เราสามารถฝึกการให้อภัยได้อย่างไร


[ 20 มี.ค. 2555 ] - [ 18270 ] LINE it!

 

คำถาม: หลวงพ่อคะ เราสามารถฝึกการให้อภัยได้อย่างไรคะ?

 
คำตอบ: การที่คนเราจะให้อภัยคนอื่นได้ มีความจำเป็นว่า จะต้องฝึกตัวฝึกใจให้มีคุณสมบัติดังนี้
 
        1. ตรึกระลึกถึงคุณความดีของเขาที่มีต่อเรา ให้ทบทวนค้นหา มองดูทุกแง่ทุกมุม ไม่ว่าเรื่องเล็กเรื่องใหญ่ เพราะจะทำให้ใจของเราชื่นบานขึ้น
 
        2. คิดถึงความผิดพลาดที่แม้เราเองก็เคยทำกับเขา หรือกับคนอื่นมาก่อนเหมือนกัน เพราะฉะนั้นถ้าเขาจะทำกับเราบ้างก็เป็นเรื่องที่น่าอภัย เพราะต่างก็ยังไม่หมดกิเลสด้วยกันทั้งนั้น โอกาสผิดพลาดย่อมเกิดขึ้นได้
 
        3. คำนึงถึงโทษของการผูกโกรธ ว่าจะทำให้เดือดร้อนด้วยกันทั้งสองฝ่าย อย่างน้อยก็ทำให้ใจขุ่นมัว ถึงกับยิ้มไม่ออก หรือรุ่มร้อนขัดเคืองใจ จนถึงกับกินไม่ได้นอนไม่หลับ
 
        4. นึกถึงคุณของการให้อภัย โดยเฉพาะในข้อที่ว่า ผู้ฆ่าความโกรธทิ้งเสียได้เท่านั้น จึงจะมีสิทธิ์นอนหลับเป็นสุข ดังพระพุทธพจน์ที่ว่า “โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ ผู้ฆ่าความโกรธได้ ย่อมอยู่เป็นสุข”
 
การให้อภัย
การให้อภัย
 
        เมื่อหมั่นพิจารณาทบทวนถึงเหตุผลทั้ง 4 ประการนี้เป็นประจำก็จะทำให้จิตใจของเราละเอียดอ่อน มิเมตตา สามารถให้อภัยแต่ผู้อื่นได้ง่ายๆ แต่การที่ใครก็ตามจะสามารถตรองตามเหตุผลทั้ง 4 ประการนี้ได้ มีความจำเป็นว่าจะต้องหมั่นนั่งสมาธิ แผ่เมตตาให้แก่สรรพสัตว์ทั้งหลายเป็นประจำทุกคืนก่อนนอน ใจจึงจะกว้างขวางมีคุณภาพดีเยี่ยม พร้อมที่จะปะทะอารมณ์บูดเน่าของผู้อื่นได้ทุกรูปแบบ
 

คำถาม: เริ่มตัดใจเข้าวัดเมื่ออายุ 30 กว่า ย้อนนึกถึงเวลาที่ล่วงเลยมาแล้ว รู้สึกเสียดายยิ่งนัก มีปัญหาว่าจะทำอย่างไรชาติหน้าจะได้เข้าวัดตั้งแต่อายุยังน้อย?

 
คำตอบ: อยากจะเข้าวัดตั้งแต่อายุยังน้อย ก็ต้องปลูกฝังอุปนิสัยไว้ตั้งแต่ตอนนี้ คือต้องมีความพอใจในการเข้าวัดเสียตั้งแต่เดี๋ยวนี้ ผูกความพอใจไว้ให้มากเข้าๆพูดง่ายๆ ปฏิบัติธรรมให้มาก คือทำทานให้มาก รักษาศีลให้มาก นั่งสมาธิให้มาก หายใจเข้าออกนึกถึงแต่วัด พอทำอย่างนี้จนเคยแม้แต่จวนใกล้ตาย ใจก็เกาะอยู่กับเรื่องวัด เรื่อง ศาสนาจนหมดลมหายใจ ถ้าทำได้อย่างนี้ เวลามาเกิด ใจมันจะยังเกาะอยู่ แล้วก็จะเข้าวัดได้ตั้งแต่เด็กๆ
 
เข้าวัดตั้งแต่อายุยังน้อย
เข้าวัดตั้งแต่อายุยังน้อย
 
        สมัยพุทธกาล มีหลายท่านออกบวชตั้งแต่ยังเป็นเด็ก เช่น เพราะทัพพมัลลบุตรออกบวชตั้งแต่อายุ 7 ขวบ พอไม่นานก็เป็นพระอรหันต์และเนื่องจากมีความรู้ความสามารถมาก มีความเชี่ยวชาญในสมาธิมากท่านเลยทำประโยชน์ให้กับพระพุทธศาสนา ให้กับวัดพระเชตวันได้มากมาย ท่านรับอาสาทำหน้าที่เป็นคนจัดดูแลเรื่องเสนาสนะ คือกุฏิสงฆ์หรือที่อยู่ของสงฆ์ได้เรียบร้อย อย่างที่ใครๆ ก็คาดไม่ถึงว่าสามเณรอายุน้อยแค่นั้นจะทำได้
 
        ในสมัยพุทธกาล วัดแต่ละวัดต้องรองรับพระภิกษุที่เดินทางมาจากที่ต่างๆ จำนวนมากทั้งกลางวันและกลางคืน อย่างที่วัดพระเชตวันนั้นพระทัพพมัลลบุตรต้องจัดกุฎิสำหรับพระเป็นพันๆ รูปทีเดียว ต้องดูแลกันมาก เรื่องโรงครัวท่านก็ต้องดูแล ท่านรับอาสาเอง
 
