กุททาลชาดก ชาดกว่าด้วยความชนะที่ดี


[ 18 ก.พ. 2563 ] - [ 18277 ] LINE it!

ชาดก 500 ชาติ

กุททาลชาดก-ชาดกว่าด้วยความความชนะที่ดี

พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองยิ่งนักในนครสาวัตถี

พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองยิ่งนักในนครสาวัตถี
  
        ความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนานั้น เปรียบดังบัวบานขึ้นกลางชมพูทวีป ย่อมเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของเหล่าศาสนิกชน ซึ่งขาดผู้ชี้แนะนำทาง ในมหานครสาวัตถี
ของโกศลรัฐนั้น นอกจากสาวกสาวิกาจะหลั่งไหลเข้ามายังพระเชตวันไม่ขาดสายแล้ว
 
ชาวเมืองต่างหลั่งไหลมายังพระเชตวันไม่ขาดสาย
 
ชาวเมืองต่างหลั่งไหลมายังพระเชตวันไม่ขาดสาย
 
        พุทธธรรมยังเผื่อแผ่ไปถึงบุคคลอื่น ๆ ที่แม้ยังไม่ได้ฝั่งศรัทธากับศาสนาของพระพุทธเจ้าก็พลอยได้รับความสุขอยู่เสมอเช่นกัน ดังมานพชาวสาวัตถีนาม จิตหัตถก็เป็นผู้หนึ่ง
ที่รู้สึกชื่นชอบพระศาสนาของสมเด็จพระพุทธศาสดาโดยในอื่น มิได้สดับคำสอนโดยนิสัย
 
กลุ่มคนทุกชนชั้นต่างศรัทธาในหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา
 
กลุ่มคนทุกชนชั้นต่างศรัทธาในหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา
 
        จิตหัตถเป็นชาวกสิกรรม เมื่อว่างจากการเพาะปลูกก็มักแวะเวียนเข้ามายังเขตสังฆาวาสเสมอ “ อือ วันนี้เข้าไปฟังธรรมหน่อยดีกว่าเรา ไม่ได้ไปตั้งหลายวันแล้ว ”
วันหนึ่งมานพหนุ่มผู้นี้เกิดติดใจในอาหารที่พระเถระท่านหนึ่งแบ่งให้กิน จึงเกิดความคิดจะบวชขึ้นเพราะกิเลสนี้

จิตหัตถชาวนาหนุ่มผู้มีจิตใจฝั่กใฝ่ในการฟังธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
 
จิตหัตถชาวนาหนุ่มผู้มีจิตใจฝั่กใฝ่ในการฟังธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
 
         “ อือ อร่อยจริง ๆ ทำงานมาเหนื่อย ๆ เจออาหารอร่อย ๆ อย่างนี้ หายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้งเลยเรา อยากจะกินอาหารอร่อยอย่างนี้ทุกวันจริง ๆ แต่จะไปหาที่ไหนมากินละ
เฮ้อ ได้การละ อย่างนี้เราก็บวชสะ ก็สิ้นเรื่อง แค่นี้ก็จะได้กินอาหารอร่อยอย่างนี้ทุกวันแล้ว ”
 
หนุ่มจิตหัตถติดใจในความอร่อยของอาหารที่พระเถระรูปหนึ่งแบ่งให้รับประทาน
 
หนุ่มจิตหัตถติดใจในความอร่อยของอาหารที่พระเถระรูปหนึ่งแบ่งให้รับประทาน
 
        เมื่อคิดได้ดังนั้น มานพผู้หลงรสอาหารของพระ ก็ปวารนาเข้าบวชในพระเชตวันอาราม ครั้นผ่านขั้นตอนนี้แล้วก็ได้บวชเป็นภิกษุในสำนักพระสารีบุตรสมปรารถนา
“ เฮ้ย ได้บวชอย่างที่ใจต้องการแล้วสินะเรา คราวนี้ก็จะได้ทานอาหารอร่อย ๆ ทุกวันเลย ”
 
