วันสื่อสารแห่งชาติ 2554 ประวัติความเป็นมาและความสำคัญ


[ 25 ก.ค. 2554 ] - [ 18257 ] LINE it!

วันสื่อสารแห่งชาติ 2554
ประวัติความเป็นมา ความสำคัญของวันสื่อสารแห่งชาติ
 
4 สิงหาคม วันสื่อสารแห่งชาติ ประวัติความเป็นมาความสำคัญ
  
 
วันสื่อสารแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 4 สิงหาคม ของทุกปี
 
วันสื่อสารแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 4 สิงหาคมของทุกปี
 
      "การสื่อสารเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่งในการพัฒนาสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้า รวมทั้งรักษาความมั่นคงและความปลอดภัยของประเทศด้วย ยิ่งในสมัยปัจจุบัน ที่สถานการณ์ของโลกเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกขณะ การติดต่อสื่อสารที่รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ ย่อมมีความสำคัญมากเป็นพิเศษ ทุกฝ่ายและทุกหน่ายงานที่เกี่ยวข้อง กับการสื่อสารของประเทศ จึงควรจะได้ร่วมมือกันดำเนินงานและประสานผลงานกันอย่างใกล้ชิด และสอดคล้อง สำคัญที่สุด ควรจะได้พยายามศึกษาค้นคว้าวิชาการและเทคโนโลยี อันทันสมัยให้ลึกและกว้างขวาง แล้วพิจารณาเลือกเฟ้นส่วนที่ดีมีประสิทธิภาพแน่นอนมาปรับปรุงใช้ด้วยความฉลาดริเริ่ม ให้พอเหมาะพอสมกับฐานะและสภาพบ้านเมืองของเรา เพื่อให้กิจการสื่อสารของชาติได้พัฒนาอย่างเต็มที่ และสามารถอำนวยประโยชน์แก่การสร้างเสริมเศรษฐกิจ สังคม และเสถียรภาพของบ้านเมืองได้อย่างสมบูรณ์แท้จริง"
 
          ข้อความข้างต้น เป็นพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ที่ได้ทรงพระราชทาน ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2526  เนื่องในโอกาสการจัดงานวันสื่อสารแห่งชาติครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2526 โดยจัดร่วมกับงานครบรอบ 100 ปี ของการสถาปนากรมไปรษณีย์โทรเลข และการเฉลิมฉลองปีการสื่อสารโลก การสื่อสารในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา "กรมไปรษณีย์และกรมโทรเลข" ขึ้น เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2526 และได้ทรงแต่งตั้งให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เป็นผู้สำเร็จราชการทั้งกรมไปรษณีย์และกรมโทรเลขเป็นพระองค์แรกต่อมาในปี พ.ศ. 2441 ทั้ง 2 กรมนี้ได้รวมเป็นกรมเดียวกัน มีชื่อใหม่ว่า "กรมไปรษณีย์โทรเลข" ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กิจการสื่อสารของไทยได้พัฒนาก้าวหน้ามาเป็นสำดับ มีการจัดตั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารของทางราชการขึ้นอีกหลายหน่วยงาน เช่น กรมประชาสัมพันธ์ บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด และองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เป็นต้น ในส่วนของภาคเอกชนก็มีบริษัทห้างร้านที่ดำเนินกิจการด้านการ สื่อสารเพิ่มมากขึ้น หน่วยงานเหล่านี้ได้ร่วมกันสนองพระราชปณิธานในอันที่จะพัฒนากิจการสื่อสารของประเทศให้เจริญก้าวหน้าตลอดมาจนบัดนี้
 
การสื่อสารในปัจจุบันได้พัฒนารุดหน้าไปมากจากอดีต
 
นาซ่าทดสอบการส่งภาพผ่านอินเตอร์เน็ตจากนอกโลกได้สำเร็จ
 
          ปัจจุบันเทคโนโลยีด้านการสื่อสารได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง การขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ และบทบาทของภาคเอกชนมีมากขึ้นรวมทั้งการแข่งขัน ในกิจการสื่อสารทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก ได้ทวีความเข้มข้นยิ่งขึ้น ความได้เปรียบในเรื่องเศรษฐกิจของโลกในยุคโลกาภิวัตน์ ขึ้นอยู่กับการมีระบบการสื่อสารให้เจริญก้าวหน้า ทัดเทียมกับประเทศอื่น คณะรัฐมนตรีได้ตระหนักถึงบทบาทความสำคัญของการสื่อสารดังกล่าวเป็นอย่างดี จึงได้มีมติเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2546 กำหนดให้วันที่ 4 สิงหาคมของทุกปีเป็น "วันสื่อสารแห่งชาติ" นับตั้งแต่ พ.ศ. 2526 เป็นต้นมา ได้มีการจัดงานวันสื่อสารแห่งชาติขึ้นเป็นประจำทุกปี (ยกเว้นปี พ.ศ. 2533 คณะกรรมการจัดงานวันสื่อสาร แห่งชาติได้มีมติให้งดการจัดแสดงนิทรรศการ คงมีแต่เฉพาะงานพิธีและการประชุมทางวิชาการเรื่องเทคโนโลยีพื้นฐานและการวางแผนระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม) และในการจัดงานวันสื่อสารแห่งชาติแต่ละปี จะเน้นหัวข้อการจัดงานแตกต่างกันไปทุกปี เช่น
 
