เยือนดินแดนอารยธรรม เมียนมาร์


[ 16 ธ.ค. 2560 ] - [ 18272 ] LINE it!

 
เยือนดินแดนอารยธรรม สัมผัสทะเลเจดีย์ แห่งเมืองพุกาม
และร่วมพิธีตักบาตรพระสงฆ์ 20,000 รูป
ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
 
โดยสายการบิน Myanmar Airways (8M)
วันที่ 20 - 22 เดือน มกราคม พ.ศ.2560
 

วันที่ 20 - 22 เดือน มกราคม พ.ศ. 2561

     - ร่วมพิธีล้างพระพักตร์พระมหามัยมุนี
     - ชมพระตำหนักไม้สัก ศิลปะพม่าแท้ๆ
    - เจดีย์มิงกุน ระฆังที่ใหญ่ และสมบูรณ์ที่สุด
    - ชมทัศนียภาพรอบเมืองมัณฑะเลย์บน มัณฑะเลย์ฮิลล์

วันแรก กรุงเทพฯ – มัณฑะเลย์ – สะพานไม้อูเบ็ง  (วันที่ 20 มกราคม 2561)

     12.00 น. พร้อมกันที่ สนามบินสุวรรณภูมิ อาคารผู้โดยสารขาออก เคาเตอร์สายการบิน Myanmar Airways มีเจ้าหน้าที่คอยให้การต้อนรับ และอำนวยความสะดวก
     14.00 น. ออกเดินทางสู่เมืองมัณฑะเลย์ โดยเที่ยวบินที่ 8M 338
     15.35 น.  เดินทางถึง สนามบินมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมาร์ ผ่านพิธีการตรวจคนเข้าเมืองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว (เวลาท้องถิ่นที่เมียนม่าร์ ช้ากว่าประเทศไทยครึ่งชั่วโมง) ต่อจากนั้นชม สะพานไม้อูเบ็ง  ที่มีความยาว 1,200 เมตรเป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในโลกโดยเสาไม้สักเก่ามาสร้าง  จำนวนพันกว่าต้น สะพานไม้อูเบ็งเป็นสะพานไม้สักที่ยาวที่สุดในโลก  ที่ตั้งอยู่ทางใต้ของเมืองอมรปุระราชธานี  แห่งพม่า  และยังเป็นสะพานไม้สัก ที่มีอายุหลายร้อยปีซึ่งไม้สักเหล่านี้ เคยเป็นหนึ่งส่วนประกอบสำคัญหลายๆอย่างเป็นพระราชวังเก่าแห่งกรุงอังวะ  ในปัจจุบันไม้สักเหล่านั้น ถูกแปรสภาพ กลายเป็นสะพาน ที่เชื่อมความสุขทอดยาวถึง 2 กิโลเมตร  และเสาค้ำยันกว่า 1,208 ต้น
    ภาคค่ำ รับประทานอาหาร - เข้าสู่ที่พัก

 
 
วันที่สอง  มัณทะเลย์ – พระราชวังมัณฑะเลย์ - พระตำหนักไม้สักชเวนานจอง – วัดมหากันดายง – ระฆังยักษ์มิงกุน – เจดีย์พญาเธียรดาน– วัดกุโสดอ – Mandalay Hill (วันที่ 21 มกราคม 2561)

