อาเซียน วัตถุประสงค์ของการรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียน


[ 29 ต.ค. 2556 ] - [ 18307 ] LINE it!

อาเซียน

ประชาคมอาเซียน

กฎบัตรสมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อาเซียน

อารัมภบท

       เราบรรดาประชาชนของรัฐสมาชิกของสมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) โดยมีประมุขรัฐหรือหัวหน้ารัฐบาลของบรูไนดารุสซาลาม ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐอินโดนิเซีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มาเลเซีย สหภาพพม่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ราชอาณาจักรไทย และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเป็นผู้แทน

      รับทราบ ด้วยความพึงพอใจในความสำเร็จอย่างสูงและการขยายตังของอาเซียนนับตั้งแต่มีการก่อตั้งขึ้นที่กรุงเทพมหานครด้วยการใชเปฏิญญาอาเซียน

     ระลึกถึง การตัดสินใจจัดทำกฎบัตรอาเซียน ตามแผนปฏิบัติดารเวียงจันทน์ ปฏิญญากัวลาลัมเปอร์ว่าด้วยการจัดทำกฎบัตรอาเซียน และปฏิญญาเซบูด้วยแผนแม่บทชองกฎบัตรอาเซียน

     ตระหนัก ถึงการมีผลประโยชน์ร่วมกันและการพึ่งพาอาศัยกันระหว่างประชาชนปละรัฐสมาชิกอาเซียนซึ่งมีความผูกพันกันทางภูมิศาสตร์ ตลอดจนวัตถุประสงค์และชะตาร่วมกัน

     ได้รับแรงบันดาลใจ และรวมกันภายใต้วิสัยทัศน์เดียวกัน อัตลักษณ์เดียวกันและประชาคมที่มีกความเอื้ออาทรเดียวกัน

     รวมกัน ด้วยความปรารถนาเดียวกันและเจตจำนงร่วมกันที่จะดำรงอยู่ในภูมิภาคแห่งสันติภาพ ความมั่นคง และเสถียรภาพที่ถาวร มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน มีความมั่นคงและความก้าวหน้าทางสังคมร่วมกัน และที่จะส่งเสริมผลประโยชน์ อุดมการณ์ และความมุ่งมาดปรารถนาที่สำคัญของเรา

      เคารพ ความสำคัญพิ้นฐานของมิตรภาพและความร่วมมือ และหลักการแห่งอธิปไตย ความเสมอภาค บูรณภาพแห่งแดนดิน การไม่แทรกแซงกัน ฉันทามติและเอกภาพในความหลากหลาย
 
     ยึดมั่น ในหลักการแห่งประชาธิปไตย หลักนิติธรรม และธรรมาภิบาล การเคารพ และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน

     ตกลงใจ ที่จะทำให้แน่ใจถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อประโยชน์ของประชาชนรุ่นปัจจุบันและอนาคต และตั้งมั่นให้ความเป็นอยู่ที่ดี การดำรงชีวิตและสวัสดิการของประชาชนเป็นศูนย์กลางของกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียน

      เชื่อมั่น ในความจำเป็นที่จะกระชับสายสัมพันธ์ที่มีอยู่ของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในระดับภูมิภาค เพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่มีความเหนียวแน่นทางการเมือง การรวมตัวทางเศรษฐกิจ และมีความรับผิดชอบทางสังคม เพื่อที่จะตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพต่อความท้าทายและโอกาสในปัจจุบันและอนาคต

     ผูกพัน ที่จะเร่งสร้างประชาคมโดยผ่านความร่วมมือและการรวมตัวในภูมิภาคที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ซึ่งประกอบด้วยประชาคมความั่นคงอาเซียน ประชาคมอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ตามที่ระบุไว้ในปฏิญญาบาหลีว่าด้วยข้อตกลงอาเซียนฉบับที่ 2