พ.ศ. 2528 หัวข้อการจัดงาน คือ การสื่อสารกับเยาวชนแห่งชาติ
          พ.ศ.2530 หัวข้อการจัดงาน คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการสื่อสาร
          พ.ศ. 2535 หัวข้อการจัดงาน คือ การสื่อสารเพื่อทศวรรษหน้า
          พ.ศ.2538 หัวข้อการจัดงาน คือ การสื่อสารกับการพัฒนาเทคโนโลยีการสนเทศ เนื่องจากรัฐบาลได้ประกาศให้ปี พ.ศ.2538 เป็นปีเทคโนโลยีสารสนเทศไทย
 
ในวันสื่อสารแห่งชาติ ได้มีการจัดกิจกรรมต่างๆ ได้แก่

          1. พิธีถวายเครื่องสักการะพระอนุสาวรีย์สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
          2. การกล่าวคำปราศรัยของพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย
          3. การจัดทำดวงตาไปรษณียากรที่ระลึกวันสื่อสารแห่งประเทศไทย
          4. การจัดนิทรรศการแสดงเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม
 
การสื่อสารในประเทศไทย
 
          นอกจากพิราบสื่อสารและม้าเร็วแล้ว การสื่อสารเริ่มเข้ามามีบทบาทต่อประเทศไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ช่วงที่บ้านเมืองปลอดจากภัยสงคราม การเมืองภายในประเทศมีเสถียรภาพมั่นคง โดยวัตถุประสงค์ของการสื่อสารในยุคนั้น ก็เพื่อนำมาสนับสนุนกิจการด้านงานความมั่นคงของประเทศ ซึ่งยุคนั้นเรียกได้ว่า เป็นยุคเริ่มล่าอาณานิคมของชาติมหาอำนาจทั้งอังกฤษและฝรั่งเศส ต่างแย่งชิงผลประโยชน์ในภูมิภาคนี้ด้วยกัน และอารยะธรรมตะวันตกเริ่มหลั่งไหลเข้ามาสู่ภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ 
 
การสื่อสารสมัยก่อนเคยใช้นกพิราบในการสื่อสาร
 
นกพิราบสื่อสาร วิธีการสื่อสารแบบหนึ่งในสมัยอดีต
 
          ต่อมาในยุคพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) การสื่อสารได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับราชสำนัก และเกิดพัฒนาสัมพันธ์ทางการทูตที่ดีกับประเทศมหาอำนาจ จนทำให้ประเทศรอดพ้นจากการถูกคุกคามจากมหาอำนาจตะวันตกหลายครา รวมทั้งการสื่อสารสามารถทำให้รับเอาวิทยาการใหม่ๆ มาปรับปรุงพัฒนาประเทศในเวลาต่อมา
 
         จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงเจริญรอยตามพระราชบิดาในการปฏิรูปประเทศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มหากษัตริย์ผู้วางรากฐานกิจการสื่อสารโทรคมนาคมของประเทศไทย พระองค์ทรงเห็นความสำคัญของการสื่อสารว่าเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาประเทศ และเพื่อบำบัดทุกข์ราษฎรในพื้นที่ห่างไกล ตลอดจนสนับสนุนงานด้านความมั่นคงของชาติด้วยประการหนึ่ง แรกทีเดียวนั้นการสื่อสารอยู่ในรูปไปรษณีย์พิเศษ ซึ่งเป็นหนังสือที่จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่ในบบพระบรมมหาราชวัง และเขตบบพระนครชั้นใน โดย สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภานุรังษีสว่างวงศ์ และเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2424 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภานุรังษีสว่างวงศ์ เป็นผู้ก่อตั้งการไปรษณีย์ 
 
กรมไปรษณีย์
 
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภานุรังษีสว่างวงศ์ เป็นผู้ก่อตั้งการไปรษณีย์ 
 
