อาเซียนในเวทีโลก


[ 30 ต.ค. 2556 ] - [ 18312 ] LINE it!

อาเซียน

อาเซียน 10 ประเทศ

บทบาทของอาเซียนในเวทีโลก

อาเซียน


นับตั้งแต่ก่อตั้งมา อาเซียนสถาปนาความสัมพันธ์ประเทศคู่เจรจากับประเทศต่างๆ ทั้งในทวีปเดียวกันและต่างทวีปหลายประเทศ ดังนี้คือ

     พ.ศ.2517 สถาปนาความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับประเทศออสเตรเลียเป็นประเทศแรก
     พ.ศ.2518 สถาปนาความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับประเทศนิวซีแลนด์
     พ.ศ.2520 สถาปนาความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับประเทศญี่ปุ่นหลังจากมีความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการกันมาตั้งแต่ พ.ศ.2516
     พ.ศ.2520 สถาปนาความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป
     พ.ศ.2534 สถาปนาความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับประเทศจีนและเกาหลีใต้
     พ.ศ.2535 สถาปนาความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับประเทศอินเดีย
     พ.ศ.2539 สถาปนาความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับประเทศรัสเซีย

อาเซียนกับออสเตรเลีย

     ออสเตรเลียเป็นประเทศศแรกที่ได้สถาปนาความสัมพันธ์กับอาเซียนในฐานะประเทศคู่เจรจาเมื่อ พ.ศ.2517 และดำเนินความสัมพันธ์อย่างราบรื่นมาโดยตลอด มีความร่วมมือกันในหลายๆ ด้าน เช่น การลงนามในปฏิญญาร่วมอาเซียน-ออสเตรเลียเพื่อต่อต้านการก่อการร้าย (ASEAN -Australia Joint Declaration for to Combat International Terrorism) เมื่อปี พ.ศ.2547 ความตกลงเรื่องเขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (ASEAN-Australia-New Zealand Free Trade Agreement: AANZFTA) เมื่อปี พ.ศ.2552 ออสเตรเลียเสนอให้มีการประชุมสุดยอดอาเซียน-ออสเตรเลียเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2553 เพื่อยกระดับความสัมพันธ์กับอาเซียนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

อาเซียนกับนิวซีแลนด์

      เดิมนิวซีแลนด์กับอาเซียนมีความสัมพันธ์ในฐานะผู้ให้และผู้รับ ต่อมาจึงสถาปนาความสัมพันธ์ในฐานะคู่เจรจากับอาเซียนเป็นลำดับที่สองต่อจากประเทศออสเตรเลีย อาเซียนและนิวซีแลนด์ร่วมมือกันในหลายๆด้านเช่นเดียวกับประเทศออสเตรเลีย เช่น การลงนามใน ปฏิญญาร่วมอาเซียน-นิวซีแลนด์เพื่อต่อต้านการก่อการร้าย (ASEAN-New Zealand Joint Declaration for Cooperation to Combat International Terrorism) เมื่อปี พ.ศ.2548 ความตกลงเรื่องเขตการค้าเสรีอาเซียน - ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (ASEAN-Australia-New Zealand Free Trade Agreement: AANZFTA) เมื่อปี พ.ศ.2552
 
    ประเทศไทยเสนอให้นิวซีแลนด์เข้ามามีบทบาทเรื่องการเชื่อมโยงในอาเซียนในด้านการเชื่อมโยงทางทะเล การพัฒนาเทคโนโลยีสะอาด และการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน โดยนิวซีแลนด์เสนอโครงการสำคัญเพื่อรองรับยุทธศาสตร์ต่างๆ ดังนี้ 4 โครงการ ได้แก่ โครงการให้ทุนนักศึกษาอาเซียน ปีละ 170 ทุน เป็นเวลา 5 ปี โครงการแลกเปลี่ยนนักธุรกิจรุ่นใหม่ โครงการจัดการภัยพิบัติ และโครงการแลกเปลี่ยนความรู้และแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านการเกษตร