     ในการนี้จึงตกลงที่จะจัดทำกรอบทางกฎหมายและทางสถาบันของอาเซียนโดยกฎบัตรนี้

     และเพื่อการนี้ ประมุขรัฐหรือหัวหน้ารัฐบาลของรัฐสมาชิกอาเซียน ซึ่งมาประชุมกันที่สิงคโปร์ ในวาระประวัติศาสตร์ครบรอบ 40 ปีของการก่อตั้งอาเซียน ได้เห็นชอบกับกฎบัตรอาเซียนนี้
 
*ข้อความบทนี้ปรากฏอยู่ในกฏบัตรอาเซียน ซึ่งมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2551

      นับตั้งแต่ก่อตั้งอาเซียนเป็นต้นมา ประเทศสมาชิกมีความร่วมมือกันในหลายด้าน ทั้งเวทีในระดับทวิภาคี ในภูมิภาค และในเวทีโลก เช่น การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) ในปี พ.ศ.2535 เพื่อส่งเสริมให้มีการค้าขายในภูมิภาคมากขึ้น ด้วยการลดภาษีศุลกากรระหว่างกันและการทำสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (TReaty on the Southeast Asian Nuclear Weapon-Free Zone: SEANWFZ) ในปี พ.ศ. 2538 เป็นต้น

     หลังจากอาเซียนรวมตัวกันมาเป้นเวลา 40 ปี ประเทศสมาชิกทั้งหมดเห็นตรงกันว่าอาเซียนควรพัฒนาความร่วมมือให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ภูมิภาคนี้มีความมั่นคงทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม มีอำนาจต่อรองในเวทีโลกมากขึ้นกว่าเดิม ดังนั้นในเดือนตุลาคม พ.ศ.2546 ประเทศสมาชิกจึงลงนามร่วมกันในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ฉบับที่ 2 (Declaration of ASEAN Concord ll หรือ Bali Concord ll) เพื่อยกฐานะอาเซียนจากสมาคมเป้นประชาคม และประกาศจัดตั้ง ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ภายในปี พ.ศ.2563 หรือ ค.ศ.2020

      ต่อมาในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 เมื่อปี พ.ศ.2550 ที่ประเทศสิงคโปร์ ผู้นำอาเซียนได้ร่วมกันลงนามใน กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) เพื่อการรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียนเร็วขึ้น คือ ภายในปี พ.ศ.2558 โดยกฎบัตรอาเซียนนี้มีวัตถุประสงค์หลัก คือ

     1. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนในการดำเนินการตามเป้าหมายต่างๆ

     2. เพื่อสร้างกลไกส่งเสริมให้รัฐสมาชิกปฏิบัติตามความตกลงต่างๆของอาเซียน

     3.เพื่อให้อาเซียนเป็นองค์กรที่ใกล้ชิดและสร้างประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริงมากขึ้น

     ในการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ต้องอาศัยแนวทางในการสร้างความรู้ดังนี้

     1. สร้างค่านิยมและแนวปฏิบัติร่วมกัน เช่น ค่านิยมในเรื่องการไม่ใช้กำลังยึดหลักสันติวิธี และการไม่ใช้อาวุธนิวเคลียร์ เพื่อสร้างความสงบสันติภายในภูมิภาค
 
     2. เสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการทหาร เพื่อสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและป้องกันความขัดแย้งที่รุนแรง
 
     3. เสริมสร้างขีดความสามารถของอาเซียนในการเผชิญภัยคุกคามความมั่นคงของมนุษย์ ตลอดจนจัดทำข้อมูลกลางในเรื่องอาชญากรรมข้ามชาติในอาเซียน เพื่อใช้แก้ไขปัญหาการก่อการร้าย การค้ายาเสพติด  และอาชญากรรมข้ามชาติ
 
     4. เตรียมความพร้อมสำหรับบุคลากรในสาขาต่างๆ อาทิ ภาษาอังกฤษและภาษาท้องถิ่น เนื่องจากอาเซียนใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางหรือภาษาราชการในการประสานงาน ส่วนภาษาท้องถิ่นใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารกับประชาชนและนักท่องเที่ยวในประเทศสมาชิก
 
