วันโอโซนโลก World Ozone Day 16 ก.ย. ประวัติความเป็นมาความสำคัญ


[ 16 ก.ย. 2554 ] - [ 18281 ] LINE it!

วันโอโซนโลก World Ozone Day

16 กันยายน วันโอโซนโลก

วันโอโซนโลก World Ozone Day ประวัติความเป็นมาความสำคัญ โอโซนคืออะไร
 
วันโอโซนโลก 16 กันยายน 
วันโอโซนโลก World Ozone Day 16 กันยายนของทุกปี
 

วันโอโซนโลก 

 
      วันโอโซนโลก World Ozone Day ถูกตั้งขึ้นเพื่อเป็นการพิทักษ์บรรยากาศชั้นโอโซนนานาประเทศ ได้ร่วมกันจัดทาอนุสัญญาการป้องกันชั้นบรรยากาศโอโซน ขึ้นในปี ค.ศ. 1985 (พ.ศ. 2528)เรียกว่า "อนุสัญญาเวียนนาและพิธีสาร ว่าด้วยการเลิกใช้สารทาลายชั้นโอโซน" ขึ้นในปี ค.ศ. 1987 (พ.ศ. 2530) เรียกว่า "พิธีสารมอลทรีออล" สาระ สาคัญของอนุสัญญาเวียนนานับว่าเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่มุ่งมั่นในการ พิทักษ์ ชั้นโอโซน และ เป็นเครื่องมือทางกฎหมายข้อแรกที่กลายเป็นรูปแบบของการแก้ปัญหา สิ่งแวดล้อมร่วมกัน ปัจจุบันมีประเทศที่ร่วมให้สัตยาบันแล้วรวม 131 ประเทศ นั่นหมายถึง ชุมชนโลกส่วนใหญ่ ได้พร้อมใจกันที่จะพิทักษ์ ชั้นโอโซนแล้ว
 
     หลังจากองค์การสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติได้ผลักดันให้มีการลงนามใน อนุสัญญาเวียนนา ว่าด้วยการพิทักษ์ชั้นโอโซน ในปี พ.ศ.2528 (1985) ปัจจุบันมี สมาชิก 176 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ต่อมาได้มีข้อกำหนดที่เรียกว่า พิธีสารมอนทรีออล ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2530 (1987) ณ นคร มอนทรีออล โดยประเทศต่างๆ ทั่วโลกจำนวน 47 ประเทศได้ให้สัตยาบันต่อข้อกำหนด ว่าด้วยการลดและเลิกใช้สารทำลายชั้นโอโซน รัฐบาลต่างๆ เห็นความจำเป็นของมาตรการที่แข็งแกร่งเพื่อลดและเลิกใช้สารทำลายโอโซน ซึ่งได้แก่ CFC-11, CFC-12, CFC-113, CFC-114, CFC-115 และ Halon -1211, Halon-1301, Halon-2402 จึงมีหมายกำหนดเลิกใช้บนพื้นฐานการประเมินทางวิทยาศาสตร์ นับจากนั้นมาได้มีประเทศอื่นที่ให้สัตยาบันต่อพิธีสารแล้วกว่า 175 ประเทศ (ข้อมูลวันที่ 20 กรกฎาคม 2543) รวมทั้งประเทศไทย (โดยได้ให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2532 ) และได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมในปีต่อๆ มาอีก 5 ครั้ง เพื่อเพิ่มมาตรการในการควบคุมสารทำลายโอโซนให้รัดกุมและได้ผลเร็วขึ้น ได้แก่
 
      1.  การแก้ไขข้อกำหนดในการควบคุมสารทำลายชั้นโอโซนในการประชุมประเทศภาคีสมาชิกครั้งที่ 2 ณ นครลอนดอน พ.ศ.2533 หรือ London Amendment 1990 มีเนื้อหาเพื่อลดการใช้ CFC-13, 111, 112, 211, 212, 213, 214, 215, 216, 217 รวมทั้ง คาร์บอนเตตระคลอไรด์ (CCl4)และ เมธิลคลอโรฟอร์ม (CH3CCl3) ปัจจุบันมีสมาชิก 141 ประเทศรวมทั้งประเทศไทย
 
