ฟังธรรม ฟังธรรมะออน์ไลน์ 24 ชั่วโมง


[ 3 ก.ย. 2556 ] - [ 18282 ] LINE it!

ฟังธรรม

ฟังธรรม ฟังธรรมะออน์ไลน์ 24 ชั่วโมง

การได้ฟังธรรมเป็นลาภอันประเสริฐ


     พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า  “การบังเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้ายากอย่างยิ่ง  แต่การได้ฟังพระสัทธรรมยากอย่างยิ่งกว่า”  เพราะโอกาสนั้นย่อมเกิดได้เมื่อมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาบังเกิดขึ้นเท่านั้น  ฉะนั้น จึงถือเป็นลาภอันประเสริฐทีเดียวสำหรับเราชาวพุทธ  ที่เกิดมาพบพระพุทธศาสนา  มีโอกาสได้ฟังธรรมอันบริสุทธิ์
 
      การได้ฟังพระสัทธรรม  นำสุขมาให้แก่สรรพสัตว์  เมื่อเรามีโอกาสอันดีแล้ว  อย่าปล่อยให้ผ่านเลยไปอย่างน่าเสียดาย  มิฉะนั้นอาจต้องเสียใจ  เป็นทุกข์  เพราะหลงทำบาปด้วยเหตุที่ไม่ได้ฟังธรรม

อานิสงส์ของการฟังธรรม

     [202] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการฟังธรรม 5 ประการนี้ 5 ประการเป็นไฉน ? คือ

    ผู้ฟังย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง 1
    ย่อมเข้าใจชัดสิ่งที่ได้ฟังแล้ว 1
    ย่อมบรรเทาความสงสัยเสียได้ 1
    ย่อมทำความเห็นให้ตรง 1
    จิตของผู้ฟังย่อมเลื่อมใส 1
 

     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการฟังธรรม 5 ประการนี้แล.

จากพระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย  พุทธศักราช 2525 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต เล่มที่ 36 หน้าที่ 448

 

ฟังธรรมออน์ไลน์ ที่นี่

ฟังธรรมะออน์ไลน์

Watch FREE Dhamma and Meditation Internet TV WebSite

ฟังธรรมรายการต่างๆ

ฟังธรรมโอวาทพระเทพญาณมหามุนี

              

ฟังธรรม โอวาทคุณครูไม่เล็ก

             

ฟังธรรมะ รายการปฏิบัติธรรมภาคเช้า

ฟังธรรมรายการปฏิบัติธรรมภาคเช้า

         

ฟังธรรม รายการปฏิบัติธรรมภาคบ่าย

ฟังธรรมรายการปฏิบัติธรรมภาคบ่าย

             

ฟังธรรมะ รายการทบวนฝันในฝันฯ

ฟังธรรมรายการโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา

           

ฟังธรรมะ รายการสกู๊ปอัพเดท

ฟังธรรมรายการสกู๊ปอัพเดท

             

ฟังธรรมะ รายการทันโลกทันธรรม

ฟังธรรมรายการทันโลกทันธรรม

         

ฟังธรรมะ รายการข้อคิดรอบตัว

ฟังธรรมรายการข้อคิดรอบตัว

             

ฟังธรรมะ รายการนานาเทศนา

ฟังธรรมรายการนานาเทศนา

         

ฟังธรรม รายการ DOU for You

ฟังธรรมรายการ DOU for you

             

ฟังธรรม รายการผู้ออกแบบชีวิต

ฟังธรรมรายการผู้ออกแบบชีวิต

         

ฟังธรรมะ รายการ MC Guide

ฟังธรรมรายการ DMC Guide

             

ฟังธรรม พิธีถวายภัตตาหารเป็นสังฆทาน

ฟังธรรมพิธีถวายภัตตหารเป็นสังฆทาน

         

ฟังธรรม พระธรรมเทศนาวันอาทิตย์

ฟังธรรมพระธรรมเทศนาวันอาทิตย์

             

ฟังธรรม รายการทบทวนบุญ

ฟังธรรมรายการทบทวนบุญ

                          

ฟังธรรมรายการข่าวพระพุทธศาสนา

ฟังธรรมรายการข่าวพระพุทธศาสนา


คลิปวีดีโอธรรมะ พระพุทธศาสนา ฟังเพลงธรรมะ และคลิปวีดีโอฝึกการทำสมาธิ
ฟังเพลงธรรมะ และคลิปวีดีโอฝึกการทำสมาธิ