 
หนุ่มจิตหัตถตัดสินใจบวชเพราะว่าตนจะได้ทานอาหารที่มีรสอร่อยในทุก ๆ วัน
 
หนุ่มจิตหัตถตัดสินใจบวชเพราะว่าตนจะได้ทานอาหารที่มีรสอร่อยในทุก ๆ วัน
 
        พระจิตหัตถเป็นภิกษุอยู่ได้สัก ๑๕ วัน พอคุ้นเคยมีความสุขกับอาหารดี ๆ ที่มีผู้มาถวายก็เริ่มอึดอัดต่อกฎระเบียบจึงลาสึกออกไป ครั้นคิดถึงอาหารถูกปากก็มาขอบวชใหม่อีก
เขากระทำอยู่เช่นนี้ถึง ๖ ครั้ง จนจำพระอภิธรรมได้ขึ้นใจ
 
 
หนุ่มจิตหัตถอึดอัดต่อกฎระเบียบของสงฆ์จึงลาสิกขากลับมาทำนาเช่นเดิม
 
หนุ่มจิตหัตถอึดอัดต่อกฎระเบียบของสงฆ์จึงลาสิกขากลับมาทำนาเช่นเดิม
 
        “ จะทำยังไงดีนะ พอสึกไปก็ยังคิดถึงอาหารรสอร่อย แต่วินัยสงฆ์ก็เคร่งครัดเหลือเกิน ” การบวชครั้งสุดท้ายของพระจิตหัตถ คือครั้งที่ ๗ ดังนั้นจึงกลายเป็นผู้ทรงพระอภิธรรม
๗ พระคำภีร์ กุศลกรรมนี้ทำให้ท่านดื่มด่ำในธรรมรสไม่ดิ้นรนจะลาสิกขาบทอีก
 
หนุ่มจิตหัตถเริ่มคิดถึงรสอาหารที่อร่อยที่ตนได้ฉันในทุก ๆ วันตอนบวช
 
หนุ่มจิตหัตถเริ่มคิดถึงรสอาหารที่อร่อยที่ตนได้ฉันในทุก ๆ วันตอนบวช
     
        ทั้งยังบำเพ็ญตนอนุเคราะห์ภิกษุใหม่ด้วยการบอกธรรมให้ นานวันท่านยิ่งเจริญวิปัสสนาดำเนินจิตเข้าอรหัตผลโดยผลความดีนั้น ภิกษุทั้งหลายเมื่อยกข้ออนุเคราะห์
การบอกธรรมขึ้นสนทนาในธรรมสภา ก็มักมีสรรเสริญพระจิตหัตถและติฉินท่านไปพร้อมกัน

หนุ่มจิตหัถได้ลาสิกขาแล้วก็เข้ามาบวชอีกรวม ๖ ครั้งด้วยกัน
 
หนุ่มจิตหัถได้ลาสิกขาแล้วก็เข้ามาบวชอีกรวม ๖ ครั้งด้วยกัน
 
     เหตุเพราะมีนิสัยปุถุชนขนาดครองผ้ากาสาวพัสตร์ถึง ๖ ครั้งนั้นเอง “ บัณฑิตทั้งหลาย แม้ในการก่อนเพียงจอบขุดดินเล่มเดียว ก็เคยทำให้สละเพศบรรพชิตได้ถึง ๖ ครั้งมาแล้ว ”
แล้วพระองค์ก็ทรงตรัสเล่า กุททาลชาดกขึ้นดังนี้
 
พระจิตหัตถบวชเป็นครั้งที่ ๗ จนท่านเป็นผู้ทรงพระอภิธรรม ๗ พระคัมภีร์
 
พระจิตหัตถบวชเป็นครั้งที่ ๗ จนท่านเป็นผู้ทรงพระอภิธรรม ๗ พระคัมภีร์
 
     ในกาลอดีตโน้น ครั้งที่พระเจ้าพรหมทัตยังคงขับคชาทารออกรบขยายอาณาเขตของพาราณสี ครั้งหนึ่งเมื่อมีชัยชนะกลับมาก็ปรารถนาจะลงสรงน้ำสระเกล้า
ในคงคามหานทีดังเช่นทุกคราว “ เดินทางมาเหน็ดเหนื่อย ร้อนเหลือเกิน
 
