ความหมายของการสื่อสารข้อมูล เพื่อความเป็น 1 ขององค์กร


[ 13 มิ.ย. 2556 ] - [ 18278 ] LINE it!

ความหมายของการสื่อสารข้อมูล

 
 
 
ความหมายของการสื่อสารข้อมูล
เพื่อความเป็น 1 ขององค์กร

เรียบเรียงมาจากรายการ ข้อคิดรอบตัว ที่ออกอากาศทางช่อง DMC
 
 



ความหมายของการสื่อสารข้อมูล



     ความหมายของการสื่อสารข้อมูล สาเหตุของปัญหาภายในองค์กรส่วนหนึ่งมาจากการขาดการสื่อสารและการสื่อสารที่ไม่เข้าใจ ถ้าต้องการรู้ว่าตอนนี้องค์กรของเรามีความเป็นหนึ่งเดียวกันหรือไม่จะวัดได้จากอะไร?
 

การสื่อสาร
การสื่อสาร ครื่องวัดความเป็น 1 ขององค์กร
 
 

เครื่องวัดความเป็นหนึ่งในองค์กรมี 3 ข้อ



1. สมาชิก 
 
     ทุกคนภายในองค์กรมีเป้าหมายเดียวกันหรือไม่ ซึ่งขึ้นอยู่กับการสื่อสารทีเข้าใจกันทั้งระดับบนและระดับล่าง เห็นตรงกันว่าเราจะไปในทิศทางไหน


2. ความคิด ความสามารถ 
 
      รวมความคิดความสามารถเพื่อเป้าหมายเดียวกันได้หรือไม่ นำความคิดของคนภายในองค์กรมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะต่างคนก็มีความคิดที่หลากหลาย ไม่จำเป็นที่จะคิดเห็นตรงกันหมด แต่ถ้ามีความหลากหลายต่างมองคนละมุม ถึงมุมมองจะต่างก็ต้องรวมกันเป็นหนึ่งในทางเดียวกัน ช่วยร่วมมือกันเพื่ออุดช่องโหว่แต่ละด้านเพราะแต่ละคนไม่มีใครเก่งทุกด้าน อาจมีช่องโหว่ที่แต่ละคนคาดคิดไม่ถึงเพื่อนำมาเสริมความเป็นทีม คือการรวมความคิด ความสามารถเข้าด้วยกัน
 
     ตัวอย่างเช่น ลักษณะบางองค์กรมีผู้บริหารที่เป็นผู้นำพาองค์กรไป มีความเห็นว่าบางเรื่องอาจทำให้เกิดความเสียหายภายในองค์กร แต่กลับเงียบเฉย ปล่อยผ่านแต่มาคุยกันลับหลังว่าผลที่เกิดขึ้นตามมาไม่ดี เพราะฉะนั้นบางองค์กรที่เกิดการนินทากันลับหลังไม่มีประโยชน์ ถ้าองค์กรที่เป็นหนึ่งเดียวกันจะไม่มีเสียงนินทาลับหลัง  แต่ถ้าเกิดความคิดเห็นบรรยากาศภายในองค์กรต้องเอื้ออำนวย  สามารถให้นำเสนอความเห็น ความรู้ ความสามารถของตัวเราให้เป็นประโยชน์ต่อองค์กรได้ ไม่จำเป็นว่าถูกหรือผิดเราก็สามารถพูดได้  และความคิดคำพูดนั้นได้รับการตอบสนองเพราะถ้าเสนอไปแล้วยังไม่ใช่สิ่งที่เข้ากับงานได้  ทุกคนมีส่วนที่รับรู้รับทราบทั่วกัน เป็นบรรยากาศร่วมงานร่วมใจ