         จนในที่สุดการสื่อสารของระบบไทย โดยระบบไปรษณีย์ได้ถือกำเนิดขึ้นเป็น “กรมไปรษณีย์” อย่างเป็นทางการขึ้น ในวันที่ 4 สิงหาคม 2426 โดยมีที่ทำการไปรสะนียาคารแห่งแรก ที่ ปากคลองโอ่งอ่าง ตำบลราชบูรณะ และอาคารในพระราชอุทยานสราญรมย์ 
 
         ขณะนั้นได้เริ่มมีการนำเทคโนโลยีระบบโทรคมนาคมเข้ามา นั่นคือ กิจการโทรเลข ซึ่งถือว่าเป็นเทคโนโลยีโทรคมนาคมอันทันสมัยรวดเร็วที่สุดในยุคนั้น เดิมทีกิจการโทรเลขอยู่ในความดูแลของกลาโหม และมีพัฒนาการต่อเนื่องนับตั้งแต่มีการวางสายโทรเลขเป็นครั้งแรก ใน พ.ศ. 2418 กรุงเทพฯ ไป สมุทรปราการ เพื่อใช้ในงานราชการ จนกระทั่งได้เปิดให้มีบริการสำหรับประชาชนเป็นครั้งแรก เมื่อ 16 กรกฎาคม 2426 โดยมีอัตราค่าบริการ “คำละ 1 เฟื้อง” จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งขึ้นเป็น “กรมโทรเลข” อีกกรมหนึ่ง และมีสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภานุรังษีสว่างวงศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการกรมโทรเลขอีกตำแหน่งหนึ่ง จากนั้นกลาโหมได้เริ่มมีการนำโทรศัพท์เข้ามาและมอบให้กรมโทรเลขดูแลต่อ
 
โทรเลขเป็นวิธีการสื่อสารอีกทางเลือกหนึ่ง
 
โทรเลขเป็นช่องทางการสื่อสารอีกรูปแบบหนึ่งในสมัยก่อน
 
         เมื่อเกิดทิศทางในการรวมการสื่อสารของชาติมาอยู่ที่เดียวกันจึงเกิดการพัฒนามากมายอย่างรวดเร็วตามมา เช่น มีการนำรถไฟมาสนับสนุนกิจการไปรษณีย์ ก็เกิดเป็นการรถไฟตามมา มีการนำเครื่องบินมาสนับสนุนการไปรษณีย์ที่เรียกว่า รอยัลเมลล์ ก็เกิดมีการบินขึ้นต่อมา การไปรษณีย์และโทรเลขมีการขยายบริการไปทั่วราชอาณาจักร รวมทั้งทำหน้าที่เป็นสื่อกลางของชาติในการสื่อสารไปยังต่างประเทศทั่วโลก ภารกิจของกรมไปรษณีย์โทรเลข มีมากมายขึ้น ถือได้ว่าเป็นราชการกรมแห่งแรกในประเทศก็กล่าวได้ จนเกิดงานสาธารณะอันสำคัญของประเทศให้รับผิดชอบขึ้นมากมาย ทั้งงานบริการโทรคมนาคม กิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการออมสิน กิจการวิทยุการบิน กิจการโทรศัพท์ซึ่งภายหลังได้แยกออกไป
 
  จนกระทั่งปัจจุบันสืบเนื่องจากเจตนารมณ์ตามมาตรา 40 แห่งรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ที่ต้องการให้มีองค์กรอิสระปราศจากการแทรกแซงจากรัฐ เข้ามาทำหน้าที่บริหารทรัพยากรคลื่นความถี่วิทยุ ซึ่งถือเป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์ของสาธารณะและกำกับดูแลให้เกิดการแข่งขันเสรีอย่างเป็นธรรม อย่างแท้จริง จึงได้เกิดการตราพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2543 ขึ้นมา ตามเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญฯ ฉบับดังกล่าว ส่งผลให้มีการประกาศให้ยุบกรมไปรษณีย์โทรเลข และจัดตั้ง “สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)” ขึ้นมาทำหน้าที่บริหารทรัพยากรโทรคมนาคมของชาติ และกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมให้เกิดการแข่งขันเสรีอย่างเป็นธรรม ดังที่ทราบกันดีในปัจจุบัน
 
กทช.
 