     2.  การแก้ไขข้อกำหนดในการควบคุมสารทำลายชั้นโอโซนในการประชุมประเทศภาคีสมาชิกครั้งที่ 4 ณ นครโคเปนฮาเกน พ.ศ.2535 หรือ Copenhagen Amendment 1992 มีเนื้อหาเพื่อลดการใช้ เมทธิลโบรไมด์ (CH3Br) ไฮโดรโบรโมฟลูออโรคาร์บอน (HBFCs) และไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (HCFCs) ปัจจุบันมี สมาชิก 108 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย
 
     3.  การแก้ไขข้อกำหนดในการควบคุมสารทำลายชั้นโอโซนในการประชุมประเทศภาคีสมาชิกครั้งที่ 7ณ กรุง เวียนนา พ.ศ.2538 หรือ Vienna Adjustment 1995 มีกำหนดการควบคุมเมทธิลโบรไมด์
 
      4.  การแก้ไขข้อกำหนดในการควบคุมสารทำลายชั้นโอโซนในการประชุมประเทศภาคีสมาชิกครั้งที่ 9 ณ นครมอนทรีออล พ.ศ.2540 หรือ Montreal Amendment 1997 มีกำหนดเลิกใช้ เมทธิลโบรไมด์ ปัจจุบันมี สมาชิก 39 ประเทศ
 
     5.  การแก้ไขข้อกำหนดในการควบคุมสารทำลายชั้นโอโซนในการประชุมประเทศภาคีสมาชิกครั้งที่ 11 ณ นครปักกิ่ง พ.ศ.2542 หรือ Beijing Amendment 1999 เพิ่มเติมการควบคุมสาร โบรโมคลอโรมีเทน และ ไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (ปัจจุบันมี สมาชิก 1 ประเทศ)
 
หมายเหตุ พันธกรณีสำหรับประเทศไทย รับผิดชอบโดย กรมโรงงานอุตสาหกรรม
 
รูรั่วของโอโซน 
 
รูรั่วของโอโซนเกิดเฉพาะเหนือบริเวณทวีปแอนตาร์กติก
เพราะว่ามีสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยให้เกิดปฏิกิริยาทำลายโอโซนเนื่องจากแสงแดดในฤดูใบไม้ผลิ
 
      "โอโซน" มีคุณสมบัติที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ทุกชนิด รวมทั้งคุณสมบัติในการ ชาระ ล้างสารพิษที่ตกค้างต่างๆ นอกจากนี้โอโซนยังสามารถแก้ไขปัญหาน้าเสียได้ โดยการนาโอโซนผสมกับน้า ทาให้แบคทีเรียในน้าถูกโอโซนทาลาย เหลือแต่น้าบริสุทธิ์ มาทาน้าดื่มหรือ ใช้อาบก็ดี จากสาเหตุดังกล่าวจึงทาให้องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้วันที่ 16 กันยายน ของทุกปี เป็น “วันโอโซนโลก” เริ่มตั้งแต่ปี 2530 เป็นต้นมา
 

วัตถุประสงค์การตั้งวันโอโซนโลก World Ozone Day

 
1. เพื่อกระตุ้น ให้ประเทศปฏิบัติต่ออนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก
 
2. เพื่อช่วยกันลดใช้สาร CFC และสารฮาลอนซึ่งเป็นตัวทาลายบรรยากาศโอโซนในชั้นบรรยากาศ
 

รายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับวันโอโซนโลก World Ozone Day

 
     โอโซน เป็นก๊าซสีน้ำเงินเข้ม พบได้ทั่วไปในบรรยากาศโลก โดยอยู่ในบรรยากาศระดับสูงที่เรียกว่าชั้นสตราโซเฟียร์ โอโซนจะจับตัวกันเป็นก้อนปกคลุมทั่วโลก บางแห่งจะหนา และบางในบางแห่ง ชั้นโอโซนจะทำหน้าที่ปกป้องโลกจากรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ รังสีนี้จะทำให้โลกร้อนขึ้น และทำให้เกิดอันตรายกับสิ่งมีชีวิต เพราะรังสีอัลตราไวโอเลตทำลายเซลล์ของสิ่งมีชีวิต โดยปริมาณรังสีที่กระทบผิวหนังมากเกินไปอาจทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนัง ตาเป็นต้อหรือมัวลง และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของดีเอ็นเอ ซึ่งเป็นสารที่ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิต มีผลทำให้พืชและสัตว์กลายพันธุ์ เกิดการทำลายระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์
 
