ขุนเขาแห่งตำนานและประวัติศาสตร์แห่งเขาแก้วเสด็จ


[ 7 ก.พ. 2554 ] - [ 18322 ] LINE it!

">
หนึ่งทศวรรษแห่งความทุ่มเทในศูนย์การศึกษาเขาแก้วเสด็จ
 
เขียนโดย ครูแก้วใส
อ้างอิงข้อมูลจาก ประวัติธุดงคสถานเขาแก้วเสด็จ ของ อุบลเขียว
 
งานบุญทอดกฐิน
งานบุญทอดกฐิน ธุดงคสถานเขาแก้วเสด็จ 
">
">
">

">
">
ขุนเขาแห่งตำนานและประวัติศาสตร์
">
">
">
">
     คืนพระจันทร์วันเพ็ญลอยดวงเด่นเหนือท้องฟ้า  ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งต่างจ้องมองและสังเกตว่า  มีดวงแก้วดวงหนึ่งส่องรัศมีสว่างไสวดุจดังพระจันทร์วันเพ็ญ ดวงแก้วนั้นเคลื่อนคล้อยลอยมาจากปลายด้านหนึ่งของหุบเขา และลับหายไปในความมืด  เหตุการณ์ดังกล่าวนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง  จนชาวบ้านขนานนามภูเขาแห่งนี้ว่า “เขาแก้วเสด็จ”  ขุนเขาแห่งดวงแก้วที่จะเสด็จมาทุกคืนวันเพ็ญ
">
">ขุนเขาแห่งตำนานนี้ตั้งอยู่ระหว่างรอยต่อของตำบลบ้านนาและตำบลบ่อทอง อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาแก่งดินสอที่เชื่อมต่อกับอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ที่ครอบคลุมพื้นที่ในหลายจังหวัด ไล่เรื่อยมาตั้งแต่ จังหวัดนครราชสีมา  นครนายก จนถึง จังหวัดปราจีนบุรี
">

">
">
">
">
      เขาแก้วเสด็จแห่งนี้มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนาน  เพราะเป็นพื้นที่ใกล้เคียงเส้นทางของการเดินทัพ นับเนื่องแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์ เมื่อครั้งรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ไทยได้ทำสงครามกับญวนยืดเยื้อเป็นเวลาหลายปี สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงตรัสสั่งให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี)เป็นแม่ทัพไปปราบญวนที่เข้ามารุกรานเขมร เมืองประเทศราชของไทยในครั้งนั้น เจ้าพระยาบดินทรเดชาจึงเรียกชุมนุมไพร่พลที่อ.กบินทร์บุรี และสั่งให้สร้างยุ้งฉางเพื่อสะสมเสบียงกำลังไว้เป็นทัพหนุน จนกระทั่งไทยมีชัยชนะสงครามในที่สุด
">ประวัติศาสตร์ในช่วงนั้นได้ปรากฏเรื่องราวในหนังสือ ประวัติศาสตร์ไทย ยุคกรุงธนบุรี ถึงกรุงรัตนโกสินทร์  เขียนโดย รองศาสตราจารย์ดนัย  ไชยโยธา  ความว่า
">
 
“ ญวนในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้สนับสนุนให้เวียงจันทน์ซึ่งเป็นประเทศราชของไทยกบฏต่อไทย  ครั้นถึงปี พ.ศ.2376   ทางญวณเกิดกบฏวุ่ยวายขึ้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ส่งกองทัพเข้าไปขับไล่ญวณในแดนกัมพูชาแล้วตีลงไปจนถึงเมืองไซ่ง่อน  โดยมีเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ – ต้นตระกูล สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพบก...”
">
 
อาคารในศูนย์การศึกษาเขาแก้วเสด็จ 
อาคารปฏิบัติธรรม
">
">
 
">
    
มิเพียงเท่านั้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ “ตำบลบ่อทอง” ที่อยู่ใกล้เคียงกับเขาแก้วเสด็จ  เคยได้รับการขนานนามว่า “บ่อทอง แหล่งแห่งทองคำ” เพราะมีผู้ขุดพบแร่ทองคำเป็นจำนวนมาก  ทำให้หมู่บ้านเล็กๆ แห่งนี้ ได้ยกฐานะเป็นที่ตั้งของเหมืองทองคำในสมัยนั้นเลยทีเดียว ชาวบ้านได้ขุดเจาะเหมืองทองคำให้กลายเป็นบ่อเพื่อหลอมเหลวทอง ต่อมาคนที่มาติดต่อรับทองจึงเรียกหมู่บ้านแห่งนี้ว่า "หมู่บ้านบ่อทอง" และได้ขยายเขตกลายมาเป็นตำบลจนถึงปัจจุบัน 
">
">จากข้อมูลดังกล่าวจะทำให้เราทราบว่า พื้นที่ในแถบ “เขาแก้วเสด็จ” เคยเป็นแหล่งของชุมชนโบราณที่แวดล้อมด้วยผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์   เพราะเหตุใด ผืนป่าเหล่านั้นจึงถูกทำลายไปเหลือเพียงดินเหนียวผสมฝุ่นทรายที่แสนจะร้อนแล้งในปัจจุบัน
 