อาเซียนกับญี่ปุ่น


     ญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์กับอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2516 และสถาปนาความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการ เมื่อปี พ.ศ.2520 ในฐานะที่ญี่ปุ่นเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งและผู้ลงทุนอันดับสองของอาเซียน จึงได้จัดตั้งศูนย์อาเซียน-ญี่ปุ่นเพื่อส่งเสริมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี พ.ศ.2523

      พ.ศ.2546 มีการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่นสมัยพิเศษ (ASEAN-Japan Commemorative Summit) เนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปี ความสัมพันธ์อาเซียนกับญี่ปุ่น
 
     นอกจากความรว่มมือทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจแล้ว ญี่ปุ่นนยังให้ความสำคัญกับการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม โดยจัดตั้งโครงการแลกเปลี่ยนเยาวชนระหว่างประเทศญี่ปุ่นและกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก (Japan East Network of Students and Youths: JENESYS) โดยเชิญเยาวชนจากประเทศในเอเชียตะวันออกมาแลกเปลี้ยนที่ญี่ปุ่นปีละประมาณ 6,000 คน ต่อเนื่องกันเป็นเวลา 5 ปี (พ.ศ.2550-2555)

อาเซียนกับแคนาดา

     แม้ว่าอาเซียนและแคนาดาได้สถาปนาความสัมพันธ์มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2520 ทว่าก็ประสบภาวะชะงักงันไปในปี พ.ศ.2540 เนื่องจากอาเซียนรับเมียนมาร์ (หรือชื่อเดิมในเวลานั้นคือพม่า) เข้าเป็นสมาชิก ซึ่งแคนาดาไม่เห็นด้วยและคว่ำบาตรพม่า เนื่องจากพม่าปกครองด้วยระบอบเผด็จการทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิเสธผลการเลือกตั้งที่พรรคฝ่ายค้านได้รับชัยชนะ รวมทั้งได้กักขังนางอองซาน ซูจี หัวหน้าพรรค มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน
 
    อาเซียนและแคนาดารื้อฟื้นความสัมพันธ์อีกครั้งในปี พ.ศ.2547 จนกระทั่งมีการจัดประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับแคนาดา [ASEAN Post Ministerial Conference (PMC)+1] ในปี พ.ศ.2552 โดยที่ประชุมให้ความเห็นชอบ ปฏิญญาร่วมว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนที่เพิ่มพูนระหว่างอาเซียนกับแคนาดา (Joint Declaration on the ASEAN-Canada Enhanced Partnership) ซึ่งเป็นแผนแม่บทในการดำเนินความสัมพันธืกันในอนาคต โดยประเทศไทยรับหน้าที่ประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-แคนาดาเป็นเวลา 3 ปี (พ.ศ.2552-2554)

     ปี พ.ศ.2553 ประเทศไทยจึงเป็นผู้ประสานงานเป้นเจ้าภาพจัดประชุมหารือระหว่างอาเซียนและแดนาดา (ASEAN-Canada Dialogue) ครั้งที่ 7 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส เพื่อหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นทางยุทธศาสตร์ทั้งในด้านการเมือง ความมั่นคง และเศรษฐกิจ

อาเซียนกับสหรัฐอเมริกา

     อาเซียนสหรัญอเมริกามีความสัมพันธ์เป็นทางการครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2520 ในระยะแรกสหรัฐอเมริกาเน้นการหารือและส่งเสริมด้านการเมืองและความมั่นคงกับอาเซียน ในขณะที่อาเซียนต้องการความช่วยเหลือด้านการพัฒนาและเศรษฐกิจ ปัจจุบันสหรัฐอเมริกายังคงให้ความสำคัญกับอาเซียนในด้านการเมืองเศรษฐกิจ และยุทธศาสตร์ โดยมีการแถลงวิสัยทัศน์ว่าด้วยความเป้นหุ้นส่วนที่เพิ่มพูนขึ้นเมื่อ พ.ศ.2548