      โอโซน มีคุณสมบัติ ฆ่าเชื้อโรคได้ทุกชนิด ทำลายจุลินทรีย์ รวมทั้งคุณสมบัติในการชำระล้างสารพิษที่ตก ค้าง และยังแก้ปัญหาน้ำเสียได้ โดยนำโอโซน ผสมกับน้ำ ทำให้แบคทีเรียในน้ำถูกโอโซนทำลาย เหลือแต่น้ำบริสุทธิ์มาทำน้ำดื่มหรือใช้บริโภค โอโซนยังมีผลต่ออุณหภูมิของโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากชั้นโอโซนเกิดช่องโหว่นั่นเอง
 
      ในปี ค.ศ.1974 มาริโอ โมลินา กับ เชอร์วู้ด โรว์แลนด์ แห่งมหา วิทยาลัยแคลิฟอเนียร์ ทำการวิจัยพบว่า สารชนิดหนึ่งชื่อว่า สาร CFC คือตัวการทำลายชั้นโอโซน ผลงานนั้นทำให้ทั้งคู่ได้รับรางวัลโนเบล สาขาเคมี ปี ค.ศ.1995
 

สาร CFC กับโอโซนโลก

 
      สาร CFC มีชื่อทางการค้าว่า ฟรีรอน ซึ่งครั้งหนึ่งถือว่าเป็นสารมหัศจรรย์ เพราะไม่ติดไฟ ไม่เป็นพิษต่อผู้สูดดมเข้าไป ไม่ระคายเคืองต่อผิวหนัง จึงมีการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ มากมาย เช่น ใช้เป็นสารทำให้เกิดความเย็นในตู้เย็นและเครื่องปรับอากาศ ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตโฟม พลาสติก ใช้เป็นสารทำลายในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และใช้เป็นสารขับดันในสเปรย์กระป๋อง เช่น สีพ่น สเปรย์ฆ่าแมลง สเปรย์ฉีดผม อื่นๆ อีกจำนวนมาก และทำให้มีซีเอฟซีระเหยขึ้นสู่บรรยากาศมากขึ้นด้วย
 
    การใช้สารกลุ่ม CFC มีความสามารถทำลายชั้นบรรยากาศได้เพราะมีคลอรีน (chlorine) เป็นองค์ประกอบในโมเลกุล เมื่อสารนี้ลอยขึ้นไปสู่ชั้นสตราโตสเฟียร์และถูกรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวง อาทิตย์ จะแตกตัวทำให้เกิดคลอรีนอิสระ คลอรีนนี้จะไปทำปฏิกิริยากับก๊าซโอโซน ทำให้โอโซนถูกทำลาย ไม่สามารถจะกั้นรังสีอัลตราไวโอเลตได้ CFC ยังสลายตัวได้ยาก จึงตกค้างในบรรยากาศยาวนาน ทำให้ก๊าซโอโซนถูกทำลายอย่างต่อเนื่อง ส่วนสารฮาลอนใช้เป็นสารดับเพลิงในอุปกรณ์ป้องกันและระงับอัคคีภัย
 

โอโซน

 
     ก๊าซโอโซนในบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ ทำหน้าที่ดูดกลืนรังสีอุลตราไวโอเล็ตซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต ไม่ให้ตกกระทบถึงพื้นผิวโลก ในปี พ.ศ.2525 นักวิทยาศาสตร์ได้ตรวจพบรูโหว่ขนาดใหญ่ของชั้นโอโซน เหนือทวีปแอนตาร์คติก ขั้วโลกใต้ ซึ่งเกิดจากกระแสลมพัดคลอรีนจากสาร CFC เข้ามาสะสมในก้อนเมฆในชั้นสตราโตสเฟียร์ ในช่วงฤดูหนาวเดือนพฤษภาคม – กันยายน (ขั้วโลกเหนือไม่มีเมฆในชั้นสตราโตสเฟียร์ เนื่องจากอุณหภูมิไม่ต่ำพอที่จะทำให้เกิดการควบแน่นของไอน้ำในอากาศ) เมื่อถึงเดือนตุลาคมแสงอาทิตย์กระทบเข้ากับก้อนเมฆ ปลดปล่อยคลอรีนอะตอมอิสระให้ทำปฏิกิริยากับโอโซน ทำให้เกิดรูโหว่ จึงต้องมีการตั้งวันโอโซนโลกขึ้นมา
 
