FOMO โรคติดข่าวสาร


[ 2 ธ.ค. 2556 ] - [ 18273 ] LINE it!

FOMO : Fear Of Missing Out

FOMO โรคติดข่าวสาร
จากรายการทันโลก ทันธรรม ออกอากาศทางช่อง DMC
 
FOMO
ภาวะกลัวตกข่าว หรือ Fear Of Missing Out หรือชื่อย่อว่า FOMO

FOMO โรคติดข่าวสาร

     ในยุคปัจจุบันนี้ โซเซียลมีเดียกลายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันไปแล้ว เพราะทำให้เราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ง่าย สะดวก และกว้างขวาง รวมทั้งเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้ลึกและกว้าง ซึ่งบางคนก็ติดต่อจนเรียกว่าเสพติดโซเซียลมีเดีย จะกระวนกระวายใจถ้าไม่ได้เชคข้อมูล ไม่ได้อัพเดตเฟสบุคหรือทวิตเตอร์ของตนเอง หนักกว่านั้น ก่อนนอนก็ต้องเชค ถ้าท่านใดเป็นอย่างนี้คุณหมอฉัตรชัย มีคำแนะนำ

     มีอาการอยู่อาการหนึ่งคือ ภาวะกลัวตกข่าว หรือ Fear Of Missing Out หรือชื่อย่อว่า FOMO ภาวะกลัวตกข่าวนี้มีมานานแล้วตั้งแต่สมัยที่ยังไม่มีโซเซียลมีเดีย

     สมัยก่อนจะมีคนอยู่กลุ่มหนึ่ง คือมีงานไหนต้องงานนั้นตกข่าวไม่ได้เลย มีงานเลี้ยงที่ไหน มีอะไรที่ไหนก็จะต้องไปให้ได้ ทิ้งทุกอย่างเพื่อให้ได้ไป เพราะกลัวตกข่าว และกลัวว่าตัวเองจะถูกลืม เพราะฉะนั้นอาการนี้เป็นอาการที่มีมานานแล้ว

     จากการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ มีรายงานที่น่าตกใจอยู่ชิ้นหนึ่ง เขาพบว่าในกลุ่มของคนใช้โซเซียลมีเดีย 56% มีอาการของการกลัวตกข่าวคือ ไม่สามารถเลยที่จะไม่เชคข่าว มีการหยิบโทรศัพท์มือถือมาเชคอยู่บ่อยครั้งเกินไป

     ให้เราลองถามตัวเองดูว่าตอนตื่นเช้ามาสิ่งแรกที่เราเชคในตอนเช้าคืออะไร คำตอบคือสมาร์ทโฟน ลองถามกับตัวเองอีกว่าสิ่งสุดท้ายที่เราเชคก่อนนอนคืออะไร คำตอบก็ยังเป็นสมาร์ทโฟนอีกแสดงว่าเราเป็นโรค FOMO ไปแล้ว

แล้วอาการกลัวตกข่าวนี้มีผลต่อจิตใจหรือสุขภาพจิตเราหรือไม่

     สิ่งเหล่านี้ส่งผลร้ายหรือผลเสียโดยที่เราแทบจะไม่รู้ตัว แต่บังเอิญเป็นกันทั่ว ทั้งในกลุ่มเพื่อน ก็เลยดูเหมือนเป็นเรื่องปกติ ความจริงแล้วความสัมพันธภาพที่ล้มเหลวเริ่มต้นจากการที่คนเราไม่ใส่ใจกัน บางคนที่ถึงเวลาที่เขาต้องการการเอาใจใส่ ต้องการการสนใจสักนิดนึงว่าเกินอะไรขึ้นกับชีวิตเขา แต่สิ่งแรกที่เราทำคือหยิบสมาร์ทโฟนขึ้นมาดู

     อาการนี้เกิดขึ้นมากในกลุ่มวัยรุ่น แต่ก็ลามไปทุกเพศทุกวัยไม่จำกัด เพราะจากรายงานค้นพบว่าเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ประมาณ 51% ของบุคคลทั่วไปมีการใช้โซเซียลมีเดีย ใช้สมาร์ทโฟนเชคข้อมูลข่าวสารมากขึ้นถึง 51%