        ทีนี้เมื่องานมันใหญ่วัดพระเชตวันนี่พระภิกษุเข้าออก วันหนึ่งๆ เป็นพัน ท่านจึงมีภาระมาก และเมื่อท่านเป็นเพียงสามเณร ในการปกครองพระจำนวนมาก ท่านก็ทำไม่ได้ เพราะพระก็เห็นว่าท่านยังเป็นเด็กเป็นสามเณร ถึงเป็นพระอรหันต์ เพศภาวะก็เป็นสามเณร มีข้อจำกัดบางอย่างในการอุปัฏฐากพระ ก็เลยเกิดข้อยกเว้นในพระพุทธศาสนาขึ้นมา เกี่ยวกับการบวชพระภิกษุ
 
        ครั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าบวชให้พระทัพพมัลลบุตร เป็นพระภิกษุแม้อายุยังไม่ครบ 20 ปี นี่เป็นกรณีพิเศษเลยนะ
 
        เพราะฉะนั้นพวกเราชาตินี้ ก็ต้องตั้งใจปฏิบัติธรรมกันให้เต็มที่ให้ใจผูกไว้ในพระพุทธศาสนา ส่วนลูกๆ ก็ให้เริ่มต้นเข้าวัดกันตั้งแต่เริ่มรู้ความทีเดียวยิ่งดี จะได้ไม่มีเหตุให้ถูกดึงไปอยู่ที่อื่น หรือไปเสียเวลากับเรื่องอื่นๆ นะ
 
คำถาม: หลวงพ่อครับ บางครั้งผิดหวังอย่างแรง นึกอยากฆ่าตัวตาย จะทำอย่างไรดีครับ?
 
คำตอบ: คุณเอ๊ย..คนเราไม่ต้องฆ่าตัวเอง พอถึงเวลามันก็ตายอยู่แล้วอย่าไปเสียเวลาคิดฆ่าตัวตายให้โง่อยู่เลย อย่างไรเสียมันต้องตายแน่ๆ แต่ว่าก่อนจะตายเราควรจะศึกษารับรู้ความจริงของชีวิตของโลกเสียก่อน ไม่อย่างนั้นเดี๋ยวความโง่จะติดตัวไปทุกชาติ
 
        ประการแรก คนเราตายแล้วไม่สูญ ถ้าตราบใดที่กิเลสยังไม่เหมด ก็ยังต้องเกิดใหม่อีกวันยังค่ำ
 
        ประการที่สอง เป็นธรรมดาของโลกที่ว่า การที่คนเราต้องประสบความทุกข์อย่างหนักหนาสาหัสขณะนี้ ไม่ใช่เพราะเทวดาฟ้าดินที่ไหนมาดลบันดาลหรือกลั่นแกล้ง แต่เกิดเพราะตัวเราเองนั่นแหละ ชาติที่แล้วเราสร้างบุญมาน้อย แถมยังสร้างบาปเอาไว้มาก ความทุกข์ความผิดหวังที่เกิดขึ้นนั้น เป็นผลบาปที่เราก่อไว้นั่นเอง พูดง่ายๆ ทุกข์เพราะหนี้บาป
 
คิดฆ่าตัวตายเพื่อหนีทุกข์
คิดฆ่าตัวตายเพื่อหนีทุกข์
 
        เพราะฉะนั้นแทนที่จะมาคิดฆ่าตัวตายเพื่อหนีทุกข์ สู้อยู่ผจญทุกข์เสียดีกว่า เป็นการอดทนใช้หนี้บาป ใช้ให้หมดเสียชาตินี้ จะได้ไม่ต้องลำบากในชาติหน้า แต่ถ้ารีบฆ่าตัวตายเสียตั้งแต่ชาตินี้ หนี้กรรมเก่ามันก็ยังไม่หมด มิหนำซ้ำยังจะแถมเพิ่มความโง่เข้าไปในจิตวิญญาณอีกด้วย ชาติหน้าเลยทั้งโง่ ทั้งอายุสั้น ทั้งทุกข์ยากอีกสารพัด เลิกทำตัวเป็นคนขี้แยขี้แพ้เสียที
 
        ดูซิ...แม้แต่มดปลวกตัวเล็กตัวน้อย มันยังกล้าเผชิญหน้ากับความทุกข์ยากทนชดใช้หนี้กรรมของมัน แล้วเราเป็นคนมีสติปัญญาดีกว่ามันตั้งมากมายมหาศาล จะต้องมายอมแพ้อ่อนข้อท้อถอย รีบหนีหน้าฆ่าตัวตายไปจากโลกนี้ทำไมเล่า ทางที่ถูกควรทำอย่างนี้ซิ คือเมื่อประสบความทุกข์หนักหนาสาหัสอย่างไรก็ตาม ให้พยายามใช้สติและปัญญาแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้เต็มความสามารถ ไม่ต้องน้อยใจในโชคชะตา และหาโอกาสสร้างความดีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ทั้งให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนาอย่างเต็มที่ ให้บุญกุศลเหล่านี้ช่วยบรรเทาทุกข์ในชาตินี้ แล้วส่งผลให้มีความสุขมีความเจริญ มีความอิสระเต็มที่ในชาติหน้า อย่างนี้ไม่ดีกว่าหรือ?


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
ทำอย่างไรจึงจะอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุขทำอย่างไรจึงจะอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข

ทำอย่างไรจึงจะเลิกนิสัยอิจฉาชาวบ้านได้ทำอย่างไรจึงจะเลิกนิสัยอิจฉาชาวบ้านได้

ทรัพย์สมบัติบุตรภรรยาเป็นเครื่องจองจำได้อย่างไรทรัพย์สมบัติบุตรภรรยาเป็นเครื่องจองจำได้อย่างไร



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

หลวงพ่อตอบปัญหา