ปกบ้านครองเมือง ประเทศบรูไน


[ 1 ก.ค. 2557 ] - [ 18268 ] LINE it!

ปกบ้านครองเมือง ประเทศบรูไน

 

สมเด็จพระราชาธิบดี  ฮัจญี  ฮัสซานัล  โบลเกียห์  มูอิซซัดดิน  วัดเดาะห์

     ในอดีตบรูไนมีกำลังอำนาจมาก  มีสุลต่านเป็นผู้ปกครองรัฐ  ซึ่งมีอาณาเขตครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะบอร์เนียวและส่วนหนึ่งของหมู่เกาะซูลู  (Sulu)  เมื่อเริ่มมีชาวยุโรปเดินเรือมาค้าขาย บรูไนก็เฟื่องฟูทางการค้า  สินค้าส่งออกที่สำคัญในสมัยนั้น  คือ  การบรุ  พริกไทย  และทองคำ

     หลังจากนั้น  บรูไนก็ค่อยๆ  เสียดินแดนให้ยุโรป  รัฐเริ่มเสื่อมอำนาจลง  ต่อมาเซอร์เจมส์ บรุก  (James Brooke)  ชาวอังกฤษ  เดินทางมาและได้ยื่นข้อเสนอช่วยปราบปรามโจรสลัด  สุลต่านจึงยกดินแดนบางส่วนให้  แล้วอังกฤษก็เริ่มมีอำนาจการปกครองมากขึ้นเรื่อยๆ  จนบรูไนได้ลงนามในสนธิสัญญายินยอมเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษอย่างสมบรูณ์ในปี  พ.ศ. 2449  ทำให้อังกฤษมีอำนาจการปกครองอย่างเต็มที่เป็นเวลา  95  ปี  จนกระทั่งได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อวันที่  1  มกราคม  พ.ศ. 2527

     ประเทศบรูไนมีรูปแบบการปกครองแบบ  สมบูรณาญาสิทธิราชย์  ประมุขผู้นำรัฐบาลคนปัจจุบันคือ  สมเด็จพระราชาธิบดี  ฮัจญี  ฮัสซานัล  โบลเกียห์  มูอิซซัดดิน  วัดเดาะห์  (His Majesty Sultan Haji Hassanal Bolkiah Mu’izzaddin Waddaulah)  สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่  29  โดยทรงเป็นพระประมุขของประเทศตั้งแต่วันที่  5  ตุลาคม  2510  จนถึงปัจจุบัน

 

     การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy) คือ ระบอบการปกครองที่มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครอง สิทธิ์ขาดในการบริหารประเทศในอดีตประเทศไทยเคยมีการปกครองรูปแบบนี้ตั้งแต่สมัยสุโขทัย และมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยใน  ปี พ.ศ. 2475

วันสำคัญแห่งชาติของบรูไน

วันชาติ  คือ  วันที่  23  กุมภาพันธ์

วันประกาศอิสรภาพ  คือ  วันที่  1  มกราคม  พ.ศ. 2527

วันคล้ายวันประสูติสมเด็จพระราชาธิบดี  ตรงกับวันที่  15  กรกฎาคม

บรูไนแบ่งการปกครองออกเป็น 4 เขต ได้แก่

1. เขตบรูไน-มัวรา (Brunei - Muara)

2. เขตเบอไลต์     (Belait)

3. เขตตูตง         (Temburong)

4. เขตเติมบูรง     (Tutong)

     อำนาจการปกครองสูงสุดในบรูไนนั้นเป็นของสุลต่าน  ตามรัฐธรรมนูญ  ของประเทศบรูไน  (ฉบับปี  พ.ศ. 2527)  ที่กำหนดให้สุลต่านเป็น อธิปัตย์  คือ  เป็นทั้งประมุขและนายกรัฐมนตรี  โดยมีเกณฑ์ว่า  ผู้เป็นนายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นชาวบรูไนเชื้อสายมาเลย์โดยกำเนิดและต้องนับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนหนี่

     ปัจจุบันนอกจากสม่ด็จพระราชาธิบดีจะทรงเป็นประมุขของประเทศและนายกรัฐมนตรีแล้ว  ยังดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่นๆ  ด้วย  ได้แก่  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและกระทรวงการคลัง

     ทางด่านการบริหารประเทศ  รัฐบาลบรูไนให้ความสำคัญกับประชาชนเป็นอย่างยิ่ง  เช่นเมื่อปี ฑ.ศ. 2548  สมเด็จพระราชาธิบดีเปิดโอกาสให้นักธุรกิจที่ไม่ใช่มุสลิม  แต่มีความสามารถ  เข้ามาเป็นคณะรัฐมนตรีเป็นคนแรก  เพื่อต้องการพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้า

