กินให้เป็นยา


[ 19 มี.ค. 2562 ] - [ 18277 ] LINE it!

กินให้เป็นยา
อาหารเป็นสิ่งสำคัญสำหรับร่างกาย ซึ่งให้ทั้งพลังงานและสารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและดูแลร่างกาย แล้วเราจะใช้อาหารเป็นยารักษาโรคได้อย่างไร
 
เรื่อง : พระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ (สมชาย ฐานวุฑฺโฒ)
จากรายการทันโลกทันธรรม ออกอากาศทางช่อง GBN
 

 
          อาหารเป็นยาลึกซึ้งมาก แต่วันนี้หนึ่งในที่กระแสโลกกำลังนิยมคือเรื่องกระแสสุขภาพ คือการทานอาหารคลีน เพราะฉะนั้นคำว่าอาหาร Functional Food   หรืออาหารฟังก์ชัน เราได้ยินกันมากขึ้นเรื่อยๆ ในสังคมก็เลยเกิดคำถามขึ้นมาว่า มันคืออะไร 
 
Functional Food   คืออะไร?


          สารอาหารหลักมีโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน เกลือแร่ ส่วน Function Food หรืออาหารฟังก์ชั่น คืออาหารที่มีศักยภาพในเชิงบวกต่อสุขภาพนอกเหนือไปจากสารอาหารหลัก ซึ่งความคาดหวังของ Functional Food   หรืออาหาร Function  คือการส่งเสริมสุขภาพให้ดีขึ้น และการป้องกันโรคบางอย่าง
 
Functional Food  หาได้จากที่ไหนบ้าง?
 

          ตัวอย่างง่ายๆ โอ๊ตมีล คือ ข้าวโอ๊ตเอามาทานด้วยการใส่นม ต้มแล้วใส่น้ำตาลนิดหน่อยบ้าง โอ๊ตมีล คือโปรตีนกับคาร์โบไฮเดรต แต่ในแง่ของ Functional Food  โอ๊ตมีลมีไฟเบอร์ซึ่งช่วยดักจับคอเรสเตอรอลทำให้คอเรสเตอรอลลดลงได้ เป็นต้น นั่นคือ Functional Food  ตามธรรมชาติ และFunctional Food  ที่มีการผลิตขึ้นมาเพื่อให้อาหารมีหน้าที่ ซึ่งปกติอาหารก็มีคุณค่าอยู่แล้วแต่เติมสิ่งที่จำเป็นเพิ่มขึ้น เช่น เกลือเสริมไอโอดีน คือเป็นเกลือที่สามารถป้องกันโรคคอพอกได้ เป็น Functional Food  ชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้กันมาตั้งแต่เด็กโดยไม่รู้ตัว
 
 
          อาหาร Functional ที่มีตามธรรมชาติ เช่น 1.งา เป็นแหล่งของแคลเซียมชั้นดี และงายังมีกรดไขมันโอเมก้า ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ถ้าเป็นงาขี้ม่อนมีกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งลดการอักเสบได้ด้วย และงายังมีสารเซซามิน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูนอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็งอีกด้วย 2.พรุน มีกรดนิโอลโรเจ็นนิคเอสิค  กับโคลเจ็นนิค ซึ่งทั้งสองอย่างป้องกันอนุมูนอิสระ ป้องกันโรคหัวใจหลอดเลือด และมีผลในการช่วยเรื่องกระดูกพรุน เป็นต้น 3.ผลไม้ในตระกูลเบอร์รี่มีสาร แอนโธไซยานิน โดยเฉพาะผลไม้เบอร์รี่ที่สีออกม่วง เช่น บลูเบอร์รี่ ข้าวหอมนิล ซึ่งแอนโธไซยานินเป็นสารที่ต้านอนุมูนอิสระอย่างดี ช่วยป้องกันหัวใจหลอดเลือดได้ ป้องกันมะเร็งได้ นอกจากนั้นยังช่วยป้องกันความเสื่อมของจอตา กระจกตา บำรุงสายตาอีกด้วย
 

