ปัจจัยทางภูมิศาสตร์กับการสร้างเจดีย์พระบรมธาตุ


[ 11 ก.พ. 2557 ] - [ 18272 ] LINE it!

พระบรมธาตุ

ปัจจัยทางภูมิศาสตร์กับการสร้างเจดีย์พระบรมธาตุ
 
ปัจจัยทางภูมิศาสตร์กับการสร้างเจดีย์พระบรมธาตุ
 
วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร

ปัจจัยทางภูมิศาสตร์กับการสร้างเจดีย์พระบรมธาตุ

     บนภูเขา หรือเนินเขา : คู่ควรกับบารมีของพระพุทธเจ้า เดินเป็นสง่าเห็นแต่ไกล เห็นโดยทั่วกัน น้ำไม่ท่วมขัง

     บนเกาะ : นิยมมากในสมัยโบราณพระธาตุพนม เดิมอยู่บนเกาะในแม่น้ำโขง พระปฐมเจดีย์ เดิมอยู่บนเกาะในอ่าวไทย พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช เดิมอยู่บนเกาะ
 
     การกำบังลมมรสุม : คือมีภูเขากำบังลมมรสุมทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ (พายุฝน) อาจช่วยให้มีอายุยืนนานขึ้น (ในประเทศไทย) ควรคำนึงถึงพายุจากทิศตะวันออก คือ อ่าวตังเกี๋ยด้วย เพราะเข้ามาทางภาคอีสานและภาคเหนือบ่อย
 
     ใกล้น้ำ : จะช่วยให้ชุมชนอุดมสมบูรณ์และเศรษฐกิจดี สามารถสนับสนุนส่งเสริมและรักษาองค์เจดีย์พระธาตุไว้ได้นาน
 
     ลักษณะดินและหิน : ดินและหินในแต่ละสถานที่จะมีพลังกุศลธรรมหรือพลังรัตนตรัย (วิมุตติธรรม) สอดแทรกอยู่ในระดับแตกต่างกันที่ใดมีพลังฝ่ายกุศลมากก็มีความเหมาะสมมาก อย่างไรก็ตาม สถานที่ตั้งเจดีย์พระบรมธาตุในประเทศไทยโดยเฉพาะพระธาตุเก่าแก่ที่มีมาแต่เดิมทั้งหลายนั้น พระพุทธองค์ พร้อมด้วยกองทัพอรหันตสาวกทั้งหลายได้เสด็จมาโปรด ตรวจสอบ และอธิษฐานลงบารมีธรรมฝ่ายดีไว้ รวมทั้งอธิษฐานกำหนดให้เป็นที่ตั้งองค์เจดีย์บรรจุพระธาตุส่วนต่างๆ ของพระองค์ (ตามเหตุผลอันสมควร) ไว้ตั้งแต่พระองค์ยังทรงพระชนม์ชีพอยู่
 
     เส้นทางบิน  : พระบรมธาตุเป็นของสูงสุดบนพื้นพิภพนี้ จึงไม่ควรมีพาหนะใดๆ ก็ตามบินข้ามสูงกว่าผ่านองค์พระเจดีย์ไป (โดยเฉพาะในระดับที่สูงกว่าไม่มากนัก) ในพม่านั้นบ้านเรือนอาคารห้ามสร้างสูงกว่าเจดีย์พระบรมธาตุในเขตนั้นๆ
 
     แผ่นดินไหว : ในพม่าและตอนเหนือของไทยมีแผ่นดินไหวบ่อยพอสมควรเจดีย์พระธาตุได้รับความกระทบกระเทือน มีการชำรุดร้าวต้องบูรณะบ่อย ควรสร้างให้มั่นคงแข็งแรง มีจุดศูนย์ถ่วงไม่สูงเกินไป และมีขนาดไม่สูงนัก

ความสูงขององค์เจดีย์พระบรมธาตุ

      ขึ้นอยู่กับบารมีขององค์พระธาตุส่วนนั้น กำลังศรัทธา กำลังทรัพย์และความสามารถในการก่อสร้าง จากการสำรวจพบว่ามีความสูงตั้งแต่ 2 เมตรขึ้นไป จนถึงกว่า 100 เมตร

ตัวอย่างความสูงของเจดีย์พระบรมธาตุที่สำคัญบางองค์


-    พระปฐมเจดีย์ 120 เมตร
-    พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช 38 เมตร
-    พระธาตุพนม 44 เมตร
-    พระธาตุหริภุญชัย 46 เมตร

       ผู้ที่เข้าใจความสำคัญและศรัทธาพระบรมธาตุควรให้ความสำคัญเจดีย์พระบรมธาตุทุกแห่งเสมอภาคกัน โดยไม่ขึ้นอยู่กับความสูง ความโด่งดัง ความสวยงามหรูหรา พระบรมธาตุทุกส่วนล้วนมีบทบาทและความสำคัญ มีอานุภาพ และคุณค่าอันมหาศาลเกินกว่าจะพรรณาได้หมด แม้เจดีย์พระบรมธาตุที่พังลงเหลือแต่ฐานก็ยังมีความสำคัญควรค่าแก่การเคารพบูชาเป็นอย่างยิ่ง
 
จาก :  หนังสือพระบรมธาตุ เขียนโดย : อ.บริภัทร
พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ.2539
 
อ่านบทความอื่นๆ



Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
พระเทพสุวรรณโมลี (สอิ้ง สิรินันโท)พระเทพสุวรรณโมลี (สอิ้ง สิรินันโท)

พระราชภัทรธาดา (ประเทือง กิตฺติสทฺโท) เจ้าคณะจังหวัดปราจีนบุรีพระราชภัทรธาดา (ประเทือง กิตฺติสทฺโท) เจ้าคณะจังหวัดปราจีนบุรี

พระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม) รองสมเด็จพระราชาคณะพระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม) รองสมเด็จพระราชาคณะ



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

พระพุทธศาสนา