 
ภิกษุทั้งหลายต่างพากันสรรเสริญและติฉินพระจิตหัตถในเวลาเดียวกัน
 
ภิกษุทั้งหลายต่างพากันสรรเสริญและติฉินพระจิตหัตถในเวลาเดียวกัน
  
        เราจะสรงน้ำตรงแม่น้ำนั้นสะหน่อย ” “ กระหม่อมได้เตรียมอาภรเรียบร้อยแล้วพระเจ้าค่ะ ” “ ฮ่ะ ฮ่า ฮ่า เราชนะแล้ว เราชนะแล้ว ” เมื่อไปถึงแม่น้ำพระองค์ก็ทรงสนพระทัย
ชายผู้หนึ่งที่ยืนตะโกนก้องอยู่ริมพระแม่คงคา “ เอ๊ะ ชายผู้นั้นหัวเราะอะไรกัน
 
พระศาสดาทรงนำอดีต กุททาลชาดก ขึ้นมาสาทกแก่เหล่าภิกษุสงฆ์    

พระศาสดาทรงนำอดีต กุททาลชาดก ขึ้นมาสาทกแก่เหล่าภิกษุสงฆ์
 
        เขาชนะอะไรกันรึ ทหารนำตัวชายผู้นั้นมาพบกับเราหน่อยสิ ” ครั้นเมื่อพระองค์ทรงสระเศียรเกล้าเป็นมงคลดีแล้ว ก็ตรัสถามมานพหนุ่มผู้นั้น “ เราเพิ่งชนะสงคราม
ปัจจันตชนบทมา ส่วนท่านล่ะ ชนะอะไรมา ” “ มหาราช ถึงท่านจะชนะมาทั้ง ๑๐ ทิศ

พระเจ้าพรหมทัตทรงชนะศึกและได้เสด็จกลับมายังเมืองของตน
 
พระเจ้าพรหมทัตทรงชนะศึกและได้เสด็จกลับมายังเมืองของตน
  
        แต่หายังต้องการครองเป็นของตนอยู่เช่นนี้ ก็ยังหาได้ชนะเด็ดขาดไม่ ” “ ชนะเด็ดขาดเป็นของเราแล้ว  ปัจจามิตรใด ๆ เราปราบราบคาบสิ้นแล้ว ยังมีสงครามที่ไหน
ให้เรารบอีกเล่า ” “ นี่ยังไม่ใช่ชัยชนะโดยเด็ดขาด การได้ชัยชนะเพียงครั้งเดียว
 
พระเจ้าพรหมทัตต้องการที่จะลงสรงสนานในแม่น้ำ
 
พระเจ้าพรหมทัตต้องการที่จะลงสรงสนานในแม่น้ำ
 
        ไม่กลับมาพ่ายแพ้อีกต่างหากล่ะ คือ ชนะเด็ดขาด พระองค์ต้องทรงเอาชนะกิเลสภายในตนให้ได้ เพียงครั้งเดียวก็จะไม่ทรงพ่ายแพ้อีกตลอดกาล ” มานพในอาภรณ์
นักบวชนั้น แสดงพระสูตรสาทก ว่า  “ ผู้ชนะหมู่มนุษย์ในสงครามถึงล้านคน
 
พระเจ้าพรหมทัตทรงสนพระทัยมานพหนุ่มที่ยืนร้องตะโกนก้องอยู่ริมท่าน้ำ
 
พระเจ้าพรหมทัตทรงสนพระทัยมานพหนุ่มที่ยืนร้องตะโกนก้องอยู่ริมท่าน้ำ
 
        ยังสู้ผู้ที่ชนะตนเพียงคนเดียวไม่ได้ ผู้ชนะดังนี้จึงถือเป็นจอมทัพอย่างแท้จริง ” ราชาพรหมทัตสดับธรรมมีเหตุผลเช่นนี้ ก็มีพระทัยน้อมให้ทรงละกิเลส ปรารถนาจะรู้
ที่มาแห่งชัยชนะกิเลสของมานพผู้นี้ มานพผู้ถวายเทศนาก็เล่าขานว่า
 
พระเจ้าพรหมทัตทรงรับสั่งให้ทหารไปเชิญมานพหนุ่มที่ท่าน้ำมาพบตน
 
พระเจ้าพรหมทัตทรงรับสั่งให้ทหารไปเชิญมานพหนุ่มที่ท่าน้ำมาพบตน
 
        “ มหาราชผู้เจริญ ข้าพเจ้านามว่ากุททาล เกิดและเลี้ยงชีพด้วยอาชีพกสิกรรม อาศัยจอบที่ตกทอดมาแต่ปู่ทวด พลิกพื้นแผ่นดินเพาะปลูกอยู่ในชนบท ปลูกน้ำเต้า
ฝักแฝงใด ๆ  ก็ล้วนบันดาลขึ้นจากแรงและจอบเล่มนี้
 
