ความตายคืออะไร ประเภทของความตาย เหตุเกิดขึ้นของความตาย


[ 9 ก.ย. 2554 ] - [ 18262 ] LINE it!

ตายแล้วไปไหน

ชีวิตหลังความตายเป็นอย่างไร

ความตายคืออะไร ประเภทของความตาย เหตุเกิดขึ้นของความตาย
 
ชีวิตหลังความตาย
 
เราจะปรารถนาหรือไม่ก็ตาม เราทุกคนล้วนแต่ต้องตาย

 ตายแล้วไม่สูญ

 
     ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายมีลักษณะอยู่ 3 ประการ คือ เกิดขึ้นในเบื้องต้น แปรเปลี่ยน (แก่ เจ็บ) ไปในท่ามกลาง และตายในที่สุด ซึ่งเห็นกันอยู่ทั่วไป เมื่อตายแล้วมิใช่ว่าจะสิ้นสุดกันเพียงเท่านั้น ดังที่หลายท่านเข้าใจกันจนมีคำกล่าวติดปากกันว่า “ชีวิตสิ้นสุดที่เชิงตะกอน” เข้าทำนองว่า ตายแล้วสูญ เพราะเขามองไม่เห็นการไปเกิดของสัตว์ที่ตายแล้วว่าจะไปอย่างไร แม้มีผู้ทดลองแล้วตั้งแต่สมัยพุทธกาล จนถึงปัจจุบันคือการใช้วิทยาศาสตร์พิสูจน์ แต่ก็ไม่พบเห็นว่าสัตว์ที่ตายแล้วไปเกิดใหม่อย่างไร ทั้งนี้เพราะเขาใช้เครื่องมือไม่ถูกประเภท คือ ใช้วัตถุหยาบไปจับวัตถุละเอียดกว่า เหมือนเอาชะลอมไปจับอากาศก็ย่อมไม่ประสบความสำเร็จ มีแต่เหนื่อยเปล่า ซ้ำร้ายรังแต่จะเกิดความเห็นผิดมีความเชื่อมั่นในวิธีทดลองที่ผิดของตนเองโดยไม่รู้ตัวยิ่งขึ้นไปอีก
 
 
     แต่ความจริงแล้วการตายในภพหนึ่งๆ หาได้สูญไปไม่ เพราะตราบใดที่ยังมีกิเลสอยู่ เมื่อตายไปแล้วก็ยังต้องไปเวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิทั้งหลาย 31 ภูมิ ต่างกันเพียงแต่ว่าผู้ทำกรรมดีก็ไปเกิดในสุคติภูมิมีความสุขกายสบายใจ ผู้ทำกรรมชั่วต้องไปเกิดในอบายภูมิเสวยทุกขเวทนาสิ้นกาลนาน ส่วนผู้หมดกิเลสก็เข้าสู่นิพพานเสวยนิพพานสุขนิรันดร์ ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า
 
“ชนทั้งหลายบางพวก ย่อมเข้าถึงครรภ์
ผู้มีกรรมชั่ว ย่อมเข้าถึงนรก
ผู้มีกรรมเป็นเหตุแห่งสุคติ ย่อมไปสวรรค์
ผู้ไม่มีอาสวะ ย่อมปรินิพพาน” 1
 
1 ขุ.ธ.42/3
 
 
ตายแล้วไปไหน
 
ชีวิตหลังความตายของเราจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับการกระทำขณะที่เรายังมีชีวิตอยู่
 
      ส่วนเรื่องของภพภูมิที่สัตว์ผู้ทำกรรมต้องไปเกิดเสวยผลแห่งกรรม และกรรมที่สัตว์ทำแล้วอย่างไรจะพาไปเกิดในภพภูมิไหน สามารถหาอ่านได้จากบทความโดยคลิก  ตายแล้วไปไหน
  
     ดังนั้นความตายจึงเป็นเพียงจุดสิ้นสุดของชีวิตในภพภูมิหนึ่งๆ เท่านั้น และความตายนี้ย่อมเป็นสิ่งที่น่ากลัวและไม่น่าปรารถนาของสรรพสัตว์ แต่ไม่ว่าเราจะปรารถนาหรือไม่ก็ตามเราทุกคนล้วนแต่ต้องตาย ในเมื่อเราทุกคนต้องตาย เราจึงควรมาศึกษาเรื่องความตายกันดีกว่า เพื่อความปลอดภัยในภพเบื้องหน้าอันเป็นชีวิตใหม่หลังความตาย

ความหมายของการไปเกิด (มรณะ)

 
     คำว่า “มรณะ” แปลว่า ความตาย นี้ มีศัพท์ทางวิชาการที่หมายถึงความตายหลายศัพท์ด้วยกันขึ้นอยู่กับฐานะและประเภทของบุคคล เช่น จุติ ดับ ทำกาละ แตกกายลำลายขันธ์ การทิ้งร่างเก่า มรณภาพ อสัญกรรม อนิจกรรม นิพพาน ปรินิพพานเป็นต้น ในพระคัมภีร์พุทธศาสน์ได้ให้ความหมายไว้หลายอย่างด้วยกัน คือ
 
