การพลิกตะแคงตัวผู้ป่วย


[ 29 ส.ค. 2556 ] - [ 18269 ] LINE it!

บทความสุขภาพ

การพลิกตะแคงตัวผู้ป่วย





การพลิกตะแคงตัวผู้ป่วย
เรียบเรียงมาจากรายการ สุขกาย สบายใจ ที่ออกอากาศทางช่องDMC

การพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยและการใช้อุปกรณ์เสริม 


อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม

1. หมอนเล็กนุ่ม
2. หมอนข้าง
3. หมอนใช้หนีบระหว่างขา
 

การพลิกตะแคงตัวผู้ป่วย
ควรพลิกตะแคงผู้ป่วยทุกๆ2 ชั่วโมง
 
 
     เราจะเห็นว่าผู้สูงอายุผิวบาง  เพราะฉะนั้นโอกาสที่จะเกิดแผลกดทับขึ้นได้ง่าย และผู้สูงอายุไม่ค่อยมีแรงที่จะเคลื่อนไหวได้สะดวก เมื่อนอนท่าไหนก็จะอยู่ท่านั้นตลอดเวลา บางครั้งเมื่อเราตื่นนอนขึ้นมาพบท่านก็ยังนอนอยู่ในท่าเดิม  ซึ่งบริเวณนั้นอาจจะเกิดแผลกดทับได้เนื่องจากการขาดเลือดไปเลี้ยง

     การพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยอย่างช้าที่สุดประมาณ 2 ชั่วโมง เพราะถ้าเซลล์ใต้ปุ่มกระดูกขาดเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่ออาจตายได้และเกิดเป็นแผลกดทับ  เมื่อคนไข้ที่นอนหงายนานเกินกว่า 2 ชั่วโมง อาจจะเกิดแผลกดทับที่ก้นกบง่ายขึ้น เพราะเป็นส่วนที่รับน้ำหนักทั้งหมดตามแรงโน้มถ่วงของโลก อีกบริเวณ คือ ส้นเท้าที่จะเกิดได้ง่าย เราต้องใช้หมอนนุ่มรองเท้าทั้งสองข้างเพราะสามารถลดแรงกดบริเวณส้นเท้า
 
 
การพลิกตะแคงตัวผู้ป่วย
สำรวจว่าส่วนไหนมีรอยแดงช้ำหรือไม่
 
 
     หลังจากนั้นให้ใช้หมอนข้างหนุนช่วงใต้เข่าไว้เพื่อไม่ให้ผู้สูงอายุรู้สึกเกร็งที่หลังเพื่อให้กล้ามเนื้อหลังหย่อนตัวลงและช่วยยกส้นเท้าให้สูงลอยจากพื้น  ซึ่งเป็นการจัดท่านอนสำหรับผู้สูงอายุที่นอนในท่านอนหงายและประมาณ 2 ชั่วโมงจึงมาเปลี่ยนท่านอนให้ผู้ป่วย แต่การพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยต้องดูลักษณะของเตียงด้วย  ถ้าเป็นเตียงแข็งมากต้องพลิกตัวบ่อยหรือถ้าน้ำหนักตัวของผู้สูงอายุมากก็ต้องพลิกก่อน 2 ชั่วโมง แต่ถ้าเป็นเตียงนุ่มหรือใช้อุปกรณ์เสริมอื่นๆช่วยเราอาจจะพลิกตัวผู้ป่วยช้ากว่า 2 ชั่วโมงได้
 

การพลิกตะแคงตัวผู้ป่วย

 
     การพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยท่านอนหงายต้องนำหมอนที่ใช้หนุนขาออกทั้งหมดก่อน จัดการผ้าปูที่นอนให้เรียบตึงทั้งสองด้าน  เพราะผ้าที่มีรอยย่นเมื่อผู้ป่วยพลิกตัวแล้วจะทำให้ผิวหนังเกิดรอยย่นและจะเกิดแผลกดทับได้ง่าย  จากนั้นใช้หมอนนุ่มเล็กวางไล่ตามปุ่มกระดูกทุกส่วน ตั้งแต่หัวไหล่ ต้นขา ปุ่มใต้เข่าและตาตุ่ม เพื่อป้องกันการกดทับมากเกินไป
 
 
การพลิกตะแคงตัวผู้ป่วย
 การพลิกตะแคงผู้ป่วยที่ไม่สามารถขยับร่างกายได้
 
 
      ในกรณีเตียงผู้ป่วยเล็กเมื่อพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยจะต้องขยับตัวผู้ป่วย ซึ่งถ้าผู้ป่วยสามารถขยับร่างกายได้ก็ให้ผู้ป่วยช่วยโดยการชันเข่าขึ้น  หลังจากนั้นเราก็ใช้วิธียกผ้าที่ปูนอน แต่สำหรับคนไข้ที่ไม่สามารถขยับร่างกายได้ เช่น คนเป็นอัมพาต เราต้องยกทั้งหมดแต่ต้องช่วยกัน 2 คนขึ้นไป โดยไม่ลากผู้ป่วยเพียงคนเดียว กรณีที่เตียงนอนใหญ่เราไม่จำเป็นต้องเลื่อนตัวผู้ป่วย แต่สามารถพลิกตัวผู้ป่วยได้ตามต้องการ การพลิกเพียงแค่จับหัวไหล่กับสะโพกผู้ป่วยแล้วค่อยพลิกตะแคงตัว
 
     หลังจากนั้นจัดร่างกายให้เข้าที่กับหมอนที่รองและใช้หมอนข้างรองด้านหลัง  ที่สำคัญต้องสำรวจปุ่มกระดูกต่างๆ  ที่สามารถเกิดแผลกดทับให้ทั่วและดูบริเวณต่างๆว่ามีรอยแดง  รอยถลอกหรือไม่ในทุกครั้งที่มีการพลิกตะแคงตัวผู้ป่วย  สำหรับเวลานอนกลางคืนให้ใช้อุปกรณ์เสริมเพื่อช่วย คือ ที่นอนลมหรือแผ่นเจลรอง ลดการกดทับปุ่มกระดูก ซึ่งสามารถช่วยได้มากขึ้น การป้องกันจึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย
 
 
 
รับชมวิดีโอ
 


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
วิธีรักษาฝ้า และยารักษาฝ้า ตอนที่ 1วิธีรักษาฝ้า และยารักษาฝ้า ตอนที่ 1

วิธีรักษาฝ้า และยารักษาฝ้า ตอนที่ 2วิธีรักษาฝ้า และยารักษาฝ้า ตอนที่ 2

วิธีรักษาฟันคุดวิธีรักษาฟันคุด



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

สุขภาพและวิธีการดูแลสุขภาพของนักสร้างบารมี