รากเทียม


[ 12 ก.ค. 2556 ] - [ 18272 ] LINE it!

ฟันดีมีเสน่ห์

รากเทียม



รากเทียม
เรียบเรียงมาจากรายการ สุขกาย สบายใจ
 
 
     รากเทียม
การฝังรากฟันเทียม
 

รากเทียมคืออะไร

 
     รากเทียม คือ การฝังตะปูเข้าไปในเหงือกแล้วทำตัวครอบขึ้นมา เหมือนกับการที่เราเอาน๊อตหมุนใส่ไปในเหงือกเพื่อรอดูว่าร่างกายเรายอมรับหรือไม่ ถ้าประมาณ 3 -6 เดือนที่ดูว่าร่างกายเราสามารถรับได้ จึงจะใช้น๊อตที่ฝังลงไปเป็นแกนแทนรากฟันของจริง แล้วหุ้มที่ตัวหมุดอีกทีหนึ่ง เป็นเหมือนการทำสะพานฟันทดแทนฟันจริงๆที่หายไป แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถทำได้ ซึ่งบางรายที่คิดจะมาทำแต่ก็ไม่สามารถทำได้เพราะมีข้อจำกัดในการทำอยู่
  

ข้อจำกัดสำหรับบางรายที่ต้องการทำรากเทียม


1. ผู้ที่มีอาการหัวใจบางส่วนตาย เพราะถ้ากล้ามเนื้อหัวใจบางส่วนตาย หัวใจอาจจะฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนที่เราจะฝังรากไม่พอ ทำให้การฝังรากเทียมไม่ประสบความสำเร็จได้
 
2. คนไข้ตั้งครรภ์ อาจเกิดการกระทบกระเทือนที่รุนแรงต่อเด็กซึ่งไม่เป็นผลดี จึงควรรอให้คลอดเสียก่อน  
 
3. คนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เพราะเมื่อทำรากเทียมแล้ว แต่ไม่เกิดการตอบสนองและไม่รับการทำรากเทียม ซึ่งจะเกิดความสูญเสียมากกว่า
 
4. ผู้ป่วยเบาหวานขั้นรุนแรง เมื่อเปิดแผลไปแล้วแผลไม่มีอาการหาย ไม่หายและยังไม่ประสบความสำเร็จในการทำรากเทียม
 
5. คนไข้ตับอักเสบจากการติดเชื้อ  เนื่องจากไม่ค่อยแข็งแรงเมื่อทำรากเทียมไปแล้วก้ทำให้เกิดปัญหาที่ไม่สามารถจะปักหมุดลงไปได้
 
6. โรคสุรา หรือ ติดยา กลุ่มนี้จะไม่ค่อยมีปฏิกิริยาที่ตอบสนองกลับมา เมื่อให้ทำก็อาจจะทำแล้วไม่เกิดผลดี ซึ่งเป็นข้อห้ามที่ไม่สมควรทำ เนื่องจากอาจจะเกิดการไม่ให้ความร่วมมื


รากเทียม

 
รากเทียม 
ใช้วิธีฝังสกรูลงไปในเหงือก
 
 
    การฝังรากเทียม ต้องมีการดูแลเป็นพิเศษและดูแลเป็นอย่างดี บางครั้งเมื่อฝังรากเทียมไปแล้วคนไข้ในบางรายไม่ดูแล ก็เกิดการล้มเหลวในการฝังรากเทียม ซึ่งในรายที่ฝังรากเทียมแล้วไม่ประสบความสำเร็จ  ซึ่งเกิดจากปัญหาด้านสุขภาพด้านต่างๆข้างต้นจึงไม่สมควรจะทำรากเทียม แต่โรคบางโรคในคนไข้บางรายสามารถทำได้ แต่แนะนำว่าควรจะรักษาให้หายก่อน เช่น คนที่เป็นมะเร็งที่รับการบำบัดทางเคมีหรือรับรังสี ให้รับการบำบัดทำมาก่อน และให้อยู่ในสภาวะที่แข็งแรงแล้วค่อยมาทำรากเทียมได้
 
 
รากเทียม 
แต่ต้องดูว่าร่างกายของคนไข้รับได้หรือไม่
 
 
   ส่วนสำคัญของการฝังรากเทียมลงไปในกระดูกต้องดูว่าร่างกายของคนไข้รับหรือไม่ ถ้าร่างกายรับแล้วผ่านขั้นตอนที่กระดูกฟอร์มตัวเรียบร้อยแล้วอาจจะไม่เกิดปัญหา  สำหรับบางคนที่ต้องมีการใช้ยา กลุ่มสเตียรอยด์ต้องใช้ให้เสร็จแล้วเลิกใช้ก่อนจึงจะฝังรากเทียม กลุ่มที่มีปัญหาภูมิแพ้ก็เช่นกันก่อนหรือที่มีความผิดปกติของเลือดของต่อมไร้ท่อ  โรคปริทันต์ โรครำมะนาด โรคเหงือก ต้องรักษาหายก่อนพร้อมที่จะใส่ถึงจะเริ่มทำรากเทียมได้
  