     ระหว่างที่ไทยทำหน้าที่ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-สหรัฐอเมริกาอาเซียนและสหรัฐอเมริกาได้จัดทำ ปฏิญญาร่วมอาเซียน-สหรัฐอเมริกาเพื่อความร่วมมือในด้านการต่อต้านการก่อการร้ายระหว่างประเทศ (ASEAN-United States of America Joint Declaration for Cooperetion to Combat International Terrorism) ในปี พ.ศ.2545 รวมทั้งร่วมลงนามในความร่วมมือด้านเศรษฐกิจใน กรอบความตกลงการค้าและการลงทุน (ASEAN-US Trade and Investment Framework Arrangement-TIFA) ในปี พ.ศ.2549

     อาเซียนและสหรัฐอเมริกาจัดให้มีการประชุมผู้นำอาเซียน-สหรัฐอเมริกาครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2552 ที่ประเทศสิงคโปร์ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นในฐานะหุ้นส่วนในการเผชิญและร่วมมือกันแก้ปัญหาต่างๆ

อาเซียนกับสหภาพยุโรป

     สหภาพยุโรปถือเป็นคู่เจรจาอย่างไม่เป็นทางการของอาเซียนมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2515 ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาทั้งสองฝ่ายมีความร่วมมือกันในทุกด้านและเนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์อาเซียน ทั้งสองฝ่ายจึงจัดให้มีการประชุมสุดยอดสมัยพิเศษอาเซียน-สหภาพยุโรป (ASEAN-EU Commemorative Summit) เมื่อปี พ.ศ.2550 ที่สิงคโปร์

     ปัจจุบันสหภพาพยุโรปให้ความสำคัญกับอาเซียนมากขึ้น โดยในปี พ.ศ.2550 ทั้งสองฝ่ายได้รับรอง ปฏิญญานูเรมเบิร์กว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนที่เพิ่มพูนระหว่างสหภาพยุโรปกับอาเซียน (Nuremberg Declaration on an EU-ASEAN Enhanced Partnership) เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินความสัมพันธ์และความร่วมมือทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ ความมั่นคง สังคมและวัฒนธรรมในอนาคต

อาเซียนกับจีน

       อาเซียนกับจีนเริ่มมีความสัมพันธ์กันเมื่อปี พ.ศ.2534 และยกสถานะเป็นคู่เจรจาอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2549 มีความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิอในทุกด้านโดยเมื่อปี พ.ศ.2546 จีนเป็นประเทศที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ประเทศแรกที่แสดงความพร้อมในการลงนาม พิธีสารต่อสนธิสัญญาว่าด้วยเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Protocol to the Treaty on Southeast Asia Nuclear Weapon-Free Zone)

     ในด้านเศรษฐกิจ จีนก็เป็นประเทศแรกที่เสนอให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีกับอาเซียน ซึ่งมีผลสมบูรณ์ไปแล้วเมื่อปี พ.ศ.2553 (เฉพาะประเทศสิงคโปร์ อินโดนิเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บูรไน และไทย) และจีนเป็นแระเทศที่ 3 ที่ร่วมลงนามจัดตั้งศูนย์อาเซียนในประเทศของตน
 
     นอกจากนี้เมื่อปี พ.ศ.2553 อาเซียนกับจีนยังได้ลงนามในแผนพัฒนาร่วมกันในอนาคต โดยประเทศไทยได้เสนอแนะในเรื่องสำคัญ เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง และการปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินในเหตุการณ์ภัยพิบัติ เป็นต้น

อาเซียนกับเกาหลีใต้

     หลังจากสถาปนาความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ.2534 อาเซียนและเกาหลีใต้ได้ร่วมลงนามปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจเมื่อปี พ.ศ.2547 เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือที่รอบด้าน