รูรั่วของโอโซนโลกบริเวณขั้วโลกใต้
 
ภาพช่องโหว่โอโซนจากปี 1995-2007

คุณสมบัติของโอโซน


    ก๊าซโอโซนบริสุทธิ์จะมีสีน้ำเงินแก่ มีกลิ่นคล้ายคลอรีนจางๆ  ถ้าดมเข้าไปมากๆ จะปวดศีรษะ โอโซนละลายน้ำได้มากกว่าก๊าซออกซิเจน มีจุดเดือดที่ -111.5 องศาเซลเซียส และมีจุดหลอมเหลวที่ -251 องศาเซลเซียส เมื่ออยู่ในสภาวะที่เป็นก๊าซบริสุทธิ์จะเสถียรภาพดีพอสมควร แต่ถ้ามีสารอินทรีย์ปนอยู่ในน้ำแล้ว โอโซนจะสลายตัวเป็นออกซิเจนได้ง่าย ถ้าผสมอยู่กับอากาศจะค่อยๆกลายเป็นออกซิเจน ถ้าอุณหภูมิถึง 300 องศาเซลเซียส จะสลายตัวอย่างรวดเร็ว

แหล่งที่มาของโอโซน


     1. เกิดตามธรรมชาติ  เกิดจากการรวมตัวกันของโมเลกุลของก๊าซออกซิเจน  โดยมีรังสีอุลตราไวโอเลตที่มีความยาวคลื่นน้อยกว่า 242 นาโนเมตร เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา  ทำให้เกิดพลังงานที่จะดึงเอาโมเลกุลของก๊าซออกซิเจนให้แตกตัวเป็นอะตอม ของออกซิเจน 2 อะตอม  และเมื่ออะตอมของออกซิเจน 1 อะตอมพบกับโมเลกุลของก๊าซออกซิเจนจะเกิดการรวมตัวดังสมการ

                     O2  ---- (uv) ----- O+O 
                      O+O2 ---- O3   
 
     โอโซน ที่เกิดขึ้นนี้สามารถดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเลตแล้วแตกตัวกลายเป็นก๊าซ ออกซิเจนและรวมตัวกับอะตอมของออกซิจน กลายเป็นโอโซนได้อีก โดยมีรังสีอัลตราไวโอเลตเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาซึ่งจะเกิดเช่นนี้ไปได้เรื่อยๆ โดยไม่มีที่สิ้นสุดแบบปฏิกิริยาลูกโซ่  โอโซนยังสามารถเกิดได้เองในอากาศจากพายุฝนฟ้าคะนองหรือจากฟ้าแลบได้อีกด้วย กระบวนการเกิดปฏิกิริยาดังกล่าวนี้เรียกว่าขบวนการโพโตเคมีคอล (Photochamical  process) ซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่ทำให้เกิดก๊าซโอโซนและสลายตัวพร้อมกัน และในที่สุดปฏิกิริยาของก๊าซโอโซนก็จะอยู่ในภาวะสมดุลโดยที่อัตราการเกิดและ สลายตัวเท่ากัน

      2.  เกิดจากการกระทำของมนุษย์ โอโซนถูกผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น  การกำจัดน้ำเสียและใช้ฆ่าเชื้อ การเตรียมก๊าซโอโซนที่สะดวกที่สุดใช้ไฟฟ้า silent electrical discharge กระทำกับอากาศหรือกับก๊าซออกซิเจน ซึ่งก๊าซออกซิเจนบางส่วนเท่านั้นที่กลายเป็นโอโซน  ถ้าใช้อากาศ เรียกก๊าซผสมนี้ว่า ไอโอไนซ์แอร์ (ozonised air)  ถ้าใช้ก๊าซออกซิเจนก๊าซโอโซนที่เกิดขึ้นจะปนอยู่กับก๊าซออกซิเจนที่เหลือ เรียกว่า ozonised oxygen  เครื่องมือที่ใช้เตรียมก๊าซโอโซนด้วยวิธีนี้เรียกว่า โอโนไนเซอร์ (ozonizer)