3. การลงมือทำงาน 
 
     ร่วมมือกันทำงานเพื่อเป้าหมายเดียวกันได้หรือไม่ สามารถนำความรู้ ความสามารถของทุกคนมาใช้ได้อย่างเต็มที่ เพราะฉะนั้นข้อที่ 2 กับข้อที่ 3 จะสัมพันธ์กัน คือการรวมความคิดและการลงมือทำจริง จะควบเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เรียกได้ว่าเป็นการระดมความคิด ความรู้ ความสามารถ  ทุกคนทุ่มเทเพื่อองค์กรได้อย่างเต็มที่และมีความสุขสิ่งเหล่านี้คือเอกภาพขององค์กร

     ถ้าภายในองค์กรต่างความคิดและทัศนคติที่แตกต่างกัน จะใช้หลักธรรมข้อใดมาปรับใช้ภายในองค์กรเพื่อรวมเป็นหนึ่งไปในแนวทางเดียวกัน?
  

ความหมายของการสื่อสารข้อมูล
ความหมายของการสื่อสารข้อมูล
 

การนำหลักอปริหานิยธรรมมาใช้ในการสื่อสาร


          พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ให้หลักธรรมบทหนึ่งไว้เรียกว่า อปริหานิยธรรม ความหมายคือ ธรรมที่ทำให้ไม่เสื่อมคือหมู่คณะหรือองค์กรใดที่ปฏิบัติตามอปริหานิยธรรม 7 ประการนี้จะมีแต่ความเจริญอย่างเดียวไม่มีความเสื่อมเลย

1. หมั่นประชุมเนืองนิตย์ 
 
     ต้องพูดคุยกันบ้าง เพราะถ้ามัวแต่เก็บไว้ไม่พูดเอกภาพไม่เกิด ต่อให้มีคนในองค์กรเป็น 100 - 1,000 คนก็ตาม แม้กระทั่งในบ้านถึงมีแค่ 3 - 4 คน แต่เมื่อเกิดเหตุอะไรแล้วไม่พูดคิดหวังว่าอีกฝ่ายจะรู้ตัวเอง แต่เขาไม่รู้ตัวเพราะฉะนั้นต้องหมั่นประชุมเนืองนิตย์  

2. พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิก และพร้อมใจทำตามมติที่ประชุม 
 
      เมื่อเลิกประชุมให้พร้อมเพรียงกันเลิก และพร้อมเพรียงกันทำกิจที่สงฆ์พึงทำคือการทำตามมติที่ประชุม ถ้าเริ่มประชุมแล้วไม่พร้อมกันเพราะมีคนเข้าประชุมอยู่ไม่กี่คน ปรากฏว่าหน่วยที่สำคัญไม่อยู่ในที่ประชุมทำให้เกิดความเสียหาย เสียเวลา เมื่อมีมติที่ประชุมออกมาอย่างไรทุกคนต้องยอมรับ คือว่าอย่างไรก็ว่าตามกันเมื่อมติออกมาก็ต้องยอมรับและปฏิบัติ 

3. สิ่งที่ประชุมต้องถูกต้อง ตามกฎและศีลธรรม 
 
     คือไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่บัญญัติไว้ และให้สมาทานสิ่งที่บัญญัติไว้ มติที่ประชุมนั้นต้องอิงความเป็นศีลธรรมคือไม่ขัดต่อหลักที่พระพุทธเจ้าสอนไว้  ไม่ใช่มติที่ผิดหลักที่ทำให้องค์กรเสื่อม  เพราะฉะนั้นมติจะต้องถูกต้องตามหลักศีลธรรมและถูกต้องตามหลักกฎหมายประเพณี  

4.เคารพผู้ใหญ่ในที่ประชุม 
 
     ถ้าที่ประชุมไหนที่ใครพูดและไม่มีใครฟังใคร จะหาข้อสรุปไม่ได้และไม่จบ เพราะฉะนั้นเมื่อใครเป็นประธานที่ประชุมต้องให้ความเคารพผู้ใหญ่ที่สุดในที่ประชุม
 
