ธุดงค์ธรรมชัยกับการปฏิบัติธุดงควัตร


[ 23 ธ.ค. 2556 ] - [ 18271 ] LINE it!

การปฏิบัติธุดงควัตร
 
ธุดงค์ธรรมชัย ปีที่ 2
ธุดงควัตรผู้ปฏิบัติจะเลือกถือธุดงค์ข้อใดข้อหนึ่ง หรือจะถือครั้งละ 3-4 ข้อก็ได้
แล้วแต่ความศรัทธา แต่ไม่สามารถถือธุดงค์ในคราวเดียวกันทั้ง 13 ข้อได้

     ธุดงควัตร เป็นพุทธประเพณีที่ถือปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล
เนื่องจากธุดงค์ คือ บทฝึกตนในการกำจัดกิเลสทางพระพุทธศาสนาแบบเฉียบพลัน ที่เรียกว่า ธุตังคะ มีทั้งหมด 13 ข้อ โดยผู้ปฏิบัติจะได้ฝึกความอดทน และใช้ความเพียรสูงกว่าปกติ ซึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติให้การถือธุดงค์เป็นข้อบังคับ คือ ใครจะถือก็ได้ หรือไม่ถือก็ได้ แต่พระองค์ทรงอนุญาตให้ทำได้ เพราะเป็นข้อปฏิบัติที่เกื้อกูลและสนับสนุนให้บรรลุธรรมง่ายขึ้น

     ผู้ปฏิบัติจะเลือกถือธุดงค์ข้อใดข้อหนึ่ง หรือจะถือครั้งละ 3-4 ข้อก็ได้ แล้วแต่ความศรัทธา แต่ไม่สามารถถือธุดงค์ในคราวเดียวกันทั้ง 13 ข้อได้ เพราะบางข้อทำพร้อมกันไม่ได้ เช่น หากถือธุดงค์ข้อ รุกขมูลิกังคะ คือ ให้อยู่ตามร่มไม้เท่านั้น ก็จะไม่สามารถถือ ธุดงค์ข้อ อัพโภกาสิกังคะ คือ อยู่เฉพาะกลางแจ้งได้เป็นต้น
 
     ในยุคปัจจุบัน..คนส่วนใหญ่ห่างเหินพระพุทธศาสนาไปมาก อีกทั้งไม่ได้ศึกษาข้อมูลที่แท้จริงที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกจึงเข้าใจไปว่า ธุดงค์มีเฉพาะในป่าเท่านั้น แต่จริงๆ หาเป็นเช่นนั้นไม่ !!! เพราะในข้อปฏิบัติของธุดงค์ทั้ง 13 ข้อ มีข้อปฏิบัติเพียงข้อเดียวเท่านั้นที่ให้อยู่แต่ในป่า หรือที่เรียกว่า อารัญญิกังคะ (ข้อ 8) และถ้าต้องการปฏิบัติให้เข้มข้นยิ่งขึ้นก็เลือกปฏิบัติธุดงค์ข้อ 11 โสสานิกังคะ คือ อยู่แต่ในป่าช้าเท่านั้น
 
ธุดงค์ธรรมชัย ปีที่ 2
ในยุคปัจจุบัน..คนส่วนใหญ่ห่างเหินพระพุทธศาสนาไปมาก อีกทั้งไม่ได้ศึกษาข้อมูลที่แท้จริงที่มีอยู่ในพระไตรปิฎก
จึงเข้าใจไปว่า ธุดงค์มีเฉพาะในป่าเท่านั้น แต่จริงๆ หาเป็นเช่นนั้นไม่

ธุดงควัตร 13 ข้อ

ธุดงควัตรข้อที่ 1: ปังสุกูลิกังคะ ใช้ผ้าบังสุกุลที่ชักมาได้เท่านั้น จะไม่ใช้ผ้าที่มีผู้ถวายเด็ดขาด

ธุดงควัตรข้อที่ 2: เตจีวริกังคะ ใช้แต่ผ้าไตรจีวรเพียง 3 ผืนเท่านั้น คือ สบง จีวร และสังฆาฏิ ไม่ใช้ผ้าอติเรกหรือชุดสำรองเด็ดขาด

