อาเซียน 10 ประเทศ


[ 28 ต.ค. 2556 ] - [ 18378 ] LINE it!

อาเซียน

อาเซียน 10 ประเทศ

เปิดประตูสู่ "อาเซียน"
 
อาเซียน

      ASEAN ย่อมาจากคำว่า Association of Southeast Asian Nations มีชื่อเป็นทางการว่า สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือเรียกสั้นๆ ว่า อาเซียน

     อาเซียน ก่อตั้งขึ้นโดยประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนิเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ร่วมกันจัดทำ ปฏิญญาอาเซียน (The ASEAN Declaration) ที่มีชื่อว่า ปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) เนื่องจากมีการลงนามปฏิญญาเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ที่วังสราญรมย์ซึ่งในเวลานั้นเป้นที่ตั้งของกระทรวงการต่างประเทศ กรุงเทพมหานคร

อาเซียนน่ารู้

ผู้แทนทั้งห้าประเทศที่เป็นผู้ลงนามในปฏิญญากรุงเทพฯประกอบด้วย

     1. ไทย-พันเอก (พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรัว่าการกระทรวงการต่างประเทศในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร
     2. อินโดนิเซีย-นายอาดัม มาลิค รัฐมนตรีฝ่ายการเมืองและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
     3. มาเลเซีย-นายตุน อับดุล ราซัค บิน อุสเซน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ
     4. ฟิลิปปินส์-นายนาร์ซิโซ รามอส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
     5. สิงคโปร์-นายเอส. ราชารัตนัม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

ปฏิญญากรุงเทพฯ กำหนดวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งอาเซียนไว้ 7 ประการดังนี้

     1. ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
     2. ส่งเสริมสันติภาพและความมั่งคงในภูมิภาค
     3. เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ พัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
     4. ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุรภาพชีวิตที่ดี
     5. ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปขแงการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
     6. เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้าตลอดตนการปรับปรุงการขนส่งและคมนาคม
     7. เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์กรความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่น และองค์กรระหว่างประเทศ

      ต่อมาในปี พ.ศ. 2514 ประเทศสมาชิกได้ลงนามในปฏิญญาสมานฉันท์อาเซียน ให้ก่อตั้ง สำนักงานเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) ขึ้นที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนิเซีย เพื่อเป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างประเทสสมาชิก
 

     ปัจจุบันอาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ คงเหลือแต่สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเตเพียงประเทศเดียวในภูมิภาคนี่ที่ยังไม่ได้เข้าเป็นสมาชิก เนื่องจากเป็นประเทศที่เพิ่งเกิดใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2545 มานี้เอง

ชื่อประเทศ ธง
เมืองหลวง
บรูไนดารุสซาลาม (BRUNEI DARUSSALAM)

บันดาร์เสรีเบกาวัน

ราชอาณาจักรกัมพูชา (KINGDOM OF CAMBODIA)
อาเซียน

พนมเปญ

สาธารณรัฐอินโดนิเซีย (REPUBLIC OF INDONESIA)
อาเซียน

จาการ์ตา

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (LAO PEOPLE'S DEMOCRATIC REPUBLIC)
อาเซียน

เวียงจันทน์

มาเลเซีย (MALAYSIA)
อาเซียน

กัวลาลัมเปอร์

สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (REPUBLIC OF UNION OF MYANMAR)
อาเซียน

เนปิดอว์

สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (REPUBLIC OF THE PHILIPPINES)
อาเซียน

มะนิลา

สาธารณรัฐสิงคโปร์ (REPUBLIC OF SINGAPORE)
อาเซียน

สิงคโปร์

ราชอาณาจักรไทย (KINGDOM OF THAILAND)
อาเซียน

กรุงเทพมหานคร

 

