ความรู้เรื่องธรรมกาย


[ 29 ส.ค. 2556 ] - [ 18289 ] LINE it!

พระธรรมกาย

ความรู้เรื่องธรรมกาย

ธรรมกาย



- ธรรมกาย คือ อะไร
      ธรรมกาย  คือ กายแห่งการตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า   


- ในตัวของเรามีธรรมกายหรือไม่

      ธรรมกายมีอยู่ที่ศูนย์กลางกายในตัวของมนุษย์ทุกคน  


- ธรรมกายมีลักษณะอย่างไร
      มีลักษณะรูปเหมือนพุทธปฏิมากรแก้วใส ( พระพุทธรูปแก้วใส) มีเกตุดอกบัวตูม  ประกอบไปด้วยลักษณะมหาบุรุษ 32 ประการครบถ้วน


- ต้องประพฤติธรรมหมวดใด  จึงจะเข้าถึงธรรมกาย

      ต้องปฏิบัติไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ให้สมบูรณ์  พอถูกส่วนเข้า  ใจจะหยุด แล้วเห็นกายในกาย จนถึงธรรมกาย


- การปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงธรรมกาย  ต้องทำอย่างไร
      “เริ่มต้นจากการทำใจหยุดที่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ (ศูนย์กลางกายฐานที่ 7)  ซึ่งเป็นที่เกิด ดับ หลับ ตื่น ใจต้องหยุดตรงนี้ที่เดียว


      พอใจหยุดเข้ากลางเห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปํฏฐาน (ดวงปฐมมรรค) เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์  หยุดเข้ากลางอีก  ถึงดวงศีล  ดวงสมาธิ  ดวงปัญญา  ดวงวิมุตติ  ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ  เข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด  เข้ากลาง 6 ดวง  เข้าถึงกายต่างๆ คือ กายทิพย์  กายทิพย์ละเอียด  กายรูปพรหม  กายรูปพรหมละเอียด  กายอรูปพรหม  กายอรูปพรหมละเอียด  จนถึงกายธรรมโคตรภู ( ธรรมกาย )*  ” ดำเนินอย่างนี้ต่อไปจนถึงกายธรรมอรหัตละเอียดไปโดยลำดับ จนครบทั้ง 18 กาย  ดังนี้

1. กายมนุษย์
2. กายมนุษย์ละเอียด
3. กายทิพย์ 4. กายทิพย์ละเอียด
5. กายรูปพรหม 6. กายรูปพรหมละเอียด
7. กายอรูปพรหม 8. กายอรูปพรหมละเอียด
9. กายธรรมโคตรภู 10. กายธรรมโคตรภูละเอียด
11. กายธรรมพระโสดา 12. กายธรรมพระโสดาละเอียด
13. กายธรรมพระสกิทาคา 14. กายธรรมพระสกิทาคาละเอียด
15. กายธรรมพระอนาคา 16. กายธรรมพระอนาคาละเอียด
17. กายธรรมพระอรหัต 18. กายธรรมพระอรหัตละเอียด

                                                                                                           18 กาย

ภาพจากหนังสือ ทางมรรคผลนิพพาน รวมธรรมปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกาย พ.ศ.2525

 

- การเจริญสมาธิภาวนา  เพื่อการเข้าถึงธรรมกาย  เป็นสมถะ หรือวิปัสสนา
เป็นทั้งสมถะ และวิปัสสนา คือ ตั้งแต่กายมนุษย์ถึงกายอรูปพรหมละเอียด  เป็นขั้นสมถะ  ส่วนตั้งแต่กายธรรมโคตรภู  จนถึงกายธรรมอรหัตละเอียด  เป็นขั้นวิปัสสนา


- หลักฐานคำว่า “ธรรมกาย” มีอยู่ที่ใดบ้าง

ที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกมีอยู่ 4 แห่ง คือ
ทีฆนิกาย ปาฏิวรรค ( ฉบับบาลีสยามรัฐ ) เล่ม 11 ข้อ 55 หน้า 92
ขุททกนิกาย อปทาน ( ฉบับบาลีสยามรัฐ ) เล่ม 33 ข้อ 157 หน้า 284
ขุททกนิกาย อปทาน ( ฉบับบาลีสยามรัฐ ) เล่ม 32 ข้อ 139 หน้า 244
ขุททกนิกาย อปทาน ( ฉบับบาลีสยามรัฐ ) เล่ม 32 ข้อ 2 หน้า 20


      ส่วนในคัมภีร์พุทธศาสน์ของเถรวาท เช่น อรรถกถา ฎีกา เป็นต้น  มีคำว่า “ธรรมกาย” ปรากฏอยู่อีกมากมาย  และในส่วนของคัมภีร์พุทธศาสน์ของนิกายอื่น เช่น มหายาน เป็นต้น  ก็ปรากฏมีคำว่า “ธรรมกาย” อยู่มากมายเช่นเดียวกัน

* สาระสำคัญพระธรรมเทศนา พระมงคลเทพมุนี( สด จนฺทสโร) จากเรื่อง “รัตนสูตร : ธรรมรัตนะ” หน้า 111

เรียบเรียงโดย พระณรงค์ ทนฺตจิตฺโต และวัลลภา เหล่าขวัญสถิตย์
อ้างอิงจาก : กองวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย, MD 102 สมาธิ.
 

บทความที่เกี่ยวข้องกับธรรมกาย



Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
ความรู้เรื่องธรรมกายความรู้เรื่องธรรมกาย

ความหมายของกายในคำว่าธรรมกาย ตอนที่ 2ความหมายของกายในคำว่าธรรมกาย ตอนที่ 2

ความหมายของกายในคำว่าธรรมกายความหมายของกายในคำว่าธรรมกาย



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

ธรรมกาย