วัดพระธรรมกาย ชมวัดพระธรรมกาย แผนที่วัดพระธรรมกาย


[ 26 ก.พ. 2556 ] - [ 18349 ] LINE it!

ธรรมกาย

วัดพระธรรมกาย

วัดพระธรรมกาย ชมวัดพระธรรมกาย แผนที่วัดพระธรรมกาย
 
 
อุโบสถ วัดพระธรรมกายมหาวิหารคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูงหอฉันฯ วัดพระธรรมกาย

อาคาร 100 ปีคุณยายอาจารย์ฯ วัดพระธรรมกายมหาวิหารพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกายสภาธรรมกายสากล วัดพระธรรมกายปฏิมากรรมบูชามหาธรรมกายเจดีย์มหาธรรมกายเจดีย์เจดีย์แห่งพระรัตนตรัยมหารัตนวิหารคด วัดพระธรรมกาย

 
 

วัดพระธรรมกาย ชมวัดพระธรรมกาย แผนที่วัดพระธรรมกาย

 

 


 

แผนผังภายในวัดพระธรรมกาย


แผนผังวัดพระธรรมกาย
แผนผังวัดพระธรรมกาย

แผนที่มาวัดพระธรรมกาย


แผนที่มาวัดพระธรรมกาย
แผนที่เดินทางมาวัดพระธรรมกาย

อุโบสถ วัดพระธรรมกาย

อุโบสถ วัดพระธรรมกาย
อุโบสถวัดพระธรรมกาย สถาปัตยกรรมเป็นแบบไทยประยุกต์ โดยมีวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหารเป็นต้นแบบ  - วัดพระธรรมกาย

       อุโบสถวัดพระธรรมกายเริ่มก่อสร้างเมื่อปลายปี พ.ศ. 2520 เสร็จสมบูรณ์เมื่อวันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2525 สถาปัตยกรรมเป็นแบบไทยประยุกต์ โดยมีวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหารเป็นต้นแบบ การออกแบบยึดหลักความแข็งแรง คงทน เรียบง่าย แต่สง่างาม มีช่อฟ้าคู่ หลังคาโค้งรับกับขอบฟ้า ด้านหลังอุโบสถของวัดพระธรรมกายจารึกข้อความเกี่ยวกับการสร้างอุโบสถไว้บนแผ่นหินอ่อน การก่อสร้างทำด้วยความละเอียดและประณีต วัสดุอุปกรณ์ทุกชนิดคัดเลือกแต่สิ่งที่ดีที่สุดเท่าที่จะหาได้ในสมัยนั้น ดังเช่น หินเกล็ดที่ประดับผนังโบสถ์ภายนอก ต้องคัดเลือกหินทีละเม็ด เลือกเฉพาะเม็ดที่มีสีขาวบริสุทธิ์เท่านั้น


      เมื่อวันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2520 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จแทนพระองค์ เพื่อวางศิลาฤกษ์ และในวันอังคารที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2523 มีพิธีผูกพัทธสีมา ภายในอุโบสถรองรับพระภิกษุเข้าร่วมประกอบสังฆกรรมพร้อมกันได้ครั้งละ 200 รูป อุโบสถหลังนี้เป็นสถานที่บรรพชาอุปสมบทกุลบุตรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมาแล้วเป็นจำนวนหลายหมื่นรูป สร้างพระภิกษุสืบทอดพระพุทธศาสนาและสร้างคนดีให้แก่สังคมเป็นจำนวนมาก

วัดพระธรรมกาย

ชมวัดพระธรรมกาย

มหาวิหารคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง

มหาวิหารคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง
มหาวิหารคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง - วัดพระธรรมกาย
 
       มหาวิหารคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ผู้ให้กำเนิดวัดพระธรรมกาย เป็นวิหารทรงพีระมิด หกเหลี่ยม สีทองงามประดุจภูเขาทองคำ สูง 29 เมตร ตั้งบนเกาะแก้วกลางน้ำรูปใบบัวใกล้อุโบสถวัดพระธรรมกาย ตอกเสาเข็มต้นแรกวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2545 และยกยอดมหาวิหารวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2546 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 3 ปีของการละสังขารของคุณยายอาจารย์ฯ มหาวิหารหลังนี้ สร้างขึ้นเพื่อแสดงความกตัญญูกตเวที และประกาศเกียรติคุณที่คุณยายอาจารย์ฯ มีต่อพระพุทธศาสนาและชาวโลกให้ปรากฏสืบไป
  
      ภายในมหาวิหารเป็นห้องหยกประดิษฐานมหารัตนอัฐิธาตุและรูปหล่อทองคำของคุณยายอาจารย์ฯ (สร้างขึ้นในปีที่ท่านมีอายุครบ 90 ปี) และเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม สามารถรองรับคนได้ 300 คน ระหว่างอุโบสถและมหาวิหารคุณยายอาจารย์ฯ มีหอเทียนที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2546 เพื่อจุดประทีปบูชาธรรมคุณยายอาจารย์ฯ เปิดให้เข้าสักการะในมหาวิหารคุณยายฯ ทุกวันอาทิตย์ เวลา 16.00-18.00 น.
วัดพระธรรมกาย

ชมวัดพระธรรมกาย

หอฉันคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง

หอฉันฯ วัดพระธรรมกาย
หอฉันคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง - วัดพระธรรมกาย
 
       หอฉันคุณยายอาจารย์ฯ สร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ฉันภัตตาหารของพระภิกษุ สามเณร โดยนำเจดีย์น้อยที่ใช้ในวันสลายร่างคุณยายอาจารย์ฯ มาเป็นยอดโดมของหอฉัน เพื่อระลึกถึงพระคุณของท่านที่ได้สร้างโรงครัวและโรงทานขึ้น ณ วัดพระธรรมกาย เพื่อให้พระภิกษุ สามเณร มีภัตตาหารฉันโดยไม่ต้องออกบิณฑบาต จะได้มีเวลาปฏิบัติสมณกิจได้อย่างเต็มที่
 
หอฉันฯ วัดพระธรรมกาย
 หอฉันคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง  - วัดพระธรรมกาย

      หอฉันคุณยายอาจารย์ฯ ตอกเสาเข็มต้นแรกวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2546 และทำพิธีเปิดป้ายมงคลหอฉันวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2547 สามารถรองรับพระภิกษุ สามเณร ได้ถึง 6,000 รูป ร่วมพิธีถวายภัตตาหารเป็นสังฆทานที่หอฉันได้ในเวลา 06.30 น. และ 10.30 น.

วัดพระธรรมกาย

ชมวัดพระธรรมกาย

อาคาร 100 ปีคุณยายอาจารย์ฯ เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกายไปทั่วโลก 

     อาคาร 100 ปีคุณยายอาจารย์ฯ วัดพระธรรมกาย
อาคาร 100 ปีคุณยายอาจารย์ฯ เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกายไปทั่วโลก - วัดพระธรรมกาย

      อาคาร 100 ปีคุณยายอาจารย์ฯ สร้างขึ้นเป็นมหานุสรณ์แด่คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง เพื่อเป็นศูนย์กลางการบริหารงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกายไปทั่วโลก เป็นสถานที่เรียนพระปริยัติธรรม เป็นศูนย์กลางการศึกษาภาษาบาลีของโลก และเป็นศูนย์กลางงานอบรมศีลธรรมให้แก่ผู้คนในสังคมไทย
วัดพระธรรมกาย

มหาวิหารพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย  

มหาวิหารพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย
มหาวิหารพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย   - วัดพระธรรมกาย
 
       มหาวิหารแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อทองคำแท้ขนาดหนึ่งเท่าครึ่งขององค์จริงของพระมงคลเทพมุนี หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2539 โดยดำริของหลวงพ่อธัมมชโย เพื่อแสดงความกตัญญู และรำลึกถึงพระคุณอันยิ่งใหญ่ของพระมงคลเทพมุนี ที่ได้สละชีวิตเป็นเดิมพัน จนสามารถค้นพบวิชชาธรรมกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากลับคืนมาสู่โลกได้อีกครั้ง หลวงพ่อธัมมชโยได้ให้แนวคิดในการก่อสร้างวิหารหลังนี้ไว้ว่าต้องมีความคงทนอย่างน้อย 1,000 ปี สมกับความยากของการบังเกิดขึ้นของผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย รูปทรงของวิหารต้องอยู่เหนือกาลเวลา ไม่ว่าในปัจจุบันหรืออีกพันปีข้างหน้า ก็จะยังนำสมัยตลอดกาล ด้วยเหตุนี้การออกแบบจึงตั้งอยู่บนพื้นฐานของ “ทรงกลม” ซึ่งเป็นรูปทรงของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวทั้งหลาย และยังเป็นรูปทรงของ “ดวงธรรม” ที่อยู่ ณ ศูนย์กลางกายของมนุษย์ทุกคนอีกด้วย

       มหาวิหารพระมงคลเทพมุนีปูด้วยหินอ่อนทั้งภายในและภายนอก มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 108 เมตร ทำพิธีตอกเสาเข็มต้นแรกเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2539 การก่อสร้างเสร็จสิ้นลงเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2546 ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันเกิดของพระมงคลเทพมุนี
 
มหาวิหารพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย
ภายในมหาวิหารพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย   - วัดพระธรรมกาย

พื้นที่ภายในมหาวิหารแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
 
ส่วนที่ 1 เก็บบันทึกประวัติของพระมงคลเทพมุนี ตั้งแต่ปฐมวัยมัชฌิมวัย และปัจฉิมวัย
ส่วนที่ 2 ประดิษฐานรูปหล่อทองคำ
ส่วนที่ 3 เก็บบันทึกประวัติคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง “ครูผู้สืบสายธรรม” และพระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) “ผู้สืบทอดวิชชาธรรมกาย” และประวัติความเป็นมาของวัดพระธรรมกายตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนกระทั่งปัจจุบัน

       นอกจากนี้ ภายในวิหารยังมีห้องปฏิบัติธรรมอีกด้วยมหาวิหารพระมงคลเทพมุนีเปิดให้สาธุชนเข้าสักการะรูปหล่อทองคำพระมงคลเทพมุนี ในวันเสาร์ เวลา 12.30 น.- 17.00 น. และวันอาทิตย์ เวลา 11.30 น.- 12.30 น. วันพระใหญ่ ทั้งข้างขึ้น/แรม เปิด 12.30 - 15.00 น. กรุณาแต่งกายชุดขาวล้วน 

 
 
     * งดสักการะตลอดเดือนมกราคม เนื่องจากมีกิจกรรมธรรมยาตราฯ ในข่วงวันที่ 2 - 31 มกราคม พ.ศ. 2559 ขอเชิญร่วมกิจกรรมโดยดูรายละเอียดได้ที่ www.dmc.tv/dhammayatra หรือโทรสอบถามที่ 02-831-1000
 
วัดพระธรรมกาย

ชมวัดพระธรรมกาย

สภาธรรมกายสากลวัดพระธรรมกาย

สภาธรรมกายสากล วัดพระธรรมกาย
สภาธรรมกายสากล วัดพระธรรมกาย- วัดพระธรรมกาย

       สภาธรรมกายสากล วัดพระธรรมกายเป็นศาลาอเนกประสงค์ขนาดใหญ่ 2 ชั้น ชั้นบนเป็นสถานที่ทำสมาธิภาวนาและฟังธรรมของสาธุชนในวันอาทิตย์และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา รองรับคนได้ประมาณ 300,000 คนและมีรัตนบัลลังก์เป็นที่นั่งสำหรับพระภิกษุกว่าพันรูป