     “ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความแตกทลาย ความหายไป มฤตยู ความทำกาละ ความทำลายแห่งขันธ์ (5) ความทอดทิ้งซากศพไว้ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์ นั้นๆ นี้เรียกว่า มรณะ” 1 (ความหมายตามพระสูตร)
 
     “ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความแตก ความทำลาน ความไม่เที่ยง ความหายไป แห่งธรรมเหล่านั้น นี้เรียกว่า มรณะ” 2 (ความหมายตามพระอภิธรรม)
 
     “อายุ ไออุ่น และวิญญาณ ละกายนี้ไปเมื่อใด เมื่อนั้น กายนี้จะถูกเขาทอดทิ้ง นอนอยู่ ไม่มีจิตใจ เป็นเหยื่อของสัตว์3
 
     หมายความว่า เครื่องปรุงชีวิต 3 ประการ คือ อายุ ไออุ่น และวิญญาณ ละกายนี้ไปเมื่อใด สัตว์ก็ชื่อว่า “ตาย” เมื่อนั้น
 
1 ที.มหา.มหาสติปัฏฐานสูตร 14/233
2 อภิ.วิ. 77/282
3 สํ.ขนฺธ.เผณุปิณฑิกสูตรที่ ๓ 27/319
 
     อายุ ได้แก่ รูปชีวิตินทรีย์และอรูปชีวิตินทรีย์ (อรรถกถาโดยมากมุ่งเอาเฉพาะรูปชีวิตินทรีย์หรือกรรมชรูป) ไออุ่น ได้แก่ อุสมาเตโชธาตุที่เกิดจากกรรม วิญญาณ ได้แก่ ปฏิสนธิวิญญาณ (ภวังคจิต) เว้น อสัญญีสัตว์
 
 
ความตายไม่มีนิมิตหมาย
 
ความตาย หมายถึง การสิ้นชีวิตนี้ มีเหตุที่ทำให้ปรากฏเกิดขึ้น 4 ประการ

ประเภทและเหตุเกิดขึ้นของความตาย

ความตายแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

 
     1. ขณิกมรณะ หมายถึง ความดับของรูปนามที่เรียกว่า ภังคขณะ (รูปนามมีอาการ 3 คือ อุปปาทะ ฐีติ ภังคะ แปลว่า ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป) แม้สัตว์ยังมีชีวิตอยู่แต่รูปนามก็เกิดดับตลอดเวลา
 
     2. สมมติมรณะ หมายถึง การของคน สัตว์ ต้นไม้ อันเป็นโวหารของชาวโลกที่ใช้เรียกกัน ทั่วๆ ไป แต่โดยปรมัตถ์ที่เพ่งถึงแก่นแท้แล้ว ไม่มีสัตว์ตาย และต้นไม้ก็ไม่มีชีวิตินทรีย์มีแต่อุตุชรูปเท่านั้น
 
     3.สมุจเฉทมรณะ หมายถึง การปรินิพพานของท่านผู้สิ้นอาสวะ มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้น
คำว่า “มรณะ” ที่จะกล่าวในเรื่องเหตุเกิดของความตายนี้ มุ่งหมายเอาเฉพาะสมมติมรณะและสมุจเฉทมรณะ 2 ประเภทนี้เท่านั้น ส่วนขณิกมรณะไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องความตายที่จะได้กล่าวในลำดับต่อไป
 
ความตาย หมายถึง การสิ้นชีวิตนี้ มีเหตุที่ทำให้ปรากฏเกิดขึ้น 4 ประการ คือ
 
1. อายุกขยระมรณะ ได้แก่ ตายเพราะสิ้นอายุ
2. กัมมักขยะมรณะ ได้แก่ ตายเพราะสิ้นกรรม
3. อุภยักขยะมรณะ ได้แก่ ตายเพราะสิ้นทั้งอายุและกรรมทั้งสองพร้อมกัน
4. อุปัจเฉทกมรณะ ได้แก่ ตายเพราะกรรมเข้าไปตัดรอน
 
เหตุให้ความตายเกิดทั้ง 4 ประการ มีรายละเอียดอย่างไร จักขออธิบายในตอนต่อไป
 
 
รับชมวิดีโอ
 

รายการวิดีโอที่เกี่ยวข้อง

คำสอนคุณยายอาจารย์
 
บทความที่เกี่ยวข้องกับความตายคืออะไร ประเภทของความตาย เหตุเกิดขึ้นของความตาย
 
 


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
การตาย 4 ประเภท เหตุให้เกิดความตาย 4 ประการการตาย 4 ประเภท เหตุให้เกิดความตาย 4 ประการ

ตาย อารมณ์ที่ปรากฏก่อนตายตาย อารมณ์ที่ปรากฏก่อนตาย

ตาย เงื่อนไขที่ปรากฏอารมณ์ 3 ก่อนตายตาย เงื่อนไขที่ปรากฏอารมณ์ 3 ก่อนตาย



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

ตายแล้วไปไหน