มงคลที่ 26 ฟังธรรมตามกาล


    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาลเวลาที่ทรงคุณค่า อันบุคคลบำเพ็ญโดยชอบ และให้เป็นไปโดยชอบแล้ว ย่อมทำให้ถึงความสิ้นอาสวะโดยลำดับ เวลาที่ทรงคุณค่า 4 อย่างคือ เวลาฟังธรรมตามกาล เวลาสนทนาธรรมตามกาล เวลาทำความสงบของใจ และเวลาพิจารณาธรรมให้เกิดความรู้แจ้ง

    เวลาแห่งการเจริญสมาธิภาวนา เป็นเวลาที่มีคุณค่ายิ่ง เพราะเราจะได้ประพฤติปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นสัจธรรมนำพาชีวิตให้เข้าถึงความสุข หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง ปัจจุบันนี้มนุษย์ส่วนใหญ่ยังไม่รู้เลยว่า เกิดมาทำไม อะไรคือเป้าหมายที่แท้จริงของชีวิต เมื่อไม่ได้ฟังพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ ชีวิตจึงต้องเวียนวนอยู่ในกระแสแห่งความทุกข์ เหมือนถูกตรึงด้วยเครื่องพันธนาการ  เมื่อใดได้ฟังธรรม และปฏิบัติธรรม ก็จะเข้าใจความเป็นจริงของชีวิต แล้วมุ่งแสวงหาสาระอันแท้จริง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสูงสุด หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะทั้งปวงได้ในที่สุด

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ทุติยกาลสูตร ว่า

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาลเวลาที่ทรงคุณค่า อันบุคคลบำเพ็ญโดยชอบ และให้เป็นไปโดยชอบแล้ว ย่อมทำให้ถึงความสิ้นอาสวะโดยลำดับ เวลาที่ทรงคุณค่า 4 อย่างคือ เวลาฟังธรรมตามกาล เวลาสนทนาธรรมตามกาล เวลาทำ ความสงบของใจ และเวลาพิจารณาธรรมให้เกิดความรู้แจ้งŽ

    การฟังธรรมเป็นมงคลอันสูงสุด ทำให้เกิดปัญญาบริสุทธิ์ที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะทั้งมวล ทำให้ได้ยินได้ฟังในสิ่งที่ยังไม่เคยได้ฟัง ได้ทบทวนความรู้ที่เคยได้ฟังมาแล้ว ทําให้คลายความสงสัยที่มีอยู่ในใจ และผู้ฟังธรรมเป็นประจำ  ก็จะมีจิตใจผ่องใส เป็นการเพิ่มพูนสัมมาทิฏฐิให้มีความเห็นถูกต้อง เชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรมว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เชื่อเรื่องบาปบุญนรกสวรรค์ อยากจะทำแต่ความดี ละเว้นจากบาปอกุศล ทั้งหลาย พระพุทธองค์ถึงตรัสเอาไว‰ว่า กาเลน ธมฺมสฺสวนํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ การฟังธรรมตามกาลเป็นมงคลอันสูงสุดŽ

    นอกจากนี้ ผู้รู้ยังได้กล่าวถึงอานิสงส์แห่งการฟังธรรมว่า บุคคลใด ได้ฟังพระสัทธรรมในพระศาสนาของพระชินเจ้า จะทำให้ไม่ตกไปสู่ทุคติเลยตลอดแสนกัปŽ ถ้าหากฟังด้วยจิตที่  เลื่อมใส แล้วนำกลับไปพิจารณาไตร่ตรอง จากนั้นก็ลงมือปฏิบัติ อย่างจริงจัง แม้ฟังธรรมเพียงบทเดียว ก็สามารถทำให้บรรลุ มรรคผลนิพพานได้ หรือถ้าหากยังไม่หมดกิเลส ก็จะเป็นอุปนิสัยติดตัวไปในภพชาติเบื้องหน้า

 การฟังธรรมตามกาลหมายถึงอะไร ?