     5. ศึกษาข้อมูลต่างๆ โดยเฉพาะตัวบทกฎหมายของสมาชิกแต่ละประเทศ เนื่องจากมีความแตกต่างกัน เพื่อประโยชน์ในการเสริมสร้างความร่วมมือ และป้องกันความขัดแย้งระหว่างประเทศ

     6. จัดตั้งสำนักงาน ส่วนงาน เพื่อดูแลความรับผิดชอบงานด้านอาเซียน

      7. ศึกษาวัฒนธรรมของสมาชิก โดยเฉพาะประเทศที่มีวัมนธรรมที่แตกต่างกันเพื่อสร้างความเข้าใจและการปฏิบัติต่อประชาชนได้อย่างถูกต้อง
 
อาเซียน
 

เสาหลักของประชาคมอาเซียน

     ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2552 ประเทศสมาชิกได้รับรองปฏิญญาชะอำ-หัวหินเกี่ยวกับแผนการจัดตั้งประชาคมอาเซียน โดยได้กำหนดให้มีความร่วมมือ 3 ด้าน หรือเรียกว่าเสาหลักทั้งสาม อันได้แก่

- ประชาคมการเมืองและความมั่นคงของอาเซียน (ASEAN Political-Security Community: APSC)

     จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ประเทศสมาชิกอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและข้อพิพาทต่างๆ ด้วสันติวิธี รวมถึงความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้าย และเน้นการส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน

- ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC)


      จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีเศรษฐกิจมั่นคง สามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่น โดยมีแผนงานการดำเนินงานดังนี้คือ

     1. มีตลาดและฐานการผลิตเดียว สามารถเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานอย่างเสรี
     2. ส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ โดยให้ความสำคัญในเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค ทรัพย์สินทางปัญญา และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
     3. พัฒนาเศรษฐกิจเพื่อความเสมอภาคกันของประเทศสมาชิก
     4. ประสานนโยบายกับนานชาติเพื่อให้ดำเนินเศรษฐกิจได้อย่างกลมกลืนกับเศรษฐกิจโลก

- ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio Cultural Community: ASCC)


จัดตั้งขึ้นเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนในภูมิภาคอาเซียน โดยมีแผนงานความร่วมมือ 6 ด้าน คือ

      1. พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้มีการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เหมาะสมแก่การนำไปประกอบอาชีพ
      2. พัฒนาสวัสดิการสังคม เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดี ได้รับการบริการทางการแพทย์อย่างเท่าเทียม
      3. พัฒนาสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ธรรมชาติ
      4. ลดช่องว่างการพัฒนาประเทศ ให้ภูมิภาคนี้เจริญเติบโตอย่างทัดเทียมกัน
      5. พัฒนาด้านสิมธิมนุษยชน
      6. สร้างอัตลักษณ์อาเซียน ส่งเสริมความเข้าใจในความคล้ายคลึงและแตกต่างกันของวัฒนธรรมของแต่ละประเทศในอาเซียน

กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)

      กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) คือ ธรรมนูญหรือกฎหมายสูงสุดของประเทศสมาชิกอาเซียน มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2551 ประกกอบด้วยบทบัญญัติ 13 บท 55 ข้อ ซึ่งมีสาระสำคัญที่ควรรู้ดังนี้