">
">
ความสมบูรณ์ที่ถูกทำลาย
 
    
ย้อนไปเมื่อ  75 ปีก่อนหน้านี้  ผืนป่าในเขตอ.กบินทร์บุรี และบริเวณโดยรอบเขาแก้วเสด็จ ยังสมบูรณ์ด้วยแมกไม้นานาพันธุ์  ที่หยัดต้นแน่นขนัดไปทั่วบริเวณ  สภาพป่าบริเวณนี้จึงมีลักษณะเป็นป่าดิบชื้น ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ดังนั้นจึงมีสัตว์ป่าเข้ามาอาศัยเป็นจำนวนมาก จากคำบอกเล่าของคนรุ่นเก่าจึงทราบว่าสถานที่แห่งนี้ ชาวบ้านเคยล่า เก้ง กวาง หมี เลียงผา ได้เป็นจำนวนมาก  บางครั้งชาวบ้านก็พบเห็น เสือ และฝูงจิ้งจอกป่าที่ออกมาหากินอยู่บ่อยครั้ง  แม้ในปี พ.ศ.2550 ชาวบ้านแถบนี้ก็ยังสามารถล่าเลียงผาได้อยู่  จากความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าดังกล่าวจึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าจุดกำเนิดของ “แม่น้ำบางปะกง” แม่น้ำสายเศรษฐกิจของคนไทย ได้เริ่มต้นขึ้นที่นี่ จากผืนป่าที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์
">ทว่าความสมบูรณ์ทางธรรมชาติเหล่านั้นได้ถูก ทำลายจนแทบไม่เหลือเค้าเดิมของป่าดิบชื้น  กลายเป็นความรกร้างว่างเปล่า หลายคนอาจไม่เชื่อว่าต้นกำเนิดของแม่น้ำบางปะกงอยู่ที่ อ.กบินทร์บุรี แต่ทุกวันนี้ยังพอปรากฏหลักฐานเพียงเล็กน้อยเพื่อพิสูจน์ว่าต้นกำเนิดของแม่ น้ำสายนี้เริ่มต้นขึ้นที่นี่  สังเกตได้จากลำคลองสายเล็ก ๆ ที่เชื่อมต่อกับแม่น้ำปราจีนบุรี ก่อนที่จะไหลลงสู่แม่น้ำบางปะกงในที่สุด
 
ภาพกุฏิ 
บริเวณกุฏิบรรยากาศร่มรื่น เย็นสบาย
">
">

">
">
">
     สาเหตุที่ทำให้ป่าไม้แถบนี้ถูกทำลายลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการก่อสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-อรัญประเทศ ซึ่งเป็นระยะทางยาวหลายร้อยกิโลเมตร  ในยุคเริ่มแรก  การทางรถไฟต้องตัดไม้ในบริเวณนี้มาทำไม้หมอนรางรถไฟเป็นจำนวนมาก   ทำให้ป่าไม้ที่เคยอุดมสมบูรณ์หมดไปอย่างรวดเร็ว  และไม่สามารถปลูกทดแทนได้ดังเดิม  หลังจากนั้นจึงได้มีชาวบ้านต่างพื้นที่อพยพย้ายครัวเรือนเพื่อเข้ามาจับจองที่ดิน เพาะปลูกพืชไร่และทำการเกษตร อาทิ  ปลูกมันสำปะหลัง  ยูคาลิปตัส  อ้อย ฯลฯ จนกลายเป็นพืชเศรษฐกิจดังที่พบเห็นได้ในปัจจุบัน
">
 
ตำนาน และที่มาของชื่อ “เขาแก้วเสด็จ”
 
">
">
     สำหรับความเป็นมาของชื่อที่แท้จริงนั้นได้มีคนเก่าคนแก่ของที่นี่ได้เล่าเรื่องสืบกันมาแต่โบราณ ถึงความเป็นมาของชื่อเขาแก้วเสด็จ ความว่า
">
">
">
">
">
">
 