            การฟังธรรมตามกาล คือการขวนขวายหาเวลาไปฟังธรรม ฟังคำสั่งสอนจากผู้มีธรรมะ เพื่อยกระดับจิตใจและสติปัญญาให้สูงขึ้น โดยเมื่อฟังธรรมแล้วก็น้อมเอาคุณธรรมเหล่านั้น มาเป็นกระจกสะท้อนดูตนเองว่า มีคุณธรรมนั้นหรือไม่  จะปรับปรุงคุณธรรมที่มีอยู่ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปได้อย่างไร

            เช่น เมื่อได้ฟังธรรมเรื่องความกตัญญูแล้ว  ก็นำเรื่องนี้มาสำรวจดูใจของ    ตนเองทันทีว่า เรามีความกตัญญูไหม ถ้ามี มีมากน้อยเพียงไร เมื่อฟังธรรมแล้วสำรวจดูจะรู้ทันทีว่า เราขาดอะไรไป  จะปรับปรุงแก้ไขอย่างไรจึงจะดี


กาลที่ควรฟังธรรม


     1. วันธรรมสวนะ  คือวันพระนั่นเอง  เฉลี่ยประมาณ 7 วัน/ครั้ง  ทั้งนี้เพราะธรรมดาคนเราเมื่อได้ฟังเทศน์ฟังธรรม ฟังคำสั่งสอนตักเตือนจากพ่อแม่ ครูอาจารย์  ใหม่ๆ ก็ยังจำได้ดีอยู่  แต่พอผ่านไปสัก 7 วัน  ชักจะเลือนๆ  ครู อาจารย์บอกให้ขยันเรียน ขยันไปได้ไม่กี่วันชักจะขี้เกียจอีกแล้ว เพราะฉะนั้น  7 วัน  ก็ไปให้ท่านกระหนาบ ย้ำเตือนคำสอนเสียครั้งหนึ่ง

     2. เมื่อจิตถูกวิตกครอบงำ คือเมื่อใดก็ตามที่มีความคิดไม่ดีเกิดขึ้นในใจของเรา ทำให้ใจขุ่นมัว เศร้าหมอง ฟุ้งซ่าน เมื่อนั้นให้รีบเร่งไปฟังธรรม  จะเช้า จะสาย จะบ่าย จะเย็น วันโกน วันพระ หรือวันอะไรก็ตาม ไม่เกี่ยงทั้งนั้น ไม่ต้องรอ

            ความคิดที่ทำให้ใจของเราเศร้าหมอง แบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่

            2.1 เมื่อกามวิตกกำเริบ  คือเมื่อใจของเราฟุ้งซ่านด้วยเรื่องเพศ  เรื่อง รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ห่วงหาอาลัยอาวรณ์ต่อสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจ

            2.2 เมื่อพยาบาทวิตกกำเริบ  คือเมื่อใจของเราถูกความโกรธเข้าครอบงำ เกิดความรู้สึกอยากล้างผลาญทำลายผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็น การคิดผลาญทรัพย์ ผลาญชีวิต หรือผลาญเกียรติยศศักดิ์ศรี  ก็ตาม

            2.3 เมื่อวิหิงสาวิตกกำเริบ คือเมื่อใดที่ใจของเราเกิดความคิดอยากจะเบียดเบียนผู้อื่น คิดจะเอาเปรียบ คิดจะกลั่นแกล้งรังแกเขา

            เมื่อใดที่ความคิดทั้ง 3 ประเภทนี้เกิดขึ้น  ให้รีบไปฟังธรรม  อย่ามัวชักช้า  มิฉะนั้นอาจไปทำผิดพลาดเข้าได้

     3. เมื่อมีผู้รู้มาแสดงธรรม  คือเมื่อมีผู้มีความรู้มีความสามารถและมีธรรมมาแสดงธรรมให้รีบไปฟัง  เพราะบุคคลเช่นนี้หาได้ยากในโลก  ต้องรอให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นในโลกก่อน  แล้วต้องตั้งใจศึกษาธรรมของพระองค์ให้เข้าใจแตกฉาน เท่านั้นยังไม่พอ จะต้องมีความสามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้อีกด้วย  ดังนั้นเมื่อมีโอกาสเช่นนี้เราต้องรีบไปฟังธรรมจากท่าน

การฟังธรรมตามกาล

มงคลที่ 26 ฟังธรรมตามกาล

 

 คุณสมบัติของผู้ฟังธรรมที่ดี


     1.  ไม่ลบหลู่คุณท่าน คือไม่ดูแคลนความรู้ความสามารถหรือคุณธรรมของผู้แสดงธรรม

            “โธ่  พระเด็ก ๆ  เรานี้ฟังหลวงปู่หลวงตาเทศน์มาตั้งเยอะแล้ว  มาฟังพระเด็กๆ มันจะไปได้อะไร” อย่าคิดอย่างนั้น

            พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเตือนถึงสิงต่อไปนี้ไว้ว่าอย่าดูแคลน

        1.1 อย่าดูถูกกษัตริย์ว่ายังเยาว์  เพราะกษัตริย์บ่างพระองค์แม้อายุยังน้อยก็เป็นมหาราชได้ เช่น อเล็กซานเดอร์มหาราช เป็นมหาราชตั้งแต่อายุ 20 ปีเศษ ปกครองถึงค่อนโลก

        1.2 อย่าดูถูกงูพิษว่าตัวเล็ก  เพราะกัดแล้วตายได้

        1.3 อย่าดูถูกไฟว่าเล็กน้อย  เพราะไม้ขีดก้านเดียวอาจเผาเมืองได้

        1.4 อย่าดูถูกสมณะว่ายังหนุ่ม  เพราะสมณะบางรูป  แม้นอายุยังน้อยก็มีคุณธรรมสูง บางรูปอายุแค่ 7 ขวบ ก็เป็นพระอรหันต์แล้ว

     2.  ไม่คิดแข่งดี  ไม่ยกตนข่มท่าน

     “ถึงท่านจะเป็นพระ  แต่เราก็จบปริญญาตรี โท เอก มาแล้ว รู้จักโลกมามากกว่าท่านเยอะ แถมอายุมากกว่าอีก” อย่าคิดอย่างนั้น

     ถ้าเรามัวคิดว่าเราเก่ง  เราดีกว่าผู้แสดงธรรม ก็จะพลาดโอกาสที่จะได้ฟังสิ่งที่เป็นความรู้หรือแง่คิดดีๆ  ที่ควรได้รับจากการฟังธรรม  เหมือนพระอุรุเวลกัสสปะ ที่มัวคิดว่าตนเองเป็นพระอรหันต์ เหนือกว่าพระพุทธองค์ จึงไม่ได้ฟังธรรมจากพระองค์  จนสุดท้าย  เมื่อพระพุทธองค์ตรัสเตือนให้เลิกหลงตัวเองว่าเป็นพระอรหันต์ จึงได้คิด และตั้งใจฟังธรรมจากพระองค์ด้วยความเคารพในที่สุดก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์

     3. ไม่จับผิด  ไม่มีจิตกระด้าง  เพราะในการฟังธรรมนั้น  ยิ่งมีใจเป็นสมาธิมากเท่าไรก็สามารถน้อมใจตามไป  ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจในธรรมะได้มากเท่านั้น  แต่ถ้าเรามัวจับผิดผู้แสดงธรรมว่า  เทศน์ตรงนี้ก็ไม่ถูก  ตรงนี้ก็ไม่เหมือนกับที่เราเคยฟังมา  ถ้าเป็นอย่างนี้ละก็ ใจเราจะไม่มีสมาธิในการฟังธรรมและจะไมสามารถน้อมใจตามไป จนเกิดความรู้ความเข้าใจได้เลย

     4. มีปัญญา คือฉลาด รู้จักพิจารณาไตร่ตรองตามธรรมที่ได้ยินได้ฟังนั้นอย่างแยบคาย ทำให้มรความแตกฉาน เข้าใจธรรมได้รวดเร็วและลึกซึ่ง  ส่วนผู้ที่ทำความเข้าใจได้ช้า ก็อย่าดูแคลนตัวเองว่าโง่ จนไม่สามารถรองรับธรรมได้เพราะอย่างน้อยที่สุด  แม้จะฟังธรรมยังไม่เข้าใจในขณะนี้  ก็จะเป็นอุปนิสัยติดตัวไปในภายหน้า  เมื่อได้ฟังซ้ำอีกก็จะเข้าใจได้ง่าย

     5. ไม่ถือตัวว่าเข้าใจในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ                                                                                                                                                                                                                   
“โธ่ เรื่องง่ายๆ แค่นี้ เข้าใจแล้วน่ะ ไมต้องอภิบายให้ฟังอีกก็ได้” อย่าคิดอย่างนั้น

      การฟังธรรมนั้นมีคุณประโยชน์มาก  แม้เป็นสิ่งที่รู้แล้วเข้าใจแล้ว  เมื่อฟังซ้ำอีกย่อมได้ความแตกฉานในธรรมมากยิ่งขึ้น  เหมือนพระมหากัปปินะฟังธรรมจากพระพุทธองค์ครั้งแรก  ก็บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน  และเมื่อได้ฟังพระองค์แสดงธรรมเรื่องเดิมซ้ำอีก  ก็บรรลุธรรมที่ละเอียดลึกซึ่งยิ่งขึ้น  เป็นพระอรหันต์
 