รากเทียมราคา



รากเทียม 
การทำรากเทียมไม่ใช่ว่าจะทำได้สำเร็จทุกราย
 
 
    เพราะราคารากเทียมซี่หนึ่งไม่ใช่แค่หลักพันแต่ราคาอาจเป็นหลักหมื่นหรือเป็นแสน เพราะบางครั้งมีการผ่าตัดร่วมด้วย เช่น บางรายที่อยากทำแต่มีปัญหาขากระดูกกรรไกรร่วมด้วย ไม่สามารถจะรองรับได้พอบางครั้งหมอที่ทำต้องไปเอากระดูกจากที่อื่นมาเติมบางส่วน  เพื่อให้กระดูกพอที่จะรองรับตัวรากเทียม  ซึ่งราคาค่อนข้างสูงเพราะอาจมีการผ่าตัดร่วมด้วยจึงเป็นข้อที่น่าคิดก่อนทำ บางครั้งที่ทำแล้วเกิดการล้มเหลว เช่น เมื่อฝังไปในระยะเวลาสักพักหนึ่งสกรูที่ฝังก็โผล่ขึ้นมา เท่ากับไม่สามารถทำที่ครอบฟันส่วนนี้ได้ เพราะจมลงไปในเหงือกจึงไม่ประสบความสำเร็จ
 
 
รากเทียม
บางรายอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเพื่อทำใหม่
 
 
     ในบางกรณีที่มีการฝังรากเทียมไม่ตรงแนวที่ควรจะเป็น เช่น ฝังเอียงเกิดแรงที่ลงที่ตัวฟันเกิดการผิดพลาดก็เกิดล้มเหลวได้ บางกรณีเกิดการหักของตัวสกรูได้ แต่ถ้าหักแล้วยังอยู่ในช่วงใหม่ๆอาจรื้อแล้วทำใหม่ได้  แต่ถ้าทำจนกระทั่งติดเนื้อไปแล้วการจะรื้อออกกลายเป็นเรื่องที่ต้องทำใหม่ คือ ต้องผ่าตัดใหม่เพื่อเอากระดูกรอบๆออก เพราะฉะนั้นถ้าเป็นไปได้มีโอกาสได้พบหมอที่ดีก็เป็นเรื่องน่ายินดีของคนไข้  การฝังรากเทียมต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของทันตแพทย์ อีกส่วนหนึ่งอยู่ที่ตัวของคนไข้แต่ละราย
 

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับรากเทียม

  • ส่วนประกอบของรากเทียม
1. รากเทียม (Fixture) ซึ่งทำมาจากโลหะไทเทเนียม (Titanium) ซึ่งมีลักษณะคล้ายรากฟัน และจะฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกร ซึ่งสามารถยึดติดได้อย่างแนบแน่นโดยไม่ทำให้เนื้อเยื่ออักเสบ และไม่เกิดผลข้างเคียงใดๆ

2. เดือยรองรับครอบฟัน (Abutment) เมื่อฝังรากเทียมบนกระดูกขากรรไกร จะใช้เวลาประมาณ 4-6 เดือนเพื่อให้รากเทียมยึดติดกับกระดูกขากรรไกรได้ดี หลังจากนั้นจึงจะใส่เดือยรองรับครอบฟันลงบนรากเทียม เพื่อใช้เป็นที่รองรับครอบฟันต่อไป

3. ครอบฟัน (crown) เป็นส่วนที่อยู่ด้านบนของเหงือก ซึ่งจะทำมาจากเซรามิค (porcelain) มีรูปร่างลักษณะและสีเหมือนฟันธรรมชาติ
 
  • การทำรากเทียม

- ความถาวรและความน่าเชื่อถือของการทำรากเทียม

     จากการศึกษาวิจัยและเอกสารวิชาการต่างๆได้กล่าวถึงประสิทธิภาพ ของการทำรากเทียมว่าสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือน ฟันธรรมชาติจริงๆ และยังมีลักษณะเหมือนฟันธรรมชาติมากจนยากที่จะสังเกตได้

- รากเทียมเหมาะสำหรับใครบ้าง

     การทำรากเทียมนั้น สามารถทำได้กับทุกคนที่สูญเสียฟันแท้ไป โดยไม่จำกัดอายุตราบใดก็ตาม ที่ท่านยังคงสามารถทำรากเทียม ได้เสมอในผู้สูงอายุไม่จำเป็นต้องกังวลว่าท่านจะไม่สามารถทำรากเทียมได้... แล้วความมีชีวิตชีวาจะกลับมาเยือนท่านอีกเพราะท่านจะสามารถทำกิจกรรม ประจำวันได้ อย่างมั่นใจอีกครั้ง

     การรักษาโดยการทำรากเทียม ทันตแพทย์ผู้ทำการรักษาจำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญ และเข้าใจ สามารถวินิจฉัยและวางแผนการรักษาผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี สามารถเลือกใช้รากเทียมแต่ละชนิดให้เหมาะสมกับผู้ป่วย และยังต้องมีความเชี่ยวชาญหลักการบดเคี้ยว และขั้นตอนทางทันตกรรมประดิษฐ์
 
     ดังนั้นผู้ป่วยควรปรึกษาทันตแพทย์เฉพาะทางที่เชี่ยวชาญเพื่อผลลัพธ์ที่สมบูรณ์หลังการรักษา


 
รับชมวิดีโอ
 
            


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
น้ำมันหอมระเหยน้ำมันหอมระเหย

แผลกดทับ สาเหตุและวิธีดูแลผู้ป่วยแผลกดทับแผลกดทับ สาเหตุและวิธีดูแลผู้ป่วยแผลกดทับ

เด็กพูดจาหยาบคาย สาเหตุและวิธีแก้ไขเด็กพูดคำหยาบคายเด็กพูดจาหยาบคาย สาเหตุและวิธีแก้ไขเด็กพูดคำหยาบคาย



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

สุขภาพและวิธีการดูแลสุขภาพของนักสร้างบารมี