เจ้าชายบะหมี่ กับ เจ้าหญิงมาลัย มารวย


[ 8 ต.ค. 2554 ] - [ 18275 ] LINE it!

ทบทวนฝันในฝัน วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ.2554
เจ้าชายบะหมี่ กับ เจ้าหญิงมาลัย มารวย
 
 
 
 
พลิกชีวิตด้วยบุญกฐิน
ตอน เจ้าชายบะหมี่ กับ เจ้าหญิงมาลัย มารวย
เรียบเรียงจากรายการโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา
 
กราบนมัสการพระเดชพระคุณหลวงพ่อที่เคารพอย่างสูงค่ะ
 
        ลูกชื่อ ธันยธร เกตุชมภู อายุ 40 ปี จบ ป.6 มีอาชีพร้อยพวงมาลัยส่งขายค่ะ ส่วนสามีของลูกชื่อ เมืองเพชร สุรารักษ์ อายุ 45 ปี จบ ป.4 เป็นคนงานทำงานในโรงงานทำเส้นบะหมี่มาตั้งแต่ 13 ปี จนถึงปัจจุบันค่ะ หลวงพ่อคะ ซีรี่ย์เกาหลีมีหนังเรื่อง “เจ้าหญิงวุ่นวายกับเจ้าชายเย็นชา” ส่วนเรื่องของลูกขอตั้งชื่อว่า “เจ้าชายบะหมี่ กับ เจ้าหญิงมาลัย มารวย” ซึ่งเรื่องราวจะรันทด สนุกสนาน หรือรื้อผังจนได้มากน้อยขนาดไหน มาติดตามกันเลยค่ะ
 
เจ้าชายบะหมี่ กับ เจ้าหญิงมาลัย มารวย, พลิกชีวิตด้วยบุญกฐิน
 
กัลฯเมืองเพชร สุรารักษ์ และ กัลฯธันยธร เกตุชมภู
 
        ว่าไปแล้ว ชีวิตของลูกลำบากและรันทดกว่าซินเดอเรลล่ามากเลยค่ะ เพราะตอนเด็กๆ ซินเดอเรลล่าไม่ต้องช่วยพ่อแม่เลี้ยงควายและตรากตรำทำนาเหมือนลูก แต่ทำอย่างไรได้ล่ะคะ ในเมื่อครอบครัวของลูกจน แถมพ่อแม่มีลูกถึง 7 คน ดังนั้นเมื่อลูกอายุ 15 ปีจึงต้องผละออกจากอ้อมอกแม่เดินทางเข้ากรุงเทพฯ มาเป็นคนรับใช้ช่วยเถ้าแก่เจ้าของโรงงานทอผ้าทำงานบ้านทุกอย่าง โดยต้องตื่นตั้งแต่ตีสาม เพื่อไปลากกระสอบข้าวซึ่งหนักมากๆ ขนข้าวมาหุงเลี้ยงคนงานในโรงงานจำนวน 500 คน ซ้ำร้ายต้องซักผ้าให้กับคนทั้งบ้านรวม 10 คน และต้องเลี้ยงลูกทั้ง 6 คนของเถ้าแก่ด้วย กว่าจะได้นอนก็สี่ทุ่มกว่า ซึ่งตอนมาทำงานที่นี่ใหม่ๆ ลูกได้แต่นอนร้องไห้คิดถึงแม่ แต่ลูกก็ต้องทน เพื่อแลกกับเงินเดือนเพียงเดือนละ 500 บาทที่ต้องส่งไปให้พ่อแม่ผู้ยากไร้ที่จังหวัดร้อยเอ็ด
 
        เมื่อลูกอายุได้ 19 ปี ก็ออกมารับจ้างเย็บผ้าในโรงงาน โดยมีรายได้เริ่มต้นแค่ 350 บาทต่อเดือน จนในปี พ.ศ.2535 เพื่อนรุ่นพี่ที่เย็บผ้าอยู่ด้วยกันได้ชวนลูกเข้าวัดพระธรรมกาย ซึ่งลูกก็ไม่ค่อยมีเงินทำบุญเหมือนผู้มีบุญท่านอื่นๆ กล่าวคือ พอเขายื่นซองทำบุญมาให้ ลูกก็ไม่มีเงินจะใส่ซอง จนรู้สึกอายเขาอยู่บ่อยๆ แต่แม้ลูกจะยากจนสักแค่ไหน ลูกก็อยากทำบุญสร้างพระธรรมกายประจำตัวมากค่ะ จึงพยายามเก็บเงินสร้างพระธรรมกายประจำตัวให้ได้เดือนละ 100 บาท และพอครบ 500 บาทก็นำมาทำบุญ ทำอย่างนี้มาเรื่อยๆ ต่อมาภายหลัง ลูกอยากจะรวยกว่านี้ จึงลาออกมาเข้าหุ้นกับเพื่อน 3 คน เปิดร้านรับเย็บผ้าเหมา แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ จนสุดท้ายต้องเลิกกิจการไป พร้อมกับมีหนี้สินค่าจักรเย็บผ้าที่ต้องชดใช้หลายหมื่นบาท จึงทำให้ลูกต้องกลับไปเป็นลูกจ้างเย็บผ้าเหมือนเดิม
 
