พายุ การตั้งชื่อพายุ สนุกกับพายุ จากรายการทันโลก ทันธรรม


[ 23 ก.ย. 2554 ] - [ 18275 ] LINE it!

พายุ

พายุ ภัยจากธรรมชาติ

พายุ การตั้งชื่อพายุ สนุกกับพายุ
 
พายุ ปรากฏการณ์จากธรรมชาติที่ส่งทั้งผลดีและผลเสีย
 
พายุ หมายถึง ภาวะผิดปกติของบรรยากาศ เป็นปรากฎกาณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
ซึ่งแสดงถึงสภาวะของอากาศไม่ดีและมีลมแรงจัด
 
" />
     ถ้าพูดถึงเรื่องพายุหลายๆ ท่านก็จะนึกถึงฝนตก น้ำท่วม อุทกภัยรวมไปถึงการพยากรณ์อากาศ แต่บางคนถ้าพูดถึงพายุทีไรก็จะนึกถึงคนอารมณ์ไมดี อารมณ์โกรธ หงุดหงิด เป็นต้น ถ้าพูดถึงเรื่องชื่อพายุที่ผู้คนจำได้ย่างแม่นยำนั้น ก็คงจะเป็น พายุเกย์ พายุนากิส และล่าสุดก็คือหมุ่ยฟ้า เพราะพายุเหล่านี้สร้างความเสียหายรุนแรงมาก แต่ว่าชื่อพายุเหล่านี้มีที่มาที่ไปอย่างไร และใช้อย่างไร
 
     วันนี้เราจะมาสนุกกับพายุกันในเรื่องของชื่อพายุ
ถ้าว่ากันด้วยเรื่องของธรรมชาติ สิ่งหนึ่งที่อยู่คู่กับเราคือภัยธรรมชาติ และหนึ่งในภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อยคือพายุ เรื่องของพายุก็จะเกี่ยวข้องกับเรื่องของการพยากรณ์อากาศ เนื่องจากว่ามนุษย์เองอยากจะทราบว่าพายุเองจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ แล้วพายุจะมีความรุนแรขนาดไหน จึงมีเรื่องของการพยากรณ์อากาศ ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบันที่มีการพยากรณ์อากาศเตือนภัยต่างๆ เช่น เตือนภัยสึนามิ เตือนภัยไต้ฝุ่นที่จะมาถึง
การพยากรณ์อากาศถือเป็นศาสตร์อย่างหนึ่ง คือความพยายามที่จะตีความสิ่งที่เป็นข้อมูล ณ ปัจจุบันแล้วเทียบเคียงกับอดีตแล้วเอาข้อมูลในปัจจุบันมาเทียบเคียง เช่น กำลังลม  ความกดอากาศ ภาพที่เห็นจากดาวเทียม แล้วมาพยากรณ์ล่วงหน้าว่าจะเกิดพายุ  ฝนจะตก ซึ่งการพยากรณ์อากาศจะช่วยเราในการเตรียมการเรื่องภัยพิบัติ ป้องกันภัยต่างๆ ที่จะมาถึง
 

หลักการพยากรณ์อากาศ

      การพยากรณ์อากาศอาจเป็นการคาดหมายสำหรับช่วงเวลาไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า จนถึงการคาดหมายสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอีกหลายปีจากปัจจุบัน สามารถแบ่งชนิดของการพยากรณ์อากาศตามระยะเวลาที่คาดหมายได้ดังนี้
 
1. การพยากรณ์ปัจจุบัน (nowcast) หมายถึงการรายงานสภาวะอากาศที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและการคาดหมายสภาพลมฟ้าอากาศสำหรับช่วงเวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง
 
2. การพยากรณ์ระยะสั้นมาก คือการพยากรณ์สำหรับช่วงเวลาไม่เกิน 12 ชั่วโมง
 
3. การพยากรณ์ระยะสั้น หมายถึง การพยากรณ์สำหรับระยะเวลาเกินกว่า 12 ชั่วโมงขึ้นไปจนถึง 3 วัน
 
4. การพยากรณ์อากาศระยะปานกลาง คือ การพยากรณ์สำหรับช่วงเวลาที่เกินกว่า 3 วันขึ้นไปจนถึง 10 วัน
 