 
ความหมายของการสื่อสารข้อมูล
ความหมายของการสื่อสารข้อมูล
 
 
5. ไม่ลุต่ออำนาจความอยาก 
 
     ถ้าที่ประชุมไหนที่ประชุมแล้วมีวาระแอบแฝงจะเกิดการหาข้อสรุปยาก เพราะไม่ได้คุยเสนอความเห็นโดยใช้เหตุผล แต่มุ่งเน้นเพื่อต้องการประโยชน์ให้ตัวเอง ถ้าที่ประชุมระดมความคิดกันเพื่อจะหาว่าอะไรดีที่สุด เป็นประโยชน์ที่สุดต่อองค์กรมีเป้าหมายตรงกัน แม้เริ่มต้นจะเห็นไม่เหมือนกัน แต่ว่าฟังเหตุผลทุกคนจะเกิดการตกผลึกทางความคิดว่าแบบไหนดี แต่ละคนจูนปรับตามข้อมูลที่ได้รับเพิ่มเติมขึ้นก็จะหาข้อสรุปตรงกันได้  เพราะเป้าหมายของเราไปในทางเดียวกัน แต่เมื่อไหร่ที่มีวาระแอบแฝง เพื่อหวังผลประโยชน์ให้ตัวเองความคิดไม่ตรงกันก็จะหาข้อสรุปไม่ได้เพราะฉะนั้นต้องไม่ลุแก่อำนาจความอยาก 

6. รู้จักการสงบใจ(ฝึกสมาธิ) 
 
     ต้องให้สมาธิตัวเองเพื่อรู้จักการสงบใจ เพราะฉะนั้นจะเป็นองค์กรไหนก็แล้วแต่ต้องมีการฝึกสงบใจให้ใจนิ่งบรรยากาศจะหลอมรวม เช่น ตอนเริ่มต้นสร้างวัดพระธรรมกาย บางครั้งลุยงานมากความคิดเห็นก็ไม่ตรงกัน คุณยายคอยดูแลให้วางงานหยาบและมาฝึกสมาธิ เมื่อใจนิ่งก็เหมือนสนิมที่หลุดออกจากใจ คุยกันแล้วเข้าใจ ทำให้จูนปรับ ระดมความคิดกันได้ เมื่อทุกคนใจหยุดนิ่งแล้วจะเกิดการหลอมรวม ยินดีในเสนาสนะที่สงบ 

7. สนับสนุนคนดีมีฝีมือและดูแลซึ่งกันและกัน 
 
     คนดีมีฝีมือที่ยังไม่มาก็อยากให้เขามา เพราะเขามาเพื่อช่วยให้องค์กรเจริญขึ้น เพราะองค์กรบางแห่งไม่ได้มุ่งเรื่องนี้แต่กลับเป็นว่าเห็นคนดีมีฝีมือต้องขวางไว้ คนนี้ท่าทางเก่งกว่าเราเดี๋ยวเกินหน้าเกินตา ต้องหาทางทำให้คนดีมีฝีมือออกไปเพื่อให้ตัวเองเด่นขึ้น ถ้าคิดอย่างนี้องค์กรไม่เจริญเอกภาพไม่เกิด  จะให้เกิดต้องคิดว่าเมื่อมีคนดีมีฝีมือเข้ามาก็ยินดีรับให้มาเยอะๆ ขอให้เขาอยู่เป็นสุขดูแลเขาให้ดีในฐานะที่เราอยู่มานานกว่า สนับสนุนเขาเต็มที่ ให้เขาใช้ฝีมืออย่างเต็มที่และผลที่ออกมาองค์กรก็จะเจริญเราก็จะได้ดีไปด้วย

           เมื่อทำตามกฎทั้ง 7 ข้อนี้ได้ องค์กรเจริญขึ้นอย่างแน่นอน ความสมัครสมานสามัคคีเป็นหนึ่งเดียวกันจะเกิดขึ้น ทั้งนี้สาเหตุเกิดจากบุคคลที่มาจากต่างที่ ต่างความคิด ต่างครอบครัว และอายุก็แตกต่างกัน ปัจจุบันมีเทคโนโลยีต่างๆมากมายจึงทำให้หลอมรวมกันไม่สนิท เกิดปัญหาช่องว่างระหว่างวัย มีวิธีการหลอมรวมคนที่มีความคิดเห็นต่างกันมากๆ ด้วยวัย ด้วยสภาพแวดล้อมอย่างไรบ้าง? 

