ปกบ้านครองเมือง ของประเทศกัมพูชา


[ 29 พ.ค. 2557 ] - [ 18271 ] LINE it!

ปกบ้านครองเมือง  ของประเทศกัมพูชา

 

พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี

     กัมพูชาเคยตกเป็นอาณานิคมของประเทศฝรั่งเศส  ก่อนได้รับเอกราชในปี  พ.ศ. 2496  แต่หลังจากได้รับเอกราชมาแล้วก็เกิดความแตกแยกภายในประเทศระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์กับฝ่ายประชาธิปไตยอยู่นานนับสิบปีกว่าความขัดแย้งจะยุติลง

 

สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน

 

     ปัจจุบันกัมพูชามีระบอบการปกครองแบบเดียวกับบ้านเรา  คือ  ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา  มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ

     กษัตริย์องค์ปัจจุบันคือ  พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี  เสด็จขึ้นครองราชย์ตั้งแต่วันที่  14  ตุลาคม  พ.ศ. 2547

     นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือ  สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน

กัมพูชาแบ่งเขตการปกครองออกเป็น  20  จังหวัด (province)  และ  4  เขตเทศบาลนคร  (municipality)  ดังนี้

เขตการปกครองออกเป็น  20  จังหวัด  ได้แก่

1.         บันเตียเมียนเจย                       (Banteay Meanchey)

2.         พระตะบอ                                (Battambang)

3.         กัมปงจาม                                (Kampong Cham)

4.         กัมปงชนัง                                (Kampong Chhnang)

5.         กัมปงสปือ                                (Kampong Speu)

6.         กัมปงธม                                  (Kampong Thom)

7.         กัมปอด                                   (Kampot)

8.         กันดาล                                    (Kandal)

9.         เกาะกง                                    (Koh Kong)

10.       กระแจะ                                    (Kratié)

11.       มณฑลคีรี                                 (Mondulkiri)

12.      โอดดาร์เมียนเจีย                       (Oddar Meancheay)

13.      พระวิหาร                                   (Preah Vihear)

14.      โพธิสัตว์                                   (Pursat)

15.      เปรยแวง                                   (Prey Veng)         

16.      รัตนคีรี                                      (Ratanakiri)

17.      เสียมราฐ                                   (Siem Reap)

18.      สตึงแตรง                                  (Stung Treng)

19.      สวายเรียง                                  (Svay Rieng)

20.      ตาแก้ว                                      (Takéo)

เขตเทศบาลนคร  4  เขต  ได้แก่

1.         แกบ                                    (Kep)

2.         ไพลิน                                  (Pailin)

3.         พนมเปญ                             (Phnom Penh)

4.         กรุงสีหนุวิลล์หรือกัมปงโสม    (Sihanoukville, Kampong Som)

     แต่ละจังหวัดแบ่งการปกครองออกเป็นอำเภอและตำบล  ภาษาเขมรเรียกอำเภอว่า  สะร้อก  (Srok)  เรียกตำบลว่า  (Khum)  ส่วนในแต่ละเขตเทศบาลนั้นแบ่งการปกครองเป็นเขตและแขวง  ชาวกัมพูชาเรียกเขตว่า  คาน  (Khan)  เรียกแขวงว่า  สังกัด  (Sangkat)  และเรียกหมู่บ้านว่า  ภูมิ  (Phum)  ซึ่งในแต่ละจังหวัดก็จะมีผู้ว่าราชการคอยบริหารด้วย

วันชาติ

     กัมพูชาได้รับเอกราชเมื่อ วันที่  9  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2496  จึงถือว่าวันที่  9  พฤศจิกายน ของทุกปี  เป็นวันชาติของกัมพูชาและยังเป็นวันหยดราชการของชาวกัมพูชาอีกด้วย

    การปกครองของกัมพูชา  เป็นระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา  ประกอบด้วย