        โอโซนเป็นส่วนประกอบของบรรยากาศส่วนหนึ่งที่ปกคลุมผิวโลก ซึ่งมีลักษณะเป็นชั้นบางๆ บริเวณที่อยู่แปรผันอยู่ระหว่างระดับน้ำทะเลขึ้นไปถึงระยะ 60  กิโลเมตร โอโซนส่วนใหญ่อยู่ที่ชั้นบรรยากาศสตาร์โตสเฟียร์ซึ่งพบประมาณร้อยละ 89 - 90  ส่วนที่เหลือจะกระจายอยู่ชั้นโทรโพสเฟียร์และเมโซสเฟียร์  ชั้นโอโซนจะทำหน้าที่กรองแสงอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์โดยสามารถดูดแสง UV-B ความยาวคลื่นระหว่าง 280 - 320 นาโนเมตร  ไว้ได้ประมาณ ร้อยละ 70 - 90   รังสี UV-B  นี้เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต  โอโซนยังมีบทบาทสำคัญในการกำหนดหรือควบคุมอุณหภูมิของโลกและบรรยากาศ  โดยสามารถดูดรังสีอินฟราเรดซึ่งสะท้อนจากผิวโลกและจากชั้นสตราโตสเฟียร์ได้ ทำให้อุณหภูมิบรรยากาศโลกชั้นนี้สูงขึ้น มีผลต่อสภาพภูมิอากาศของผิวโลก

    โอโซนส่วนใหญ่อยู่ในบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์  โดยมีความเข้มข้นประมาณ 10 ส่วนในล้านส่วน ซึ่งเป็นปริมาณน้อยมากแต่ก็มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตต่างๆ ปัจจุบันพบว่ามีการปล่อยสารเคมีต่างๆขึ้นสู่บรรยากาศมากขึ้น ทำให้ก๊าซโอโซนน้อยลงจากการใช้เครื่องมือต่างๆวัดพบว่าโอโซนลดลงร้อยละ 2-3 ที่ระดับความสูง 30-40 กิโลเมตรและจากการใช้เครื่อง สเปคโทรมิเตอร์ (Spectrometer)   ตรวจวัดปริมาณโอโซนในบริเวณขั้วโลกได้ของเดือนตุลาคมในทุกปี  ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี    1957   เป็นต้นไปก็ได้พบว่าปริมาณของโอโซนที่อยู่เหนือบริเวณขั้วโลกได้ลดลงเกือบ 40 เปอร์เซนต์ และลดลงมากที่สุดในปี  1970 ผลการตรวจวัดระดับโอโซนในบรรยากาศได้รับการยืนยันในปี  1975 
 
ภาพชั้นโอโซนที่ถูกทำลาย
 
ภาพจากขั้วโลกใต้ ถ่ายจากดาวเทียมซึ่งเรียกว่า TMOS (Total Ozone MApping Spectrometer)
ส่วนสีเหลืองและแดงแสดงให้เห็นถึง"ช่องว่างของโอโซน" Credit: NASA


       จากการใช้ดาวเทียมสำรวจ ได้แสดงให้เห็นว่าเกิดความเสียหายขึ้นต่อชั้นโอโซนเหนือบริเวณขั้วโลกใต้ และได้พบความเสียหายได้ขยายตัวมายังบริเวณเส้นศูนย์สูตรประมาณ 45 องศาใต้  ซึ่งองค์การนาซ่าของสหรัฐก็ได้ทำการตรวจสอบสภาพบรรยากาศของโลกได้รายงานว่า เกิดมีลักษณะความเข้มของแสงอาทิตย์ที่ผ่านบรรยากาศไม่สม่ำเสมอจึงได้หา สาเหตุและพบว่าโอโซนที่อยู่รอบโลกในชั้นบรรยากาศโดยเฉพาะบริเวณขั้วโลกใต้ และขั้วโลกเหนือได้ลดลงเป็นหย่อม ๆ  และเกิดมากขึ้นเป็นลำดับบางหย่อมคิดเป็นพื้นที่ได้ประมาณ  9 ล้านตารางกิโลเมตร  ( เกษม, 2533 )   การที่โอโซนในชั้นสตราโตเพียร์ถูกทำลายไปเนื่องจากสารเคมีที่ปล่อยสู่ชั้น บรรยากาศและสารที่สำคัญคือ  CFCs  ซึ่งจะมีผลทำให้  UV  ส่องมาถึงโลกมากขึ้นมีผลเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตได้