5. การพยากรณ์ระยะยาว คือการพยากรณ์สำหรับช่วงเวลาระหว่าง 10 ถึง 30 วัน โดยปกติมักเป็นการพยากรณ์ว่าค่าเฉลี่ยของตัวแปรทางอุตุนิยมวิทยาในช่วงเวลานั้นจะแตกต่างไปจากค่าเฉลี่ยทางภูมิอากาศอย่างไร
 
6. การพยากรณ์ระยะนาน คือการพยากรณ์ตั้งแต่ 30 วัน จนถึง 2 ปี ซึ่งยังแบ่งย่อยออกเป็น 3 ชนิด คือ
 
     6.1 การคาดหมายรายเดือน คือการคาดหมายว่าค่าเฉลี่ยของตัวแปรทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงนั้น จะเบี่ยงเบนไปจากค่าเฉลี่ยทางภูมิกาศอย่างไร
     6.2 การคาดหมายรายสามเดือน คือการคาดหมายค่าว่าเฉลี่ยของตัวแปรทางอุตุนิยมวิทยาในช่วงนั้น จะเบี่ยงเบนไปจากค่าเฉลี่ยทางภูมิอากาศอย่างไร
     6.3 การคาดหมายรายฤดู คือการพยากรณ์ค่าเฉลี่ยของฤดูนั้นว่าจะแตกต่างไปจากค่าเฉลี่ยทางภูมิอากาศอย่างไร
 
7. การพยากรณ์ภูมิอากาศ คือการพยากรณ์สำหรับช่วงเวลามากกว่า 2 ปีขึ้นไป โดยแบ่งเป็น
 
     7.1 การพยากรณ์การผันแปรของภูมิอากาศ คือการพยากรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการผันแปรไปจากค่าปกติเป็นรายปีจนถึงหลายสิบปี
      7.2 การพยากรณ์ภูมิอากาศคือการพยากรณ์สภาพภูมิอากาศในอนาคตโดยพิจารณาทั้ง สาเหตุจากธรรมชาติและจากการกระทำของมนุษย์
 
 
พายุ มักตั้งชื่อให้ดูอ่อนหวานอ่อนโยน
 
การตั้งชื่อพายุมักตั้งให้ดูน่ารักอ่อนหวานอ่อนโยน ดูไม่รุนแรงนัก

หลักเกณฑ์ในการตั้งชื่อพายุ 
      

 
     เดิมทีประเทศสหรัฐฯ จะเป็นผู้ตั้งชื่อพายุของทั่วโลกมาโดยตลอด เพราะเป็นประเทศเดียวที่มีความเพียบพร้อมทางเทคโนโลยีทางดาวเทียมตรวจสภาพอากาศ ดูความเคลื่อนไหวของพายุ การตั้งชื่อพายุสมัยก่อนนั้นจะใช้ชื่อผู้หญิงในการตั้ง เพราะฟังแล้วจะดูอ่อนโยนอ่อนหวาน ดูรุนแรงน้อยลง ในกรณีที่ผู้ตั้งชื่อเป็นนักเดินเรือ ก็จะตั้งชื่อพายุเพื่อคลายความคิดถึง ถึงคนที่เป็นที่รัก แต่ภายหลังก็มีนักสิทธิสตรีในสหรัฐฯ ออกมาประท้วงว่าการตั้งชื่อพายุทำให้ภาพลักษณ์ของผู้หญิงโหดร้าย ภายหลังจึงมีการตั้งชื่อผู้ชายด้วย 
  
      
 
     กระทั่งปี ค.ศ. 2000 ได้มีการเปิดโอกาสให้ประเทศต่างๆ จากทุกโซนของโลกเสนอชื่อพายุได้ประเทศละ 10 ชื่อ โดยกำหนดให้ใช้ภาษาท้องถิ่นในแต่ละประเทศในการตั้งชื่อพายุ 
ในส่วนของประเทศไทย ตั้งอยู่ในโซนมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกตอนบนและทะเลจีนใต้ ร่วมกับสมาชิกประเทศอื่นๆ ได้แก่กัมพูชา จีน เกาหลีเหนือ ฮ่องกง ญี่ปุ่น ลาว มาเก๊า มาเลเซีย ไมโครนีเซีย (รัฐอิสระอยู่บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือหมู่เกาะอินโดนีเซีย) ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ สหรัฐฯและเวียดนาม 
 
