จันทรุปราคา ประมวลภาพ แหงนหน้ามอง เดือนอีเกิ้ง


[ 11 ธ.ค. 2554 ] - [ 18271 ] LINE it!

 
 
จันทรุปราคา
 
หลายประเทศรวมทั้งไทย ได้ชมปรากฏการณ์ "จันทรุปราคา" หรือ เงามืดบดบังดวงจันทร์ โดยประชาชนในแต่ละพื้นที่เกือบทั่วโลก ให้ความสนใจแหงนหน้าดูปรากฏการณ์ดังกล่าวบนท้องฟ้า ซึ่งหากพลาดจะต้องรออีก 3 ปีข้างหน้า...
 
คืนวันที่ 10 ธ.ค. หรือวันรัฐธรรมนูญ จะเกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติจันทรุปราคาเต็มดวงนานกว่า 51 นาที โดยดวงจันทร์เริ่มเข้าเงามัว เวลา 18 นาฬิกา 33 นาที32 วินาที จากนั้นเริ่มเข้าเงามืด คราสบางส่วน เวลา 19 นาฬิกา 45 นาที 42 วินาที เริ่ม คราส เต็มดวง เวลา 20 นาฬิกา 6 นาที 16 วินาที กึ่งกลางคราสเต็มดวงเวลา 20 นาฬิกา 32 นาที 56 วินาที คราสเต็มดวงสิ้นสุด เวลา 20 นาฬิกา 57 นาที 24 วินาที ออกจากเงามืด คราสบางส่วนสิ้นสุด เวลา 23 นาฬิกา 17นาที 58 วินาที ออกจากเงามัว เวลา 00 นาฬิกา 30 นาที 00 วินาที จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งนี้ ทั่วประเทศไทยเห็นปรากฏการณ์ ได้ตั้งแต่ต้นจน สิ้นสุด รวมถึง พม่าอินเดีย ตะวันออกกลาง อัฟริกา รัสเซีย บางส่วน ยุโรปบางส่วน

ทั้งนี้ ไทยจะเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง นับเป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ครั้งสำคัญส่งท้ายปี 2554 และเป็นจันทรุปราคาเต็มดวงครั้งที่ 2 ของปี โดยดวงจันทร์จะเริ่มเข้าสู่เงามืดของโลกบางส่วนตั้งแต่เวลา 19.46 น. และเข้าสู่ช่วงจันทรุปราคาเต็มดวงตั้งแต่เวลา 21.06 – 21.57 น. ส่วนผู้ที่พลาดชมปรากฏการณ์จันทรุปราคาครั้งนี้ ต้องรอไปอีก 3 ปี เพราะจะเกิดขึ้นอีกครั้งในวันที่ 8 ตุลาคม 2557

จันทรุปราคา
 
จันทรุปราคา
 
จันทรุปราคา
 
จันทรุปราคา
 
จันทรุปราคา
 
จันทรุปราคา
 
จันทรุปราคา
 
จันทรุปราคา
 
จันทรุปราคา
 
จันทรุปราคา
 
จันทรุปราคา
 
จันทรุปราคา
 
จันทรุปราคา
 
จันทรุปราคา
 
จันทรุปราคา
 
จันทรุปราคา
 
จันทรุปราคา
 
จันทรุปราคา
 
จันทรุปราคา
 
จันทรุปราคา
 
จันทรุปราคา
 
จันทรุปราคา
 
จันทรุปราคา
 
จันทรุปราคา
 
***********************
 
จันทรุปราคาเต็มดวง! คนไทยได้ชม10ธ.ค.นี้ พลาดชม อีกครั้งปี57
 
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เผยช่วงค่ำวันที่ 10 ธ.ค.54 ชาวไทยจะได้ชมจันทรุปราคาเต็มดวงทั่วประเทศ หลังเกิดเมื่อช่วงกลางปีแล้วครั้งหนึ่ง…
 
วันที่ 7 ธ.ค.54 นายศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า จะเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงในประเทศไทยส่งท้ายปี 2554 ในวันที่ 10 ธ.ค.นี้ ซึ่งเป็นจันทรุปราคาเต็มดวงครั้งที่ 2 ในปี 2554 ของประเทศไทย โดยจันทรุปราคาครั้งที่ผ่านมา เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 16 มิ.ย.ที่ผ่านมา
 
สำหรับในวันที่ 10 ธ.ค.นี้ ดวงจันทร์จะเริ่มเข้าสู่เงามืดของโลก เป็นจันทรุปราคาบางส่วน ตั้งแต่เวลา 19.46 น. และเข้าสู่ช่วงจันทรุปราคาเต็มดวง ตั้งแต่เวลา 21.06-21.57 น. เป็นระยะจันทรุปราคาเต็มดวงยาวนานถึง 51 นาที ขณะที่ดวงจันทร์อยู่ในเงามืดของโลกเต็มดวงนั้น จะมองเห็นดวงจันทร์เป็นสีแดงอิฐทั้งดวง สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่าในทุกภูมิภาคของประเทศ ทางทิศตะวันออกสูงจากเส้นขอบฟ้าประมาณ 40 องศา
 