     ต่อมาในปี พ.ศ.2552 อาเซียนและเกาหลีใต้ได้ลงนามจัดตั้งศูนย์อาเซียนเกาหลี ที่กรุงโซล เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้ารการค้า การลงทุน การท่องเที่ยวและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างกัน

     ในปี พ.ศ.2553 อาเซียเกาหลีใต้ได้ยกระดับความสัมพันธ์ด้วยการจัดทำปฏิญญาว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการเพื่อกำหนดทิศทางการส่งเสริมความร่วมมืออาเซียน-เกาหลีใต้ในอนาคต

อาเซียนกับอินเดีย

      อาเซียนกับอินเดียมีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ.2535 โดยมี เอกสารความเป็นหุ้นส่วนระหว่างอาเซียน-อินเดียเพื่อสันติภาพความก้าวหน้า และความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน (ASEAN-India Partnership for Peace, Progress and Shared Prosperity) ปัจจุบันอยู่ภายใต้แผนการปฏิบัติการ พ.ศ.2553-2558 โดยทั้งสองฝ่ายได้จัดตั้งกองทุนอาเซียน-อินเดียและได้ตั้งเป้าหมายขยายการค้าเป็น 700,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี พ.ศ.2555 อีกด้วย.
 
     นอกจากนี้อินเดียยังแสดงความพร้อมในการสนับสนุนการเชื่อมโยงระหว่างกันด้วยการขยายทางหลวงสามฝ่ายคือ ไทย-พม่า-อินเดีย ไปยังลาวและกัมพูชา รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาการเชื่อมโยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแก่ประเทศสมาชิกอาเซียนประเทศละ 100 ทุน เป็นระยะเวลา 5 ปีอีกด้วย

อาเซียนกับรัสเซีย

     อาเซียนและรัสเวียสถาปนาความสัมพันธ์ในฐานะคู่หารือ (Consultative Ralations) กับอาเซียนเมื่อปี พ.ศ.2534 และพัฒนามาเป็นคู่เจรจาเมื่อปี พ.ศ.2539 มีความร่วมมือกันในหลายๆด้าน เช่น ปฏิญญาร่วมอาเซียน-รัสเซียว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนเพื่อสันติภาพ ความมั่นคง ความมั่งคั่ง และการพัฒนาในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Joint Declaration of the Foreign Ministers of the Russian Federation and the Association of Southeast nations on Partnership for peace and Security, Prosperrity and Devolpment in the Asia-Pacific Region) ในปี พ.ศ.2546 แถลงการณ์ร่วมอาเซียน-รัสเซียว่าด้วยความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้าย (ASEAN-Russia Joint Declaration for Cooperation to Combat International Terrorism) นอกจากนั้นรัสเซียยังได้มอบเงินประมาณ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อจัดตั้งกองทุน ASEAN-Russia Dialogue Partnership Financial Fund: DPFF เพื่อใช้ดำเนินกิจกรรมความร่วมมือต่างๆอีกด้วย

อาเซียนกับสหประชาชาติ

     อาเซียนกับสหประชาชาติเริ่มต้นความสัมพันธ์กันเมื่อปี พ.ศ.2513 โดยเป็นความร่วมมือด้านวิชาการ ต่อมาสหประชาชาติพยายามส่งเสริมการเป็นหุ้นส่วนกับองค์กรระดับภูมิภาคทั่วโลก เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาระดับภูมิภาค

     อาเซียนและสหประชาชาติเคยจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหประชาชาติมาแล้ว 3 ครั้ง โดยครั้งล่าสุดจัดเมื่อปี พ.ศ.2553 ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้หารือกันในเรื่องความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสหประชาชาติ เพื่อช่วยให้ประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนา โดยเฉพาะการลดช่องว่างระหว่างประเทศสมาชิก รวมถึงการให้ความสำคัญเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทั้งในด้านสาธารณสุข การศึกษา และสิทธิมนุษยชน การป้องกันปัญหาอาชญากรข้ามชาติ การก่อการร้าย และยาเสพติด การเสริมสร้างศักยภาพประเทศสมาชิกอาเซียนในการปฏิบัติการรักษาสันติภาพและการบริหารจัดการภัยพิบัติ

อาเซียน+3=?