    
ชื่อพายุจะแบ่งเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 28 ชื่อ ชื่อพายุแต่ละชื่อ จะเรียงตามชื่อประเทศของลำดับตัวอักษรภาษาอังกฤษ เริ่มจากกัมพูชา เรื่อยไปจนถึงเวียดนามซึ่งเป็นอันดับสุดท้าย โดยไทยเราอยู่อันดับที่ 12 เมื่อใช้หมด 1 กลุ่มก็จะขึ้นชื่อแรกในกลุ่มที่ 2 เรียงกันเรื่อยไปจนครบทุกกลุ่ม แล้วจึงกลับมาใช้ชื่อแรกของกลุ่มที่ 1 ใหม่อีกครั้ง 
  
      
 
     ด้วยเหตุนี้ ทางกรมอุตุนิยมวิทยาจึงได้ตั้ง คณะกรรมการพิจารณารายชื่อและความหมายของชื่อขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนเสนอชื่อพายุในภาษาไทยที่ที่ประชุมของ ศูนย์เตือนภัยพายุไต้ฝุ่นร่วม (Joint Typhoon Warning Center (JTWC)) ซึ่งตั้งอยู่ที่เกาะกวม ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก โดยมีสมาชิกอีก 14 ประเทศในโซนเดียวกันมาร่วมประชุม จนได้ชื่อพายุของไทยตามลำดับได้แก่ พระพิรุณ ทุเรียน วิภา รามสูร เมขลา มรกต นิดา ชบา กุหลาบและขนุน
 
    
เรื่องของชื่อพายุนี้ ถ้าหากพายุสร้างความเสียหายมากๆ  เช่น พายุเกย์ ชื่อนั้นก็จะถูกถอดออกไปเลย ไม่นำกลับมาใช้อีก การตั้งชื่อพายุถึงแม้ว่าจะตั้งให้ดูอ่อนหวาย อ่อนโยนเพียงใด ขึ้นชื่อว่าเป็นพายุแล้วไม่ดีเลยทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นพายุที่พัดพาเอาน้ำ เอาเศษสิ่งของต่างๆ มา หรือว่าเป็นพายุอารมณ์ก็ตาม ไม่ใช่สิ่งที่ทุกคนต้องการทั้งนั้น
ดังนั้นเราลองมาเรียนรู้ถึงวิธีการรับมือกับพายุทั้งภายนอกและพายุในใจเรา โดยพระมหา ดร.สมชาย ฐานวุฒโฑ
 
พายุที่หอบเอาน้ำมา
 
ลักษณะของพายุที่พร้อมจะทำลายล้างทุกสิ่งทุกอย่างที่ขวางทาง
 
    
สนุกกับพายุ
โดยพระมหา ดร.สมชาย ฐานวุฑโฒ
 
     บางท่านอาจจะบอกว่าพายุสนุกด้วยหรือ เห็นมาแต่ละทีลมแรงๆ น่ากลัว เกิดความเสียหายมากมายจะไปสนุกได้อย่างไร เรื่องแต่ละเรื่องมีมุมมอง เรามองให้สนุกก็สนุก มองให้ทุกข์ก็เป็นทุกข์ ถ้ามองให้ได้ข้อคิดเราก็จะได้อะไรมากมาย เรื่องพายุก็เช่นเดียวกัน ถ้ามีพายุกับไม่มีพายุอันไหนดีกว่ากัน ถ้าไปถามเกษตรกรใจหนึ่งพายุมาฝนตกน้ำท่วมก็เอาเรื่องเหมือนกันเช่นบ้านเมืองเราตอนนี้ แต่ถ้าฝนไม่ตกแล้วไม่มีพายุเลย แล้วฝนแล้งคงแย่กว่า  บางประเทศที่เจอพายุเยอะๆ  เช่น ฟิลิปปินส์ที่เจอพายุมากกว่าประเทศไทย ปรากฏว่าการเกษตรของเขาได้ผลผลิตดีกว่าบ้านเรา ทั้งที่ประเทศเล็กกว่าเรา คนเยอะกว่า คนกินข้าวเยอะกว่าเรา แต่เขาปลูกข้าวได้เหลือมากกว่าเรา เพราะพายุมาแต่ละครั้งหอบเอาน้ำมาให้ได้ทำนาปีละหลายหน
 
