ชีวิตสมณะ..ชีวิตที่ฝันใฝ่.. ของลูกผู้ชายตัวจริง


[ 16 ส.ค. 2553 ] - [ 18275 ] LINE it!



          ไม่น่าเชื่อว่าจากคนธรรมดาสามัญ แต่เมื่อเข้าสู่การเป็นเพศนักบวชในพระพุทธศาสนาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นพระราชามหาเศรษฐี ข้าราชการทุกระดับ ตลอดจนผู้คนทั้งหลาย ต่างก็ต้องยกมือไหว้พระภิกษุ สามเณร แม้จะเพิ่งบวชได้เพียงวันเดียว
 
         
...นั่นก็แสดงว่า เพศบรรพชิต เป็นเพศอันสูงส่งกว่ามนุษย์ทั่วไป แต่ก็เป็นที่น่าคิดว่า การก้าวเข้าสู่เพศบรรพชิตนั้น มิได้จำกัดว่าจะเป็นชนชั้นไหน หรือมีฐานะอย่างไร ขอเพียงให้เป็นผู้ชายที่มีจิตศรัทธามุ่งมั่น ที่จะปฏิบัติตนตามพระธรรมวินัย และปรารถนาจะฝึกฝนตนเองให้เป็นพระแท้ สมกับที่มีผู้คนกราบไหว้ ก็สามารถที่จะเป็นพระภิกษุ สามเณร ในพระพุทธศาสนาได้อย่างน่าเคารพบูชา
">
">
 
 

 
ชีวิตของนักรบ
 
แห่งกองทัพธรรม
">
ไม่มีวันปลดเกษียณ
 
................................................................................ 

พระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ได้เคยกล่าวให้โอวาทไว้ว่า
">
">
">
">
">
">

">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
          ชีวิตของนักบวชนั้น เป็นชีวิตของนักรบกองทัพธรรม ผู้ที่ได้อุทิศตนให้กับพระพุทธศาสนา เป็นชีวิตที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง... ยิ่งกว่าชีวิตของจอมจักรพรรดิ หรือยิ่งกว่าชีวิตใด ๆ ในโลกทั้งหมด... และเป็นชีวิตที่มีเกียรติสูงสุด ที่ไม่ใช่มีเฉพาะในเมืองมนุษย์นี้เท่านั้น... แต่มีเกียรติสูงสุดทั้งในสัมปรายภพและในเทวโลก
 
 
          จากโอวาท ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อดังกล่าว แสดงว่าเพศของนักบวชเป็นเพศที่สำคัญ ก่อให้เกิดบุญกุศลแก่ผู้บวชทั้งในชีวิตปัจจุบัน และแม้ละสังขารจากโลกไปแล้ว ก็ยังมีบุญที่เกิดจากการบวชติดตามไปเกื้อหนุน ให้เกิดความสุขในสัมปรายภพได้อีกด้วย และจากโอวาทของพระเดชพระคุณหลวงพ่อข้างต้น ยังให้ข้อคิดอีกว่า ชีวิตของนักบวชไม่มีวันเกษียณ หรือไม่มีวันปลดประจำการเหมือนนักรบในทางโลก และผู้บวชสามารถอยู่ในเพศนี้ได้ตลอดชีวิต ขณะเดียวกัน ลูกผู้ชายแม้วัยเกษียณอายุการทำงานในทางโลก ยังสามารถก้าวเข้าสู่ชีวิตนักบวชได้ และยิ่งจะเป็นชีวิตนักบวชที่ปลอดจากเครื่องกังวลได้เป็นอย่างดี
">
 
">
 
">
">
">
วัยเกษียณ
ก็ต้องเพียรสร้างหนทางสวรรค์
................................................................................
">
">
 
">
          การที่จะ มีบุคคลใดที่มีความอดทน ทุ่มเท เสียสละ สามารถทำงานที่ซ้ำซาก จำเจ คอยแก้ปัญหา คอยเอาใจใส่ จดจ่ออยู่กับภารกิจหน้าที่และรับผิดชอบงานต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนานนับหลายสิบปี จนกระทั่งถึงวันเวลาที่จะต้องหมดวาระที่เรียกว่า เกษียณ ได้นั้น ต้องถือว่าบุคคลนั้น เป็นบุคคลที่น่ายกย่องชมเชยเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะแสดงให้เห็นถึงภาวะทางจิตใจที่สูงส่งแล้ว ยังถือเป็นบุคคลที่เป็นแบบอย่างแห่งการทำงานที่ยั่งยืน
 