สัญลักษณ์สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)
 
     จากการปฏิรูปการกำกับดูแลและบริหารกิจการสื่อสารโทรคมนาคมของชาติโดยภาคประชาชนในครั้งนั้นเอง ทำให้สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เป็นองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระปราศจากการแทรกแซงจากรัฐทั้งอำนาจบริหารและงบประมาณ ทำหน้าที่กำกับดูแล (Regulator) กิจการโทรคมนาคมของประเทศ และกล่าวได้ว่ายังเป็นองค์กรอิสระเพียงแห่งเดียวที่ไม่ถูกแทรกแซงจากรัฐบาลชุดที่ผ่านมา ทำให้ กทช. ยังคงยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคงแม้จะถูกกระบวนการสร้างข่าวลบจากผู้เสียประโยชน์จากการสร้างความเป็นธรรมก็ตาม หรือแม้แต่การตั้งกระทรวงแห่งหนึ่งเพื่อแทรกแซงกิจการโทรคมนาคมของบางรัฐบาลก็ตาม แต่ประชาชนทั่วไปล้วนประจักษ์ดี
      
       กทช. นอกจากถือเป็นองค์กรที่สืบสานพระราชปณิธานจากพระมหากษัตริย์หลายพระองค์ในราชวงศ์จักรี พระมหากษัตริย์ที่ทรงรักพสกนิกรของพระองค์อย่างยิ่ง และเกี่ยวข้องในการนำการโทรคมนาคมเข้าบำบัดทุกข์บำรุงสุขราษฎร สนับสนุนการพัฒนาบ้านเมืองในทุกด้าน และสนับสนุนงานความมั่นคงของชาติ แม้คนในวงการโทรคมนาคมมักพูดถึงแต่เรื่องธุรกิจเรื่องการผลักดันให้เกิดการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรมในกิจการโทรคมนาคมก็ตาม แต่ควรช่วยกันมองหาหนทางในการประยุกต์การโทรคมนาคมเพื่อพัฒนาบ้านเมือง และเปิดโอกาสให้พี่น้องประชาชนด้วยอีกประการ
 
เทคโนโยลีการสื่อสารในปัจจุบัน
      
เทคโนโลยีต่างๆ ในการสื่อสารยุคปัจจุบัน
 
       แม้ว่าเกิดการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรมในกิจการโทรคมนาคมจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพโครงข่ายโทรคมนาคมของชาติให้สูงขึ้นและมีค่าบริการถูกลง รวมถึงส่งเสริมกิจการโทรคมนาคมไทยให้พัฒนาก้าวหน้า อันจะส่งผลให้เกิดความเจริญแก่บ้านเมืองในทุกด้านตามมาก็ตามแต่ เหนือสิ่งอื่นใดผู้ที่อยู่ในวงการโทรคมนาคมต้องมิลืมเลือนที่จักสืบสานพระราชปณิธานในการนำการโทรคมนาคมเข้าบรรเทาความยากลำบากของพี่น้องชาวไทยด้วย
      
       อย่างไรก็ตามความสำคัญของเทคโนโลยีการสื่อสารที่กำลังก้าวไปอย่างรวดเร็ว พร้อมกับความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น เนื่องในวันคล้ายวันสื่อสารแห่งชาติ ปรเมศวร์และศุภลักษณ์ หวังเพียงทุกท่านในวงการโทรคมนาคมอย่าพึงเห็นเพียงผลประโยชน์ของตน หากแต่ตั้งมั่นในปณิธานในการนำการโทรคมนาคมเข้าพัฒนาประเทศและเปิดโอกาสให้พี่น้องชาวไทยในท้องถิ่นทุรกันดารมีโอกาสที่ดีในชีวิต รวมทั้งให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม และมุ่งสร้างความสัมพันธ์ ความเข้าใจระหว่างกันสมานฉันท์แบบไทย เพื่อเสริมสร้างชาติให้เข้มแข็ง มั่นคง ก้าวหน้า อย่างยั่งยืนต่อไป
 
รับชมวิดีโอ
 

รับชมคลิปวิดีโอเทคโนโลยีใหม่ 3G และ 4G
ชมวิดีโอเทคโนโลยีใหม่ 3G และ 4G  MP3 ธรรมะเทคโนโลยีใหม่ 3G และ 4G   Download ธรรมะเทคโนโลยีใหม่ 3G และ 4G
 

รายการวิดีโอที่เกี่ยวข้อง

ทันโลกทันธรรม
 
บทความที่เกี่วข้องกับวันสื่อสารแห่งชาติ 2554
 
 
 


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
พญานาค ศัตรูของพญานาคพญานาค ศัตรูของพญานาค

Hacker แฮกเกอร์ สงครามโลกไซเบอร์Hacker แฮกเกอร์ สงครามโลกไซเบอร์

ศูนย์อบรมคุณภาพจังหวัดชัยนาทศูนย์อบรมคุณภาพจังหวัดชัยนาท



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

Review รายการ