">
">
     “มีเหตุอัศจรรย์เกิดขึ้นบริเวณหุบเขาแห่งนี้บ่อยครั้ง  โดยเฉพาะวันพระขึ้น 15 ค่ำ
">
ขณะที่พระจันทร์เต็มดวงอยู่กลางฟ้า ในเวลาประมาณเที่ยงคืน  ชาวบ้านหลายคนที่ลอบวางกับดักสัตว์จะเห็นดวงไฟกลมโต ทว่ามีสงเย็นตา ดูสวยงาม ลอยผ่านภูเขาหายเข้าไปในความมืด ความสว่างของดวงไฟนั้นมากพอที่จะส่องให้เห็นภูเขาได้ทั้งลูกเหมือนยามกลางวัน”
">
 
    จากคำบอกเล่าดังกล่าว คนเก่าแก่ท่านนั้นได้กล่าวเสริมว่า
">
">
 
     “ช่วงแรก ๆชาวบ้านที่พบเหตุการณ์นี้ ต่างวิ่งหนีเพราะตกใจกลัว นึกกันไปว่าเป็นภูตผี แต่เมื่อเห็นบ่อยเข้าก็เลิกกลัวเพราะดวงไฟนี้ไม่เป็นอันตรายต่อใคร ทั้งยังมีความสวยงามสว่างไสว ชาวบ้านแถบนี้จึงเชื่อว่าน่าจะเป็นดวงแก้วกายสิทธิ์ของเทวดาเจ้าป่าเจ้าเขาที่คอยมาปกปักรักษา    ทำให้ภูเขาแห่งนี้มีนามว่า เขาแก้วเสด็จ นับแต่บัดนั้น”
 
สงบ 
บรรยากาศโดยรอบเหมาะแก่การปฏิบัติธรรมอย่างมาก
">
">
">
">
">
">

">
     จากคำบอกเล่านี้ทำให้เราทราบถึงที่มาที่ไปของชื่อ “เขาแก้วเสด็จ” ว่ามีความหมายตามตำนาน แต่ในปัจจุบันนักเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยาที่เคยติดตาม Case Study จากคุณครูไม่ใหญ่คงทราบว่า แท้จริงแล้ว ดวงไฟดวงนั้นมิใช่อะไรอื่น แต่เป็นดวงแก้วกายสิทธิ์ของยักษ์ที่มีหน้าที่เฝ้าสมบัติอยู่ที่เขาแก้วเสด็จ ในทุกคืนวันเพ็ญ ยักษ์ตนนี้จะมีหน้าที่ขนย้ายสมบัติไปเก็บไว้ในที่ปลอดภัย โดยนำดวงแก้วกายสิทธิ์เป็นหัวหน้าหมู่สมบัติทั้งหลาย  ให้สมบัติเหล่านั้นก็จะเคลื่อนที่ตามไปอย่างง่ายดาย ดุจบุตรน้อยที่คล้อยตามหลังมารดา
">
 
จากความฝัน สู่ ความจริง
 
">
">
    
หากมองจากภาพจะพบว่า เขาแก้วเสด็จ ขุนเขาที่มีลักษณะคล้ายพระพุทธรูปปางไสยาสน์ขนาดใหญ่  โอบล้อมเนื้อที่หลายพันไร่ เกิดเป็นพื้นที่ในหุบเขาเบื้องล่าง  ดั่งชลอเมืองสวรรค์มาไว้ในหุบเขาก็ไม่ปาน
">
">แต่จะมีใครสักกี่คนที่ทราบว่าเบื้องหลังความเป็นมาของพื้นที่หลายพันไร่นั้น เกิดจากความฝันที่สร้างแรงบันดาลใจมาสู่ความจริง   คุณมาโนช  ชัยสิทธิ์ ผู้เป็นเจ้าของถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินกว่าหลายร้อยไร่ในเขตเขาแก้วเสด็จ ได้เล่าถึงแรงบันดาลใจที่ทำให้มีจิตกุศลศรัทธาและถวายที่ดินผืนแรกของเขาแก้วเสด็จให้กลายเป็นธรณีสงฆ์  โดยมีจุดเริ่มต้นจากความฝันที่แจ่มชัดเมื่อหลายสิบปีก่อน ซึ่งฝันนั้นก็ยังไม่เคยเลือนหายไปจากความทรงจำเลยแม้สักครั้งเดียว
">
 