มานพหนุ่มในอาภรณ์นักบวชได้สนทนากับพระเจ้าพรหมทัต
 
มานพหนุ่มในอาภรณ์นักบวชได้สนทนากับพระเจ้าพรหมทัต
 
        ข้าพระองค์จึงบำรุงดูแลทั้งใบจอบ ด้ามจอบ อย่างรักใคร่หวงแหน เหตุเพราะเป็นทรัพย์สมบัติชิ้นเดียวที่มี แต่เมื่อผ่านหลายฤดูกาลนานเข้า เกิดเบื่อหน่ายชีวิต
คฤหัสถ์คิดออกบวชเป็นฤาษี ข้าพระองค์จึงเช็ดถูจอบอย่างดี นำมันห่อผ้าจนหนาแน่น
 
มานพหนุ่มได้เล่าถึงอาชีพในอดีตของเขาต่อพระเจ้าพรหมทัต
 
มานพหนุ่มได้เล่าถึงอาชีพในอดีตของเขาต่อพระเจ้าพรหมทัต
 
        แล้วนำไปฝั่งไว้ในที่มิดชิดเพราะยังรักอาลัยอยู่มาก จากนั้นก็ออกเสาะหาเครื่องนุ่งห่มใหม่ ถือเพศบรรพชิตเป็นพระฤาษีออกมุ่งสู่หิมวันตประเทศ แสวงวิโมกธรรม
ข้าพระองค์บวชเป็นฤาษีอยู่ได้ไม่นานสักเท่าไหร่ก็คิดถึงจอบเล่มนี้

มานพหนุ่มได้นำจอบของเขาไปฝั่งแล้วก็ออกบวชเป็นฤาษี
 
มานพหนุ่มได้นำจอบของเขาไปฝั่งแล้วก็ออกบวชเป็นฤาษี
 
        เพราะเป็นสมบัติคู่กายคู่ชีวิตกันมานาน จึงออกจากเพศฤาษีกลับมายังสวนผัก ขุดเอาจอบมาเช็ดถูทำกสิกรรมกันต่อ ข้าแต่มหาราช ข้าพระองค์เมื่อเบื่อชีวิตปุถุชน
ก็เอาจอบฝั่งดินไปเป็นฤาษี ครั้นเบื่อหน่ายเพศบรรพชิตก็สึก เป็นเช่นนี้มา ๖ ครั้งแล้ว
 
มานพหนุ่มบวชเป็นฤาษีแล้วก็สึกมาทำอาชีพกสิกรรมสลับกันไปเช่นนี้ถึง ๖ ครั้งด้วยกัน
 
 
มานพหนุ่มบวชเป็นฤาษีแล้วก็สึกมาทำอาชีพกสิกรรมสลับกันไปเช่นนี้ถึง ๖ ครั้งด้วยกัน
 
        สุดท้ายข้าพระองค์ได้นำตัวตั้งของกิเลส คือจอบคู่ชีวิตเล่มนี้ขว้างทิ้งลงแม่น้ำ ข้าพระองค์หันหลังเขวี้ยงมันไป เพื่อจะได้ไม่พบเห็นจุดที่มันจมอยู่อีกต่อไป และข้าพระองค์
ก็ตัดขาดกิเลสกับมันแต่บัดนั้น เมื่อเหวี่ยงกิเลสจมหาย

มานพหนุ่มได้เขวี้ยงจอบลงแม่น้ำโดยการหันหลังเพราะเขาไม่ต้องการเห็นตำแหน่งที่จอบนั้นร่วงหล่นลงแม่น้ำ
 
มานพหนุ่มได้เขวี้ยงจอบลงแม่น้ำโดยการหันหลังเพราะเขาไม่ต้องการเห็นตำแหน่งที่จอบนั้นร่วงหล่นลงแม่น้ำ
 
       จิตใจก็เบิกบานในชัยชนะที่ไม่อาจตกอยู่ในอำนาจรักใคร่อยากได้มันอีก มหาราชที่มาแห่งคำว่าเราชนะแล้ว เราชนะแล้ว มีดังนี้ และตัวเราก็จักเป็นฤาษีในป่าหิมพานต์
ไม่กลับมาเป็นทุกข์อีก ” พระเจ้าพรหมทัตสดับแล้วทรงละกิเลสได้ด้วยอำนาจตทังคปหาน
 
