering) วิศวพันธุกรรมศาสตร์ ทำการตัดต่อพันธุกรรม ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งในการตัดต่อพันธุกรรม 

การตัดต่อพันธุกรรมผิดศีลธรรมหรือไม่?
     ไม่ผิด...เพราะสัตว์ที่มาเกิดนั้น ก็จะพอดีกับสภาพอย่างนั้น หมายถึง สภาพที่ตัดต่อแล้ว สมบูรณ์แล้ว เพราะฉะนั้นปฏิสนธิวิญญาณที่มาเกิดก็จะมีลักษณะที่พอดีกับสภาพนั้นแล้ว
เมื่อเราได้ทราบถึงการถ่ายทอดทางพันธุกรรม และลักษณะทางพันธุกรรม อันเป็นที่มาของการโคลนนิ่งแล้ว ต่อไปมาเข้าเรื่องของการ โคลนนิ่ง (Cloning) กันค่ะ..
  

เด็กโคลนนิ่ง

เด็กโคลนนิ่ง (Cloning) คือ เด็กที่เกิดจากการคัดลอกมาจากเซลล์ต้นแบบ

 
โคลนนิ่ง (Cloning) คืออะไร ต่างจากเด็กหลอดแก้วอย่างไร? 

     โคลนนิ่ง หมายถึง การนำเอาเซลล์จากร่างกายของคนใดคนหนึ่ง แล้วนำ นิวเคลียส (Nucleus) มาเพาะเลี้ยง จนเติบโตเป็นคนอีกคนหนึ่ง ซึ่งไม่ได้เกิดผสมระหว่างไข่กับอสุจิ แต่จะมาจากต้นกำเนิดเลย เช่น นำเซลล์ดังกล่าวมาจากพ่อ ก็จะออกมาเหมือนพ่อทุกอย่าง (100%)
 

เด็กหลอดแก้ว

เด็กหลอดแก้ว คือ เด็กที่เกิดจาก การผสมระหว่างสเปิร์มและไข่ในหลอดแก้ว
 
     แต่..เด็กหลอดแก้ว หมายถึง ไข่ผสมเสปิร์มในหลอดแก้ว แล้วฉีดกลับเข้าไปฟักตัวในมดลูกของแม่ ถ้ามดลูกของแม่แข็งแรงพอ หากไม่แข็งแรงก็อาจไปฝากไว้ในครรภ์หญิงอื่นได้ หรือที่เรียกว่า "อุ้มบุญ"
 
 
ผลผลิตจากการโคลนนิ่ง (cloning)

แกะดอลลี่ แกะโคลนนิ่ง


แกะดอลลี่ (dolly) คือ แกะที่ถูกนำมาเป็นเซลล์ต้นแบบ เพื่อการ โคลนนิ่ง (cloning)
 
 
ทำโคลนนิ่งเป็นเรื่องต้องห้ามหรือไม่?
     การทำ โคลนนิ่ง (cloning) ยังเป็นเรื่องต้องห้ามในระเทศสหรัฐอเมริกา
 

