การฟื้นฟูสู่ความยั่งยืน จากรายการทันโลกทันธรรม


[ 18 พ.ย. 2554 ] - [ 18304 ] LINE it!

รายการทันโลก ทันธรรม

การฟื้นฟูประเทศ

การฟื้นฟูสู่ความยั่งยืน
 
การฟื้นฟูหลังน้ำท่วม 
 
มหาอุทกภัยปี 2554
 
">
     การฟื้นฟูสู่ความยั่งยืน
มหาอุทกภัยปี 2554 นี้ นับว่าร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย เพราะว่ามีน้ำท่วมใหญ่ตามลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ภาคเหนือไล่ลงมาตามสายน้ำจนมาถึงกรุงเทพและออกไปที่อ่าวไทย ทำให้มีจังหวัดที่ถูกน้ำท่วมเกือบ 30 จังหวัด พื้นที่การเกษตรเสียหายไปถึง 11 ล้านไร่ และมีผู้ได้รับความเดือดร้อนถึง 3 ล้านคน ในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิต ห้าร้อยกว่าคน มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ ประเมินค่าความเสียหายประมาณ 2 แสนล้านบาท จึงถึงเวลาแล้วที่พวกเราทุกคนจะต้องร่วมมือกันแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน แต่ก่อนที่จะไปสู่กระบวนการแก้ไขอย่างยั่งยืน เรามาศึกษาสาเหตุของน้ำท่วมใหญ่อย่างยั่งยืนกันก่อน
">
 
">
">

น้ำท่วมมีสาเหตุอยู่ 2 สาเหตุ สาเหตุแรกคือธรรมชาติ  สาเหตุที่สองคือมนุษย์

 
">
     ในแง่ของธรรมชาติเราต้องมองภูมิศาสตร์ของประเทศไทย เราอยู่ในเขตมรสุม ข้างบนมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ข้างล่างมีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เพราะฉะนั้นก็พร้อมที่จะเกิดมรสุม เกิดพายุโซนร้อน พายุไต้ฝุ่นอยู่ตลอดเวลา
">
 
">
     สาเหตุที่สองคือมนุษย์ ในเรื่องของวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของเราเปลี่ยนแปลงไป ประเทศไทยของเราอยู่ในเขตที่มีฝนเยอะ มีน้ำเยอะเป็นบางช่วง เพราะฉะนั้นประวัติศาสตร์ของเรา เรามีบ้านเป็นแบบใต้ถุนสูง ถ้าน้ำมาก็จะไปเร็ว เพราะใต้ถุนสูง ไม่มีอะไรขวางทางน้ำ แต่ปัจจุบันนี้บ้านเรือนเป็นแบบยุโรป คือติดพื้นดินซึ่งเป็นการขวางทางน้ำ
 
">
บ้านสมัยก่อนและปัจจุบัน 
 
ลักษณะบ้านในอดีตและปัจจุบัน
">
 
">
">
     นอกจากวิถีชีวิตของคนไทยที่เปลี่ยนไปแล้วนั่น ยังมีเรื่องของการตัดไม้ทำลายป่า ปกติต้นไม้จะทำหน้าที่ซับน้ำ พอต้นไม้น้อยลง ฝนตกลงมา ก็จะมีน้ำหลากสู่พื้นดินข้างล่าง ไหลเข้าไปตามแม่น้ำต่างๆ เอ่อล้นแม่น้ำออกมา ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่าต้นไม้มีน้อยทำให้น้ำหลากเร็ว
 
">
     นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการกำหนดผังเมืองรวม เช่น อยุธยาเป็นอู่ข้าว อู่น้ำ ไม่ใช่อู่รถ ไม่ใช่อู่เครื่องจักร เพราะฉะนั้นคำว่าอู่ข้าว อู่น้ำ มีความหมายว่า เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา พอนำมาสร้างเป็นนิคมอุตสาหกรรม คอนโคที่อยู่อาศัยก็ตามมา แรงงานกว่า 3 แสนเข้ามาจึงกลายเป็นการขวางทางน้ำไปในตัว  เพราะเขตอุตสาหกรรมต่างๆ นี้ไปอยู่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเดิมเป็นทางน้ำหลาก หรือที่เรียกว่า Floodplain คือพื้นที่ลุ่มที่น้ำจากแม่น้ำที่ล้นออกมาจะมาผ่านมาทางนี้แล้วจึงไหลลงสู่ทะเล  ในปัจจุบันนี้เราไม่มีวิธีการคำนวณ 100 year flood หรือการคำนวณจากน้ำท่วมใหญ่ 100 ปีที่ผ่านมา ว่า 100 ปีที่ผ่านมามีน้ำท่วมใหญ่แค่ไหน การคำนวณต่างๆ โครงสร้างของตึก ทางน้ำไหลต่างๆ ต้องวางแผนให้พร้อมรองรับ ซึ่งจะทำให้มีโอกาสเกิดน้ำท่วมเพียงแค่ 1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ถ้าท่วมก็ไม่เดือดร้อนมาก แต่ประเทศเราไม่ได้มีการวางแผนเอาไว้เลย ใครอยากสร้างอะไรก็สร้าง สร้างขวางทางน้ำไว้หมดเลย
 