        จนกระทั่งลูกได้แต่งงานในปี พ.ศ.2540 แล้วย้ายมาเช่าห้องแถวอยู่ และหลังจากคลอดลูกสาวคนแรกได้ไม่นาน ลูกก็เปลี่ยนอาชีพมาร้อยพวงมาลัยขายค่ะ กล่าวคือ หลังจากที่สามีรีบตื่นไปทำงานที่โรงงานทำเส้นบะหมี่ตั้งแต่ตีสี่ครึ่ง เมื่อเขากลับมาตอนสิบโมงเช้า ลูกก็ให้เขาขี่มอเตอร์ไซค์ไปซื้อดอกไม้ที่ปากคลองตลาดกับลูกทันที แล้วเอามาลองร้อยพวงมาลัยที่ 50 พวงก่อน และพอร้อยเสร็จก็ไปร้องเร่ขายตามที่ต่างๆ ในราคา 3 พวง 10 บาท ซึ่งลูกก็ขอร้องให้เขาช่วยซื้อค่ะ โดยบอกว่าจะเอาเงินมาเลี้ยงลูกที่ยังเล็ก แต่จนแล้วจนรอด ลูกก็ขายไม่หมด เหลือพวงมาลัยเน่าเต็มตะกร้าเลยค่ะ แม้ชีวิตของลูกจะรันทดหรืออับจนมากแค่ไหนก็ตาม แต่ตลอดสิบกว่าปีที่ผ่านมานี้ ลูกพยายามไปเติมบุญที่วัดโดยตลอด เราจะเอาเสื้อขาวใส่ถุงแล้วซ้อนมอเตอร์ไซค์ 4-5 คน มีสามีของลูกเป็นคนขับ ลูกน้อย 2 คนนั่งตรงกลาง ส่วนตัวลูกและลูกน้อยที่อยู่ในครรภ์ซ้อนปิดท้าย กว่าจะเดินทางจากย่านวรจักร ฝ่าแดดฝ่าฝนไปทำบุญถึงปทุมธานี เราก็โดนตำรวจเรียกแล้วเรียกอีกค่ะ แต่ด้วยความที่เราหมั่นมาเติมบุญนี้เอง ผลบุญได้ส่งให้พวงมาลัยของเราขายดีขึ้น จนสามารถเก็บเงินทำบุญทอดกฐินหนึ่งแสนแรกในชีวิตได้ในปี พ.ศ.2550 ค่ะ
 
         เมื่อได้ทำบุญแล้ว พวงมาลัยของลูกก็ขายดีขึ้นอย่างเหลือเชื่อ กล่าวคือ จากเดิมขายได้สัปดาห์ละ 1,000 - 2,000 บาท ก็เพิ่มเป็นสัปดาห์ละ 3,000 บาท จนครอบครัวของลูกเริ่มมีเงินเก็บเป็นกอบเป็นกำ ทำให้ปี พ.ศ.2552 เรามีเงินทอดกฐินกันอีกที่หนึ่งเอส และเมื่อทำบุญแล้ว พวงมาลัยของลูกก็ขายดีขึ้นอีกค่ะ เป็นสัปดาห์ละ 4,000 -5,000 บาท จนกระทั่งปี พ.ศ.2553 ครอบครัวของลูกมีเงินทอดกฐินกันถึงสองเอส และเมื่อทำบุญแล้ว รายได้จากการขายพวงมาลัยก็พุ่งไปถึงสัปดาห์ละ 7,000 บาทอย่างเหลือเชื่อ จนทำให้ในปี พ.ศ.2554 เป็นปีที่ครอบครัวของลูกมีเงินเก็บหนึ่งล้านบาทแรกในชีวิต ซึ่งเป็นเงินที่เกิดจากเงินเดือนหมื่นกว่าบาทของสามีที่ตรากตรำทำเส้นบะหมี่ด้วยความเหนื่อยยาก รวมกับเงินที่ได้จากการขายพวงมาลัยของลูก ซึ่งตลอดชีวิตของเราสองคน ไม่เคยมีเงินเก็บมากถึงขนาดนี้มาก่อน พวกเราตั้งใจไว้ว่าจะเก็บไว้ให้ลูกทั้ง 3 คนเรียนหนังสือ เพราะเราไม่อยากให้ลูกๆมีความรู้น้อย และไม่มีทางเลือกเหมือนกับเราสองคนค่ะ ซึ่งตอนนี้ ลูกคนโตอายุแค่ 13 ปี คนกลาง 10 ขวบ คนเล็กก็แค่ 2 ขวบกว่าเท่านั้นเองค่ะ
 
