ชมจากใจใครก็รัก


[ 30 ก.ค. 2561 ] - [ 18271 ] LINE it!

 ชมจากใจใครก็รัก
คำชมใครได้ยินก็ชอบ แต่จะชมอย่างไรให้คนรัก 

เรื่อง : พระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ (สมชาย ฐานวุฑฺโฒ)
จากรายการข้อคิดรอบตัว ออกอากาศทางช่อง DMC
คำชมที่ดีนั้นเป็นอย่างไร?
 
 
 
 
          คำชมที่ดีเป็นคำชมที่เกิดจากความรู้สึกจริง แล้วกลั่นมาจากใจ และชมได้ตรงประเด็น (จุดแข็ง หรือจุดดีของผู้ที่ได้รับคำชม) มีสุภาษิตมีคำกลอนโบราณที่สอนใจเรื่องนี้จำนวนมาก เช่น 
 
                         อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก             แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย 
                         แม้นเจ็บอื่นหมื่นแสนจะแคลนคลาย         เจ็บจนตายเพราะโดนเหน็บไว้ให้เจ็บใจ 
 
อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก
 
          เห็นได้ว่า อ้อยที่ว่าหวาน ยังสู้คำชมที่มีคุณภาพไม่ได้ มันตรึงตราอยู่ในใจ มีตัวอย่างจริงในอดีต สมัยอังกฤษกับเยอรมันทำสงครามกัน หลังจากสงบศึกแล้ว เมื่อถึงวันประจำปีของกองทัพเรืออังกฤษ ผู้บังคับบัญชาการกองทัพเรือของเยอรมัน ส่งโทรเลขไปอวยพรสั้นๆ มีเนื้อหาว่า “ทุกครั้งที่รบกับกองทัพเรืออังกฤษเราได้เรียนรู้กลยุทธ์ใหม่ๆ เสมอ” จะเห็นได้ว่าคำชมที่โดนใจ พลิกความรู้สึกคนที่ฆ่ากันมาเป็นแสนเป็นล้านคน ให้กลายเป็นความรู้สึกที่ดีต่อกันขึ้นมาได้ 
 
ในยุคของสังคมออนไลน์เราอาจไม่ได้พูด แต่มี กด like กดชื่นชมเป็นรูปหัวใจ ถือว่าเป็นการชื่นชมหรือไม่?
 
 
 
 
          ถือเป็นการชื่นชม และไม่ใช่แค่ชื่นชมระหว่างบุคคลกับบุคคล แต่เป็นกึ่งสาธารณะ คือเป็นการแสดงความรู้สึกเชิงบวกออกไปถึงผู้รับแต่คนอื่นรับรู้ด้วย เพราะฉะนั้นผลกระทบจะกว้างขึ้น คนอื่นที่รู้ด้วยอาจเกิดความโน้มนำทางความคิดขึ้นมา หากเรากดไลท์ กดแชร์ โดยไม่คิดให้รอบคอบ หรือกดไปเพราะความเกรงใจ เราจะกลายเป็นผู้สนับสนุนเนื้อหาที่ไม่ค่อยเข้าท่า ให้มีเครดิตมีน้ำหนักขึ้นมา แบบนี้กลายเป็นผลเสีย 
 
          การชมที่ถูกต้อง ถือเป็นการให้กำลังใจ เพราะเป็นการให้รู้ว่าเขากำลังทำในสิ่งที่ถูก เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีให้มีกำลังใจในการทำต่อไป เป็นคุณต่อการฝึกตัวเอง เพราะชมในทิศทางที่ถูกต้องเนื้อหาสาระถูกต้อง แล้วชมพอดีกับสิ่งที่เขาทำ มีความสุขมีกำลังใจอยากจะทำต่อ แต่ถ้าจะติก็ต้องติเพื่อก่อ คือชี้ให้เห็นว่าจุดที่พลาดอยู่ตรงไหน ควรจะต้องปรับ แล้วปรับอย่างไร แล้วก็ปรับปรุงตัว การติอย่างนี้เป็นประโยชน์ แม้บางทีอาจจะดูแรงแรงบ้าง แต่ยังเป็นประโยชน์กว่าคำชมแบบเลื่อนลอย
 
สำหรับบางคน ต้องการคำชมมาก เมื่อโพสต์ทางออนไลน์แล้วติดตามว่ามีใครจะมาคอมเม้นต์ มีใครจะมากดไลท์มาชื่นชม เรียกว่า เสพติดคำชมหรือไม่?