">
     ในวิกฤตน้ำท่วมนี้เราก็จะได้โอกาสที่จะมองภาพรวมแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน ในบางประเทศเขาวางแผนไปในระดับพันปี บางประเทศก็ร้อยปีอย่างมาเลเซีย ซึ่งเราก็ต้องไปดูประวัติศาสตร์ว่าเราจะวางแผนอย่างไรซึ่งก็ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญมาดูแล เช่น การป้องกันน้ำท่วมในระดับชุมชน การล้นของแม่น้ำ ลักษณะเขื่อนควรจะเป็นอย่างไร
 
">
      คำว่าน้ำท่วม 100 ปี ไม่ใช่ว่ามันจะท่วมใหญ่ทุกๆ 100 ปี แต่หมายความว่าโอกาสที่จะเกิดขึ้นถ้าเราวางแผนป้องกันไว้ 100 ปี โอกาสที่จะเกิดขึ้นก็แค่ 1 เปอร์เซ็นต์ แต่ไม่ได้หมายความว่าปีหน้าน้ำจะไม่ท่วม เพราะฉะนั้นก็ต้องเตรียมการให้พร้อม
 
floodway  
 
">
Floodway ที่ประเทศแคนาดา
">
 
">
      ในส่วนของการระบายน้ำ คู คลองต่างๆ ทั้งถนนที่ไปสร้างทับคลองทั้งหลายก็ควรจะมีการวางแผนขุดเจาะให้เป็นทางน้ำผ่าน พื้นที่ไหนควรจะเป็น Floodway เป็น Floodplain ในเรื่องของ Floodway นี้มีมานานแล้ว เช่น ที่แคนาดา เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมทำให้มียอดผู้เสียชีวิตกว่าร้อยคน จึงได้มีการสร้างทางน้ำท่วมหรือ Floodway ซึ่งเป็นการขุดหลุมลงไปความยาว 47 กิโลเมตร ซึ่งตอนนั้นน้ำที่ท่วมคือน้ำจากแม่น้ำแดง ซึ่งทางน้ำผ่านนี้สร้างตั้งแต่ปี 1967 มีมากว่า 40 ปีแล้วและใช้งานไปกว่า 20 ครั้งแล้วจากเหตุการณ์น้ำหลาก ป้องกันความเสียหายได้หลายแสนล้านเลยทีเดียว ด้วยงบประมาณการสร้างพันกว่าล้านบาท ซึ่ง Floodway ของแคนาดานี้ สามารถระบายน้ำได้ 2,550 ลูกบาศก์เมตร ต่อวินาที หรือ 10 นาทีระบายได้หมดประเทศไทย
">
 
">
      
      ส่วนประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่มีลักษณะของพื้นที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล และบางพื้นที่ก็สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1 เมตร ถ้าน้ำทะเลหนุนเมื่อไหร่ก็มีโอกาสที่จะท่วมได้ทันทีเพราะที่เนเธอแลนด์น้ำทะเลหนุนที 5 เมตร ด้วยเหตุนี้เนเธอร์แลนด์จึงสร้างเขื่อนกั้นน้ำ จากนั้นจึงได้เกิดเดลต้า เวิร์ค ซึ่งเป็นโครงการก่อสร้างชุดใหญ่ที่บริเวณปากแม่น้ำ Rhine-Scheldt  ประเทศเนเธอร์แลนด์  เพื่อกั้นการท่วมของน้ำทะเล 
 