     ภาคเช้า ร่วมพิธีตักบาตรพระสงฆ์ 20,000 รูป ณ เมืองมัณฑะเลย์
     ภาคเที่ยง รับประทานอาหาร
     ภาคบ่าย ออกเดินทาง สู่ท่าเรือริมน้ำอิระวดี ข้ามฝากสู่ราชธานีเก่าของพระเจ้าปดุง จะเป็นเส้นทางสู่มหาเจดีย์ยักษ์ "มิงกุน" ชมซากเจดีย์ขนาดใหญ่ ร่องรอยแห่งความทะเยอทะยานของพระเจ้าปดุง ที่ใช้แรงงานทาส และนักโทษจำนวนนับพันคนในการสร้าง โดยตั้งพระทัยว่าจะสร้างให้สูงใหญ่กว่าพระปฐมเจดีย์แห่งสยาม และให้พระองค์สามารถทอดพระเนตร ได้จากเมืองอังวะที่อยู่ฝั่งตรงข้ามแม่น้ำอิระวดี แต่ด้วยงบประมาณที่บานปลาย ประกอบกับปัญหาขาดแคลนแรงงาน จึงทำให้การก่อสร้างล่าช้า ในที่สุดพระองค์ก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน ในปี พ.ศ.2362 หลังพ่ายแพ้ไทยในสงคราม 9 ทัพ เจดีย์องค์นี้ จึงสร้างได้แค่ฐาน หลังจากนั้นองค์เจดีย์จึงถูกทิ้งร้างเรื่อยมา แต่เพียงฐานก็นับว่าใหญ่โตมาก หากสร้างเสร็จจะมีขนาดใหญ่และสูงที่สุดในโลก และยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ใหญ่ระดับโลกของ มิงกุน คือ ระฆังยักษ์มิงกุน นี้ สร้างเมื่อปี พ.ศ.2351 โดยพระเจ้าปดุง สร้างถวายแด่เจดีย์มิงกุน มีน้ำหนัก  90 ตัน สูง 4 เมตร ปากระฆังกว้าง 5 เมตร เป็นระฆังที่ตีดัง เดิมทีถูกแขวนไว้ที่องค์เจดีย์ปอนดอว์ ใกล้ๆ กับเจดีย์มิงกุน แต่หลังจากแผ่นดินไหว ทำให้ฐานพระเจดีย์พังลงมา ระฆังยักษ์มิงกุนจึงถูกย้ายมาแขวนยังจุดที่ตั้ง ณ ปัจจุบัน ในอดีตระฆังองค์นี้ใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากระฆังแห่งพระราชวังเครมลิน ในกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย แต่ระฆังเครมลินแตกไปแล้ว ปัจจุบันระฆังยักษ์มิงกุน จึงเป็นระฆังที่มีสภาพสมบูรณ์ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก หลังจากนั้นนำท่านชมเจดีย์สีขาวบริสุทธิ์ ที่สร้างบนฐาน 7 ชั้น รูปเกลียวคลื่นงดงาม "เจดีย์พญาเธียรดาน" เจดีย์ที่งดงามนี้ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2329 เพื่อให้เปรียบเสมือนเจดีย์จุฬามณี ที่ตั้งอยู่เหนือเขาพระสุเมรุ ตามความเชื่อในไตรภูมิพุทธศาสนาที่ว่า คือแกนกลางจักรวาล ซึ่งถูกล้อมรอบด้วยสัตตบริพันธ์ และมหานทีสีทันดรทั้ง 7 ชั้น พระเจดีย์องค์นี้ยังถูกสร้างให้เป็นสักขีพยานรักของราชนิกุลอังวะ โดยพระเจ้าบากะยีดอว์ เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแห่งความรักที่มีต่อพระมเหสีชินพิวเม ที่สิ้นพระชนม์ไปก่อนที่พระเจ้าบากะยีดอว์จะขึ้นครองราชย์ แม้จะไม่ใช่หินอ่อนเหมือนทัชมาฮาล แต่ก็ได้รับสมญานามว่า “ทัชมาฮาลแห่งลุ่มอิรวดี” จากนั้นนำท่านเดินทางกลับสู่ มัณฑะเลย์ 

     ชม วัดกุโสดอ (Kuthodaw Pagoda) ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นสถานที่ทำการ สังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 5 มีแผ่นศิลาจารึกพระไตรปิฎกทั้งหมด 84,000 พระธรรมขันธ์ และหนังสือกินเนสบุ๊คได้บันทึกไว้ว่า “หนังสือที่ใหญ่ที่สุดในโลก” 

     เดินทางสู่เขา  Mandalay Hill ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของพระราชวัง เขาลูกนี้สูง 240 เมตร ซึ่งเป็นจุดชมวิวทิวทัศน์ที่สวยงามที่สุดของเมืองมัณฑะเลย์ ซึ่งอยู่บนยอดเขา สามารถมองเห็นทัศนียภาพของเมืองมัณฑะเลย์เกือบทั้งเมือง

     ชม พระราชวังมัณฑะเลย์ (Mandalay Palace)  ถูกก่อสร้างโดยพระเจ้ามินดง ระหว่างปี ค.ศ. 1857-ค.ศ. 1859 หลังการย้ายเมืองหลวงจากอมระปุระมายังมัณฑะเลย์ เพื่อหนีทหารของจักรวรรดิอังกฤษ ระหว่างสงครามพม่า-อังกฤษ ตามความเชื่อเป็นพระราชวังที่สร้างด้วยไม้สักทั้งหลังได้ชื่อว่ามีความงดงามมากที่สุดแห่งหนึ่งในทวีปเอเชีย มีคูน้ำรอบพระราชวังและประตูที่ยิ่งใหญ่ และเป็นพระราชวังที่สุดท้ายของพระเจ้าธีบอกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์คองบองและในประวัติศาสตร์พม่า เมื่ออังกฤษเข้ายึดครองพม่าในสงครามโลกครั้งที่สอง ทางอังกฤษคิดว่าพระราชวังนี้เป็นแหล่งซ่องสุมของทหารญี่ปุ่น จึงได้ทำลายพระราชวังเสียด้วยการทิ้งระเบิดจากเครื่องบินในวันที่20 มีนาคม ค.ศ. 1945 พระราชวังตกอยู่ในความเสียหายมาโดยตลอด จนปัจจุบันได้รับการบูรณะโดยรัฐบาลพม่า โดยการลอกแบบโครงสร้างเดิม และเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของมัณฑะเลย์ ที่ยังเป็นของดั่งเดิมอยู่ ปัจจุปันพระราชวังที่เห็นอยู่เป็นพระราชวังที่รัฐบาลพม่าได้จำลองรูปแบบของพระราชวังของเก่าขึ้นมา 