     นอกจากนี้บรูไนยังมีระบบ  รัฐสวัสดิการ  ที่มีประสิทธิภาพ  คือรัฐให้บริการประชาชนโดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน  เด็กอายุต่ำกว่า  12  ปี ไม่ต้องเสียค่ารักษาพยาบาล  รวมทั้งสนับสนุนให้ทุกคนมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง

     ประเทศที่มีระบบ รัฐสวัสดิการ จะใช้ระบบการเก็บภาษี  แบบก้าวหน้านั่นคือ  รัฐบาลจะเก็บภาษีจากคนรวยเป็นจำนวนมากกว่าคนจนมาก  ส่วนคนที่มีฐานะไม่ดีก็จะเก็บในอัตราน้อยหรือไม่เรียกเก็บเลย  ซึ่งรัฐจะนำเงินภาษีที่เก็บได้นี้มาใช้จ่ายให้บริการทางสังคมแก่ประชาชน

    * ภาษีเงินได้  คือ  เงินที่รัฐบาลบังคับเก็บจากประชาขน  เพื่อนำมาใช้พัฒนาบริหารประเทศเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม *

     รัฐสวัสดิการ (Welfare state) เป็นระบบทางสังคมที่รัฐให้ดูแลประชาชนทุกคนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างเท่าเทียมกัน โดยเน้นปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น เรื่องสุขภาพ การศึกษา แก่ไขปัญหาการว่างงานเพื่อให้มีรายได้เลี้ยงชีพหรือที่อยู่อาศัย

ปัจจุบันรัฐบาลบรูไนตั้งกระทรวงขึ้นมาเพื่อดูแลด้านต่างๆ ทั้งหมด  12  กระทรวง  ได้แก่

1. สำนักนายกรัฐมนตรี

2. กระทรวงกลาโหม

3. กระทรวงการคลัง

4. กระทรวงการต่างประเทศ

5. กระทรวงมหาดไทย

6. กระทรวงศึกษาธิการ

7. กระทรวงอุตสาหกรรม

8. กระทรวงศาสนา

9. กระทรวงการพัฒนา

10. กระทรวงวัฒนธรรม เยาวชนและกีฬา

11. กระทรวงสาธารณสุข

12. กระทรวงคมนาคม

     บรูไนไม่มีการเลือกตั้งมาตั้งแต่ปี  พ.ศ. 2505  เนื่องจากมีการพยายามยึดอำนาจสุลต่าน  เมื่อรัฐบาลมีมาตรการควบคุม  พรรคการเมืองจึงมีความสำคัญน้อยลงในเวลาต่อมา  ปัจจุบันพรรคการเมืองที่ถูกต้องตามกฎหมายมีอยู่พรรคเดียว  คือ  พรรคสามัคคีแห่งชาติบรูไน  (Parti Perpaduan Kebangsaan Brunei: PPKB) จดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองพรรคแรกตั้งแต่บรูไนได้รับเอกราชมีนโยบายเน้นสนับสนุนการมีรัฐบาลที่เป็นตัวแทนของประชาชน มีเสรีภาพในการออกความเห็น การกระจายรายได้ที่เท่าเทียมละเป็นธรรม

     รัฐบาลบรูไนเห็นว่าไม่มีความจำเป็นต้องมีพรรคการเมือง  เนื่องจากคณะทำงานรับฟังความเห็นและการร้องขอของประชาชนอยู่แล้ว

     ในด้านประชาชนนั้น  แม้ว่าจะขาดเสรีภาพทางการเมือง  แต่ไม่มีปัญหา  เพราะได้รับสวัสดิการที่ดีจากรัฐ

   

    บรูไนใช้หลักกฎหมายอังกฤษ (Common Law) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ยึดคำตัดสินของศาล มักใช้ในประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษมาก่อน  นอกจากนี้ยังใช้กฎหมายอิสลาม  (lslamic Shari’a Law) ร่วมด้วย  

บทความที่เกี่ยวข้องกับปกบ้านครองเมือง ประเทศบรูไน

อาเซียน 10 ประเทศ
บรูไนดารุสซาลามหนึ่งในประชาคมอาเซียน
ทำเลที่ตั้ง ประเทศบรูไน



Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
วันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม 2566วันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม 2566

รางวัลสุนทรภู่กวีอาเซียน 2556รางวัลสุนทรภู่กวีอาเซียน 2556

ทำมาค้าขาย ประเทศบรูไนทำมาค้าขาย ประเทศบรูไน



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

ความรู้รอบตัว