          ชาอู่หลงมี  Polyphenols พิเศษเรียกว่า Oolong Tea Polymerized Polyphenols OTPP มีลักษณะพิเศษคือมันช่วยขับไขมันออกจากตัว ลดคอเลสเตอรอล และช่วยเพิ่มการเผาผลาญในร่างกายได้ 10% หากใครอยากผอมอาจต้องใช้อู่หลงช่วย เป็นต้น ชาสดๆเรียกว่าชาเขียว ถ้าเอาชามาหมัก หรือมาบ่มบางอย่าง ใส่วัสดุการบ่มบางอย่างกลายเป็นอู่หลงแต่ถ้าบ่มต่อไปอีกกลายเป็นชาดำ เป็น Back Tea เป็นวิธีการทำ อู่หลงจะมี Polymerized  Polyphenols ของเขาเอง เพราะฉะนั้นผลิตต่างกัน กลายเป็นฤทธิ์แตกต่างกันได้
 

          น้ำมันปลาก็เป็น Functional Food  มีโอเมก้า 3 ช่วยลดการอักเสบ แต่ปัจจุบันโอเมก้า 3จากพืชมีจำนวนมาก เช่น เมล็ดป่านที่เรียกว่า Flaxseed มีโอเมก้า 3 จากพืชสูง ช่วยลดการอักเสบ ช่วยป้องกันเกี่ยวกับหัวใจหลอดเลือด เส้นเลือดตีบหรือลิ่มเลือดอุดตัน เป็นต้น น้ำมันมะพร้าวไม่มีโอเมก้า 3 แต่มีกรดไขมันซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากกรดไขมันชนิดอื่น และมี ไตรกลีเซอร์ไรด์ ที่เรียกว่า มีเดียมเชน ที่อาจจะช่วยลดคอเลสเตอรอลได้บ้าง ถ้าบริโภคในปริมาณไม่สูง แต่ถ้าสูงมากเกินไปกรดไขมันอิ่มตัวในน้ำมันมะพร้าวจะก่อปัญหาได้
 

          อาหารบำรุงของคนจีน เช่น เห็ด ไม่ว่าจะเป็น ชิตาเกะ ไมตาเกะ มาบูชิตาเกะ ฮิเมะ มาสึทาเกะ ถั่งเฉ่า หลินจือ ในทางการแพทย์มีฤทธิ์ทางยาหมดเลย ถือเป็น Functional Food ส่วนใหญ่จะเสริมสร้างภูมิต้านทาน ลดการอักเสบในร่างกาย แต่ละตัวจะมีสารแตกต่างกัน เช่น กระดุมบราซิล มีสารที่ต้านมะเร็ง สามารถเอามาใช้เสริมการรักษามะเร็งได้ ส่วนเห็ดของไทยยังไม่มีการวิจัย 
          โสมมีสารตัวหนึ่งเรียกว่า สารจินเซนโนไซด์ มีฤทธิ์ในการเอาพลังงานออกมาจากร่างกาย เหมาะกับผู้สูงอายุ ในผู้สูงอายุพลังงานจะลดลงไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นการใช้โสมก็จะช่วยให้เหมือนมีกำลังวังชาขึ้นมา ซุปไก่เป็นภูมิปัญญาจีน คนจีนมีไก่ตุ๋นยาจีนเป็นอาหารบำรุงร่างกายที่ใช้กันมานาน ซุปไก่สกัดจะมีพวก เปป์ไทน์ ไม่ใช่โปรตีน ที่อยู่ในเนื้อไก่แต่ถูกย่อยสลายบางอย่าง เกิดจากการตุ๋นนานๆ จึงได้สารเปป์ไทน์ออกมา ซึ่งจะออกฤทธิ์เร็วขึ้นไม่ต้องรอย่อย อาจจะช่วยเรื่องเสริมสร้าง ลดความเครียด เพราะมีกรดอะมิโนหลายตัว ช่วยให้ไม่อ่อนล้าง่าย
 
อาหารเมื่อเอามาปรุงต่างกันให้คุณค่าต่างกันหรือไม่?
 