บทบาทของขงเบ้งที่ใช่การพยากรณ์เข้าช่วยในการทำศึก
 
ตัวแสดงขงเบ้งผู้หยั่งรู้ดินฟ้า ด้วยการพยากรณ์ดินฟ้าอากาศ
 
    
ในประวัติศาสตร์ขงเบ้งผู้หยั่งรู้ดินฟ้า ตอนที่ร่วมมือกับจิวยี่ไปเผาทัพเรือโจโฉที่เซ็กเพ็ก โจโฉยกทัพมากว่าล้านคน ฝ่ายขงเบ้งกับเล่าปี่มีคนแค่หมื่นสองหมื่น ส่วนซุนกวนก็มีแค่แสนกว่าคน แล้วซุนกวนก็จัดกำลังทหารให้จิวยี่คุมประสานกับขงเบ้งไปยันทัพโจโฉซึ่งมีกำลังมากกว่า 20 เท่าตัว แต่ทั้งสองคนจับมือกันวางแผนโดยใช้กลยุทธ์ธรรมชาติด้วยการเอาไฟเผาทัพเรือโจโฉ แต่ถ้าเรือแต่ละลำอยู่แยกกันมันก็จะเผาไม่หมด จึงต้องวางแผนให้กุนซือบังทองไปแนะนำให้โจโฉนำเรือมายึดติดกัน โดยให้เหตุผลว่าทำให้เรือไม่กระเพื่อม ทหารทางเหนือจะได้ไม่เมาคลื่น โจโฉจึงเห็นดีด้วย ถึงแม้มีคนแนะว่าน่ากลัวเรื่องไฟ ถ้าไฟมาจะหนีไม่ทัน แต่โจโฉบอกไม่เป็นไร เพราะลมพัดมาจากทิศทางกองเรือโจโฉไปทางกองทัพเรือของขงเบ้งกับจิวยี่ อีกฝ่ายอยู่ใต้ลมคงมาจุดไฟเราไม่ได้หรอก ซึ่งก็เป็นจริง ลมมันพัดอู้อย่างนี้ตลอด ทางจิวยี่วางแผนเสร็จศัพท์เรียบร้อย พอเห็นทิศทางลมอย่างนั้นก็เครียดจนล้มป่วย ขงเบ้งไปเยี่ยมจิวยี่ เพราะรู้ว่าจิวยี่ป่วยเพราะอะไร
 
     ขงเบ้งบอกว่าข้าพเจ้ารู้ว่าท่านจิวยี่ป่วยเพราะอะไร ทั้งๆ ที่ตนเองก็ไม่ใช่หมอ จึงบอกสาเหตุโรคเขียนคำวินิจฉัยออกมาเป็นอักษรตัวเดียว 4 ขีด มีความหมายว่าไฟ พอจิวยี่เห็นก็แทบจะหายป่วยในทันใด แล้วขงเบ้งจึงอาสาออกไปเรียกลมให้  โดยการทำให้ดูดีด้วยการแต่งชุดขาว เพื่อเตรียมหนี เพราะรู้ว่าเมื่อลมมา ชนะโจโฉได้เมื่อไหร่ ตนเองก็มีต้องถูกจิวยี่ฆ่าทิ้งแน่ เพราะเห็นว่าขงเบ้งฉลาด
แต่จริงๆ แล้วการเรียกลมนี่เป็นเพราะขงเบ้งสามารถพยากรณ์ออกว่า ลมกำลังจะเปลี่ยนทิศ พอคำนวณได้ว่าลมจะเปลี่ยนทิศจึงเตรียมทัพเรือ เตรียมหุ่นฟาง เตรียมเชื้อเพลิงไว้ให้พร้อม พอลมเปลี่ยนทิศ จึงใช้เรือจิวยี่ที่มาเป็นแผงเข้าจุดไฟเผากองเรือโจโฉจนล่ามไหม้ แล้วใช้ทัพเรือและทหารบกเข้าโจมตี ทหารโจโฉเกือบล้าน เหลือรอดไปเพียงสิบกว่าคนเท่านั้นเอง นี่คือพลังอำนาจของการพยากรณ์อากาศแล้วใช้พลังจักรวาลบวกเข้าไปกำลังคนจึงทานไว้ไม่อยู่
 