     สารเคมี 2 ชนิดที่อยู่ในรูปของก๊าซ ในชั้นบรรยากาศที่ทำลายโอโซนได้คือคลอรีนออกไซด์ (Chlorine Oxides; ClOx) และ ไนโตรเจนออกไซด์ (Nitrogen Oxides ; Nox)  (ดูเรื่องสาร CFC ประกอบ)

     ไนโตรเจนออกไซด์มาจากไนตรัสออกไซด์ (Nitrous Oxides ; N2O)  ซึ่งมีจุดกำเนิดตามธรรมชาติที่ผิวโลก  เช่น  กระบวนการ denitrication ของจุลินทรีย์และในบรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์ เกิดจากฟ้าแลบฟ้าร้อง  พวกเครื่องบินที่บินเร็วเหนือเสียง (SST) ที่ปล่อยไนตริกออกไซด์จากไอเสียและยังมีสารพวกฮาโลเจน (Halogen) โดยเฉพาะพวกก๊าซโบมีน (Br) ที่สามารถสลายโอโซนได้ในทางทฤษฎี

      ขบวนการสำคัญที่สุดที่ทำลายโอโซนคือขบวนการที่มีอะตอมของคลอรีน  ไนตริกออกไซด์  ไฮโดรเจนออกไซด์  โบมีน และ ไฮรโดรเจนเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา (catalyst)  ผลของปฏิกิริยาที่ทำกับโอโซนหรือออกซิเจนนั้น จะทำให้อะตอมของสารพวกนั้นออกมาและเริ่มต้นใหม่เป็นวงจร ดังนี้

                O3    +     Solar radiation----------------  O + O2
                      O  + XO3 --------------------- X  +  O2
                    X  + O3      ---------------------  XO   +  O2

                     
Net 2O3                                    3O2
                  (X = Cl,No,Br,OH,H)
 

คลิปวิดีโอที่เกี่ยวข้องกับวันโอโซนโลก

 
 
 
คลิปวิดีโอแสดงการเปลี่ยนแปลงของช่องโหว่โอโซนตั้งแต่ปี 1979-2007

สารทดแทนและเป็นมิตรกับโอโซน Alternative Ozone-friendly

      ปัจจุบันมีการผลิตในประเทศอุตสาหกรรมกันอย่างกว้างขวาง แม้ในประเทศกำลังพัฒนาเช่น อินเดีย จีน บราซิล   ผู้ผลิตสินค้าต่างๆมีการตื่นตัวในการลดการใช้สาร CFCs และหันมาใช้สารทดแทนเป็นส่วนประกอบในการผลิต โดยมีระบุในผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการใช้สาร CFCs หรือใช้สารทดแทนต่างๆ ซึ่งได้แก่
 
1.  ภาคของเครื่องทำความเย็น
     ก.      ตู้เย็นผลิตใหม่  (New refrigeration units) ใช้สารทดแทนเป็น HFC-134a, สารไฮโดรคาร์บอนต่างๆ HFC blends, HCFC 22 และ แอมโมเนีย
     ข.      เครื่องปรับอากาศ (Air-cooled air conditioning units) ใช้ HFC-134a, HFC blends
     ค.      เครื่องทำน้ำเย็นในระบบปรับอากาศ (Chiller equipment) ใช้ HFCs, HCFC และ HFC blends
     ง.      เครื่องปรับอากาศรถยนต์ (Mobile Air Conditioners) ใช้ HFC-134a, HFC blends
 
2.  ภาคการผลิตโฟม ใช้สารทดแทนที่ศักยภาพการทำลายโอโซนเป็นศูนย์ ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์  ไฮโดรคาร์บอนต่างๆ HFC-152a หรือ HFC-134a และ HCFCs
 