เจ้าชายบะหมี่ กับ เจ้าหญิงมาลัย มารวย, พลิกชีวิตด้วยบุญกฐิน
 
ครอบครัวนักสร้างบารมี ขอรื้อผังจน สร้างผังรวย ด้วยการสร้างทานบารมีอย่างสุดกำลัง
 
        แต่เมื่อลูกได้ทราบข่าวว่า ในปีนี้จะมีการทอดกฐินสร้างทุกสิ่ง ลูกก็อยากทำบุญนี้ขึ้นมาอย่างจับใจ จึงปรึกษากับสามีอยู่หนึ่งสัปดาห์ และในที่สุดสามีก็ยอมตกลง ซึ่งพอสามียอมตกลงทำบุญกฐินปีนี้ ลูกก็บอกกับลูกๆทั้ง 3 คนว่า “ลูกจ๊ะ...ครอบครัวของพวกเราลำบากยากจนมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย และพ่อกับแม่ก็พบกับความลำบากแสนสาหัสมาทั้งชีวิต แม่ขออนุญาตเอาเงินที่เราเก็บหอมรอมริบก้อนนี้ ทำบุญรื้อผังจนถาวรของครอบครัวของเรานะจ๊ะ แม้เงินก้อนนี้จะหมดไป ถึงเราจะจนลงกว่านี้ก็ไม่เป็นไร เราพร้อมจะจน เพราะตลอดชีวิตของเราจนกันมามากแล้ว แต่การที่เราจะได้ทำบุญเป็นประธานกองกฐินหนึ่งเอ็มนี้ ตั้งแต่เกิดมา เรายังไม่เคยทำกันเลย แม้ลูกจะไม่ได้เรียนสูงๆ แต่ด้วยเงินก้อนนี้ ลูกจะไปสูงกว่านั้น เพราะเราจะพากันไปดุสิตบุรี เราจะไปอยู่ด้วยกันที่นั่น เราจะรื้อผังจน และนับจากภพชาตินี้ไป เราจะไม่จนกันอีกแล้ว”
 
        เมื่อลูกอธิบายให้ลูกๆเข้าใจอย่างนี้ ลูกๆทั้ง 3 คนก็ปิดบัญชีส่วนตัวของพวกเขารวมกันได้ 27,000 บาท ร่วมทำบุญกับลูกด้วย และพอยายของเด็กๆรู้ ท่านก็น้ำตาไหลและร่วมบุญมากับพวกเรา 1,000 บาท พร้อมกับพูดว่า “กูขอเกาะพวกมึงไปด้วย” ลูกขอกราบเรียนหลวงพ่อว่า “พวกเราชนะแล้วค่ะ ชนะความตระหนี่ได้อย่างสมภาคภูมิเลยค่ะ”
 
กราบนมัสการด้วยความเคารพอย่างสูง
ธันยธร เกตุชมภู
 
อ่านรายละเอียด...
  
รับชมวีดีโอ
เจ้าชายบะหมี่ กับ เจ้าหญิงมาลัย มารวย

รับชมคลิปวิดีโอเจ้าชายบะหมี่ กับ เจ้าหญิงมาลัย มารวย
ชมวิดีโอเจ้าชายบะหมี่ กับ เจ้าหญิงมาลัย มารวย  MP3 ธรรมะเจ้าชายบะหมี่ กับ เจ้าหญิงมาลัย มารวย   Download ธรรมะเจ้าชายบะหมี่ กับ เจ้าหญิงมาลัย มารวย


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
ชีวิตก็เป็นอย่างนี้ ตอนที่ 19ชีวิตก็เป็นอย่างนี้ ตอนที่ 19

อานิสงส์ของการทำบุญทอดกฐิน ตอนที่ 1อานิสงส์ของการทำบุญทอดกฐิน ตอนที่ 1

ชีวิตก็เป็นอย่างนี้ ตอนที่ 20ชีวิตก็เป็นอย่างนี้ ตอนที่ 20



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

ช่วงเด่นฝันในฝัน