 อานิสงส์การฟังธรรมตามกาล


     1. เป็นการเพิ่มพูนความรู้ใหม่  เพราะผู้แสดงธรรมย่อมจะศึกษา  ค้นคว้าขบคิด  นำข้อธรรมะต่างๆ มาแสดง  ทำให้เราได้ยินได้ฟังธรรมะที่ไม่เคย ได้ยินได้ฟังมาก่อน

     2. เป็นการทบทวนความรู้เดิม  คือถ้าหัวข้อธรรมที่ผู้แสดงนำมาแสดงนั้น ตรงกับสิ่งที่เราเคยศึกษามาแล้ว ก็จะทำให้เราได้ทบทวนความรู้เดิม ให้เกิดความเข้าใจแตกฉาน  สามารถจดจำได้แม่นยำยิ่งขึ้น

     3. เป็นการปลดเปลื้องความสงสัยเสียได้  คือถ้าผู้ฟังยังมีความลังเลสงสัยในการละความชั่วบางอย่าง หรือการทำความดีบางอย่าง เมื่อได้ฟังธรรมะเพิ่มเติมแล้ว จะทำให้ความลังเลสงสัยนั้นหมดไป ตัดสินใจละความชั่วทำความดีง่ายขึ้น

     4. เป็นการปรับความเห็นให้ตรง  คือในระหว่างการดำเนินชีวิตสู่จุดหมายของคนเรานั้น  เราจะถูกมาร  คือกิเลสและสิ่งแวดล้อมไม่ดีต่างๆ ทำให้ มีความเห็นผิดๆ เกิดขึ้นได้  แล้วทำให้การดำเนินชีวิตวกวนเฉไฉผิดเป้าหมายไป  การฟังธรรมจะช่วยให้เราเกิดความสำนึกตัวว่า ความคิดเห็นของเราได้บิดเบือนไปอย่างไร  แล้วจะได้เลิกความเห็นที่ผิดเสีย  ประคองความเห็นที่ถูกไว้

     5. เป็นการฝึกอบรมจิตใจให้สูงขึ้น  การฟังธรรมจะเป็นเครื่องเตือนสติเรา ทำให้ใจของเราเลิกละจากความคิดฟุ้งซ่านในเรื่องกาม ความคิดพยาบาทอาฆาต ความคิดเบียดเบียนผู้อื่น และสอดส่องชี้ให้เราเห็นถึงจุดอ่อนข้อบกพร่องในตัว  ซึ่งจะต้องปรับปรุงแก้ไข  ยกระดับจิตใจของเราให้สูงขึ้นๆ จนกระทั่งสามารถขจัดข้อบกพร่องได้เด็ดขาด  บรรลุมรรคผลนิพพานได้ในที่สุด

            “ดูก่อน ท่านผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย สมัยใด พระอริย-สาวกฟังธรรม ฟังให้จรดกระดูก ฝังไว้ในใจ รวบรวมกำลังใจทั้งหมดมา
เงี่ยหูลงมาฟังจริงๆ ในสมัยนั้น นิวรณ์ 5 ของเธอย่อมไม่มี และโพชฌงค์ 7 ก็จะถึงซึ่งความสมบูรณ์เต็มเปี่ยม เพราะอำนาจแห่งภาวนา”

สํ. ม. ๑๙/๔๙๒/๑๓๔


บทแผ่เมตตา คำกรวดน้ำตายแล้วไปไหน ชีวิตหลังความตายเป็นอย่างไรบทสวดมนต์ทำวัตรเช้าทำวัตรเย็นบทแผ่เมตตา อัปปมัญญาศีล 5ศีล 8 คำอาราธนาศีล 8 พร้อมคำแปล



Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
รูปการ์ตูนวันสงกรานต์ รวมการ์ตูนน่ารักสำหรับส่งในวันสงกรานต์รูปการ์ตูนวันสงกรานต์ รวมการ์ตูนน่ารักสำหรับส่งในวันสงกรานต์

ประมวลภาพตักบาตร Central World พระ 10,000 รูป ประมวลภาพตักบาตร Central World พระ 10,000 รูป

การนั่งสมาธิกับการพัฒนาของสมอง ตอนที่ 1การนั่งสมาธิกับการพัฒนาของสมอง ตอนที่ 1



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

เรื่องเด่นทันเหตุการณ์