ธุดงควัตรข้อที่ 3: ปิณฑปาติกังคะ ฉันแต่อาหารที่บิณฑบาตได้มาเท่านั้น

ธุดงควัตรข้อที่ 4: สปทานจาริกังคะ เดินบิณฑบาตไปตามทางที่กำหนดไว้เท่านั้น ต้องรับบิณฑบาตไป
ตามลำดับบ้าน จะไม่ข้ามลำดับบ้านไปเด็ดขาด
 
ธุดงควัตรข้อที่ 5: เอกาสนิกังคะ ฉันมื้อเดียวต่อวันเท่านั้น หรือที่เรียกกันว่า..ฉันเอกา
 
ธุดงควัตรข้อที่ 6: ปัตตปิณฑิกังคะ ฉันในบาตรเท่านั้น หรือที่เรียกว่า ฉันสำรวม โดยจะนำภัตตาหารทั้งคาวและหวานทั้งหมดมาใส่รวมกันไว้ในบาตร แต่ไม่จำเป็นต้องคลุกเคล้าผสมกัน
 
ธุดงควัตรข้อที่ 7: ขลุปัจฉาภัตติกังคะ เมื่อลงมือฉันแล้วไม่รับประเคนอีก คือ จะไม่ฉันภัตตาหารที่นำมาถวายเพิ่มในภายหลังนั่นเอง แต่จะรับไว้เพื่อวัตถุประสงค์ที่จะรักษาศรัทธาญาติโยมก็ได้
 
ธุดงควัตรข้อที่ 8: อารัญญิกังคะ อยู่ป่านอกละแวกบ้านเท่านั้น คือ จะไม่เข้าไปพักอาศัยอยู่ในหมู่บ้านเลย เพื่อให้อยู่ห่างไกลจากหมู่บ้านและผู้คน (“ป่า” ตามนัยแห่งพระสูตร คือ ที่ห่างจากบ้านหลังสุดท้ายในหมู่บ้านออกไป 500 ชั่วธนู หรือประมาณ 1 กิโลเมตร)
 
ธุดงควัตรข้อที่ 9: รุกขมูลิกังคะ อยู่ตามร่มไม้เท่านั้น เว้นจากการเข้าไปพักอาศัยอยู่ในที่ที่มีหลังคามุงบัง แต่ก็ควรเว้นจากต้นไม้ 7 ประเภทนี้ คือ
  
     1. ต้นไม้ที่อยู่ในเขตแดนของ 2 ประเทศ (อาจเกิดอันตรายหากมีภัยสงคราม)
     2. ต้นไม้ที่มีคนนับถือบูชา
     3. ต้นไม้ที่มีการกรีดยางนำไปใช้ประโยชน์
     4. ต้นไม้มีผล
     5. ต้นไม้ที่มีค้างคาวอาศัยอยู่
     6. ต้นไม้มีโพรง
     7. ต้นไม้กลางวัด

ธุดงควัตรข้อที่ 10: อัพโภกาสิกังคะ อยู่เฉพาะกลางแจ้งเท่านั้น จะไม่เข้าไปพักใต้ร่มเงาเด็ดขาด (ยกเว้นฝนตก)
 
ธุดงควัตรข้อที่ 11: โสสานิกังคะ อยู่แต่ในป่าช้าเท่านั้น
 
ธุดงควัตรข้อที่ 12: ยถาสันถติกังคะ อยู่ในที่ที่คนอื่นจัดให้ ไม่เลือกว่าจะสะดวกสบาย หรือถูกใจตัวเองหรือไม่
 
ธุดงควัตรข้อที่ 13: เนสัชชิกังคะ อยู่แต่ในอิริยาบถ 3 อย่าง ได้แก่ ยืน เดิน นั่ง เท่านั้น แต่จะไม่เอนหลังนอนเด็ดขาด
 
 
 
  


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
พิธีหล่อรูปเหมือนทองคำคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูงพิธีหล่อรูปเหมือนทองคำคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง

ธุดงค์ธรรมชัยกับพุทธประเพณีการล้างเท้าพระธุดงค์ธรรมชัยกับพุทธประเพณีการล้างเท้าพระ

ธุดงควัตรของคณะพระภิกษุที่เดินธุดงค์ธรรมชัยธุดงควัตรของคณะพระภิกษุที่เดินธุดงค์ธรรมชัย



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

มหาปูชนียาจารย์