วัตถุประสงค์ของการรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียน

     1.เพื่อส่งเสริมและรักษาสันติภาพในภูมิภาคให้มีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น
     2. เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการเมือง ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรมให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
     3. เพื่อทำให้ภูมิภาคอาเซียนให้เป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์และอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงอื่นๆ
     4. เพื่อให้ประชาชนและรัฐสมาชิกของอาเซียนอยู่ร่วมกับประชาคมโลกได้โดยสันติ
     5. เพื่อสร้างตลาดและฐานการผลิตเดียวที่มีเสียรภาพ ความมั่นคั่งมีความสามาถในการแข่งขันสูง
     6. เพื่อบรรเทาความยากจนและลดช่องว่างการพัฒนาในอาเซียน
     7. เพื่อเสริมสร้างประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล หลักนิติธรรม รวมถึงส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน
     8. เพื่อความร่วมมือในการต่อต้ายอาชญากรรมข้ามชาติทุกรูปแบบ
     9. เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและมรดกทางวัฒนธรรมในภูมิภาคและสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
     10. เพื่อส่งเสริมความร่วมมือกันในด้านการศึกษา วิทยศาสตร์ และทคโนโลยี
     11. เพื่อให้ประชาชนในภูมิภาคมีความอยู่ดีกินดี มีโอกาสเท่าเทียมกันในการพัฒนามนุษย์ สวัสดิการสังคม
     12. เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยมั่นคง และปราศจากยาเสพติด
     13. เพื่อส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนของภูมิภาคนี้มีส่วนร่วมและได้รับผลประโยชน์จากกระบวนการรวมตัวและการสร้างประชาคมอาเซียน
     14. เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ของอาเซียนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม
     15. เพื่อเป็นองค์กรที่มีพลังในการสร้างความสัใพันธ์และความรว่มมือกับองค์กรระหว่างประเทศอื่นๆในเวทีโลก

หลักปฏิบัติของอาเซียน

กฏบัตรอาเซียน กำหนดให้อาเซียนและประเทศสมาชิกปฎิบัติตามหลักการดังต่อไปนี้

     1. เคารพเอกราช อธิปไตย ความเสมอภาค บูรณภาพแห่งดินแดน และอัตลักษณ์แห่งชาติของรัฐสมาชิกอาเซียนทั้งปวง
     2. ผูกพันอละรับผิดชอบร่วมกันในการเพิ่มพูนสันติภาพ ความมั่นคง และความมั่งคั่งของภูมิภาค
     3. ไม่รุกรานหรือข่มขู่ว่าจะใช้กำลังหรือการกระทำอื่นใดในลักษณะที่ขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ
     4. ระงับข้อพิพาทโดยสันติ
     5. ไม่แทรกแซงกิจการภายในของรัฐสมาชิกอาเซียน
     6. เคารพสิทธิของรัฐสมาชิกทุกรัฐในการธำรงประชาชาติของตนโดยปราศจากการแทรแซง การบ่อนทำลาย และการบังคับจากภายนอก
     7. ปรึกษาหารือที่เพิ่มพูนขึ้นในเรื่องที่มีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อผลประโยชน์ร่วมกันของอาเซียน
     8. ยึดมั่นต่อหลักนิติธรรม ธรรมาภิบาล หลักการประชาธิปไตยและรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญ
     9. เคารพเสรีภาพพื้นฐาน การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และการส่งเสริมความยุติธรรมทางสังคม
     10. ยึดภือกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายระหว่างประเทศ รวมถึงกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ที่รัฐสมาชิกอาเซียนยอมรับ
     11. ละเว้นจากการทีส่วนร่วมในการคุกคามอธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดนหรือเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจของรัญสมาชิกอาเซียน
     12. เคารพวัฒนธรรม ภาษา และศาสนาที่แตกต่างของประชาชนอาเซียน
     13. มีส่วมร่วมกับอาเซียนในการสร้างความสัมพันธ์กับภายนอกทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยไม่ปิดกั้นและไม่เลือกปฏิบัติ
     14. ยึดมั่นในกฎการค้าพหุภาคีและระบอบของอาเซียน

สถานภาพของอาเซียน

      อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีสถานภาพเป็นนิติบุคคล ซึ่งประกอบด้วยองค์กรย่อย (Organs) ดังต่อไปนี้