 
          อาหารเป็นยา สิ่งที่สำคัญที่สุดคือวิธีปรุง การปรุงโดยใช้ความร้อนจะไปทำลายคุณค่าทางอาหาร ทานสดจะดีที่สุด เช่น พวกผักผลไม้ หรือใช้ความร้อนน้อยๆ ต้ม ตุ๋น ผัดใช้ความร้อนต่ำ แต่บางอย่างต้องใช้ความร้อนถึงจะได้ผล เช่น บล็อคเคอรี่ ต้องใช้ความร้อนถึงจะลดสารไม่ดีออก ไม่เช่นนั้นจะเป็นไทรอยด์คอพอกได้ ไก่ก็ต้องตุ๋นถึงจะได้สารออกมา เพราะฉะนั้นหลีกเลี่ยงของทอด ปิ้ง ย่าง เลือกนึ่งต้มตุ๋นผัด พยายามทานพวกนี้ให้มากขึ้น 

 
          คนส่วนใหญ่คิดว่าอาหารดี ผลไม้ก็นึกว่าดี แล้วทานเยอะเกินไป จึงได้ผลค้างเคียงมาด้วย เช่น ส้ม พบว่า 100% มีสารยาฆ่าแมลงเกินมาตรฐาน แตงโมมีเกินมาตรฐานเพียง 10% อีก 90% ไม่เกินมาตรฐาน เพราะฉะนั้นต้องเลือก หากสนใจเข้าไปในเว็บไซต์ Thaipan จะมีการสุ่มตัวอย่าง แล้วแสดงผลให้ดูว่าพบสารพิษอะไรบ้าง ซึ่งผลไม้โดยเฉพาะ องุ่น ส้ม พบร้อยละ 100 เกินมาตรฐาน ดังนั้นหากทานในปริมาณมากจะไม่ได้ทานสารอาหารในนั้น แต่ทานสารเคมี ยาฆ่าแมลงเข้าไปด้วย ทางที่ดีควรทานผักที่ปลูกเองเป็นกากเป็นเส้นใย อย่างพริกขี้หนูสวน ปนเปื้อน 100% แล้วใช้พริกกันทุกวัน เพราะฉะนั้นควรจะปลุกพริกทานเอง
 
ทันธรรม...โดย พระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ

 
          มีคำกล่าวว่า You are what you eat.  สุขภาพของคุณมาจากสิ่งที่คุณรับประทานลงไป มีผล เยอะมากว่าการทานอาหารที่ถูกชนิดและปริมาณพอดีในเวลาที่เหมาะสมส่งผลต่อสุขภาพอย่างมหาศาล มีการวิจัยทั้งโลกว่าคนที่อายุยืนเกิน 100 ปี สุขภาพแข็งแรง 100 ปี ยังลุกเดินนั่งแคล่วคล่องไม่ต้องมีเด็กมาคอยประคองมาคอยจูง เป็นเพราะเกิดจากนิสัยในการกินของคนในท้องที่แถบนั้นมีลักษณะการทานอาหารที่พอดิบพอดี พอเหมาะ 
 