          
ซึ่งคำว่า เกษียณ ในแวดวงของคนทำงานนั้นถือเป็นเรื่องปกติธรรมดา เพราะย่อมเป็นประสบการณ์ ที่จะต้องพบเจออย่างแน่นอน ไม่ว่าบุคคลนั้นจะมีตำแหน่งหน้าที่ใด และการเข้าถึงวาระเกษียณมิใช่เป็นเรื่องของความเครียด หรือเป็นเรื่องที่ทำให้กังวลใจที่จะต้องวางงานอันเป็นที่รักลง แต่กลับเป็นเรื่องที่จะทำให้เราตระหนักในใจเสมอว่า วาระนี้จะเป็นวาระพิเศษที่เราจะได้มาทบทวนถึงความจริงของชีวิต และพิจารณาที่จะเติมเต็ม สิ่งที่ดีที่สุดให้กับชีวิตของตนเอง เพื่อความเป็นตัวของตัวเองอย่างแท้จริง ...ชีวิตนักบวชจึงเป็นชีวิตที่รอคอยที่จะให้ผู้ที่เกษียณอายุในทางโลก มาเริ่มต้นชีวิตที่แท้จริงในทางธรรม
">
">
 
 

 
วัยฉกาจฉกรรจ์
">
">
ก็ต้องบวชเรียน
ทดแทนคุณบิดามารดา
................................................................................
">
 
 
         
">
มิใช่เพศ บรรพชิตจะทำได้เฉพาะผู้ใหญ่เท่านั้น แม้จะยังเป็นคนหนุ่มในวัยนิสิตนักศึกษา ทั้งที่ยังเรียนอยู่หรือสำเร็จการศึกษาแล้ว ก็ยิ่งเป็นวาระของชีวิตที่จะได้เข้ามาศึกษาและฝึกฝนตนเองในพระพุทธศาสนา เพราะมีข้อคิดอย่างหนึ่งว่า ในวัยนิสิตนักศึกษานั้น เป็นวัยที่สามารถเรียนรู้จนสามารถแยกแยะได้ว่า สิ่งไหนผิดสิ่งไหนถูก แต่มักจะยังไม่ชำนาญที่จะสามารถแยกแยะได้ว่า อะไรเหมาะสมอะไรไม่เหมาะสม นอกจากจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ชีวิตจริง และจะศึกษาได้จากคำสอนแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่จะทำให้เราทั้งหลายสามารถมองโลกได้หลายมิติและอย่างชัดแจ้งชัดเจน
          
">
">
         
">
สามารถจะเป็นผู้นำพาชีวิตของตนไปสู่เส้น ทางที่ถูกต้องและประเสริฐได้ ดังที่พระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ท่านได้ให้โอวาทและชี้ให้เห็นเส้นทางชีวิตอันประเสริฐในเพศนักบวชไว้มากมาย ดังตอนหนึ่งพระเดชพระคุณหลวงพ่อกล่าวไว้ว่า
 
         
">
ชีวิต สมณะเป็นชีวิตอันประเสริฐที่สุด เป็นเส้นทางชีวิตของผู้ที่เห็นภัยในวัฎสงสาร และเห็นทุกข์เห็นโทษของฆราวาสวิสัย เพราะชีวิตทางโลกยังเป็นชีวิตของผู้ที่ยังข้องเกี่ยว และเวียนวนอยู่กับภารกิจของการครองเรือน ยากที่จะหาเวลาเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้งได้... ชีวิตนักบวชจึงเป็นชีวิตของผู้เว้นจากพฤติกรรมแบบชาวโลก เพื่อจะได้ปลอดจากเครื่องกังวลต่างๆ มุ่งทำแบบพระ พูดแบบพระ คิดแบบพระ สงบ เสงี่ยม สง่างาม สั่งสมศีล สมาธิ ปัญญา ให้เจริญงอกงามขึ้นในตน
">
">
 
 

 
ชีวิตนักบวช 
">
คือ ชีวิตของผู้แจ้งโลก...มิใช่หนีโลก
................................................................................
">
 
         
">
ผู้ที่จะ มาบวชได้ต้องถือว่าเป็นผู้มีบุญมาก เพราะเพศสมณะ ใช่ว่าใครจะมาอยู่ได้ง่าย ๆ ต้องสั่งสมบุญกันมาข้ามภพข้ามชาติ ต้องมีบารมีมาก จึงจะมีโอกาสมาบวชในพุทธศาสนา ดูอย่างในสมัยพุทธกาลเป็นต้น ผู้ที่มาบวชนั้น ไม่ใช่ผู้ด้อยโอกาส แต่เป็นผู้ที่มาจากหลายตระกูลที่ล้วนแต่ประสบความสำเร็จในชีวิต หลายท่านมาจากตระกูลกษัตริย์ขัตติยะก็มี พราหมณ์ก็มี แพศย์ก็มี ศูทรก็มี มีทุก ๆ ตระกูลมาบวชกัน เพียงแค่ว่ามาจากตระกูลกษัตริย์ หรือพราหมณ์ หรือมหาเศรษฐี ที่เข้ามาบวช ก็แสดงว่าไม่ใช่เรื่องธรรมดาแล้ว ไม่ใช่เรื่องของผู้ด้อยโอกาส แต่จะต้องเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งทีเดียว
">
 
