แผลกดทับ สาเหตุและวิธีดูแลผู้ป่วยแผลกดทับ


[ 23 ก.ค. 2556 ] - [ 18270 ] LINE it!

แผลกดทับ




แผลกดทับ
เรียบเรียงมาจากรายการ สุขกาย สบายใจ ที่ออกอากศทางช่อง DMC
 
 
 
     หลายคนอาจจะไม่คุ้นหูกับคำว่า แผลกดทับ คืออะไร แต่สำหรับแพทย์พยาบาลหรือสำหรับบางคนที่มีญาติเป็นผู้ป่วยแผลกดทับ จะรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมากถ้าเหตุการณ์นี้


แผลกดทับ
 ระดับอาการของแผล
 

อาการแผลกดทับเป็นอย่างไร


      แผลกดทับ คือ บริเวณเนื้อเยื่อหรือเซลล์ที่มีการตายเนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยง จากการถูกกดทับเป็นเวลานาน สำหรับส่วนที่พบแผลกดทับบ่อย คือ บริเวณเนื้อเยื่อหรือปุ่มกระดูก ที่พบส่วนมากคือบริเวณปุ่มกระดูกก้นกบ ตามตุ่ม และส้นเท้า เพราะโดยปกติทั่วไปเราจะชอบนอนหงาย แต่ที่มากที่สุด คือ บริเวณก้นกบสะโพก ต่อมาก็บริเวณสะบักทั้ง 2 ข้าง ส้นเท้าทั้ง 2 ข้าง และบริเวณท้ายทอย สำหรับแผลที่เกิดกับผู้ที่นอนหงาย แต่สำหรับผู้ที่นอนตะแคงแผลกดทับที่เกิด คือ บริเวณด้านข้างของศีรษะ ปุ่มกระดูกบริเวณหัวไหล่ บริเวณข้อศอก ต้นขา ข้างเข่าด้านนอกและ ตาตุ่ม

     อีกสิ่งหนึ่ง คือ ผู้ที่เป็นเบาหวาน ไทรอยด์ หรือมีการบวมซึ่งจะขัดขวางการไหลเวียนเลือด อาหารที่ไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ เมื่อสารอาหารและออกซิเจนน้อยลงก็จะเกิดส่วนที่เป็นแผลกดทับได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะโลหิตจางก็ควรระวัง สำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาเกี่ยวกับด้านโภชนาการไม่ดีในผู้สูงอายุย่อมส่งผลด้วยเช่นเดียวกัน  เมื่อผู้ป่วยสูงอายุหรือผู้ที่มีอาการป่วยเรื้อรังทานอาหารได้น้อยลง ได้รับสาอาหารที่น้อยลงตามมา เพราะฉะนั้นความต้านทานของเนื้อเยื่อก็มีน้อยลง ยิ่งถ้าเกิดแผลกดทับแล้วก็จะหายยาก
 

แผลกดทับ
 ควรพลิกตะแคงและบริหารร่างกายสม่ำเสมอ
 

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดแผลกดทับ

 
 
แผลกดทับ
 ระดับท่านอนที่เหมาะสม
 

      สาเหตุที่ทำให้เกิดแผลกดทับและปัจจัยเสริม เป็นเรื่องของอายุของคนไข้ที่เพิ่มสูงขึ้นผิวหนังจะบางลง เพราะชั้นใต้ผิวหนังไขมันลดลง ความยืดหยุ่นน้อยลง เมื่ออายุเพิ่มขึ้นทำให้แรงถดถอยลง  การเคลื่อนไหวที่น้อยลงเพราะผู้สูงอายุบางท่านก็นอนไม่เปลี่ยนท่าก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง อีกสิ่งหนึ่งคือการมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน หรือ ไทรอยด์ก็เป็นอีกสาเหตุที่ส่งเสริม ถ้ามีการจำกัดการเคลื่อนไหว อย่างเช่น ผู้ที่บาดเจ็บจากอุบัติเหตุสาหัส กระดูกหัก ดึงถ่วงน้ำหนักไว้หรือมีการผ่าตัด สามารถเกิดแผลกดทับได้ง่าย
 