องค์กรอาเซียน
อำนาจหน้าที่
ผู้เข้าร่วมการประชุม
1. ที่ประชุมสุดยอด (ASEAN Summit)
กำหนดนโยบายและ ตัดสินใจในเรื่องสำคัญ รวมถึงกรณีที่มีการละเมิดพันธกรณีตามกฎบัตรอย่างรุนแรง
ผู้นำของแต่ละประเทศ
2. คณะมนตรีประสาน งานอาเซียน (ASEAN   
Coordinating Council:ACC)
เตรียมการประชุมผู้นำประสานงานระหว่างเสาหลักทั้ง 3 ด้าน
รัฐมนตรีต่างประ
เทศอาเซียน
3. คณะมนตรีประชาคมอาเซียน (ASEAN Community Councils)  
ติดตามการทำงานตามนโยบายผู้นำโดยเสนอรายงานและข้อเสนอแนะต่อผู้นำ
ผู้แทนที่ประเทศสมาชิกแต่งตั้งให้เป็นผู้รับผิดชอบในในแต่ละเสาหลัก  (เศรษฐกิจ การเมือง สังคมวัฒนธรรม)
4. องค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา (ASEAN Sectoral Ministerial Bodies)     
นำความตกลง\มติของผู้นำไปปฏิบัติ ให้ข้อเสนอแนะต่อคณะมนตรีประชาคมอาเซียน
รัฐมนตรีเฉพาะสาขา
5. สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat)
เปรียบได้กับผู้บริหารสูงสุดของอาเซียนติดตามการปฏิบัติตามคำตัดสินของกลไกระงับข้อพิพาท
เลขาธิการอาเซียนเป็นผู้บริหาร
6. คณะผู้แทนถาวร ประจำอาเซียน (Committee of Permanent Representatives to ASEAN:CPR)                                       
เป็นตัวแทนประเทศสมาชิก
ผู้แทนระดับเอกอัครราชทูตที่แต่งตั้งจากประเทศสมาชิกให้ประจำที่สำนักงานใหญ่อาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา
7. สำนักงานเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ(ASEAN National Secretariat) *ตั้งอยู่ที่ประเทศสมาชิกแต่ละประเทศ
ประสานงานและสนับสนุน ภารกิจของอาเซียนในประเทศนั้นๆ

8. องค์กรสิทธิมนุษยชนของอาเซียน (ASEAN Human Rights Body: AHRB)
ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในภูมิภาค   ทั้งให้คำปรึกษา ติดตาม    และประเมินสถานะสิทธิมนุษยชน ส่งเสริมการศึกษาและความตื่นตัวของหน่วยงานรัฐและประชาชน
คณะทำงานยังไม่ได้ข้อสรุปในเรื่องนี้
9. มูลนิธิอาเซียน (ASEAN Foundation)  
เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับอาเซียนและปฏิสัมพันธ์กับประชาชน



รู้หรือไม่


      การประชุมสุดยอด กำหนดให้เพิ่มการประชุมสุดยอดอาเซียนจากเดิมปีละ 1 ครั้ง เป็นปีละ 2 ครั้ง โดยจัดที่ประเทศซึ่งเป็นผู้นำประเทศนั้นเป็นประธานเลขาธิการอาเซียน ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนเป็นผู้แต่งตั้ง ดำรงตำแหน่งวาระละ 5 ปี โดยไม่มีการต่ออายุ และมีรองเลขาธิการอาเซียน 4 คน

การปรึกษาหารือและฉันทามติ


     การตัดสินใจของอาเซียนอยู่บนพื้นฐานของการปรึกษาหารือและฉันทามติ (Consensus)

การระงับข้อพิพาท


     รัฐสมาชิกที่เป็นคู่กรณีในข้อพิพาทสามารถร้องขอให้ประธานอาเซียนหรือเลขาธิการอาเซียนเป็นคนกลางไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

งบประมาณ


     อาเซียนได้รับเงินสนับสนุนจากประเทศสมาชิกเท่าๆกัน และสามารถรับเงินจากประเทศคู่เจรจาได้

ประธานอาเซียน

ผู้นำแต่ละประเทศหมุนเวียนกันเป็นประธานอาเซียนในแต่ละปี โดยให้เรียงลำดับประเทศตามตัวอักษรภาษาอังกฤษ โดยประธานอาเซียนมีหน้าที่ดังนี้