    
ในยุคของเรา มีดาวเทียมช่วยก็แม่นขึ้นมาอีกเยอะ แต่ก็พยากรณ์อากาศอย่างเยอะก็ประมาณ 10 วัน แต่ก็ยังมีผิดพลาดบ้าง  แต่มีการพยากรณ์แบบหนึ่งที่แม่นมากๆ แล้วยิ่งนานยิ่งแม่น เช่น พยากรณ์ว่า อีก3 ปี 5 ปี จะเกิดอะไรขึ้น สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือว่า จะเกิดลมพายุมากขึ้น แรงขึ้น ดินฟ้าอากาศจะแปรปรวนมากขึ้น เพราะโลกเราร้อนขึ้น และเศรษฐกิจก็จะพัฒนามากขึ้น คนจะซื้อรถยนต์มากขึ้น บริโภคมากขึ้น จะใช้น้ำมันมากขึ้น เมื่อนั้นพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลมจะมีราคามากขึ้น เพราะว่าน้ำมันแพง คนจะหาพลังงานทดแทนมากขึ้น รวมทั้งว่าประเทศของเราที่เป็นการเกษตร เราสามารถเอาพื้นที่การเกษตรมาปลูกพืชที่ทำเป็นพืชพลังงาน ก็เป็นโอกาสของประเทศไทย จะเป็นช่องทางมาของรายได้อย่างมหาศาล ถ้าบริหารจัดการได้ดี ยกตัวอย่าง ใครที่อ่านการตลาดออก เมื่อ 7-8 ปีทีแล้ว รู้ว่าทั้งจีน อินเดีย บราซิล รถยนต์มีการใช้เพิ่มมากขึ้น 7-8 ปีก่อนมีการใช้ไม่ถึงล้านคัน มาถึงตอนนี้มีรถยนต์ใช้กว่า 20 ล้านคัน ลองคิดว่ายางรถยนต์ต้องใช้อีกเท่าไหร่
 
ราคายางพาราเพิ่มขึ้น จากจำนวนความต้องการใช้รถยนต์ที่เพิ่มมากขึ้น
 
ความต้องการน้ำยางพาราเพิ่มมากขึ้น เกิดจากความต้องการใช้รถยนต์เพิ่มมากขึ้น
 
     ยางพาราเคยกิโลล่ะ 30 บาทยังขึ้นมาเป็นกิโลละร้อยกว่าบาท ใครดูตรงนี้ออกแล้วปลูกต้นยางพาราไว้รอท่าเมื่อ 7 ปีที่แล้วตอนนี้รวยกันหมดเลย นี่คือการพยากรณ์ไปข้างหน้า ถ้าพยากรณ์ถูกต้องจะมีประโยชน์อย่างนี้  แต่อย่าคิดว่าจะดีอย่างนี้ไปเรื่อย เราต้องติดตามดูให้ดี เพราะพม่า ลาว กัมพูชา บนเขาหลายแห่งปลูกยางพารากันเป็นแสนเป็นล้านไร่กันเลย แม้ช่วงนี้อาจยังไม่ได้จังหวะกรีด แต่เมื่อถึงเวลากรีดเมื่อไหร่ น้ำยางก็จะเริ่มเยอะขึ้นมาเมื่อนั้น รัฐบาลจะต้องติดตามเรื่องนี้แล้วว่า พม่าปลูกยางเท่าไหร่ ทั่วโลกสถานการณ์เป็นอย่างไร เพราะยางพารามันไม่เหมือนข้าวที่ปลูกไม่กี่เดือนก็เก็บเกี่ยวได้ แต่ยางปลูกไว้ต้อง 5- 7 ปีถึงจะกรีดได้ เราสามารถพยากรณ์ปริมาณน้ำยางที่จะออกสู่ตลาดโลกนั้นมีแค่ไหน รัฐบาลจะได้เตรียมการรองรับได้ทัน เราสามารถพยากรณ์ได้ว่าราคายางจะเป็นอย่างไร แนวโน้มการบริโภคจะเป็นอย่างไร แนวโน้มการผลิตจะเป็นอย่างไร ทุกอย่างถ้ามีการวางแผนจะได้ประโยชน์หมด
 