     ในความฝันดังกล่าว  คุณมาโนชจำได้ว่ายืนอยู่บริเวณด้านหน้าเขาแก้วเสด็จ แต่ในความรู้สึกเสมือนเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง และพลันขุนเขาตระหง่านเบื้องหน้าได้เปลี่ยนมาเป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ขนาดใหญ่ ที่มีชีวิต มีรัศมีสว่างไสว และที่น่าอัศจรรย์ใจยิ่งไปกว่านั้น คือท่านเป็นพระพูดได้ ท่านได้พูดกับคุณมาโนชด้วยน้ำเสียงนุ่มนวล ก้องกังวาน เปี่ยมด้วยพลานุภาพว่า
">ให้เก็บผืนดินแห่งนี้ไว้ให้ดี ต่อไปในภายภาคหน้าจะมีผู้มีบุญนำไปสร้างเป็นบุญ
สถานอันศักดิ์สิทธิ์”
">
">เมื่อตื่นขึ้นจากความฝัน นับแต่นั้นเป็นต้นมาคุณมาโนชก็ไม่ละทิ้งความตั้งใจ ได้รักษาผืนดินแห่งนี้ไว้ให้ดีที่สุด เพราะเชื่อมั่นว่าจะต้องผู้มีบุญนำที่ดินผืนนี้ไปใช้เป็นบุญสถาน จากความฝันที่เสมือนจริงในครั้งนั้น จึงได้กลายมาเป็นความจริงในวันนี้
 
งานบุญ 
ความจริงในวันนี้
">
">
">
">
">
">
">
 
">
">
     จุดเริ่มต้นเกิดจากคุณมาโนช ได้พบกับหมู่คณะนักสร้างบารมี ได้เห็นพระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงศีลเปี่ยมด้วยศีลาจารวัดร  และยิ่งได้ฟังธรรมะจากพระมหาดร.สมชาย านวุฑฺโฒ จึงมีจิตเลื่อมใสศรัทธา ตั้งใจถวายที่ดินผืนนี้ให้เป็นธรณีสงฆ์ ในระยะเริ่มแรกนั้นได้มีพระภิกษุมาจำพรรษาประมาณ 7 รูป โดย พระครูสมุห์กมล กมลสุโภ เจ้าอาวาสวัดหนองไผ่ล้อมในปัจจุบัน  ได้มาเป็นผู้บุกเบิกธุดงคสถานแห่งนี้ในครั้งแรก  และตั้งชื่อสถานที่แห่งนี้ว่า “ธุดงคสถานเขาแก้วเสด็จ”  ตามตำนานของสถานที่ ที่มีแก้วกายสิทธิ์ เสด็จผ่านภูเขาแห่งนี้ให้เป็นสิริมงคล
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">

">
จุดศูนย์กลางของการแผ่ขยายเผยแผ่วิชา
">
">
 
">
     พระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธมฺมชโย) เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ได้มีดำริว่าจะขยายวิชชาธรรมกายให้กว้างไกลยิ่งขึ้น  แต่จากสภาพพื้นที่ของวัดพระธรรมกายในสมัยสิบกว่าปีที่แล้วนั้น  ได้มีสิ่งก่อสร้างเกิดขึ้นอย่างมากมาย จนทำให้เนื้อที่วัดแน่นขนัด  ไม่สามารถใช้เป็นพื้นที่ฝึกอบรมพระธรรมทายาท ผู้ที่จะออกไปประกาศพระศาสนา ให้อย่างเต็มที่ได้  ดังนั้นท่านจึงมองหาสถานที่สร้างศูนย์ฝึกอบรมธรรมทายาทแห่งใหม่ ที่มีเนื้อที่กว้างใหญ่  ห่างไกลชุมชนเมือง สงบและวิเวกด้วยป่าเขาและธรรมชาติ  ท่านจึงมอบนโยบายให้พระภาวนาวิริยคุณ (หลวงพ่อทตฺตชีโว)  รองเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย  หาสถานที่ดังกล่าวเพื่อเตรียมรองรับพระธรรมทายาทที่จะทวีจำนวนขึ้นในอนาคต
 
สามเณร 
สามเณรเดินมุ่งหน้าสู่โรงเรียนปริยัติธรรม
">
">
">
">
">
">
">
">
">

">
     พระภาวนาวิริยคุณ  ท่านจึงได้ปรึกษากับพระมหาดร.สมชาย านวุฑฺโฒ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ถึงสถานที่ก่อตั้งศูนย์ฝึกอบรมธรรมทายาทที่จะเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอนาคต  ประจวบเหมาะกับช่วงเวลานั้นคุณมาโนช  ชัยสิทธิ์ได้ปวารณาถวายพื้นที่แห่งนี้  พระมหาดร.สมชาย ฐานวุฑฺโฒจึงเดินทางมาสำรวจพื้นที่ในครั้งแรก และตกลงใจว่า “เขาแก้วเสด็จ” แห่งนี้ คือ สถานที่ฝึกอบรมพระธรรมทายาทได้อย่างแท้จริง การก่อสร้างและการบุกเบิกจึงได้เริ่มต้นขึ้นนับแต่นั้น
 