">
Delta Works 
 
Delta Works
">
 
      โครงการประกอบไปด้วยการสร้างเขื่อน ประตูปิดเปิดน้ำ ที่กั้นเขื่อน  การก่อสร้างเริ่มตั้งแต่ปี 1950 ถึงปี 1997 เป็นการสร้างเขื่อน 3 ชั้น แล้วมีประตูระบายน้ำในแต่ละชั้น ประกอบด้วยโครงการย่อยทั้งสิ้นถึง 16 โครงการ มีทั้งที่เป็นเขื่อน พนังกั้นน้ำ ประตูระบายน้ำ และกำแพงกันคลื่น โดยส่วนที่เป็นเขื่อนจะทำหน้าที่กั้นน้ำทะเลและแม่น้ำออกจากกัน ซึ่งนอกจะส่งผลดี เพราะตัวชายฝั่งรับน้ำถูกเลื่อนให้อยู่ไกลจากพื้นที่ ที่อยู่อาศัยแล้ว น้ำส่วนที่อยู่ด้านในเขื่อนยังเป็นน้ำสะอาด ซึ่งสามารถใช้ในการเกษตรได้
ในขณะที่ส่วนที่เป็นประตูระบายน้ำ ไม่ได้ทำการปิดกั้นน้ำทะเลจากการไหลสู่แม่น้ำด้านในอย่างถาวร แต่จะปิดประตูเฉพาะเวลาที่มีคลื่นลมแรง ซึ่งเสี่ยงต่อภาวะน้ำทะลักเข้าสู่บริเวณที่อยู่อาศัยได้เท่านั้น ที่เป็นเช่นนี้ ก็เนื่องจากว่าจะทำให้ชาวประมงที่ดำรงชีพด้วยการจับปลาทะเล สามารถทำอาชีพดั้งเดิมได้
">
">
 
">
">
">
     การฟื้นฟูประเทศเป็นเรื่องใหญ่ ทำอย่างไรถึงจะฟื้นฟูได้อย่างมีประสิทธิภาพและนำประเทศไทยไปสู่ความเจริญได้อย่างยั่งยืน จึงอยากขอฝากหลักธรรมไว้หมวดหนึ่งในพระพุทธศาสนา คือหมวดธรรมที่เรียกว่าอปริหานิยธรรม 7 ประการ หรือธรรมที่ปฏิบัติแล้วจะไม่มีความเสื่อมเลย
 
">

อปริหานิยธรรม 7 ประการมีดังนี้

 
1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ คือต้องคุยกันบ่อยๆ
 
2. เมื่อประชุมก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุมก็พร้อมเพรียงกันเลิก และพร้อมเพรียงกันทำกิจที่สงฆ์พึงทำ หรือทำตามมติที่ประชุมนั่นเอง
 
3. ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่บัญญัติขึ้น ไม่ถอนสิ่งที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้แล้ว สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบทตามที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ หรือให้ทำตามกติกา ตามหลักตามเกณฑ์ของสังคม ประเทศชาติ ไม่เล่นนอกกติกา แต่ถ้าต่างคนต่างทำ มันจะกลายเป็นกติกาส่วนตัวซึ่งจะไม่ตรงกติกาคนอื่น จึงเกิดปัญหา
 
4. ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ใหญ่เป็นประธานในสงฆ์ เคารพนับถือภิกษุเหล่านั้น เชื่อฟังถ้อยคำของท่าน
 
5. ไม่ลุอำนาจแก่ความอยากที่เกิดขึ้น ไม่นำความอยากของตนเองเข้ามา ไม่ปล่อยให้ความต้องการส่วนตัวเข้ามาครอบงำ ให้คิดถึงแต่ส่วนรวม
 
6. ยินดีในเสนาสนะป่า คือแต่ละคนต้องรู้จักสงบจิตใจ ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถใช้สติปัญญาแก้ไขปัญหาได้อย่างเต็มที่
 
">
7. ตั้งใจอยู่ว่า เพื่อนภิกษุสามเณรซึ่งเป็นผู้มีศีล ซึ่งยังไม่มาสู่อาวาส ขอให้มา ที่มาแล้วขอให้อยู่เป็นสุข หมายถึงคนดีทั้งหลายถ้ายังไม่มาให้มา มาแล้วให้อยู่เป็นสุข คือ ไม่มีการขัดแข้งขัดขา เลื่อยขาเก้าอี้ เอาสถานการณ์นี้ล่มฝ่ายตรงข้ามให้ได้ อย่าไปทำอย่างนั้น แต่ให้มุ่งประโยชน์ภาพรวมของประเทศ
 