"หากพลาดชมจันทรุปราคาเต็มดวงคราวนี้ คนไทยต้องรออีก 3 ปี จึงจะได้ชมจันทรุปราคาเต็มดวงในประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง ในวันที่ 8 ต.ค.2557 และครั้งถัดไปในวันที่ 4 เม.ย.2558" นายศรัณย์ กล่าว
นอกเหนือจากนี้ คนไทยยังมีโอกาสเห็นจันทรุปราคาบนดาวพฤหัสบดี อีกหนึ่งปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันที่หาชมได้ยาก โดยปรากฏการณ์จันทรุปราคาบนดาวพฤหัสบดีในครั้งนี้ เกิดจากดวงจันทร์ไอโอของดาวพฤหัสบดีโคจรมาอยู่ในเงามืดของดาวพฤหัสบดี ทำให้คนบนโลกจะมองเห็นดวงจันทร์ไอโอเคลื่อนที่หายเข้าไปหลังดาวพฤหัสบดีในเวลา 18.12 น. และเคลื่อนที่ออกจากเงามืดของดาวพฤหัสบดีในเวลา 21.22 น.
 
ทั้งนี้การสังเกตปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงนั้น สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ส่วนปรากฏการณ์จันทรุปราคาบนดาวพฤหัสบดี ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เนื่องจากดาวพฤหัสบดีอยู่ไกลจากโลกมาก จึงต้องสังเกตการณ์ผ่านกล้องโทรทรรศน์ที่มีกำลังขยายตั้งแต่ 50 เท่า ขึ้นไปเท่านั้น
 
 
 
สำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับปรากฏการณ์ดังกล่าว สดร. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ เครือข่ายทางดาราศาสตร์ และหน่วยงานต่างๆ จัดกิจกรรมสังเกตการณ์ 2 จันทรุปราคาครั้งสำคัญ พร้อมถ่ายทอดสดผ่านเว็บไซต์ www.narit.or.th และจัดงานขึ้นในจังหวัดต่างๆ ได้แก่
 
1. เชียงใหม่ จัดขึ้นที่ สดร. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับสำนักบริหารจัดการงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2554 ตั้งจุดสังเกตการณ์และถ่ายทอดสดจันทรุปราคาเต็มดวง และจันทรุปราคาบนดาวพฤหัสบดี ณ บริเวณลานกิจกรรมหน้าอุทยานหลวงราชพฤกษ์ เชียงใหม่ พร้อมจัดกิจกรรมทางดาราศาสตร์สำหรับประชาชน อาทิ การนับถอยหลังการเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง การตั้งกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ พร้อมอุปกรณ์ทางดาราศาสตร์ให้ประชาชนได้ชมหลากหลายวัตถุท้องฟ้า แจกแผนที่ดาว และโมเดลทรงกลมท้องฟ้า
2. ฉะเชิงเทรา จัดที่โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฏิ์, โรงเรียนไผ่แก้ววิทยา, หอดูดาวบัณฑิต
3. เพชรบูรณ์ จัดที่โรงเรียนน้ำหนาววิทยาคม
4. พิษณุโลก จัดที่บริเวณดาดฟ้า ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
5. น่าน จัดที่ศูนย์การเรียนรู้ดาราศาสตร์และหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติน่าน องค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน
6. ลพบุรี จัดที่สมาคมดาราศาสตร์ไทย จัดกิจกรรมที่ลานพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
7. อุบลราชธานี จัดที่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
8. อุดรธานี จัดที่บริเวณดาดฟ้า ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
9. นครราชสีมา จัดที่สนามฟุตบอล มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, สนามฟุตบอล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
10. ขอนแก่น จัดที่อาคารศูนย์อาหารและบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
11. ภูเก็ต จัดที่บริเวณวงเวียนภิรมย์รัตน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
12. สงขลา จัดที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
 
 


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
รูปการ์ตูนวันสงกรานต์ รวมการ์ตูนน่ารักสำหรับส่งในวันสงกรานต์รูปการ์ตูนวันสงกรานต์ รวมการ์ตูนน่ารักสำหรับส่งในวันสงกรานต์

วิธีอยู่กับคนที่เราเกลียดวิธีอยู่กับคนที่เราเกลียด

ประมวลภาพความเสียหาย หลังพายุโซนร้อนวาชิ ถล่มฟิลิปปินส์ประมวลภาพความเสียหาย หลังพายุโซนร้อนวาชิ ถล่มฟิลิปปินส์



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

เรื่องเด่นทันเหตุการณ์