       ชั้น 1 (ชั้นล่าง) เป็นลาดจอดรถยนต์ และมีศูนย์ประชุมประกอบด้วยห้องประชุมหลายขนาด ตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป สำหรับอบรมศีลธรรมแก่ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ นักเรียน นักศึกษา พนักงานบริษัท ฯลฯ นอกจากนี้ ยังมีศูนย์เด็กเพื่อดูแลเด็กเล็กที่ติดตามผู้ปกครองมาวัด โดยมีอาสาสมัครเป็นพี่เลี้ยงคอยดูแล สภาธรรมกายสากลมีพื้นที่ 126 ไร่เศษ ขนาดใหญ่กว่าสนามหลวงเกือบ 2 เท่า
วัดพระธรรมกาย

ชมวัดพระธรรมกาย

ปฏิมากรรมบูชามหาธรรมกายเจดีย์

ปฏิมากรรมบูชามหาธรรมกายเจดีย์
ปฏิมากรรมบูชามหาธรรมกายเจดีย์ - วัดพระธรรมกาย
 
       พิธีบูชามหาธรรมกายเจดีย์และบูชามหาปูชนียาจารย์มีขึ้นทุกๆ วัน ดยในช่วงเช้า เริ่มเวลา 05.45 น. ช่วงเย็วันจันทร์ - เสาร์ เวลา 18.00 น. วันอาทิตย์ เวลา 17.30 น.
วัดพระธรรมกาย

มหาธรรมกายเจดีย์ 

มหาธรรมกายเจดีย์เจดีย์แห่งพระรัตนตรัย - วัดพระธรรมกาย
มหาธรรมกายเจดีย์เจดีย์แห่งพระรัตนตรัย - วัดพระธรรมกาย

 

      มหาธรรมกายเจดีย์เจดีย์แห่งพระรัตนตรัย เป็นเจดีย์ทรงครึ่งวงกลมแบบเดียวกับมหาวิหารพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) และเป็นทรงเดียวกับสาญเจดีย์ที่ประเทศอินเดีย ซึ่งก่อสร้างมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช หลังพุทธกาล 200 กว่าปี รูปทรงของมหาธรรมกายเจดีย์จึงถือได้ว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่อยู่เหนือกาลเวลา มหาธรรมกายเจดีย์เป็นบุญสถานอันศักดิ์สิทธิ์ ที่สร้างขึ้นด้วยพลังศรัทธาของมหาชน ดังมีรายนามของผู้มีบุญทั่วโลกที่ร่วมสร้างพระธรรมกายประจำตัวปรากฏอยู่ที่ฐานองค์พระถึง 1,000,000 องค์ ในอนาคตมหาธรรมกายเจดีย์จะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์แห่งความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนายุคปัจจุบัน และจะดำรงอยู่เป็นสมบัติของโลก เพื่อประกาศคุณของพระรัตนตรัยสืบต่อไปยังลูกหลานอีกนานนับพันปี และจะเป็นแรงบันดาลใจให้ชาวโลกตื่นตัวมารวมกันปฏิบัติธรรม เพื่อเข้าถึงพระธรรมกายในอนาคต
 
       มหาธรรมกายเจดีย์ออกแบบด้วยหลักวิศวกรรมให้คงอยู่ได้ไม่ต่ำกว่า 1,000 ปี และใช้วัสดุพิเศษที่คงทนกว่า 1,000 ปี เส้นผ่าศูนย์กลาง 194.4 เมตร สูง 32.4 เมตร ตอกเสาเข็มต้นแรกวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2538 หล่อองค์พระประจำตัวครั้งสุดท้ายวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2553
 