      ประเด็นสำคัญคือผู้นำองค์กรที่มีความสำคัญมากต้องตระหนักถึงความสำคัญของการหลอมรวมและนำหลักธรรมของพระพุทธเจ้ามาใช้ หมั่นประชุมเนืองนิตย์ ตัวอย่างเช่น บริษัท ขายสินค้าออนไลน์แห่งหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น  ที่ขยายตลาดและเติบโตอย่างรวดเร็วในระยะเวลาไม่กี่ปี เพราะยึดหลักตรงกับพระพุทธเจ้าโดยไม่รู้ตัว คือ บริษัททั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศ จะต้องมีการประชุมพร้อมกันสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ตั้งแต่ผู้บริหารสูงสุดจนถึงพนักงานทุกคน  ทุกคนจึงเห็นการเติบโตขององค์กรอย่างชัดเจนสามารถปรับตัวทุกอย่างได้ทัน        


ความหมายของการสื่อสารข้อมูล
 หัวหน้าต้องเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีทุกเวลา
 
 

หัวหน้าที่ดีควรมีแบบอย่างแบบใด?


1. ยุติธรรม
 
      หัวหน้าที่ดีต้องมีความยุติธรรม คือการไม่ลำเอียง ไม่ว่าคนนี้จะรักหรือคนนี้เราไม่ชอบ จะลำเอียงด้วยความรัก ความชัง ความหลง ถูกลูกน้องหลอก หรือลำเอียงด้วยความกลัว เช่น ทำแบบนี้ไม่ดีอาจจะมีความเสี่ยง จึงไม่ตัดสินใจอย่างที่ควรต้องตัดสินเพราะความกลัว จะไม่ลำเอียงด้วยความหลงก็ต้องหาความรู้ไม่ให้ถูกหลอก  ไม่ลำเอียงด้วยความกลัวต้องมีความกล้าในการตัดสินใจเพื่อผดุงความยุติธรรม ความถูกต้องและความรัก ความชังทุกคนยังมีอยู่แต่ไม่เอามาใช้ ตัดสินไปตามเนื้อผ้า เมื่อทำแบบนี้ลูกน้องทุกคนจะยอมรับ เพราะเป็นการยุติธรรมไม่ลำเอียงและหัวหน้าที่ดีต้องเป็นหลักให้กับลูกน้องได้
  
2. พูดอย่างไรทำอย่างนั้น

     พูดอย่างไรทำอย่างนั้น เชื่อถือได้ไว้ใจได้ หัวหน้าไม่จำเป็นต้องเก่งที่สุด ลูกน้องอาจจะเก่งกว่าหัวหน้าได้ แต่หัวหน้าจะต้องเป็นหลักให้ลูกน้องได้ เป็นหลักอย่างนี้ได้เกิดจากความยุติธรรม แล้วรักษาด้วยความไว้วางใจคือพูดแบบไหนทำแบบนั้น เช่น สมัยโบราณในยุคการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช ที่กล่าวว่า กษัตริย์ตรัสแล้วไม่คืนคำ เพราะการเป็นผู้นำเมื่อพูดออกไปแล้วต้องทำได้อย่างที่พูด ถ้าพูดเปลี่ยนไปมาคนก็จะไม่เชื่อถือคำพูด คำพูดจึงต้องหนักแน่นไม่เปลี่ยน
 
