วัดไร่ขิง


[ 17 มิ.ย. 2556 ] - [ 18272 ] LINE it!

วัดไร่ขิง




วัดไร่ขิง
 
วัดไทย ในจังหวัดนครปฐม


                         โสตถิเปโหตุสัพธา       ขอจงผาสุขสวัสดิ์พิพัฒน์ผล
 
             วัดไร่ขิงงานปิดทองต้องมายล         แสนยิ่งใหญ่ในกระวนคนสามพราน
 
      สร้างโรงเรียนโรงพยาบาลงานกุศล       สร้างสะพานตัดถนนชนกล่าวขาน
 
           พระอุบาลีคุณูปมาจารย์             สร้างตำนานฝากไว้ให้แผ่นดิน
 
 
 
วัดไร่ขิง หรือ วัดมงคลจินดาราม
 
 
วัดไร่ขิง
พื้นที่แต่ก่อนเป็นไร่ขิงของชาวจีน
 
 
ประวัติความเป็นมาของวัดไร่ขิง
 
 
     วัดไร่ขิง สร้างในปลายสมัยรัชกาลที่ ๓ โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์พุ๊กเจ้าอาวาสวัดศาลาปูน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้เป็นอธิบดีสงฆ์ ๔ หัวเมือง แต่เดิมเป็นวัดราชตั้งอยู่ริมแม่น้ำนครไชยศรี ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม พื้นที่แต่ก่อนเป็นไร่ขิงของชาวจีน เมื่อวัดเกิดขึ้นจึงเรียกชื่อวัดตามกลุ่มชุมชนว่"วัดไร่ขิง" จนกระทั่งในราวปีพุทธศักราช ๒๔๕๖ สมเด็จพระมหาสมณะเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส เสด็จตรวจเยี่ยมวัดในเขตอำเภอสามพราน จึ้งได้ตั้งชื่อให้ใหม่ว่า"วัดคงคาราม" แต่คนทั่วไปยังคงนิยมเรียกกันว่าวัดไร่ขิงแม้ปัจจุบันจะตั้งชื่อใหม่ว่า"วัดมงคลจินดาราม" คนยังเรียกวัดไร่ขิงเหมือนเดิม
 
 
วัดไร่ขิง
กำแพงแก้วล้อมรอบอาคาร
 

อุโบสถวัดไร่ขิง


     พระอุโบสถวัดไร่ขิง มีกำแพงแก้วล้อมรอบ ตัวอาคารก่ออิฐถือปูนกว้าง ๔ วา ๒ ศอก ยาว ๑๒ วา หลังคาทรงไทยมุงกระเบื้องซ้อน ๒ ชั้น ชั้นลด ๓ ชั้น มีช่อฟ้าใบระกา หางหงส์และมุขยื่นหน้าหลัง หน้าบรรณตกแต่งด้วยไม้แกะสลัก ลงรักปิดทองประดับกระจกสีลายดอกพุฒตาล หันหน้าไปทางทิศเหนือซึ่งเป็นแม่น้ำนครไชยศรี เหนือกรอบประตูหน้าต่างตกแต่งด้วยลายปูนปั้น ลงรักปิดทองประดับกระจกผสมลายไทย จีนและฝรั่ง ลายกระเช้าดอกไม้แห่งความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งนิยมมากในสมัยปลายรัชกาลที่ ๓
 
 
วัดไร่ขิง
ภาพพุทธประวัติที่งดงามมากในอุโบสถวัดไร่ขิง


      ผนังพระอุโบสถวัดไร่ขิง แต่เดิมปล่อยว่าง ในสมัยพระอุบาลีคุณูปมาจารย์เป็นเจ้าอาวาสได้ให้ช่างเขียนภาพจิตรกรรม พุทธประวัติที่งดงามมาก รวมทั้งภาพการเผยแผ่พระพุทธศาสนาครั้งแรกในสุวรรณภูมิ ภาพพุทธคยาสถานที่ตรัสรู้ ภาพเจดีย์สามจิ ภาพนาคราชเอราปัต เป็นต้น ด้านหลังพระประธานเป็นภาพเมืองแก้ว ซึ่งอาจหมายถึงพระบรมมหาราชวังหรือกรุงเทพมหานคร เมืองที่เจริญรุ่งเรืองด้วยพระพุทธศาสนา
 
 
วัดไร่ขิง 
บานประตูและหน้าต่างด้านนอกเป็นภาพเทพยดา

 
     บานประตูและหน้าต่างด้านนอกตกแต่งด้วยลวดลายไทยประดับมุขเป็นภาพเทพยดาแซมอยู่ในลายก้านขดกนกยอดเปลว ฝีมือละเอียดชั้นครูที่น่าชื่นชมมาก บานประตูด้านหลังประดับมุขเป็นรูปสัตว์หิมพานต์ในวงกลม เช่น รูปกินรี หงส์ นาค และราชสีห์เป็นต้น บานประตูด้านในเขียนรูปเสี้ยวกลางหรือทวารบานแบบจีน  บานหน้าต่างด้านในเป็นทวารบานแบบไทย ใบเสมาสลักจากหินแกรนิตสีเขียวเข้มเป็นลายนาคสามเศียร ตรงกลางเป็นรูปทับทรวงและสร้อยสังวาลย์ ยอดพระเกี้ยวแบบเดียวกับใบเสมาวัดบวรนิเวศวิหารตั้งอยู่บนานย่อมุม                                              
 

พระประธานวัดไร่ขิง
พระประธาน วัดไร่ขิง งดงามสง่าแบบพระสมัยสุโขทัย


พระพุทธรูปเชียงแสนสมัยสุโขทัย


     เนื่องจากมีผู้มาทำบุญอยู่ ตลอดเวลาทางวัดจึงสร้างหลังคาคุ้มแดด คุ้มฝนค่อนข้างถาวรไว้ แม้จะลดความงามของพระอุโบสถลงไปบ้างก็ตาม พระประธานเป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ พระวรกายงดงามสง่าแบบพระพุทธรูปเชียงแสน แต่สังฆาฏิ จีวรและพระหัตถ์ เหมือนพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย พระพักตร์ออกสี่เหลี่ยม พระเนตรหลบต่ำ พระสพละม้ายไปทางสมัยอู่ทอง รูปแบบพุทธศิลป์ต่างยุคสมัยกันเช่นนี้ สันนิษฐานกันว่าเดิมเป็นพระพุทธรูปที่อัญเชิญมาจากภาคเหนือ  มาไว้ที่หน้าวัดศาลาปูนแต่เนื่องจากเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่พระเศียรชำรุด มาก  จึงได้ทำการซ่อมแซมเมื่อแล้วเสร็จได้อัญเชิญใส่แพล่องมาเป็นพระประธานที่วัด ไร่ขิง ต่อมาที่วัดไร่ขิงก็ได้มีการซ่อมแซมโดยเฉพาะพระเศียรและพระสพขึ้นใหม่อีก และจัดให้มีการปิดทองทุกปี

 
ับชมวิดีโอ
 
 



Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์ฝึกอบรมเยาวชนจังหวัดนครราชสีมาศูนย์ฝึกอบรมเยาวชนจังหวัดนครราชสีมา

การบวชในพระพุทธศาสนา ตอนที่ 1การบวชในพระพุทธศาสนา ตอนที่ 1

สัมโมทนียกถาสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เนื่องในวันคุ้มครองโลก 2556สัมโมทนียกถาสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เนื่องในวันคุ้มครองโลก 2556



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

พระพุทธศาสนา