      สำหรับบางรายที่มีการทานอาหารน้อยลงได้สารอาหารไม่ครบทำให้เนื้อเยื่ออ่อนแอทำให้แผลที่เกิดขึ้นหายยาก  และสำหรับรายที่มีอาการบวมจะเกิดการขัดขวางการลำเลียงอาหารและออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ  และผู้ที่มีภาวะโลหิตจางเกิดจากการขาดตัวนำออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงเซลล์ก็สังผลให้เกิดแผลกดทับได้  ซึ่งปัจจัยส่วนใหญ่มาจากตัวผู้ป่วยที่เกิดจากภายในร่างกาย แต่กรณีจากภายนอกที่ส่งเสริม เกิดจากแรงเสียดทาน การลื่นไถล หรือมีแรงกดโดยตรงบริเวณปุ่มกระดูกก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดแผลกดทับ


การป้องกันการเกิดแผลกดทับ


 
แผลกดทับ
ที่นอนลมกันการเกิดแผลกดทับ
 

     การป้องกันที่สามารถทำได้ คือ ลดแรงกดที่บริเวณปุ่มกระดูก ซึ่งทำได้ 2 วิธี
 
1. การพลิกตะแคงตัว
 
2.ใช้อุปกรณ์เสริม 
 

     การพลิกตะแคงตัวเมื่อนอนเราหงายเกิน 2 ชั่วโมง เนื้อเยื่อจะเริ่มขาดเลือดไปเลี้ยง จึงควรจะเปลี่ยนท่าไปเป็นการนอนพลิกตะแคง  แต่การพลิกตัวช้าหรือเร็วก็ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวของผู้ป่วยและสภาพของที่นอน


วิธีการรักษาและดูแลผู้ป่วยแผลกดทับ

 

แผลกดทับ
หุ่นตัวอย่างการเป็นแผลกดทับ
 
 
      เมื่อเริ่มเกิดมีรอยแดงขึ้นมาให้หลีกเลี่ยงการต้องกดทับบริเวณนั้น หรือพลิกตะแคงผู้ป่วยบ่อยขึ้น ถ้าเป็นแผลตื้นที่สามารถรักษาได้ก็ให้ทำแผลได้ แต่ถ้าไม่แน่ใจควรจะมาหาหมอที่โรงพยาบาลจะดีกว่า  เพราะถ้าเป็นแผลกดทับที่ลึกควรอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ว่าจะใช้วิธีผ่าตัดหรือเลาะเนื้อที่ตายออกด้วยวิธีใด

     นอกจากนี้เราควรกระตุ้นให้ผู้ป่วยออกกำลังกายเท่าที่สามารถจะทำได้ เพื่อช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น  และควรเคลื่อนย้ายผู้ป่วยลงจากเตียงหรือที่นอนบ้างก็สามารถช่วยเรื่องการไหลเวียนเลือดเช่นกัน อีกสาเหตุ คือ เมื่อผู้ป่วยเริ่มทานอาหารได้น้อยลงควรหาอาหารเสริมมาเพิ่ม เพื่อให้ทานให้ครบ 5 หมู่เป็นการช่วยให้เนื้อเยื่อแข็งแรงและยังรักษาแผลให้หายเร็วขึ้นได้  ฉะนั้นเรื่องของการป้องกันเป็นเรื่องที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยและผู้ที่ดูแล
 
 
 
รับชมวิดีโอ
 
 


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
เด็กพูดจาหยาบคาย สาเหตุและวิธีแก้ไขเด็กพูดคำหยาบคายเด็กพูดจาหยาบคาย สาเหตุและวิธีแก้ไขเด็กพูดคำหยาบคาย

ปัญหาครอบครัว : เมื่อต้องเลี้ยงลูกคนเดียวปัญหาครอบครัว : เมื่อต้องเลี้ยงลูกคนเดียว

มะเร็ง รู้ทันโรคมะเร็งมะเร็ง รู้ทันโรคมะเร็ง



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

สุขภาพและวิธีการดูแลสุขภาพของนักสร้างบารมี