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">

">
ยุคบุกเบิก ด้วยหัวใจพระโพธิสัตว์
           
     วันปฐมเริ่มขุดดินก้อนแรก ถือเอาวันอาสาฬหบูชา วันเพ็ญขึ้น 15ค่ำ เดือน 8 ซึ่งตรง
กับวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ.2542 เป็นวันก่อตั้งศูนย์การศึกษาเขาแก้วเสด็จ แต่ด้วยสภาพพื้นดินที่ค่อนข้างทุรกันดาร  ทำให้การปรับพื้นที่มีความยากลำบากพอสมควร เนื้อที่หลายร้อยไร่เต็มไปด้วยหญ้าคาและป่ากกสูงท่วมหัว ทั้งยังมีแอ่งน้ำและปลักโคลนเป็นหย่อมๆ ยากแก่การสัญจรไปมา นอกจากนี้ยังมีสัตว์ป่าดุร้ายที่ออกหากินยามค่ำคืน อาทิ เสือโคร่งลายพาดกลอน และฝูงสุนัขจิ้งจอกที่ออกเห่าหอน ทำให้แม้แต่ชาวบ้านก็ยังหวาดกลัวที่จะเข้ามา
">ยิ่งไปกว่านั้น พื้นที่แห่งนี้ยังมีสภาพดินปนทรายทำให้เพาะปลูกอะไรไม่ได้มาก นอกจากปลูกมันสำปะหลัง  หรือต้นยูคาลิปตัสที่น่าจะเหมาะกับสภาพดินมากที่สุด พื้นที่หลายส่วนยังมีโขดหินตะปุ่มตะป่ำคอยขัดขวางการปรับพื้นที่อยู่เป็นระยะ พระภิกษุสงฆ์ผู้บุกเบิกรุ่นแรกจึงต้องถางหญ้าคาและป่ากก ให้เป็นพื้นที่กว้างมากพอสำหรับการปักกลดอยู่ธุดงค์
 
ความอุดมสมบูรณ์
บรรยากาศทั่วโดยรอบเขาแก้วเสด็จ
">
">
">
">
">
">
">
">
">

">
">
     บรรยากาศในช่วงแรกของยุคบุกเบิกนั้น  กลางวันมีแดดร้อนจัดและอบอ้าว จนเห็นเป็นเปลวแดดเต้นระยิบอยู่เบื้องหน้า  มองไปสุดลูกตาก็เห็นเพียงผืนฟ้าจรดผืนดิน ไม่มีแม้ร่มเงาของไม้ใหญ่ยืนต้น  ยามกลางคืนหมู่แมลงก็คอยรบกวน ไม่มีแม้แสงไฟ อาศัยเพียงแสงตะเกียงดวงน้อยที่คอยส่องสว่าง  สมัยนั้นแม้ระบบไฟฟ้าและน้ำประปาก็ยังไม่มีใช้  พื้นที่แห่งนี้จึงเรียกได้ว่า ค่อนข้างกันดารมากเพราะอยู่ห่างไกลจากแหล่งชุมชนเหลือเกิน พระสงฆ์ต้องเดินฝ่าทุ่งหญ้าคาด้วยเท้าเปล่าเป็นระยะทางไปกลับถึง 4 กิโลเมตร  หากวันใดฝนตก  สภาพการสัญจรเหมือนถูกตัดขาด แม้แต่เดินเท้าก็ยังไม่ได้ ยิ่งรถยนต์ด้วยแล้วก็ยังไม่สามารถบุกฝ่าป่ากกเข้ามาได้เลย มีเพียงหนทางเดียว คือพระภิกษุต้องไปขอร้องชาวบ้านละแวกรอบนอกให้ช่วยกันขับรถแทรกเตอร์มาส่ง จึงจะสามารถผ่านโคลนเลนในป่าหญ้าไปได้ ทำให้การกรุยทางในช่วงแรกจึงค่อนข้างทุลักทุเลและต้องใช้ความสมบุกสมบันพอสมควร
 
    
แม้คณะสงฆ์จะพบเจอกับความยากลำบากในทุกรูปแบบ แต่ถึงกระนั้นท่านก็สวมหัวใจพระโพธิสัตว์ที่ไม่เคยย่อท้อต่อการสร้างความดี วันแล้ววันเล่าท่านได้สร้างกุฏิขึ้นเองท่ามกลางสายฝนและเปลวแดด ตกค่ำมีเพียงกลดหลังน้อยเป็นที่พักพิงกลางทุ่งกว้างที่มืดและน่าอันตราย
">
">ชาวบ้านที่พบเห็นความยากลำบากของพระภิกษุธรรมทายาทกลุ่มนี้ ต่างพากันวิพากษ์วิจารณ์ ว่าคณะสงฆ์ชุดนี้คงอยู่ได้ไม่เกิน ๗ วัน เห็นทีจะต้องถอนกลดกลับไปเป็นแน่ เพราะที่ผ่านมาทุกปีจะมีพระธุดงค์มาปักกลดยังที่แห่งนี้หลายต่อหลายรูป แต่เพราะทนต่อสภาพความยากลำบากของพื้นที่ไม่ไหว จึงไม่เคยมีพระธุดงค์รูปใดอยู่ได้นานเลยสักรูป 
 