">
      อย่างเช่นอเมริกา เมื่อไหร่ที่เกิดวิกฤตขึ้นมาเขาจะรวมกันเป็นหนึ่งเดียวทันที ตอนเครื่องบินผู้ก่อการร้ายไปชนตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ รัฐสภาประชุมพิเศษ มีสมาชิกทั้งฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้านมายืนคล้องแขนกันร้องเพลงที่แสดงถึงความสามัคคีว่าจะเป็นหนึ่งเดียวกันเพื่อประเทศชาติ อีกตัวอย่างหนึ่ง สมัยรัฐบาลจิมมี่ คาร์เตอร์ สถานทูตอเมริกาในกรุงเตฮะราน ประเทศอิหร่านถูกนักศึกษาชาวมุสลิมยึด ใน พ.ศ. 2522 แล้วจับเจ้าหน้าในสถานทูตเป็นตัวประกันนานเป็นปี สุดท้ายจึงตัดสินใจส่งเฮลิคอปเตอร์พร้อมทหารเข้าไปจู่โจมแล้วช่วยตัวประกันออกมา ระหว่างดำเนินการตามแผน เกิดข้อผิดพลาด เครื่องบินของทหารหน่วยรบพิเศษชนกันเอง ถือเป็นการเสียหน้าของประเทศเป็นอย่างมาก หากฝ่ายค้านคิดจะเอาจังหวะนี้โค่นรัฐบาลก็สามารถไปอภิปรายโจมตีได้อย่างดี แต่ปรากฏว่าไม่มีใครหยิบเรื่องนี้มาอภิปรายเลย เพราะนั่นไม่ใช่การเสียหน้าของรัฐบาล แต่เป็นการเสียหน้าของชาวอเมริกันทั้งประเทศ ถ้ามัวมานั่งวิพากษ์วิจารณ์โจมตีกันประเทศก็จะยิ่งแย่กันไปอีก อายชาวโลกเขา ประชาชนรู้อยู่เต็มอก เลือกตั้งครั้งต่อไป จิมมี่ คาร์เตอร์ก็ไม่ได้  แต่ไม่ต้องเอาเรื่องนี้มาโจมตีกัน
">
 
">
ช่วยกันคนละไม้ คนละมือฟื้นฟูประเทศไทย ให้ก้าวไปหน้าสู่ความเจริญรุ่งเรืองให้ได้  
">
 
">
">
การฟื้นฟูประเทศสู่ความยั่งยืนต้องอาศัยความสามัคคีของคนทั้งชาติ
">
">
 
">
">
">
">
      เรื่องใดที่ทำดี ทำถูก ให้หนุนกันไป เพราะไม่ใช่สถานการณ์จะมาเอาชนะทางการเมืองแต่เป็นสถานการณ์ว่าจะเอาประเทศให้รอดได้อย่างไร ต้องเอาประโยชน์ที่ใหญ่กว่าคือประโยชน์ของประเทศชาติ ประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้งแล้วร่วมแรงร่วมใจกันทำงาน นี่คือ อปริหานิยธรรม ทั้ง 7 ข้อ ถ้าได้อย่างนี้ละก็กี่วิกฤตเราก็แก้ได้ ขอให้ใช้วิกฤตอุทกภัยนี้ให้เป็นประโยชน์
 
">
รับชมวิดีโอ
">
 
">

รับชมคลิปวิดีโอการฟื้นฟูสู่ความยั่งยืน
ชมวิดีโอการฟื้นฟูสู่ความยั่งยืน   Download ธรรมะการฟื้นฟูสู่ความยั่งยืน

รายการวิดีโอที่เกี่ยวข้อง

ทันโลกทันธรรม
 
">
บทความที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูสู่ความยั่งยืน
 
">

">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
 


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
วิธีสลัดเรื่องน้อยสาระออกจากใจวิธีสลัดเรื่องน้อยสาระออกจากใจ

พนักงานสำคัญที่สุด ลูกค้าเป็นอันดับสองพนักงานสำคัญที่สุด ลูกค้าเป็นอันดับสอง

คิด พูด และทำ อย่างผู้ชนะคิด พูด และทำ อย่างผู้ชนะ



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

Review รายการ