         
">
นอกจากนี้ พระเดชพระคุณหลวงพ่อยังได้ให้โอวาทไว้อีกตอนหนึ่งว่า
">
 
         
">
บุคคลใดได้มีโอกาสได้เข้าสู่เพศสมณะนั้น จะต้องเป็นผู้มี บุญญาธิการที่สั่งสมมานับภพนับชาติไม่ถ้วน กว่าจะมีพระธรรม คำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเป็นสิ่งที่ยากอย่างยิ่ง จะต้องมี การบังเกิดขึ้นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสียก่อน และกว่าจะมาเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น จะต้องสร้างบารมี ๓๐ ทัศ เต็มเปี่ยมบริบูรณ์ เป็นเวลายาวนาน เกิดตายนับภพนับชาติไม่ถ้วน สร้างบารมีโดยไม่กลัวอุปสรรค สละทรัพย์ไม่เสียดาย ทรัพย์ก็ไม่ใช่เล็ก ๆ น้อย ๆ ทำตั้งแต่น้อย ๆ จนกระทั่งยกทรัพย์ที่เป็นราชสมบัติ จนกระทั่งแม้มีสมบัติจักรพรรดิ ซึ่งเป็นสุดยอดแห่งสมบัติของปุถุชนก็ยังยกให้ สละแจกจ่ายเป็นทานโดยไม่เสียดาย ปรารถนาเพียงอยากจะเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
">
 
 

 
ขอเชิญลูกผู้ชาย 
">
มาบวชให้เป็นที่พึ่งของตนเอง
................................................................................
">
">
 
         
">
โอกาสสำคัญมาถึงลูกผู้ชายทั้งวัยหนุ่มและ ผู้ถึงวาระเกษียณ ที่จะได้กลับคืนสู่ความเป็นตัวของตัวเราที่แท้จริง และเป็นโอกาสจะได้ใช้ชีวิตเพื่อสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นในจิตใจอย่างเต็มที่ ทั้งด้วยการทำทาน อันเป็นการให้จากจิตใจที่เอื้ออารี ทั้งด้วยการรักษาศีล อันเป็นการชำระใจให้พร้อมที่จะรองรับคุณธรรมเบื้องสูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป และด้วย การเจริญภาวนา อันเป็นการน้อมจิตให้สุขสงบและใสสว่าง เพราะบุญที่เกิดจากการบวชครั้งนี้ จะเป็นที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริง และเป็นความบริสุทธิ์ผ่องใส ที่จะประทับแน่นอยู่ในจิตใจเราตลอดไป ซึ่งเราเองย่อมประจักษ์อยู่แก่ใจว่า ทรัพย์สมบัติและสิ่งอำนวยความสะดวกสบายทั้งหลาย ที่หามาได้ตลอดระยะเวลาแห่งชีวิตที่ผ่านมานั้น ไม่ว่าจะเป็น อาหารอันมีรสเลิศ อาคารบ้านเรือนอันใหญ่โตโอฬาร หรือแม้แต่อาภรณ์วิจิตรประณีตอันมีราคาแพง สิ่งเหล่านี้หาได้ติดตามตัวเราไปได้ในชีวิตเบื้องหน้า แต่สิ่งที่เราต้องการที่แท้จริง คือ บุญกุศลที่จะยังให้เรามีความสุขใจ มีที่พึ่งที่ระลึกอยู่ในใจ แม้หากจะเกิดเจ็บป่วยนอนอยู่บนเตียง ก็มีความมั่นใจที่พร้อมจะเผชิญกับชีวิต ทั้งโลกนี้และโลกหน้าอย่างไม่หวาดหวั่น เพราะชีวิตที่ใกล้ชิดกับธรรมะนั่นเองเป็นชีวิตที่แท้จริงของเรา และการที่เราได้ศึกษาและปฏิบัติธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอยู่ในเพศสมณะนั้น...คือหน้าที่ที่แท้จริงของชีวิต
 
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
ห้องนอน - 5 ห้องชีวิต เนรมิตนิสัยห้องนอน - 5 ห้องชีวิต เนรมิตนิสัย

ห้องน้ำ - 5 ห้องชีวิต เนรมิตนิสัยห้องน้ำ - 5 ห้องชีวิต เนรมิตนิสัย

ห้องรับประทานอาหาร - 5 ห้องชีวิต เนรมิตนิสัยห้องรับประทานอาหาร - 5 ห้องชีวิต เนรมิตนิสัย



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

วารสารอยู่ในบุญฉบับ pdf