">
">
    แต่แล้วคนในหมู่บ้านต้องพบกับความประหลาดใจ เมื่อ 7 วันผ่านไปพระภิกษุชุดนี้ยังคง
ปักหลักอยู่ที่เดิม มิได้ย้ายหายหนีไปไหน มิหนำซ้ำยังดูมีทีท่าว่าการปรับพื้นที่ยังมีความเจิญก้าวหน้ามากขื้นเป็นลำดับอีกด้วย พระภิกษุชุดแรกได้ช่วยกันบุกเบิกสร้างศูนย์การศึกษาแห่งนี้ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ จาก 7 วันเป็นสัปดาห์ เป็นเดือน และกลายเป็นหลายปีในที่สุด
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">

">
เริ่มเห็นเป็นรูปร่าง
 
">
สามเณรที่เขาแก้วเสด็จ 
สามเณรเหล่ากอของสมณะ 
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
 
">
">
">
     เมื่อก่อสร้างธุดงคสถานครบ 1 ปี พระอาจารย์ กมล กมลสุโภ  ได้เปิดโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนขึ้นเป็นครั้งแรก มีบุตรหลานชาวบ้านในหมู่บ้าน  ละแวกใกล้เคียงมาร่วมโครงการบรรพชากว่า 100 รูป สถานที่อบรมในโครงการบรรพชาสามเณรรุ่นแรกในครั้งนั้น คือ ศาลาจากซึ่งสร้างขึ้นจากความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้าน ซึ่งเป็นศาสนสถานหลังแรกที่ขึ้นอย่างเป็นการถาวร ก่อนจะรื้อถอนมาเป็นศาลาแก้วกายธรรมในปัจจุบัน  ศาลาจากแห่งนี้ได้เป็นทั้งที่ปฏิบัติธรรม ที่ฉันภัตตาหาร สถานศึกษาพระธรรมวินัย และเป็นที่จำวัดไปพร้อมกัน  สามเณรโรงเรียนเตรียมพุทธศาสตร์ในยุคแรก เมื่อจะเริ่มเรียนหนังสือต้องขึงซันแลนกั้นเป็นห้องๆ คล้ายกับโรงเรียนประชาบาล ถึงเวลาสอนจะมีเสียงปะปนกันระเบ็งเซ็งแซ่
">
">
 
     ยามฝนตกหนักหลังคามุงจากรั่วทำให้สามเณรทุกรูปพากันเปียกปอน กิจกรรมการเรียนจึงต้องเปลี่ยนไปตามสภาพดินฟ้าอากาศ  หากเกิดพายุฝนตอนกลางวันสามเณรต้องยืนฉันภัตตาหาร หากฝนตกตอนกลางคืนก็เป็นที่รู้กันว่า คืนนั้นต้องทนนอนหนาวจำวัดท่ามกลางหยาดฝนเป็นแน่แท้ แม้จะจำวัดหลับบ้างไม่หลับบ้าง แต่สามเณรก็ได้เจริญพุทธานุสสติเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงใจ ไปจนกระทั่งจบปีการศึกษาแรก
">
"> ลำบากขึ้นมาครั้งไหนสามเณรทุกรูปจะนึกถึงภาพความทุ่มเทเสียสละของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ นึกถึงความเมตตาของพระอาจารย์ และนึกถึงความศรัทธาของญาติโยม ที่ต้องหาปัจจัยเลี้ยงชีพด้วยความยากลำบากเมื่อนำมาสร้างบุญ เพื่อหวังว่าจะได้อานิสงส์ใหญ่จากเนื้อนาบุญในพระพุทธศาสนา จึงทำให้มีกำลังใจศึกษาและปฏิบัติธรรมต่อไปอย่างไม่ท้อถอย
 
เขาแก้วเสด็จ 
สามเณร ณ ศูนย์การศึกษาเขาแก้วเสด็จ 
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
 
">
">
">
">
     สามเณรวัชรินทร์ เจิมแสน สามเณรรุ่นแรกของศูนย์การศึกษาเขาแล้วเสด็จได้บอกเล่าถึงความประทับใจ       
">
">
 