ในทางพุทธศาสนามองเรื่องการทำ โคลนนิ่ง (Cloning) ว่าอย่างไร ผิดศีลหรือไม่
 

กำเนิดชีวิตใหม่

กำเนิดชีวิตใหม่
 
   ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ การกำเนิดชีวิตใหม่กันก่อน เริ่มต้นที่ อสุจิ (Semen) ของพ่อ วิ่งชนกับ ไข่ (oval) ของแม่ แล้วเริ่ม แบ่งเซลล์ จาก 1 เป็น 2 เป็น 4 เป็น 8 ตัวแล้วเคลื่อนจากปีกมดลูก ไปฝังตัวที่ผนังมดลูก ซึ่งตอนที่ฝังตัวนี้ คือช่วงที่ ปฏิสนธิวิญญาณ มาเกิด จังหวะนี้เอง คือ การกำเนิดชีวิต หากเราทำให้ชีวิตนี้ตกล่วงไป เท่ากับเราก่อกรรม ปาณาติบาต การจะว่าผิดหรือไม่ ให้พิจารณาว่าการกระทำข้างต้นว่ามีการทำลายชีวิตหรือไม่ หากเราทำให้ชีวิตหนึ่งไม่ได้เกิดก็ถือว่าเป็นกรรม หากจะมองว่าผิดก็ผิดตั้งแต่แรก แต่ถ้าหากจะมองว่าไม่ผิด (เพราะไม่ได้มีการทำลายชีวิต) หรือเกิดมีการทำแท้ง ก่อนในช่วงที่ปฏิสนธิวิญญายังไม่มาเกิด ก็ไม่ถือว่าผิดศีล ไม่ได้ทำให้ชีวิตสัตว์ตกล่วงไป แต่ในเรื่องของ จริยธรรม (ethics) ก็เรื่องที่จะฝากไว้ในการวินิจฉัยในเรื่องการให้ชีวิตคือว่า...

“อย่าเอาความคิดของเรา ไปตัดสินชีวิตคนอื่น”
 
อย่าเอาความคิดตนเองไปตัดสินชีวิตคนอื่น
 
อีกหนึ่งชีวิตน้อยๆ ในครรภ์มารดา
 
     นั่นคือ..จะคิดอะไรต้องคิด ในมุมมองเจ้าของชีวิตเขา แม้ว่า กฎหมายปัจจุบัน เรายกกฎหมายการทำแท้งไว้ 2 กรณี คือ
1. การตั้งครรภ์ที่เกิดจากการถูกข่มขืน
2. กรณีการตั้งครรภ์นั้นอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมารดาและทารกในครรภ์ ...แต่นี่คือในทางกฎหมาย...
 
 
แต่ในทางพุทธศาสนาแล้ว ไม่ควรทำลายชีวิตของใคร ไม่ว่ากรณีใดๆ
 
ไม่พร้อมกับการมีบุตร เป็นปัญหาสังคม ไม่อยากให้เกิดมาลำบาก? ..
..แล้วถ้ามีใครมามองว่าเราเป็นปัญหาสังคมล่ะ..เราจะรู้สึกอย่างไร เขาอยู่ในท้องก็มีชีวิต รักชีวิตตัวเอง เพียงแต่ยังออกเสียงไม่ได้ โวยวายไม่ได้ แต่เรากลับไปตัดสินว่าเขาไม่ควรเกิด ไปฆ่าเขาด้วยเหตุผลที่ว่า ไม่อยากให้ลำบาก เป็น “การุณยฆาต” ฆ่าด้วยความรักไม่อยากให้เกิดมา มันลำบากอย่างนี้ เป็นเราเราจะเอาไหมล่ะ? ไม่เอา.. เพราะฉะนั้นเราไปตัดสินอย่างนั้นไม่ได้ เคารพในชีวิตคนอื่น เพราะสิ่งที่คิดมันจะกลายเป็น ความเห็นแก่ตัว กลายเป็นคนที่คิดแต่ในมุมของตัวเอง..
 

เกิดมาสร้างบารมี

เกิดมาเพื่อสร้างบารมีกับครอบครัวที่อบอุ่น
 
...แต่ไม่ว่าชีวิตจะเกิดมาอย่างไร การให้ความรัก การดูแลเอาใจใส่ ให้การอบรมที่ดี สร้างสายใยแห่งรักให้เกิดขึ้น สุดท้ายทุกชีวิตก็จะอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข...
 
 
รับชมวีดิโอ
 
 
 
 

รายการวิดีโอที่เกี่ยวข้อง

 
 
 
บทความที่เกี่ยวข้องกับโคลนนิ่งชีวิตเนรมิตได้
 

 



Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
วิธีสอนลูกให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม!วิธีสอนลูกให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม!

อุปสรรค การฟันฝ่าอุปสรรค วิธีการแก้ปัญหาด้วย AQอุปสรรค การฟันฝ่าอุปสรรค วิธีการแก้ปัญหาด้วย AQ

คาร์บอนเครดิต ฮีโร่ช่วยชีวิตคาร์บอนเครดิต ฮีโร่ช่วยชีวิต



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

Review รายการ