     เมื่อปี พ.ศ.2540 เกิดวิกฤติเศรษฐกิจทางการเงินขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงมีการประชุมผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซียนกับผู้นำของอีก 3 ประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เป็นครั้งแรกที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ประเทศมาเลเซีย ในเดือนธันวาคมปีเดียวกันนับแต่นั้นเป้นต้นมา จึงจัดประชุมสุดยอดอาเซียน+3 (ASEAN Plus Three) ในเดือนธันวาคมเป็นประจำทุกปี

อาเซียน+6=?

     ระหว่างการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น และอาเซียน+3 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.2549 ญี่ปุ่นเสนอให้จัดทำความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนกับ 6 ประเทศ (Comprehensive Economic Partnership in East Asia:CEPEA) ซึ่งเป็นเขตการค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียนกับประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ อาเซียนมีมติเห็นชอบตามข้อเสนอดังกล่าวในการประชุมสุดยอดอาเซียน ณ เมืองเซบู แระเทศฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2550 โดยจัดให้มีการประชุมครั้งแรก ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ระหว่าง 15-16 มิถุนายน พ.ศ.2550

คำนี้น่ารู้

     คว่ำบาตร (boycott) แปลว่า การที่ประเทศหนึ่งยุติการติดต่อกับอีกประเทศในด้านนใดด้านหนึ่ง เช่น การค้าการเมือง เพื่อเป็นการลงโทษ ต่อรอง ตักเตือน หรือแสดงความไม่เห็นด้วยต่อแนวทางหรือนโยบายของประเทศที่ถูกคว่ำบาตรนั้น

      ในภาษาอังกฤษ "Boycott" มีที่มาจากชื่อของ กัปตันชาร์ลล์ คันนิงแฮม บอยคอต เจ้าของที่ดินชาวไอร์แลนด์ ซึ่งเป็นคนแรกในโลกที่ถูกคว่ำบาตร เนื่องจากเขาไล่ผู้เช่าที่ดินทำกินออกไปอย่างไร้เมตตา ชาวบ้านจึงรวมตัวกันประท้วงไม่ยอมทำงานให้และไม่คบหาสมาคมกับครอบครัวนี้ ชื่่อของเขาจึงถูกนำมาใช้อย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นศัพท์เฉพาะจนถึงทุกวันนี้

      ส่วนคำว่า "คว่ำบาตร" ในภาษาไทยที่มาจากศาสนพุทธ ที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้พระสงฆ์สามารถมีมติลงโทษคว่ำบาตรอุบาสกอุบาสิกาได้ เพื่อให้มีสติสำนึกในความผิดที่กระทำต่อศาสนา การคว่ำบาตรในทางพระวินัยจึงถือเป็นการตักเตือนด้วยความปรารถดี โดยพระสงฆ์จะทำการคว่ำบาตรได้เฉพาะกับชาวพุทธเท่านั้น

บทความที่เกี่ยวข้องกับอาเซียน

 
คัดลอกจากหนังสือประชาคมอาเซียน โดย พัชรา โพธิ์กลาง

----- พบกันใหม่ในตอนต่อไป -----



Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
วันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม 2566วันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม 2566

รางวัลสุนทรภู่กวีอาเซียน 2556รางวัลสุนทรภู่กวีอาเซียน 2556

วันฮาโลวีน 31 ตุลาคม Halloween ประวัติวันฮาโลวีน วันฮาโลวีน 31 ตุลาคม Halloween ประวัติวันฮาโลวีน



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

ความรู้รอบตัว