">
">
">
     “สามเณรรักธุดงค์ และเคารพพระอาจารย์ทุกรูปเลยครับ มีความอบอุ่นและสุขใจเมื่อได้อยู่กับเพื่อนสามเณรที่เป็นเหมือนพี่น้องกันจริงๆ มาอยู่ที่นี่สามเณรประทับใจธรรมะและการนั่งสมาธิที่พระอาจารย์สอน ทำให้สามเณรรู้ซึ้งถึงบาปบุญคุณโทษมากขึ้น  ว่างๆ ท่านก็พาพัฒนาธุดงค์ ความตั้งใจ คือ อยากจะสอบให้ได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค เป็นพระนาคหลวงให้ได้ครับ เเล้วจะกลับมาเป็นพระอาจารย์สอนสามเณรที่ธุดงค์ของเรา และอยากจะเข้าถึงธรรม เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง”
">
 
">
      หากใครได้มีโอกาสมาศูนย์การศึกษาเขาแก้วเสด็จในเวลานี้ จะพบเห็นพระภิกษุสามเณร ร่วมกันพัฒนาธุดงค์ในด้านต่างๆ รวมไปถึงเด็กชายหญิงตัวเล็กๆ อายุประมาณ 7-8 ขวบ ช่วยกันปลูกและรดน้ำต้นไม้ เก็บขยะเพชรพลอย ด้วยความขะมักเขม้นและแจ่มใส เป็นที่น่าชื่นใจแก่ผู้พบเห็น
             
">
">
    
และนี่ คือ หัวใจของการสร้างคนให้เป็นคนดี ด้วยการเชื่อมโยง “บ้าน วัด และโรงเรียน” ได้อย่างแท้จริง
 
">
">
 
สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้
 
">
">
     หลังจากนั้นไม่นาน  ศูนย์การศึกษาเขาแก้วเสด็จได้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นเป็นอย่างมาก หนทางขรุขระที่เต็มไปด้วยปักโคลนเลนได้กลายเป็นถนนเข้าสู่พื้นที่ โดยถนนเส้นแรกนี้  คุณมาโนช  ชัยสิทธิ เจ้าภาพผู้ถวายที่ดินได้ควบคุมการทำถนนด้วยตนเอง ทั้งกลางวันและกลางคืน เพราะศรัทธาเลื่อมใสในปฏิปทาของหมู่คณะ ต่อมาจึงได้ขุดสระน้ำไว้เก็บกักน้ำ ซึ่งแต่เดิมพระภิกษุได้อาศัยน้ำฉันน้ำใช้จากลำธารสายเล็กๆ ที่ไหลลงมาจากภูเขา ทว่าปริมาณน้ำมีไม่เพียงพอ ทั้งยังมีสารเคมีปนเปื้อนจากแปลงเกษตร ทำให้ช่วงหนึ่งพระภิกษุที่ใช้น้ำบริเวณนี้ ต่างประสบปัญหามือเปื่อยเท้าเปื่อยไปตามๆ กัน  คุณมาโนชจึงสร้างสระน้ำเพื่อเก็บน้ำสะอาดเอาไว้ให้พระภิกษุสามเณรได้ใช้ 
 
เขาแก้วเสด็จ 
เขาแก้วเสด็จ ศูนย์ฝึกอบรมพระภิกษุที่ใหญที่สุดในเอเชียภูมิภาค
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
 
">
     จากนั้นจึงมีสิ่งก่อสร้างที่ทยอยเกิดขึ้นตามลำดับ  อาทิ กุฏิพระภิกษุ  กุฏิสามเณร หอฉัน ศาลาแก้วกายธรรม  โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา “เตรียมพุทธศาสตร์”  อาคารเรือนพยาบาล “อายุวัฒนะ”   สระน้ำขนาดใหญ่ทั้ง ๓ สระ โรงกรองน้ำ  ระบบไฟฟ้า  โรงทานมหาเศรษฐีผู้ใจบุญ Network 21 ที่ผลิตอาหารหล่อเลี้ยงพระภิกษุได้วันละหมื่นรูป  และที่กำลังก่อสร้างอยู่ในขณะนี้ คือ ศูนย์ฝึกอบรมธรรมทายาทพระราชภาวนาวิสุทธิ์  ศูนย์ฝึกอบรมพระภิกษุที่ใหญ่ที่สุดในแถบเอเชียภูมิภาคที่สามารถรองรับพระภิกษุได้เป็นเรือนพันในแต่ละครั้งของการอบรม 
">
 
     ณ เวลานี้ไม่ว่าจะมองไปทางใด  ก็จะพบแต่ความสะอาดสะอ้าน และสุขสงบด้วยการประพฤติปฏิบัติธรรม ดั่งชลอวัดป่าเวฬุวัน  สถานที่ปฏิบัติธรรมขนาดใหญ่ในสมัยพุทธกาล  ลงมาไว้เบื้องหน้าเขาแก้วเสด็จ ให้กลายเป็นเมืองแห่งธรรมะ ที่สว่างไสวด้วยดวงใจของยอดนักสร้างบารมี ที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจ ร่วมกันสร้างสถานที่แห่งนี้ให้กลายเป็นศูนย์กลางของการฝึกอบรมพระภิกษุที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งโลก
"> 
 