     ชม พระตำหนักไม้สักชเวนานจอง (Golden Palace Monastry) พระตำหนักนี้สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง งดงามตามแบบศิลปะพม่าแท้ ๆ  วิจิตรตระการด้วยลวดลายแกะสลักประณีตอ่อนช้อย ทั้งหลังคา บานประตูและหน้าต่าง โดยเน้นรายละเอียดเกี่ยวกับพุทธประวัติและทศชาติของพระพุทธเจ้า  สร้างโดยพระเจ้ามินดงในปี พ.ศ.2400 ซึ่งเป็นปีที่พระองค์ย้ายราชธานีจาก อมรปุระมาอยู่ที่เมืองมัณฑะเลย์เพื่อเป็นพระตำหนักยามแปรพระราชฐาน แต่หลังจากที่พระองค์สิ้นพระชนม์ พระเจ้าธีบอ หรือ สีป่อ พระโอรสก็ทรงยกพระตำหนักนี้ถวายเป็นวัด  ถือได้ว่าเป็นงานฝีมือที่ประณีตของช่างหลวงชาว มัณฑะเลย์อย่างแท้จริง 

    ภาคค่ำ รับประทานอาหาร - เข้าสู่ที่พัก 

 
วันที่สาม พิธีล้างหน้าพระมหามัยมุนี – มัณฑะเลย์ – กรุงเทพฯ (วันที่ 22 มกราคม 2561)

     04.00 น. จากนั้นนำท่านไปนมัสการ พระมหามัยมุนี อันเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุด 1 ใน 5 แห่งของพม่า ถือเป็นต้นแบบพระพุทธรูปทองคำขนาดใหญ่ทรงเครื่องกษัตริย์ที่ได้รับการขนานนามว่า  “พระพุทธรูปทองคำเนื้อนิ่ม” ที่    พระเจ้ากรุงยะไข่ทรงหล่อขึ้นที่เมืองธรรมวดี เมื่อปี พ.ศ.689 สูง 12 ฟุต 7 นิ้ว หุ้มด้วยทองคำเปลวหนา 2 นิ้ว ทรงเครื่องประดับทองปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 9 ฟุต ในปี พ.ศ. 2327 พระเจ้าปดุงได้สร้างวัดมหามุนี หรือวัดยะไข่ (วัดอาระกัน หรือวัดพยาจี) เพื่อประดิษฐานพระมหามัยมุนี และในปี พ.ศ. 2422 สมัยพระเจ้า สีปอ ก่อนจะเสียเมืองพม่าให้อังกฤษได้เกิดไฟไหม้วัดทองคำ  จึงทำให้ทองคำเปลวที่ปิดพระละลายเก็บเนื้อทองได้น้ำหนักถึง 700 บาท ต่อมาในปี พ.ศ. 2426 ชาวพม่าได้เรี่ยไรเงินเพื่อบูรณะวัดขึ้นใหม่มาขนาดใหญ่กว่าเดิม โดยสายการออกแบบของช่างชาวอิตาลี จึงนับได้ว่าเป็นวัดที่สร้างใหม่ที่สุดแต่ประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าแก่ที่สุดในเมืองพม่า โดยรอบ ๆ ระเบียงเจดีย์ยังมีโบราณวัตถุ ที่นำไปจากกรุงศรีอยุธยาเมื่อครั้งกรุงแตกครั้งที่ 1 พร้อมทั้งร่วมพิธีการอันสำคัญล้างพระพักตร์ถือเป็นการสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคล 
     07.00 น. บริการอาหารเช้า ณ ห้องอาหารโรงแรม หลังอาหารนำท่านเดินทางสู่สนามบินมัณฑะเลย์ 
     10.50 น. ออกเดินทางกลับ โดยสายการบิน Myanmar Airways 8M 337 
     13.15 น. เดินทางถึงสนามบินสุวรรณภูมิ โดยสวัสดิภาพ…..พร้อมความประทับใจมิรู้ลืม 


สำรองที่นั่ง : ติดต่อคุณเดือน 08-4782-9794  Line iD: dedo072
บัญชีออมทรัพย์ไทยพาณิชย์ วิภาดา สุดาทิพย์  เลขที่บัญชี 314-447870-7  
 
 


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
ตักบาตรพระ-รับพรปีใหม่ 2561ตักบาตรพระ-รับพรปีใหม่ 2561

ร่วมสั่งสมบุญปัญญาบารมี ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2561ร่วมสั่งสมบุญปัญญาบารมี ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2561

สวดมนต์ข้ามปี ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2561สวดมนต์ข้ามปี ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2561



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

ข่าวประชาสัมพันธ์