ความรู้พื้นฐานที่นำไปสู่ความเข้าใจของการเกิดโรค ตอนที่ 3


[ 20 ม.ค. 2554 ] - [ 18265 ] LINE it!

โครงสร้างกระดูกสันหลัง

กระดูกสันหลังคือกระดูกส่วนที่อยู่ถัดจากกะโหลกศรีษะลงไป โดยเริ่มตั้งแต่กระดูกท้ายทอยไปจนถึงกระดูกก้นกบ

">
 
ความรู้พื้นฐานเรื่องโครงสร้างกระดูกสันหลัง
 
">
        กระดูกสันหลังแต่ละปล้องที่เชื่อมต่อกันแล้ว จะมีช่องว่าง ซึ่งเป็นที่ออกของเส้นประสาทแต่ละคู่ที่แตกออกมาจากไขสันหลัง
 
">
">
">
">
การแตกออกของเส้นประสาทจากไขสันหลัง 
">
">
        เมื่อเส้นประสาทคู่ต่างๆ ที่แตกออกมาจากไขสันหลังผ่านออกมาจากช่องว่างของกระดูกสันหลังแล้ว จะต้องแทรกผ่านกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืดที่คอยยึดโยงตลอดแนวของกระดูกสันหลัง แล้วแต่ละคู่ก็จะแผ่ไปยังอวัยวะต่างๆ ในบริเวณที่มันทำหน้าที่ทั้งการสั่งการทำงานภายใต้อำนาจจิตใจ และการทำงานนอกอำนาจจิตใจหรือแบบอัตโนมัติ

">
">
">
">
">
การแทรกของเส้นประสาทผ่านกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืดตลอดแนวกระดูกสันหลัง 
">
">
">
">
">
ซึ่ง...
 
        กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืดตลอดแนวทั้งสองข้างของกระดูกสันหลังนี้ ทำหน้าที่รักษาสมดุลของโครงสร้างและการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลัง
">
">
">
">
">
 
">
">
">
">
">
จากความรู้พื้นฐานทั้งหมดที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า...
 
        ถ้าโครงสร้างร่างกายเสียสมดุล โดยเฉพาะที่แกนของกระดูกสันหลัง มีการเกร็งของกล้ามเนื้อตามแนวกระดูกสันหลังเกิดขึ้นในบริเวณใดก็ตาม กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืด ตามแนวกระดูกสันหลังนี้จะมีการดึงรั้งกันเกิดขึ้น
 
จึงเป็นเหตุให้...
 
        การไหลเวียนถูกปิดกั้น และการไหลเวียนของเส้นประสาทที่ผ่านออกมาจากช่องว่างของกระดูกสันหลังบริเวณนั้น ก็จะบกพร่องตามไปด้วย การส่งสัญญาณจึงบกพร่อง
       
">
">
        เส้นประสาทคู่ต่างๆ ที่ผ่านออกมาจากช่องว่างของกระดูกสันหลัง ถือได้ว่ามีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของการส่งสัญญาณไปสู่อวัยวะต่างๆ ทั้งการทำงานภายใต้อำนาจจิตใจและการทำงานนอกอำนาจจิตใจหรือแบบอัตโนมัติ
 
        เมื่อเกิดการปิดกั้น การส่งสัญญาณสั่งการทำงานที่ต้นทางเสียแล้ว อวัยวะต่างๆ ที่อยู่ระหว่างทางและปลายทาง ย่อมได้รับผลกระทบ ยิ่งนานเท่าไหร่ ก็ยิ่งเสียหายมากขึ้นเท่านั้น
 
ทำนองเดียวกับ...
 
        กิ่งไม้ใหญ่ที่หักร่องแร่งคาต้น ใบไม้หรือผลของกิ่งนั้นย่อมค่อยๆ เหี่ยวแห้งไปตามลำดับ
 
และ...โดยเหตุที่
 
        ระบบประสาทอัตโนมัติซิมพาเธติคผ่านออกมาจากใต้กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืดตลอดแนวของกระดูกสันหลังจึงมีโอกาสถูกปิดกั้น และทำให้เกิดความผิดปกติในการควบคุมการทำงานแบบซิมพาเธติคได้มากกว่า พาราซิมพาเธติค ในขณะที่เกิดการดึงรั้งของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืดตามแนวกระดูกสันหลัง
 
">
">
">
">
">
">
">
">">
จาก...หนังสือสุขภาพนักสร้างบารมี


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
อาการที่แสดงถึงการเสียดุลยภาพภายในร่างกายอาการที่แสดงถึงการเสียดุลยภาพภายในร่างกาย

ไมเกรน (โรคปวดศีรษะรุนแรงเรื้อรัง) - ตัวอย่างโรคที่เกิดจากการเสียดุลยภาพไมเกรน (โรคปวดศีรษะรุนแรงเรื้อรัง) - ตัวอย่างโรคที่เกิดจากการเสียดุลยภาพ

สายตาผิดปกติ -  ตัวอย่างโรคที่เกิดจากการเสียดุลยภาพสายตาผิดปกติ - ตัวอย่างโรคที่เกิดจากการเสียดุลยภาพ



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

สุขภาพและวิธีการดูแลสุขภาพของนักสร้างบารมี