อาเซียน
แผนที่อาเซียนทั้ง 10 ประเทศ
 
บทความที่เกี่ยวข้องกับอาเซียน 10 ประเทศ
 
1. ประเทศมาเลเซีย
 
 
มาเลเซียหนึ่งในประชาคมอาเซียน การปกครองเมืองของประเทศมาเลเซีย
ทำมาค้าขายของประเทศมาเลเซีย เป็น อยู่ คือ วิถีชีวิตชาวมาเลเซีย
พูดจาภาษามลายูและรู้จักศาสนาของชาวมาเลเซีย วัฒนธรรม ประเพณี เกม และการละเล่นพื้นเมืองของประเทศมาเลเซีย
เทศกาล อาหาร และการแต่งกาย ของประเทศมาเลเซีย ปักหมุดจุดหมาย ประเทศมาเลเซีย
นามนี้สำคัญไฉน ของประเทศมาเลเซีย
 
2. ประเทศลาว
 

ลาวหนึ่งในประชาคมอาเซียน ทำเลที่ตั้ง ของประเทศลาว
ปกบ้านครองเมือง ของประเทศลาว ทำมาค้าขาย และเป็น อยู่ คือ...วิถีชาวลาว
เป็น อยู่ คือ...วิถีชาวลาว ตอนที่ 2 ปักหมุดจุดหมาย และนามนี้สำคัญไฉน ของประเทศลาว
 
4. ประเทศเมียนมาร์
 

เมียนมาร์หนึ่งในประชาคมอาเซียน ทำเลที่ตั้ง ประเทศเมียนมาร์
ปกบ้านครองเมือง ประเทศเมียนมาร์ ทำมาค้าขาย ประเทศเมียนมาร์
เป็น อยู่ คือ... วิถีชาวพม่า เป็น อยู่ คือ... วิถีชาวพม่า ตอนที่ 2
ปักหมุดจุดหมาย ประเทศพม่า

5. ประเทศเวียดนาม
 

เวียดนามหนึ่งในประชาคมอาเซียน ทำเลที่ตั้ง ประเทศเวียดนาม
ปกบ้านครองเมือง ประเทศเวียดนาม ทำมาค้าขาย ประเทศเวียดนาม
เป็น อยู่ คือ...วิถีชาวเวียดนาม เป็น อยู่ คือ...วิถีชาวเวียดนาม ตอนที่ 2
ปักหมุดจุดหมาย ประเทศเวียดนาม นามนี้สำคัญไฉน ประเทศเวียดนาม

6. ประเทศสิงคโปร์
 

สิงคโปร์หนึ่งในประชาคมอาเซียน ทำเลที่ตั้ง ประเทศสิงคโปร์
ปกบ้านครองเมือง และ ทำมาค้าขาย ของประเทศสิงคโปร์ เป็น อยู่ คือ...วิถีชาวสิงคโปร์
เป็น อยู่ คือ...วิถีชาวสิงคโปร์ ตอนที่ 2 ปักหมุดจุดหมาย ของประเทศสิงคโปร์
นามนี้สำคัญไฉน ของประเทศสิงคโปร์

8. ประเทศอินโดนีเซีย
 

อินโดนีเซียหนึ่งในประชาคมอาเซียน ทำเลที่ตั้ง ประเทศอินโดนีเซีย
ปกบ้านครองเมือง ประเทศอินโดนีเซีย ทำมาค้าขาย ประเทศอินโดนีเซีย
เป็น อยู่ คือ... วิถีชาวอินโด เป็น อยู่ คือ...วิถีชาวอินโด ตอนที่ 2
ปักหมุดจุดหมาย ประเทศอินโดนีเซีย นามนี้สำคัญไฉน ประเทศอินโดนีเซีย

9. ประเทศฟิลิปปินส์
 

ฟิลิปปินส์หนึ่งในประชาคมอาเซียน ทำเลที่ตั้ง ประเทศฟิลิปปินส์
ปกบ้านครองเมือง ประเทศฟิลิปปินส์ ทำมาค้าขาย ประเทศฟิลิปปินส์
เป็น อยู่ คือ...วิถีชาวฟิลิปิโน เป็น อยู่ คือ...วิถีชาวฟิลิปิโน ตอนที่ 2
ปักหมุดจุดหมาย ประเทศฟิลิปปินส์ นามนี้สำคัญไฉน ประเทศฟิลิปปินส์

