ความรู้พื้นฐานที่นำไปสู่ความเข้าใจของการเกิดโรค ตอนที่ 2


[ 19 ม.ค. 2554 ] - [ 18263 ] LINE it!

">
เส้นประสาท

">
หน้าที่ของเส้นประสาทแต่ละคู่ และการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ

">
ต่อจากตอนที่แล้ว......

1.2.2 หน้าที่เส้นประสาทแต่ละคู่
">
          เส้นประสาทแต่ละคู่ มีการแบ่งหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ เป็น 3 หน้าที่ คือ
 
รีเฟล็กซ์แอกชัน 
        1) นำกระแสประสาทรับความรู้สึกต่างๆ เข้าสู่ระบบประสาทศูนย์กลาง เช่น เจ็บ ปวด ร้อน เย็น เป็นต้น
         
2) นำคำสั่งเกี่ยวกับการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อเพื่อให้เกิดการทรงตัวและการเคลื่อนไหวของร่างกาย ซึ่งการสั่งการทำงานถูกควบคุมภายใต้อำนาจจิตใจ
">
        3) นำคำสั่งเกี่ยวกับการควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ เช่น ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบหายใจ ระบบย่อยอาหาร เป็นต้น ให้ทำงานอย่างสมดุลภายในร่างกาย รวมถึงการทำงานของระบบต่างๆ ขณะกำลังหลับ ซึ่งการสั่งการทำงานเกิดขึ้นเองนอกอำนาจจิตใจ เรียกว่า ระบบประสาทอัตโนมัติ
 
ระบบประสาทอัตโนมัติ
แบ่งออกเป็น 2 ระบบใหญ่ คือ
 
1) พาราซิมพาเธติค
         ระบบประสาทนี้จะคู่ขนานไปกับ เส้นประสาท บางคู่ที่แยกออกมาจากสมอง และที่แยกออกมาจาก ไขสันหลัง ผ่านสองข้างกระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ
 
2) ซิมพาเธติค
         ระบบประสาทนี้พบในเส้นประสาทที่แยกออกมาจากไขสันหลัง เมื่อผ่านช่องของกระดูกสันหลังทั้งสองข้าง แล้วก็จะมาผ่านปมประสาทที่มีการเชื่อมประสานกันของเส้นประสาท ซึ่งอยู่ชิดตลอดแนวของกระดูกสันหลัง โดยส่งสัญญาณผ่านปมประสาทตั้งแต่ระดับท้ายทอยไปถึงระดับเอว
">
 
">
การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติต่ออวัยวะต่างๆ
 
">
         อวัยวะแต่ละแห่งที่ถูกควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติ พาราซิมพาเธติคและซิมพาเธติค จะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานร่วมกันไปเสมอ แต่จะทำหน้าที่ตรงข้ามกัน
 
กล่าวคือ....
         อวัยวะบางแห่ง ซิมพาเธติค ทำหน้าที่กระตุ้น ในขณะที่ พาราซิมพาเธติค ทำหน้าที่ยังยั้ง
         อวัยวะบางแห่ง ซิมพาเธติค ทำหน้าที่ยับยั้งในขณะที่พาราซิมพาเธติคทำหน้าที่กระตุ้น ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะรักษาภาวะสมดุลของร่างกายไว้
 
ตัวอย่างเช่น...
 
">
">
การวิ่ง 
 
">
">
          ในขณะที่เราวิ่ง.... ร่างกายต้องใช้พลังงานมาก ซิมพาเธติค ก็จะกระตุ้นหัวใจให้สูบฉีดโลหิตเร็วและแรงขึ้น เพื่อเพิ่มการไหลเวียนโลหิตทั่วร่างกาย
          เมื่อหยุดวิ่ง ร่างกายใช้พลังงานน้อยลง พาราซิมพาเธติคก็จะทำหน้าที่ชะลอหัวใจให้สูบฉีดช้าลง และค่อยๆ กลับมาสู่การสูบฉีดโลหิตในภาวะปกติ เป็นต้น
">
">
">
">
">
">
">
">
 
จาก..หนังสือสุขภาพนักสร้างบารมี


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
ความรู้พื้นฐานที่นำไปสู่ความเข้าใจของการเกิดโรค ตอนที่ 3ความรู้พื้นฐานที่นำไปสู่ความเข้าใจของการเกิดโรค ตอนที่ 3

อาการที่แสดงถึงการเสียดุลยภาพภายในร่างกายอาการที่แสดงถึงการเสียดุลยภาพภายในร่างกาย

ไมเกรน (โรคปวดศีรษะรุนแรงเรื้อรัง) - ตัวอย่างโรคที่เกิดจากการเสียดุลยภาพไมเกรน (โรคปวดศีรษะรุนแรงเรื้อรัง) - ตัวอย่างโรคที่เกิดจากการเสียดุลยภาพ



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

สุขภาพและวิธีการดูแลสุขภาพของนักสร้างบารมี