      แต่ถ้าต้องเจอหัวหน้าไม่ดีก็ให้เราปรับเข้าหาไม่ใช่ให้หัวหน้าปรับเข้าหาเรา เพราะเราไมาสามารถเปลี่ยนใครได้ เราต้องปรับตัวเองให้เข้า และทำให้หัวหน้ายอมรับเราให้ได้ เราต้องเปิดใจรับเขาก่อน  แต่ถ้าเกิดการลำเอียงในด้านไม่ดีสำคัญว่าเราต้องปรับเข้าหาและยอมรับให้ได้ เช่น สายปกครองหรือกระทรวงมหาดไทยให้คำไว้ว่า "ทุกอย่างเพื่อนาย" เพราะฉะนั้นถ้าหากเจ้านายเราไม่ค่อยฉลาด ความคิดความอ่านไม่เข้าท่า เราดูฉลาดกว่าเห็นอะไรชัดกว่าก็อย่าไปขวาง แต่ถ้าเรารักและหวังดีต่อเจ้านายจริงต้องหาวิธีที่นุ่มนวลที่สุด เอาตัวตนตัวเองออกไประวังในการกระทำและคำพูด 
 
ความหมายของการสื่อสารข้อมูล
 เจ้าของงานที่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่
 
 

ลักษณะของลูกน้องที่ดี


1. ซื่อสัตย์

     ความซื่อสัตย์จะเป็นตัววัดทำให้เราเป็นที่ไว้วางใจ ไม่ว่าเราจะพูดหรือทำอะไรหัวหน้าก็ไว้วางใจมอบหมายงาน เชื่อใจให้เราทำงานแทนได้ เพราะฉะนั้นจะพูดอะไรก็เป็นที่น่าเชื่อถือ 
 
2. มีความรับผิดชอบ

     ความรับผิดชอบก็จะคุมเรื่องความขยันคือรับผิดชอบสิ่งที่เราได้รับมอบหมาย บทบาทหน้าที่เราเป็นยังไงทำด้วยความเต็มใจ ความรับผิดชอบเต็มที่ ถึงแม้เราจะเป็นลูกน้องแต่เราต้องปกป้ององค์กรด้วยการหาทางแก้ไขปัญหาให้ปัญหาที่หนักกลายเป็นเบา  ทุ่มเทรับผิดชอบงานอย่างเต็มที่ด้วยความรู้สึกว่าตัวเองเป็นเจ้าของงานเอง  ใส่ใจงานทำงานในองค์กรใหญ่เหมือนว่าตัวเองเป็นเถ้าแก่  อะไรจะเสียหายบ้างเล็กน้อยและถ้าเราทำงานทุกอย่างให้ออกมาดีที่สุด สุขุม รอบคอบทำให้สุดฝีมือ ยิ่งกว่าดีที่สุด เป็นคนทำงานที่ไม่ว่าที่ไหนก็ยินดีที่จะรับใช้แค่ 2 ข้อหลัก คือ ซื่อสัตย์และรับผิดชอบ     

     ในสมัยพุทธกาลเคยเกิดปัญหาความขัดแย้งขึ้นหรือไม่ และพระพุทธเจ้าทรงแก้ไขอย่างไร?

อธิกรณสมถะ


      ไม่ว่าจะเป็นสังคมใดย่อมมีปัญหาความขัดแย้งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา หมู่สงฆ์มาบวชยังไม่หมดกิเลสก็เกิดข้อขัดแย้งขึ้นได้เพราะยังไม่ใช่พระอรหันต์ แต่พระพุทธเจ้าให้หลักว่า อธิกรณสมถะ คือ ทำให้เหตุการณ์ขัดแย้งสงบ ให้ไว้ 7 ข้อ เช่น สมัยพุทธกาลเมื่อมีปัญหาขัดแย้งเกิดขึ้นพระพุทธเจ้าจะเรียกประชุมรวมสงฆ์ให้ตามพระมาประชุมรวมกันทั้งหมด  โดยใช้วิธีการถามในที่ประชุมถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้น ให้ทั้ง 2 ฝ่ายมาพูดคุยกันและตัดสินถูกผิด ถ้ายอมรับโทษก็ระบุว่าไม่ถูกต้องยังไง ต้องถูกลงโทษยังไง แต่ถ้าไม่ยอมรับผิดแต่หลักฐานในความผิดชัดเจนก็ว่าผิดไปตามหลักฐาน
 