   สภาแห่งชาติ (National  Assembly)  ซึ่งรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่า  120  คน  มาจากการเลือกตั้งทั่วไปทั้งทางตรงและทางอ้อม  ทางตรงคือการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ  ทางอ้อมคือการลงคะแนนเสียงลับจากคณะกรรมการชุมชนและแขวงทั่งประเทศ  มีวาระดำรงตำแหน่ง  5  ปี

    วุฒิสภา  (Senate)  มีสมาชิกมากสุดไม่เกินกึ่งหนึ่งสภาแห่งชาติ  มาจารการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์  2  คน  จากการแต่งตั้งโดยเสียงข้างมากของสภาแห่งชาติชาติอีก  2  คน  และที่เหลือมาจากการเลือกตั้งทางอ้อมโดยการลงคะแนนเสียงลับ  มีวาระดำรงตำแหน่ง  6  ปี

โครงสร้างการบริหารประกอบด้วยกระทรวงหลัก  26  กระทรวง  ได้แก่

1.         สำนักนายกรัฐมนตรี

2.         กระทรวงกลาโหม

3.         กระทรวงมหาดไทย

4.         กระทรวงประสานงานกับรัฐสภาและการป้องกันการทุจริต                       ประพฤติมิชอบในวงราชการ

5.         กระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศ

6.         กระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง

7.         กระทรวงข่าวสาร

8.         กระทรวงสาธารณสุข

9.         กระทรวงอุตสาหกรรม  เหมืองแร่ และพลังงาน

10.       กระทรวงวางแผน

11.       กระทรวงพาณิชย์

12.       กระทรวงศึกษาธิการ  เยาวชน  และการกีฬา

13.       กระทรวงเกสร  ป้ำม้  และการประมง

14.       กระทรวงวัฒนธรรมและศิลปกร

15.       กระทรวงสิ่งแวดล้อม

16.       กระทรวงพัฒนาชนบท

17.       กระทรวงแรงงานและการฝึกฝนอาชีพ

18.       กระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคม

19.       กระทรวงศาสนา

20.       กระทรวงกิจการสตรี

21.       กระทรวงกิจการสังคมและทหารศึก

22.       กระทรวงโยธาธิการและการขนส่ง

23.       กระทรวงยุติธรรม

24.       กระทรวงการท่องเที่ยว

25.       กระทรวงพัฒนาผังเมืองและการก่อสร้าง

26.       กระทรวงชลประทาน

พรรคการเมืองที่สำคัญของกัมพูชา

     พรรคประชาชนกัมพูชา  (Cambodian People’s Party: CPP)  หัวหน้าพรรคคือ  สมเด็จอัครมหาธรรมโพธิศาลเจีย  ซิง

     พรรคฟุนซิงเปก  (FUNCINPEC  หรือ  FrontUni  Nationai   pour  ur  Cambode  lndoendent   Party: SRP)  หัวหน้าพรรคคือนายสมรังสี  ปัจจุบันเป็นพรรคฝ่ายค้าน

   การเมืองของกัมพูชามีเสถียรภาพมากขึ้นหลังจากจัดตั้งรัฐบาลผสม  ระหว่าง  2  พรรคการเมืองหลัก  คือ  พรรคประชาชนกัมพูชากับพรรคฟุนซินเปก  ระบอบประชาธิปไตยของกัมพูชาในปัจจุบันก้าวหน้า  ประชาชนกระตือรือร้นในการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง

บทความที่เกี่ยวข้องกับปกบ้านครองเมือง  ของประเทศกัมพูชา

 

อาเซียน 10 ประเทศ

กัมพูชาหนึ่งในประชาคมอาเซียน

ทำเลที่ตั้ง ของประเทศกัมพูชา



Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
วันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม 2566วันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม 2566

รางวัลสุนทรภู่กวีอาเซียน 2556รางวัลสุนทรภู่กวีอาเซียน 2556

ทำมาค้าขาย  ของประเทศกัมพูชาทำมาค้าขาย ของประเทศกัมพูชา



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

ความรู้รอบตัว