พระเจ้าพรหมทัตและเหล่าทหารมีความต้องการที่จะออกบวชเพื่อละกิเลส
 
พระเจ้าพรหมทัตและเหล่าทหารมีความต้องการที่จะออกบวชเพื่อละกิเลส
 
         มีพระทัยอยากบรรพชา ทวยทหารก็พากันละกิเลสได้เช่นเดียวกันทั้งกองทัพ “ เราจะนำคนทั้งหลายตามออกบวช ” ครั้งนั้นพาราณสีและเมืองปริมณฑลอีก ๗ พระนคร
ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมโหฬาร กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี ทวยทหารพลนิกรมากมาย
 
กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี เหล่าทหาร พร้อมใจกันสละทรัพย์สมบัติแล้วออกบวช
 
กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี เหล่าทหาร พร้อมใจกันสละทรัพย์สมบัติแล้วออกบวช
 
          พากันสละทรัพย์สมบัติออกถือบวชติดตามพระเจ้าพรหมทัต “ หม่อมฉันก็ประสงค์จะสละซึ่งกิเลสตามพระองค์ออกบวชเช่นกันพระเจ้าค่ะ ” ขบวนพระมหากษัตริย์
ทรงดำเนินตามหลังกุททาลฤาษีมุ่งสู่หิมวันตประเทศ ออกสู่มหาภิเนษกรมณ์
 
กุททาลฤาษีทำบริกรรมแล้วบวชให้พระราชาและเหล่าบริษัททั้งหมด
 
กุททาลฤาษีทำบริกรรมแล้วบวชให้พระราชาและเหล่าบริษัททั้งหมด
 
       ครั้งนั้นมหาชนหลั่งไหลสละกิเลส ออกบวชในกาลนั้นเป็นระยะทางถึง ๑๒ โยชน์ หรือ ๑,๙๒๐ กิโลเมตรทีเดียว กุททาลฤาษีทำบริกรรมแล้วบวชให้พระราชา
และเหล่าบริษัททั้งหมด ทั้งหมดเพ่งกสิณเจริญพรหมวิหารธรรมจนสังขารวัยดำเนินไปถึงจุดสิ้นสุดอย่างมีความสุข
 
ฤาษีทั้งหลายต่างพากันเจริญพรหมวิหารอย่างมีความสุขจนสังขารล่วงไปในที่สุด
 
ฤาษีทั้งหลายต่างพากันเจริญพรหมวิหารอย่างมีความสุขจนสังขารล่วงไปในที่สุด
 
        พระพุทธเจ้าแสดงธรรมเทศนาชาดกนี้แล้ว ตรัสว่า “ อำนาจกิเลสปลดเปลื้องได้ยาก กระทำให้ผู้เป็นบัณฑิตกลายเป็นผู้ไม่มีความรู้ไปได้ ซึ่งจิตที่บำบัดแล้ว
ย่อมนำสุขมาให้ด้วยประการฉะนี้ ในพุทธกาลนั้น พระพุทธองค์ สืบอนุสนธิ ประชุมชาดกว่า
 
 
พระเจ้าพรหมทัต กำเนิดเป็น พระอานนท์
พุทธบริษัทในครั้งนั้น กำเนิดเป็นพุทธศาสนิกชน
กุททาลฤาษี เสวยพระชาติเป็นพระพุทธเจ้า
 

รับชมคลิปวิดีโอกุททาลชาดก
ชมวิดีโอกุททาลชาดก  MP3 ธรรมะกุททาลชาดก   Download ธรรมะกุททาลชาดก
 
 


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
พันธนโมกขชาดก ชาดกว่าด้วยการหลุดพ้นจากเครื่องผูกมัดพันธนโมกขชาดก ชาดกว่าด้วยการหลุดพ้นจากเครื่องผูกมัด

กุมภชาดก ชาดกว่าด้วยโทษของสุรากุมภชาดก ชาดกว่าด้วยโทษของสุรา

สุชาตกุมารชาดก ชาดกว่าด้วยการพรากจากสิ่งที่เป็นทุกข์สุชาตกุมารชาดก ชาดกว่าด้วยการพรากจากสิ่งที่เป็นทุกข์



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

นิทานชาดก 500 ชาติ