       มหาธรรมกายเจดีย์ประกอบด้วย 3 ส่วน ซึ่งสื่อถึงพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะพุทธรัตนะ คือ บริเวณโดมครึ่งวงกลมและเชิงลาดรอบมหาธรรมกายเจดีย์ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระธรรมกายประจำตัว 300,000 องค์ ภายในประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ พระบรมพุทธเจ้าหล่อด้วยเงินแท้น้ำหนัก 14 ตัน และพระธรรมกายประจำตัวอีก 700,000 องค์ ธรรมรัตนะ คือ บริเวณวงแหวนถัดจากพุทธรัตนะลงมา สังฆรัตนะ คือ วงแหวนส่วนล่างสุด ใช้เป็นที่นั่งของพระภิกษุ 10,000 รูป
 
มหาธรรมกายเจดีย์เจดีย์แห่งพระรัตนตรัย - วัดพระธรรมกาย
มหาธรรมกายเจดีย์เจดีย์แห่งพระรัตนตรัย - วัดพระธรรมกาย
 
       บริเวณรอบมหาธรรมกายเจดีย์มี “ลานธรรม” ใช้เป็นที่ประกอบศาสนพิธี ฟังธรรม และปฏิบัติธรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนารองรับสาธุชนได้ 400,000 คน มหาธรรมกายเจดีย์จึงเปรียบเสมือนมหาวิทยาลัยสอนศีลธรรมกลางแจ้ง ที่จะช่วยให้ธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแผ่ขยายไปสู่ใจของมหาชน ปัจจุบันในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาจะมีสาธุชนจากทั่วโลกเดินทางมาปฏิบัติธรรม ณ ลานธรรม มหาธรรมกายเจดีย์ครั้งละหลายแสนคน
วัดพระธรรมกาย

มหารัตนวิหารคด

มหารัตนวิหารคด วัดพระธรรมกาย
มหารัตนวิหารคด - วัดพระธรรมกาย

       มหารัตนวิหารคดเป็นอาคารขนาดใหญ่ 2 ชั้น สร้างขึ้นรอบลานธรรม สถาปัตยกรรมเน้นความเรียบง่าย ใช้งานได้อย่างคุ้มค่า และคงทนถาวรอยู่ได้นานนับพันปีมหารัตนวิหารคดสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2547 เพื่อเป็นศูนย์รวมของพุทธบุตรและพุทธศาสนิกชนที่ไปแสวงบุญในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
 
มหารัตนวิหารคด วัดพระธรรมกาย
มหารัตนวิหารคด - วัดพระธรรมกาย
 
      นอกจากนี้ในวันปกติ มหารัตนวิหารคดยังใช้ เป็นสถานที่ทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมอีกด้วย พื้นที่มหารัตนวิหารคดสามารถรองรับผู้มีบุญได้ 600,000 คน หากรวมกับพื้นที่ในลานธรรมก็จะสามารถรองรับได้ถึง 1,000,000 คน มหาวิหารแห่งนี้จึงเป็นสถานที่รวมพุทธศาสนิกชนจากทั่วโลกที่จะมาทำกิจกรรมบุญร่วมกันและพร้อมต่อการรองรับงานพระศาสนาทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
วัดพระธรรมกาย
 
ชมวัดพระธรรมกาย ติดต่อสอบถามโทร. 02-831-1000


บทความที่เกี่ยวข้องกับวัดพระธรรมกาย
 

วัดพระธรรมกาย ชมวัดพระธรรมกาย แผนที่วัดพระธรรมกาย


วัดพระธรรมกาย


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
รูปการ์ตูนวันสงกรานต์ รวมการ์ตูนน่ารักสำหรับส่งในวันสงกรานต์รูปการ์ตูนวันสงกรานต์ รวมการ์ตูนน่ารักสำหรับส่งในวันสงกรานต์

กิจกรรมวันมาฆบูชา ภาพวันมาฆบูชา ณ วัดพระธรรมกาย ปี 2556กิจกรรมวันมาฆบูชา ภาพวันมาฆบูชา ณ วัดพระธรรมกาย ปี 2556

ผู้ชาย..ผู้ชายดีๆ ไม่ได้มีแต่ในนิยายผู้ชาย..ผู้ชายดีๆ ไม่ได้มีแต่ในนิยาย



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

เรื่องเด่นทันเหตุการณ์