          สิ่งที่อยากจะฝากไว้คือ 1.ทานให้สมดุล คือให้มีอาหารหลักครบ 5 หมู่ ทั้งคาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน เกลือแร่ วิตามิน ส่วนวิตามินจะมาจากพืชผัก และให้มีอาหารที่มีเส้นใยด้วย ดังนั้นต้องทานพวกผัก ไม่จำเป็นต้องเป็นผักดิบ ผักดิบ ถ้าทานมากไปอาจเกิดลม ทานให้พอดี ผลไม้ทานดิบอยู่แล้ว ผักทำให้สุก แล้วมีเนื้อมีไข่มีนมให้ผสมให้พอดีพื้นฐาน หากอยู่ในบริเวณที่อากาศหนาว เช่น อยู่บนยอดดอย ระดับสูงกว่าน้ำทะเล เช่น ปากช่อง หรือทางภาคเหนือ เป็นต้น อากาศจะเย็นให้ทานอาหารที่มีธาตุไฟ คนยุคใหม่ไม่ค่อยรู้พวกนี้ รู้แค่ว่าทานเข้าไปอิ่มคืออิ่ม อาหารที่มีธาตุไฟ เช่น พริก ทานเผ็ดร้อนเหงื่อออก แต่เป็นเหมือนไฟ วูบวาบๆ เดี๋ยวก็หมด หากเป็นไฟสุมขอนจะเป็นพวกขิง  ข่า พริกไท จะอยู่นานกว่า หากทานอาหารที่มีธาตุไฟ พบว่าอยู่ในที่หนาวจะไม่หนาว หากธาตุไฟเยอะเกินไป เริ่มมีอาการร้อนใน ก็ทานอาหารที่ให้ธาตุเย็น เช่น มะระ อะไรที่ขมๆ  จะช่วยลดธาตุไฟ หรือพวกถั่วเขียวก็ช่วยลดธาตุไฟ เป็นต้น 

 
          2. ทานให้เป็นมื้อ อย่าทานจุกจิก ผลการแพทย์วิจัยพบว่า ทานเป็นมื้อให้พอดี ซึ่งไม่ใช่วันละ 3 มื้อ มื้อเช้า มื้อเที่ยง มื้อเย็น หากให้พอดีควรทานวันละ 1-2 มื้อ คือมื้อเช้ากับมือเที่ยง มื้อเช้าประมาณ 7 โมง มื้อเที่ยงประมาณ 11 โมงกว่าหรือเที่ยง มื้อเช้าควรจะทานให้อิ่มเรียกว่าแค่สารอาหารมือเช้ามื้อเดียวใช้ได้ ทั้งวัน มื้อเที่ยงเสริมนิดหน่อยให้พอประคองไป สุภาษิตจีนจะมีคำว่า จ่าวฟั่นซือเต๋อป่าว แปลว่ามื้อเช้าทานให้อิ่ม อู่ฟั่นซือเต๋อห่าว มื้อเที่ยงทานให้พอดีน้อยลงมาแล้วนะ หว่านฟั่นปู่เยี่ยวซือยื่อห่าว คือมื้อเย็นไม่ทานก็ได้ สุภาษิตจีนสั่งสมจากภูมิปัญญา  5,000 ปี พบว่าทำอย่างนี้แล้วสุขภาพจะดี 

 
          น้ำหวานต่างๆ ซึ่งน้ำหวานไม่ดีต่อสุขภาพ โดยเฉพาะน้ำอัดลมควรหลีกเลี่ยง ทานบ่อยๆอาจจะเป็นโรคกระเพาะเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวัง บางคนติดในรสหรืออาหารฝรั่งจะคาว มันและ จำเป็นต้องอาศัยรสซ่ามาช่วยเพื่อลดความเลี่ยนเท่านั้น แต่เมืองไทยอาหารไม่ได้เลี่ยน อาหารไทยออกรถเผ็ด และเป็นอาหารสมุนไพรอาหารสุขภาพด้วยซ้ำไป ดังนั้นไม่มีความจำเป็นต้องไปใช้น้ำเหล่านี้ น้ำเปล่าก็เพียงพอและทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ทานให้เป็นมื้อเป็นคราว ในปริมาณที่เหมาะสม พอดี สุขภาพของเราเองจะดีแน่นอน


รับชมคลิปวิดีโอกินให้เป็นยา : ทันโลกทันธรรม
ชมวิดีโอกินให้เป็นยา : ทันโลกทันธรรม   Download ธรรมะกินให้เป็นยา : ทันโลกทันธรรม





Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
หยุดนิสัยชอบแก้ตัวหยุดนิสัยชอบแก้ตัว

HPV โรคที่ต้องระวังHPV โรคที่ต้องระวัง

สุขฉบับคนไม่แคร์โลกสุขฉบับคนไม่แคร์โลก



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

ทันโลกทันธรรม