     1.เป็นประธานการประชุมสุดยอดอาเซียนและการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง
     2.เป็นประธานคณะมนตรีประสานงานเอเซียน
     3.เป็นประธานคณะมนตรีประชาคมอาเซียนทั้งสามคณะ
     4.เป็นประธานองค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขาและเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่เกี่ยวข้อง
     5.เป็นประธานคณะกรรมการผู้แทนถาวร

รัฐสมาชิกซึ่งดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนมีหน้าที่ดังนี้


     1.ส่งเสริมการสร้างประชาคมอาเซียนให้เป็นศูนย์รวมของประเทศสมาชิกอย่างมั่นคง
     2.ตอบสนองต่อปัญหาเร่งด่วนหรือสถานการณ์วิกฤตที่มีผลกระทบต่ออาเซียนอย่างมีประสิทธิภาพ
     3.เป็นตัวแทนของอาเซียนในการเสริมสร้างและส่งเสริมความสัมพันธ์กับหุ้นส่วนภายนอกภูมิภาค
     4.ปฏิบัติตามหน้าที่และภารกิจที่ได้รับมอบหมาย

อัตลักษณ์และสัญลักษณ์ของอาเซียน

ภาษาอาเซียน

     ภาษาทางการที่ใช้ในการติดต่อประสานงานระหว่างประเทศสมาชิกคือ ภาษาอังกฤษ

คำขวัญ


      คำขวัญของอาเซียน (ASEAN Mooto) คือ วิสัยทัศน์เดียว อัตลักษณ์เดียว ประชาคมเดียว One Vision, One Identity, One Community
 
อาเซียน
ดวงตราอาเซียน

ดวงตราอาเซียน

     ดวงตราอาเซียนเป็นรูปมัดรวงข้าวสีเหลืองบนพื้นวงกลมสีแดง สีขาว และสีน้ำเงิน
 
     รวงข้าวสีเหลือง 10 มัด หมายถึง ความใฝ่ฝันของบรรดาสมาชิกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศ ให้มีอาเซียนที่ผูกพันกันอย่างมีประสิทธิภาพ
 
     วงกลม เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงเอกภาพของอาเซียน
 
     ตัวอักษรคำว่า asean สีน้ำเงิน อยู่ใต้ภาพรวงข้าว แสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันเพื่อความมั่นคง สันติภาพ เอกภาพ และความก้าวหน้าของประเทศสมาชิกอาเซียน
     สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
     สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
     สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
     สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง

รู้หรือไม่


      สีของดวงตราอาเซียนทั้งสี่สีเป็นสีหลักที่ปรากฏอยู่ในตราสัญลักษณ์ของประเทศสมาชิกแต่ละประเทศ
 
 
ธงอาเซียน
ธงอาเซียน

ธงอาเซียน

      ธงอาเซียนเป็นธงพื้นสีน้ำเงิน มีดวงตราอาเซียนอยู่ตรงกลาง แสดงถึงเสถียรภาพ สันติภาพ ความสามัคคี และพลวัตของอาเซียน
      สีของธงประกอบด้วยสีน้ำเงิน สีแดง สีขาว และสีเหลือง ซึ่งเป็นสีหลักในธงชาติของบรรดาประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมด
     สัดส่วนความกว้างต่อความยาวของธงคือ 2:3 ธงอาเซียนมีหลายลักษณะตามการใช้งาน คือ
     ธงตั้งโต๊ะ   ขนาด10x15 เซนติเมตร
     ธงประดับห้อง   ขนาด 100x150 เซนติเมตร
     ธงประจำรถ   ขนาด 20x30 เซนติเมตร
     ธงภาคสนาม   ขนาด 200x300 เซนติเมตร
 
วันอาเซียน

วันอาเซียน

      กำหนดให้เป็นวันที่ 8 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันอาเซียน เนื่องจากเป็นวันลงนามปฏิญญากรุงเทพเมื่อปี พ.ศ.2510 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของอาเซียนนั่นเอง