    
มีอยู่คราวหนึ่งพระมหาดร.สมชาย ได้ไปเจอพายุใหญ่ที่ไต้หวัน ปรากฏว่ามีพายุใหญ่ที่นานๆ จะผ่านมาสักที ได้มุ่งตรงผ่านศูนย์กลางของไทเป ผ่านวัดที่พระอาจารย์อยู่พอดี โทรทัศน์ วิทยุ ทุกรายการหยุดทันทีแล้วรายงานความคืบหน้าของพายุลูกนี้อย่างเดียวเลยตลอด 24 ชั่วโมง ประชาชนปิดบ้าน อยู่แต่ในบ้านกัน รถยนต์ก็ไม่มีวิ่งสักคัน อย่างกับเมืองร้าง เมื่อข่าวรายงานว่าศูนย์กลางพายุกำลังผ่านบริเวณวัด พระอาจารย์จึงค่อยๆ แง้มประตูออกมาดูปรากฏว่าเมื่อตาพายุหรือศูนย์กลางพายุมาถึงที่วัดทุกอย่างนิ่งไปหมด แม้ใบไม้ก็ไม่กระดิก แต่ก่อนที่ตาพายุจะมาถึงนั้น ลมพัดแรงต้นไม้ไหวอย่างแรง แต่พอจุดศูนย์กลางพายุมาถึงทุกอย่างกับสงบนิ่ง แต่พอนิ่งได้ไม่นาน ปรากฏว่าหลังคาก็ยุบลงมาด้วยความกดอากาศที่มีอย่างมหาศาล แม้จะนิ่งก็จริงแต่มีพลังมหาศาลเลย
 
ลักษณะของตาพายุที่นิ่งสงบเงียบ
 
จุดศูนย์กลางของพายุหรือเรียกว่าตาพายุนั้น จะนิ่งสงบแต่เปี่ยมไปด้วยพลังมหาศาล
 
     ครั้งนั้นที่เจอเลยได้ข้อคิดว่า พายุยิ่งแรง ศูนย์กลางของพายุยิ่งนิ่ง แต่ลมที่พัดทั่วไปกับไม่มีกำลังอะไรมากมาย พายุยิ่งศูนย์กลางนิ่งเท่าไหร่ พลังขับเคลื่อนพายุยิ่งมหาศาลเท่านั้น
ลองนึกถึงพายุอารมณ์ เหมือนคนอารมณ์ร้าย โกรธนั้นโกรธนี่ เหมือนลมเพลมพัดไม่ได้เรื่องอะไร คนที่จะแน่จริงนั้นมีพลังขับเคลื่อนงาน  ขับเคลื่อนอะไรหลายๆ อย่าง จะต้องนิ่งที่สุดเลย ยิ่งนิ่งเท่าไหร่ยิ่งจะเป็นศูนย์กลางในการบังคับบัญชาทุกอย่างรอบตัวให้เป็นในทิศทางที่ควรเป็นได้ ถ้าเราอยากเป็นเสมือนพายุที่มีพลัง เราก็ต้องนิ่งให้เป็น  โดยเฉพาะคนที่เป็นหัวหน้าทีม จะต้องนิ่งให้มากที่สุด ความนิ่งจะแฝงพลังอันยิ่งใหญ่
เพราะฉะนั้นจากนี้ไป ใครเคยหวือหวา โกรธนั่นโกรธนี่ ขอบอกว่าเรายังเป็นลมธรรมดาอยู่ หากอยากจะเป็นพายุจริงๆ ที่พร้อมจะขับเคลื่อนทุกอย่าง เราจะต้องนิ่งให้ได้ ด้วยการหลับตาเอาใจนิ่งๆ ไว้ที่ศูนย์กลางกาย แล้ว สัมมา อะระหัง บ่อยๆ สุดท้ายสิ่งนี้จะเกิดขึ้นกับเรา แล้วนำพลังที่ยิ่งใหญ่ นำความสำเร็จมาสู่ชีวิตของเรา
 
รับชมวิดีโอ
 

รายการวิดีโอที่เกี่ยวข้อง

ทันโลกทันธรรม
 
บทความที่เกี่ยวข้องพายุ การตั้งชื่อพายุ สนุกกับพายุ จากรายการทันโลก ทันธรรม
 
" /> " /> " /> " /> " /> " /> " /> " /> " /> " /> " /> " /> " /> " /> " /> " /> " /> " /> " /> " /> " /> " /> " /> " /> " /> " /> " /> " /> " /> " /> " /> " /> " /> " /> " />
" /> 


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
พหูสูต ความรู้ คู่ คุณธรรม!พหูสูต ความรู้ คู่ คุณธรรม!

แม่เสือสอนลูก-ทันโลก-ทันธรรมแม่เสือสอนลูก-ทันโลก-ทันธรรม

วิธีแก้ปัญหาน้ำท่วม-ข้อคิดรอบตัววิธีแก้ปัญหาน้ำท่วม-ข้อคิดรอบตัว



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

Review รายการ