">
โรงทาน 
โรงทานมหาเศรษฐีผู้ใจบุญ
 
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
     ตลอด 1 ทศวรรษ ศูนย์การศึกษาเขาแล้วเสด็จได้สร้างคนดีให้เกิดขึ้นแก่สังคมอย่างมากมาย เป็นดั่งเทียนเล่มน้อยที่จะคอยให้ความสว่างไสวสู่สังคมโลกในอนาคต แต่สันติธรรมอันอำไพจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ ต้องอาศัยความร่วมแรงร่วมใจของเหล่าพุทธบริษัท 4 ที่ช่วยกันส่งเสริมพระพุทธศาสนาอย่างเต็มกำลังความสามารถด้วยการไม่ทอดธุระหรือนิ่งดูดาย  ท่านใดที่เคยมีส่วนร่วมสร้างศาสนสถานแห่งนี้  ก็ขอให้ท่านภาคภูมิใจไว้ว่าท่าน คือ ผู้สถาปนาแหล่งแห่งการสร้างพระแท้และคนดีให้บังเกิดขึ้นในโลก บุญกุศลที่เกิดจากการสร้างวัด สร้างศูนย์การศึกษา ซึ่งเปรียบเสมือนมหาวิทยาลัยสอนศีลธรรมให้กับประชาชนทั้งหลายนั้น ย่อมมีอานิสงส์มากเกินกว่าจะนับจะประมาณได้
 
">
     อานิสงส์นั้นอุปมาดั่งฝนรัตนชาติที่ตกทั่วแสนโกฏิอนันตจักรวาล ก็ยังไม่อาจเทียบได้กับทรัพย์สมบัติและอานิสงส์ที่พึงบังเกิดขึ้นกับผู้ที่มีส่วนสร้างศูนย์การศึกษาเขาแก้วเสด็จ  เพราะบุญที่เกิดจากการสร้างศูนย์ฝึกอบรมพระ  สร้างวิหารทานเพื่อรองรับคณะสงฆ์จากทิศทั้ง 4 นั้น ถือว่าเป็นบุญใหญ่  เพราะได้ชื่อว่าเป็นผู้ให้ทุกสิ่งทุกอย่าง  ดังนั้นการที่ท่านได้ร่วมบุญแม้เพียงเล็กน้อย ไม่ว่าจะเป็นอิฐสักก้อน  ตะปูสักตัว หรือดินสักกำมือ  ล้วนนำมาซึ่งหนทางแห่งการเข้าถึงธรรมของมนุษย์ทุกชีวิตทั้งสิ้น  เพราะที่นี่ คือ แหล่งสร้างพระภิกษุสามเณร ซึ่งในอนาคต พระภิกษุเหล่านั้นท่านก็จะย่ำธรรมยาตราออกไปประกาศพระพุทธศาสนา ยังพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก
 
หมู่กุฏิพระ 
เขาแก้วเสด็จในวันนี้
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
 
">
">
    บัดนี้ ความพากเพียรทั้งหลายที่ทุกท่านได้ร่วมสถาปนาให้เกิดขึ้น ได้สัมฤทธิ์ผลมา 1 ทศวรรษแล้ว  นับจากวันนี้เป็นต้นไป เราย่อมมีความหวังได้ว่า โลกใบนี้จะเกิดสันติสุขขึ้นอย่างแท้จริง  เกิดจากที่นี่แหล่งสร้างพระแท้ เพื่อเผยแผ่ความรู้ที่แท้จริงไปทั่วโลก ซึ่งโลกได้รู้จักในนามว่า “ศูนย์การศึกษาเขาแก้วเสด็จ”  ขุนเขาแห่งแก้วกายสิทธิ์และผ้ากาสาวพัสตร์ที่เรืองรองสว่างไสวไปทั่วโลก
 
 
 
 
 
  
 
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
 
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
 


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
มหาสมุทรแห่งการแข่งขัน (Blue Ocean Strategy)มหาสมุทรแห่งการแข่งขัน (Blue Ocean Strategy)

ความขัดแย้งในการทำงาน วิธีแก้ไขความขัดแย้งในทีมงานความขัดแย้งในการทำงาน วิธีแก้ไขความขัดแย้งในทีมงาน

โครงการตอบปัญหาธรรมะโครงการตอบปัญหาธรรมะ"ทางก้าวหน้า"



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

Review รายการ