3.  ละอองสเปรย์ (Aerosols) ใช้สารทดแทนได้แก่ สารไฮโดรคาร์บอนต่างๆ เช่น โพรเพน บิวเทน และ ไอโซ-บิวเทน HCFC, HFCs ไดเมธิล อีเทอร์ และ เพอฟลูโอรอลอีเทอร์ เป็นต้น
 
4.  การทำลายเชื้อโรค ใช้สารทดแทนที่ศักยภาพการทำลายโอโซนเป็นศูนย์ ได้แก่ เอธิลีนออกไซด์ 100% ส่วนผสมของเอธิลีนออกไซด์และคาร์บอนไดออกไซด์ การสเตอริไรซ์ และ การใช้ฟอร์มัลดีไฮด์ รวมไปถึง HCFCs ต่างๆ
 
5.  ตัวทำละลายคาร์บอนเตตระคลอไรด์ ใช้สารทดแทนเป็นสารอินทรีย์เช่น อัลกอฮอล์  คีโตน และ อีสเตอร์  หรือ ที่มีคลอรีนคือ เพอคลอโรเอธิลีน เป็นต้น  สารทดแทนเหล่านี้มีทั้งคุณและโทษ
 
6.  เครื่องดับเพลิง (Fire-Fighting) ให้มีการใช้สารเฮลอน กรณีจำเป็นเท่านั้น ส่วนสารทดแทน เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ หรือผงแป้ง
 
7.  สารชะล้าง (Solvents) ทดแทน CFC-113 และเมธิลคลอโรฟอร์ม เช่นการทำความสะอาดด้วยของเหลวและกึ่งของเหลว ใช้ไฮโดรคาร์บอน HCFCs เพอฟลูออโรคาร์บอน และ วิธีอื่นๆที่ไม่ใช่สารชะล้าง
 
8.  เมธิลโบรไมด์ ใช้สารทดแทนในขบวนการอบหรือพ่นในดิน ได้แก่  การใช้แสงอาทิตย์  การพ่นไอน้ำ การควบคุมทางชีวภาพ การปลูกพืชหมุนเวียน การปลูกพืชไร้ดิน และสารเคมีเช่น คลอโรพิริน เมธัมโซเดียม  ดาโซเมต ฯลฯ
 
พิธีสารมอนทรีออล
 
 
ประเทศไทยเริ่มปฏิบัติตามพันธกรณีในพิธีสารมอนทรีออล เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2532 
 

พันธกรณีของประเทศไทยต่อพิธีสารมอนทรีอออล (Montreal Protocol)

      เราทราบกันดีว่าชั้นโอโซนกำลังถูกทำลายด้วยสารประกอบสังเคราะห์จำพวก ซีเอฟซี ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ นั้น เป็นที่มาของความร่วมมือเพื่อรับผิดชอบต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก ดังนั้นนานาประเทศจึงมีข้อตกลงกันเพื่อลดและเลิกใช้สารทำลายโอโซนต่างๆ ที่เรียกว่า อนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยการพิทักษ์ชั้นบรรยากาศโอโซน (The Vienna Convention) ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2528 ประเทศต่างๆ ได้ลงนามการเป็นสมาชิกในเวลาต่อมาจนปัจจุบันมีสมาชิก 178 ประเทศ  และพิธีสารมอนทรีออลว่าด้วยการลดและเลิกใช้สารทำลายชั้นบรรยากาศ ในปี พ.ศ. 2530 ปัจจุบันมีประเทศสมาชิก 177 ประเทศ
 
      ประเทศไทยเริ่มปฏิบัติตามพันธกรณีในพิธีสารมอนทรีออล เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2532 ด้วยสาเหตุสำคัญ คือ
 
     1.  เพื่อแสดงความรับผิดชอบและความร่วมมือกับนานาประเทศในการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมโลก
 
     2.  เพื่อป้องกันการขาดแคลนสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนที่จำเป็นใช้ในอุตสาหกรรมในระยะแรกๆ เนื่องจากเป็นผู้นำเข้า
 
     3.  เพื่อป้องกันมิให้สินค้าส่งออกของไทยที่ยังคงบรรจุหรือผลิตด้วยสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน ถูกกีดกัน
 