     ในยุคหลังไม่มีผู้มีญาณรู้ได้เหมือนพระพุทธเจ้าจึงไม่สามารถจะตัดสินโทษได้ ปัจจุบันจึงใช้หลักเสียงข้างมากโดยใช้เสียงส่วนใหญ่ซึ่งสอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย  แล้วอีกวิธีที่สามารถแก้ไขเรียกว่าการกลบด้วยหญ้า คือ การไม่ตัดสิน จะเรียกว่าประนีประนอมก็ได้หรือการยืดเรื่องออกไปก่อน เช่น บางปัญหาบางเรื่องที่ไม่ควรตัดสินเพราะถ้าตัดสินออกมาแล้วไม่เกิดผลดีก็ให้ยืดเรื่องออกไปก่อน  ให้คุยกันแบบประนีประนอมดีกว่าคุยกันแล้วเกิดแตกหัก กรณีตัวอย่างเช่น ใต้หวันกับจีนถ้าต้องเกิดปัญหาแตกหักอาจจะก่อให้เกิดสงคราม จึงใช้วิธีการกลบด้วยหญ้า แต่ในระหว่างที่ยืดเรื่องออกไปทั้งสองฝ่ายก็อยู่กันอย่างไม่มีปัญหา ปัญหาไหนที่ภูมิปัญญาเรายังหาทางแก้ไขไม่ได้ให้ปล่อยวางไปก่อน  เพราะฉะนั้นทุกคนอย่ามองทางจะเอาเรื่องคิดแต่จะแก้ปัญหาเอาแต่ชนะกัน


ความเป็น 1 ขององค์กร
ถ้าองค์กรมีความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียวกัน จะมีแต่ความสุข เจริญก้าวหน้า
 
 

ข้อคิดสำหรับผู้ที่ทำงานอยู่ในองค์กรเดียวกัน


     พระพุทธเจ้าได้ให้พุทธพจน์บทหนึ่งว่า สุขา สังฆัสสะ สามัคคี แปลว่า ความสามัคคีของหมู่คณะทำให้เกิดความสุขที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้  องค์กรหรือหมู่คณะใดที่มีความสมัครสมานสามัคคีเป็นหนึ่งเดียวกันองค์กรนั้นจะมีความสุข ความเจริญก้าวหน้า เพราะเราเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรจะทำสิ่งใด อย่าคิดเอาตัวเองเป็นใหญ่หรือตั้งเป็นหลัก แต่จงคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่หนึ่ง แล้วคิดถึงตัวเองเป็นที่สอง ถ้าสมาชิกในองค์กรใดคิดได้อย่างนี้แล้วองค์กรนั้นก็ยิ่งจะเจริญก้าวหน้าและมีความสุข  เพราะความเป็นหนึ่งขององค์กรเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุดที่จะพาองค์กรไปข้างหน้า           

รับชมวิดีโอ
 

รับชมคลิปวิดีโอความเป็น1ขององค์กร
ชมวิดีโอความเป็น1ขององค์กร   Download ธรรมะความเป็น1ขององค์กร
 

บทความน่าอ่านเกี่ยวกับการสื่อสาร

สัตว์สื่อสารกันอย่างไร-ที่นี่มีคำตอบ


บทความน่าอ่านวันสำคัญอื่นๆ

วันแม่แห่งชาติ


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
การสื่อสารภายในองค์กรเพื่อป้องกันข่าวลือการสื่อสารภายในองค์กรเพื่อป้องกันข่าวลือ

บวชพระ สนทนาธรรมชวนบวชพระเข้าพรรษาบวชพระ สนทนาธรรมชวนบวชพระเข้าพรรษา

กิจกรรมวันสุนทรภู่ 2557กิจกรรมวันสุนทรภู่ 2557



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

Review รายการ