10. ประเทศไทย
 

ไทยหนึ่งในประชาคมอาเซียน ทำเลที่ตั้ง ของประเทศไทย
ทรัพยากรธรรมชาติ และสัตว์ป่าในประเทศไทย ปกบ้านครองเมือง ของประเทศไทย
ทำมาค้าขาย ของประเทศไทย เป็น อยู่ คือ ... วิถีชาวไทย
วัฒนธรรมและประเพณี ของชาวไทย ศิลปะการแสดง การแต่งกาย และอาหารของชาวไทย
ขนม ผลไม้ และ ดนตรีไทยของชาวไทย การละเล่น การแสดงและกีฬาของชาวไทย
ปักหมุดจุดหมาย ของประเทศไทย นามนี้สำคัญไฉน ของประเทศไทย

อาเซียนน่ารู้

     สำนักงานเลาขาธิการอาเซียนแห่งชาติ (ASEAN National Secretariat) มีหน้าที่ประสานงานกิจการอาเซียนและติดตามผลการดำเนินงานภายในประเทศ สำหรับประเทศไทยมีกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ ทำหน้าที่ดังกล่าว

     ก่อนจะมาเป็นอาเซียน ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้มีการรวมตัวกันมาแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยมีประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ร่วมกันก่อตั้ง "สมาคมอาสา (Association of Southeast Asia)" เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม แต่มีเหตุต้องชะงักไป ทว่าก็นับเป็นหนึ่งในจุดเริ่มต้นก่อนจะมาเป็นอาเซียนในทุกวันนี้

ลำดับการเข้าร่วมเป็นประเทศสมาชิกอาเซียน

     พ.ศ. 2510 สาธารณรัฐอินโดนิเซีย มาเลเซีย สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ และราชอาณาจักรไทยร่วมกันก่อตั้งอาเซียน
     พ.ศ.2527 บรูไนดารุสซาลามเข้าร่วมเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 7 มกราคม
     พ.ศ.2528 สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเข้าร่วมเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม
     พ.ศ.2540 สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ เข้าร่วมเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม
     พ.ศ.2542 ราชอาณาจักรกัมพูชาเข้าร่วมเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 9 เมษายน

บทบาทของประเทศไทยในเวทีอาเซียน

     ประเทศไทย มีบทบาทสำคัญในฐานะศูนย์กลางในการเชื่อมโยงประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นับตั้งแต่การก่อตั้งอาเซียนเป้นต้นมา

     - ประเทศไทยคือสถานที่ลงนามปฏิญญาอาเซียนซึ่งถือเป็นการก่อตั้งอาเซียนอย่างเป็นทางการ จึงเรียกปฏิญญาอาเซียนว่า ปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration)
 
     - ประเทศไทยเสนอให้อาเซียนจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) เมื่อปี พ.ศ.2535
 
     - ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum: ARF) เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2537
 
     - ประเทศไทยเสนอให้มีการจัดทำความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกการขนส่งสินค้าผ่านแดนและข้ามแดน ซึ่งมีการลงนามในกรอบความตกลงดังกล่าวเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.2541
 
     - ขณะที่เป็นประธานอาเซียนในปี พ.ศ.2551-2552 ประเทศไทยได้รับมอบหมายให้วางรากฐานการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ซึ่งสำเร็จลุล่วงด้วยดี โดยมีการลงนามในปฏิญญาชะอำ-หัวหิน ว่าด้วยแผนงานสำหรับประชาคมอาเซียนในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2552

ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน

      คนไทยเคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน 2 คน คนแรกคือ นายแผน วรรณเมธี อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ.2527-2529 คนที่สองคือ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ.2551-2555

คำนี้น่ารู้เกี่ยวกับอาเซียน

     "ปฏิญญา" หมายถึง คำประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันของประเทศสมาชิก
 

บทความที่เกี่ยวข้องกับอาเซียน

 
คัดลอกจากหนังสือประชาคมอาเซียน โดย พัชรา โพธิ์กลาง

----- พบกันใหม่ในตอนต่อไป -----
 


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
วันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม 2566วันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม 2566

วิธีป้องกันไม่ให้น้ำท่วมบ้านอย่างได้ผลวิธีป้องกันไม่ให้น้ำท่วมบ้านอย่างได้ผล

ส้วมเฉพาะกิจเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมส้วมเฉพาะกิจเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

ความรู้รอบตัว