     4.  เพื่อให้อุตสาหกรรมของไทยที่ต้องเลิกใช้สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนในอนาคตอันใกล้สามารถขอรับความช่วยเหลือทางเทคนิคและทางการเงินจากกองทุนพหุภาคีเพื่อการอนุวัติพิธีสารมอนทรีออล
 
     5.  การดำเนินการเลิกใช้สารฯให้เป็นไปอย่างรวดเร็วจะช่วยให้อุตสาหกรรมสามารถขยายส่วนแบ่งตลาดการค้าได้เนื่องจากปัจจุบันผู้บริโภคส่วนใหญ่ได้ตั้งข้อรังเกียจสินค้าที่มีผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อม
 
      การควบคุมโดยพิธีสารทำให้ปริมาณการผลิตและใช้สารทำลายโอโซนโดยรวมในปัจจุบันลดลงเป็นอย่างมาก  และหากการควบคุมการใช้สารเป็นไปตามพิธีสารอย่างเคร่งครัดแล้ว  ระดับโอโซนในชั้นสตราโตสเฟียร์ที่ความสูง 15-35 กิโลเมตรจะเริ่มคืนสภาพภายในประมาณ 50 ปีข้างหน้า
 

 

เราจะทำอะไรเพื่อช่วยโลกได้บ้าง

 
      แม้จะมีสนธิสัญญาเพื่อลดและเลิกการใช้สารซีเอฟซีแล้ว แต่สารซีเอฟซียังจำเป็นต่ออุตสาหกรรมบางชนิด จึงยังมีการใช้ซีเอฟซีกันอยู่อีกต่อไป ก๊าซโอโซนก็ยังคงถูกทำลายอย่างต่อเนื่อง จนส่งผลกระทบเป็นภาวะโลกร้อนอย่างที่มนุษย์เรากำลังเผชิญอยู่ทุกวันนี้ เราในฐานะสมาชิกคนหนึ่งของโลก จะสามารถช่วยลดสาร CFC ได้โดย
 
1. เลือกซื้อและใช้เครื่องปรับอากาศที่มีสัญลักษณ์ Non CFCs
 
2. หมั่นตรวจเช็กระบบแอร์รถยนต์ในอู่ที่ได้มาตรฐาน รวมหมั่นล้างทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศบ้าน
 
3. ตู้เย็นเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าอีกชนิดหนึ่งที่ปล่อยสาร CFC ที่จะออกมาทำลายชั้นโอโซนได้ ดังนั้นควรเปลี่ยนตู้เย็นที่ใช้มานานกว่า 10 ปี และไม่เปิดตู้เย็นบ่อย เพราะจะทำให้ระบบทำความเย็นทำงานหนัก
 
4. เลิกใช้อุปกรณ์ที่เป็นลักษณะกระป๋องสเปรย์ รวมทั้งวัสดุที่ทำจากโฟมทั้งหลาย ซึ่งมีสาร CFC เป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิต และวัสดุเหล่านี้ยังย่อยสลายได้ยากอีกด้วย
 
รับชมวิดีโอ
 

รายการวิดีโอที่เกี่ยวข้อง

ทันโลกทันธรรม

 
บทความที่เกี่ยวข้องกับวันโอโซนโลก World Ozone Day ประวัติความเป็นมาความสำคัญ โอโซนคืออะไร
ข่าวน้ำท่วม เกาะติดสถานการณ์น้ำท่วมล่าสุด
ข่าวน้ำท่วม ข่าวน้ำท่วมสุโขทัย ข้อมูลข่าวน้ำท่วมล่าสุด 12 ก.ย. 2554
 


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
ข้อคิดรอบตัว เรื่อง วัดพระธรรมกายตอนที่ 1ข้อคิดรอบตัว เรื่อง วัดพระธรรมกายตอนที่ 1

ทุกวันอาทิตย์ เสา E6 รวมพลัง dmc.tvทุกวันอาทิตย์ เสา E6 รวมพลัง dmc.tv

ทบทวนบุญวันมาฆบูชา วันที่ 28 ก.พ. 2553ทบทวนบุญวันมาฆบูชา วันที่ 28 ก.พ. 2553



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

Review รายการ