การหยัดสู้ของชาวพุทธในบังคลาเทศ


[ 14 พ.ค. 2550 ] - [ 18270 ] LINE it!

การหยัดสู้ของชาวพุทธในบังคลาเทศ 
 
    เหนือดินแดนพุทธอันเก่าแก่ ที่ชื่อว่า บังคลาเทศ (Bangladesh)  สายธารแห่งพุทธธรรม ยังคงผูกพันอย่างเหนียวแน่นด้วยสายใยจากพุทธบุตรและชาวพุทธหลากเชื้อสาย (13เชื้อชาติ) ซึ่งมีความแตกต่างทั้งภาษา และวัฒนธรรม กลุ่มที่สำคัญเช่นบารัว, มัลมา และจักมา บุคคลเหล่านี้  เคียงคู่อยู่กับประวัติศาสตร์ทุกหน้า ที่ต้องเปิดด้วยแรงศรัทธาและความอดทน นับแต่เพื่อนต่างศาสนิกเข้ามามีอิทธิพล เหนือดินแดนบังคลาเทศ หลายร้อยปี ชาวพุทธได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง  เช่น
 
 
    ชาวพุทธบริเวณเขาจิตตะกอง (จักมา, มัลมา) ต้องถูกไล่ที่สร้างเขื่อน กินเนื้อที่ถึง 54,000เอเคอร์ กว่าหมื่นครอบครัว ต้องจากหลักแหล่ง โดยไม่ได้รับการช่วยเหลือแต่อย่างใด
 
    เดือน มิถุนายน  พ.ศ.2529 มีการยกกองทัพสู่ดินแดน ภูเขาจิตตะกองเพื่อกวาดล้างชนเผ่าต่างๆ ซึ่งมีชาวพุทธ (จักมา) เป็นผู้นำ พร้อมอพยพชาวเบงกาลีอิสลาม 55,000คน ติดตามเข้าไปปล้นฆ่าทำลายล้างชุมชนพื้นเมือง ยึดไร่นาทรัพย์สิน ทำลายวัดวาอาราม จนกลายเป็นเมืองร้างและประกาศให้เพื่อนต่างศาสนิก(อิสลาม) เข้ามาอาศัยแทนชาวพื้นเมืองเดิม ชาวพุทธ (จักมา) เกือบหกหมื่นครอบครัวต้องหนีภัยไปอินเดียและพม่า
 
 
    แม้ภายหลัง ทุกอย่างเริ่มสงบลง ชาวพุทธบนเขาจิตตะกองบางส่วน ที่ลี้ภัยไปต่างแดน ได้รับอนุญาตให้กลับมาอาศัยในเขตเดิม แต่หลายแห่ง ชุมชนอิสลามเข้ายึดครองไปหมดแล้ว จำเป็นต้องไปตั้งชุมชนใหม่อย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง ที่ดินทำกินที่เคยเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ บัดนี้จมอยู่ใต้เขื่อน และที่เหลือก็ถูกยึดเอาไปจนหมด แต่ชาวพุทธ ก็ยังคงต่อสู้ กับชะตากรรมอย่างไม่ย่อท้อ ท้อถอย  ส่วนมาก เลี้ยงชีพด้วยการเกษตร และหัตถกรรม เช่นจักสาน, ทอผ้า และค้าขายเล็กๆน้อยๆ พอเป็นสุขตามอัตภาพ
 
 
 
    ส่วนกลุ่มชาวพุทธบนพื้นที่ราบ (บารัว) ซึ่งอาศัยกระจัดกระจายร่วมกับเพื่อนต่างศาสนิกก็ต้องอยู่อย่างเงียบๆไร้ปากเสียง
 
 
    เนื่องจากชาวพุทธมีส่วนน้อย สิทธิหรือโอกาสต่างๆที่ชาวพุทธพึงมี ก็ดูเหมือนจะลดน้อยถอยลงตามไปด้วย เช่นการรับเข้าทำงาน หรือเลื่อนตำแหน่ง เพื่อนต่างศาสนิกมักเป็นผู้ได้โอกาสนั้นเป็นส่วนใหญ่ แต่ขึ้นชื่อว่าชาวพุทธ เมื่อมีพ่อองค์เดียวกันคือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมไม่มีวันทิ้งกัน ปัจจุบันมีการไปมาหาสู่กันระหว่างชาวพุทธบนเขาและที่ราบ พุทธบุตรบนที่ราบ (บารัว) ได้ขึ้นไปช่วยเหลือ นำความเจริญไปสู่ชาวพุทธบนเขา (จักมา, มัลมา) ด้วยการให้การศึกษา สร้างโรงเรียนหลายแห่งแก่เด็กยากจน ขณะเดียวกัน พระภิกษุ ชาวพุทธภูเขา (จักมา, มัลมา) ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ก็ได้รับความเคารพนับถือจากชาวบารัวเป็นจำนวนมาก ภิกษุสามเณรหลายรูป ได้ไปศึกษาต่อที่อินเดีย, ศรีลังกา, พม่า และไทยเพื่อจะนำความรู้กลับมาพัฒนาชุมชน เรียกได้ว่า พุทธบุตรคือสื่อกลาง เชื่อมสายสัมพันธ์ พี่น้องชาวพุทธเลยทีเดียว
 
 
     แม้ในปี พ.ศ.2545  มีเหตุไม่คาดฝันคือ พุทธบุตรบังคลาเทศท่านหนึ่ง ถูกฆาตกรรมเสียชีวิต ชาวพุทธทั้งประเทศรวมกลุ่มกัน เรียกร้องหาคนผิด นับเป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง ที่ชาวพุทธสามัคคี ลุกขึ้นสู้เพื่อความเป็นธรรม
 
    ชาวพุทธในบังคลาเทศทุกคน  ภูมิใจมากที่เกิดมาเป็นลูกพระพุทธเจ้า ทุกคนมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าที่จะรักษาประเพณี วัฒนธรรมชาวพุทธให้คงอยู่อย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นสิ่งที่ถือปฏิบัติ สืบต่อกันมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล



Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
สามเณรแก้วแห่งบังคลาเทศสามเณรแก้วแห่งบังคลาเทศ

ความในใจของพระครูสุมณฑ์ธรรมวงศ์ความในใจของพระครูสุมณฑ์ธรรมวงศ์

ดร.เอมเบดการ์ และ เหินฟ้าสู่แดนภารตะดร.เอมเบดการ์ และ เหินฟ้าสู่แดนภารตะ



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

ช่วงเด่นฝันในฝัน