 
 
          มีการทำการศึกษาวิจัย เจอผลลัพธ์ว่า คนที่ชอบโชว์ แล้วชอบอวดแล้วคอยดูว่าจะมีใครมาชมไหม ถ้าใครเขาไม่ชม จะมีความรู้สึกน้อยใจ จะคิดว่าคบเป็นเพื่อนกัน แค่กดไลท์ไม่เสียตังค์หน่อยเดียวไม่ยอมกดให้เรา สงสัยจะคบกันไม่ได้แล้ว คนที่มีอาการอย่างนี้ เขาพบว่ามีเปอร์เซ็นต์จะเกิดอาการทางจิต แล้วก็มีความบกพร่องทางอารมณ์ มีการพัฒนาตัวที่ช้ากว่าคนอื่น 
 
          หากเราจะโพสต์ ให้ถามว่าเราพอใจที่เราได้อวด หรืออยากให้ เราดูดีในสายตาคนอื่น หากต้องการแก่น ให้เราดูดีในสายตาคนอื่นอย่าไปอวด แต่ให้โพสต์ในสิ่งที่สังคมรับได้และมีสาระมากกว่าการอวดตัวเอง ไม่จำเป็นต้องเป็นเชิงวิชาการ แต่ต้องไม่ใช่เป้าคือการอวดและไม่ต้องโพสต์บ่อยจนเกินไปจนกระทั่งคนอื่นเบื่อ เราเอาแค่พอดี ดีกว่ามันส่งผลดีต่อพัฒนาการทางจิตใจทางอารมณ์ของตัวเราเอง 
 
ในมุมของเราเป็นผู้ที่เข้าไปดูโพสต์ต่างๆ เราควรที่จะไปกดไลท์หรือว่ากดรูปหัวใจให้หรือไม่?

 
 
 
 
 
          ในเบื้องต้นให้พิจารณาว่า ถ้าเป็นเนื้อหาที่ดีจริงเราถึงจะกดไลท์ให้ ส่งหัวใจให้ อย่าให้เป็นลักษณะที่ว่าส่งให้เพื่อเอาใจ อย่าทำให้ผู้รับสารเกิดความเข้าใจผิด จะคล้ายกับการให้คำชมแบบเลื่อนลอย คืออยากทำให้รู้สึกดีเพื่อมนุษยสัมพันธ์ เจอใครก็ชมไปเรื่อยเปื่อยซึ่งคนฟังก็รู้ เหมือนกับผ่านหูว่าชมไปงั้นๆ อย่างนี้เป็นคำชมที่ไม่มีคุณภาพ เครดิตเราจะน้อยลง สู้หนักแน่นชมน้อยลงสักนิด แต่เป็นคำชมที่จริง เครดิตตัวเราจะดี น้ำหนักเราก็จะดี
 
          คำชมประเภทที่ว่า เป็นแต่เกิด เช่น ชมว่าเธออัจฉริยะมากเลย สุดยอด กับชมว่าเธอขยันแล้วก็ทุ่มเทมาก น่าชื่นชม ชมแบบหลังมีคุณภาพกว่า เพราะทำให้คนฟังมีกำลังใจที่จะพัฒนาตนเองทุ่มเทวิริยะอุตสาหะ การชมแบบแรกก็พบว่ามีผลลบ เพราะเป็นสิ่งที่แก้ไม่ได้ มีการวิจัยมาแล้ว พบว่าคนถูกชมมีแนวโน้มที่จะเกร็ง ถึงคราวให้ทำอะไรจะไม่กล้าเสี่ยง จะเลี่ยงมาทำของง่ายๆ เพื่อจะได้ถูกต้อง และจะได้รับคำชมอีก เนื่องจากจมไม่ลงกลัวเสียภาพลักษณ์ หนักเข้า กลายเป็นคนที่แม้ผิดก็ไม่ยอมรับตัวเองผิด เพราะมันกลัวว่าจะไป กระทบภาพที่ตัวเองสร้างไว้ในใจ ซึ่งกลายเป็นภาพหลอกๆ เพราะตัวเองไม่ได้ดีขนาดนั้น 

          คำพูดเป็นสิ่งที่มีพลานุภาพมาก บางคนในยุคนี้บอกว่า ปากกาคมกว่าคมดาบ เพราะพอเขียนหนังสือ มันเหมือนกับการพูดแบบหนึ่งแต่ผ่านเป็นตัวหนังสือขึ้นมาแทน เขียนคมๆ สุภาพเรียบร้อย มีอานุภาพยิ่งกว่าคมดาบซามูไรซะอีก  เพราะฉะนั้นเราเองอย่าดูเบาคำพูดเด็ดขาด ขอให้ไตร่ตรองคำพูดเราให้ดี แล้วใช้ให้เป็นประโยชน์ในทางบวกเถอะ จะสามารถทำได้ทุกกรณี เลยทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ใช้ได้กับทุกคน ไม่เฉพาะในการทำงานเท่านั้นแม้แต่ในครอบครัวก็เช่นเดียวกัน 
 

รับชมคลิปวิดีโอชมจากใจใครก็รัก : ข้อคิดรอบตัว
ชมวิดีโอชมจากใจใครก็รัก : ข้อคิดรอบตัว   Download ธรรมะชมจากใจใครก็รัก : ข้อคิดรอบตัว 

 


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
สุขภาพกับธรรมชาติสุขภาพกับธรรมชาติ

นิสัยไทยๆนิสัยไทยๆ

ไม่รู้ว่าไม่รู้ไม่รู้ว่าไม่รู้



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

ข้อคิดรอบตัว