เพลงอาเซียน

      เพลงอาเซียน (ASEAN Anthem) ซึ่งเป็นเสมือนเพลงชาติของประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศเกิดขึ้นจากการจัดประกวดเมื่อปี พ.ศ.2551 เปิดให้ประชาชนในประเทศสมาชิกอาเซียนที่สนใจส่งเพลงเข้าประกวด โดยมีหลักเกณฑ์ 5 ประการ คือ

     1.มีเนื้อร้องเป็นภาษาอังกฤษ
     2.มีลักษณะเป็นเพลงชาติประเทศสมาชิกอาเซียน
     3.มีคามยาวไม่เกิน 1 นาที
     4.เนื้อร้องสะท้อนความเป็นหนึ่งเดียวของอาเซียน
     5.เป็นเพลงที่แต่งขึ้นใหม่

      ในครั้งนั้นมีผู้ส่งผลงานเข้าประกวดทั้งสิ้น 99 เพลง คณะกรรมการการตัดสินซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากแต่ละประเทศในอาเซียนและตัวแทนจากจีน ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ประเทศละ 1 คน ได้ตัดสินให้เพลงที่ชนะเลิศได้แก่ The ASEAN Way ประพันธ์โดยนายกิตติคุณ สุดประเสริฐ (ทำนองและเรียบเรียง) นายสำเภา ไตรอุดม (ทำนอง) และนางพยอม วลัยพัชรา (เนื้อร้อง)

The ASEAN WAY


ทำนองและเรียบเรียง กิตติคุณ สุดประเสริฐ
ทำนอง สำเภา ไตรอุดม
เนื้อร้อง พยอม วลัยพัชรา


Raise our flag high, sky high
Embrace the pride in our heart
ASEAN we are bonded as one
Lookin' out to the world.
For peace, our goal from the very start
And prosperity to last.
We dare to dream, we care to share
Together for ASEAN
We dare to dream, we care to share
For it's the way of ASEAN.

วิถีแห่งอาเซียน


เนื้อร้องภาษาไทย สุรักษ์ สุขเสวี


พลิ้วสู่ลมโบกสะบัด ใต้หมู่ธงปลิวไสว
สัญญาณแห่งสัญญาทางใจ
วันที่เรามาพบกัน
อาเซียนเป็นหนึ่งดังที่ใจเราปรารถนา
เราพร้อมเดินหน้าไปทางนั้น
หล่อหลอมจิตใจให้เป็นหนึ่งเดียว
อาเซียนยึดเหนี่ยวสัมพันธ์
ให้สังคมนี้มีแต่แบ่งปัน
เศรษฐกิจมั่งคงก้าวไกล

       เพลง The ASEAN Way ใช้บรรเลงอย่างเป็นทางการครั้งแรกในพิธีเปิดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2552 ที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี


คำนี้น่ารู้


     ธรรมาภิบาล แปลว่า ปกครองด้วยความดี
     อัตลักษณ์ แปลว่า ลักษณะของตนเอง
     นิติธรรม แปลว่า หลักพื้นฐานแห่งกฎหมาย
     เซบู คือชื่อเกาะในประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งเคยใช้เป็นสถานที่จัดประชุมสุดยอดอาเซียน
     บูรณภาพ แปลว่า ความครบถ้วนบริบูรณ์
     พหุภาคี แปลว่า หลายฝ่าย
     ฉันทามติ แปลว่า ความตกลงโดยยินยอมพร้อมใจ


บทความที่เกี่ยวข้องกับอาเซียน

คัดลอกจากหนังสือประชาคมอาเซียน โดย พัชรา โพธิ์กลาง

----- พบกันใหม่ในตอนต่อไป -----



Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
วันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม 2566วันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม 2566

รางวัลสุนทรภู่กวีอาเซียน 2556รางวัลสุนทรภู่กวีอาเซียน 2556

อาเซียนในเวทีโลกอาเซียนในเวทีโลก



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

ความรู้รอบตัว