เราจะมีวิธีเลิกติดโซเซียลมีเดีย ลบอาการ FOMO ออกจากตัวได้อย่างไร

      1.    ให้คนที่ไว้ใจคอยเช็คโซเซียลมีเดีย เช่น เวลามีข่าวการนัดหมายอะไร ก็ค่อยให้เพื่อนมาแจ้งเราอีกที
      2.    ยกเลิกอินเตอร์เน็ตบนมือถือ หรือใช้เฉพาะ wifi เท่านั้น
      3.    ให้ความสำคัญกับคนที่อยู่ใกล้ตัว เพราะคนใกล้ตัวเรามีความสำคัญต่อชีวิตเรามากกว่าสมาร์ทโฟน
      4.    ออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้ง โดยปิดอุปกรณ์โซเซียลมีเดียทุกอย่าง

      และสุดท้ายทุกอย่างก็ขึ้นอยู่กับตัวเรา สิ่งที่สำคัญในชีวิตยังมีอีกมากมายไม่ใช่เฉพาะข่าวสารเท่านั้นที่เราตกไปแล้วเราเห็นเป็นเรื่องสำคัญ สิ่งที่เราไม่ควรตกเลยคือ การทำบุญ ทำคุณความดีนั่นเอง
 
 
วิธีแก้โรค FOMO
โดยพระมหาสมชาย ฐานวุฑฺโฒ

     FOMO นี่ก็ย่อมาจาก Fear Of Missing Out ถือเป็นโรคใหม่ที่เกิดขึ้นมาในสังคมยุคปัจจุบัน เพราะเรามีอุปกรณ์อิเลคทรอนิคติดตัวที่ทำให้เราสามารถเชื่อมต่อกับโลกทั้งโลกได้ ตัวสำคัญก็คือสมาร์ทโฟน  แท๊บเล็ต
    
     ถ้าเป็นสมัยก่อนเราจะเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตก็ต้องอาศัยเครื่อง PC ตั้งโต๊ะ พอยุคต่อมาก็เป็นโน็ตบุค แต่พอกลายมาเป็นสมาร์ทโฟนมันอยู่กับเราได้ตลอดเวลา ตรงนี้นี่เองทำให้เกิดโรค FOMO ขึ้นมา หรือการกลัวจะพลาดข่าวบางอย่างไป
 
FOMO
FOMO โรคติดข่าวสาร

วิธีทดสอบว่าเราเป็นโรค FOMO หรือเปล่า

     1.    ตื่นนอนปุ๊บต้องหาสมาร์ทโฟนก่อน ว่ามีใครส่งเมล์มามั้ย ส่งไลน์มารึป่าว ตื่นมายังไม่ทันล้างหน้าก็ต้องเช็คข่าวก่อน

     2.    เวลาคุยกับเพื่อนก็มักหยิบสมาร์ทโฟนมาเช็คเป็นระยะๆ จะทานข้าวก็ต้องหยิบสมาร์ทโฟนมาเช็ค บางทีขึ้นรถหรือเดินอยู่ก็ต้องหยิบขึ้นมาดูว่ามีข่าวอะไรหรือเปล่า ถ้าเป็นอย่างนี้ แสดงว่าเราเริ่มมีอาการแล้ว

      ในประเทศเกาหลี กลายเป็นปัญหาสังคมขึ้นมาแล้ว เหตุที่หยิบยกเกาหลีมาก่อน เพราะเป็นนโยบายรัฐบาลเกาหลีที่พยายามทุ่มการพัฒนาด้านไอที ระบบอินเตอร์เนตของเกาหลีนี่เร็วมาก เร็วกว่าอเมริกา ญี่ปุ่น และแพร่หลายครอบคลุมทั้งประเทศ เขาตั้งใจว่าจะเอาเทคโนโลยีไอทีนี่สร้างชาติ เพราะว่าเมื่อระบบเครือข่ายอินเตอร์เนตเร็วคนก็จะใช้เยอะ ทำให้ธุรกิจด้านไอทีพัฒนาเร็ว คนเกาหลีใช้สมาร์ทโฟนประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ของประชากร และใช้วันละ 8 ชั่วโมง
มีเด็กเกาหลีที่เข้าข่ายโรค FOMO 2 ล้าน 5 แสนคน จากประชากร 50 ล้านคน ทั้งๆ ที่สมาร์ทโฟนเพิ่งจะแพร่หลายในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา

     เราตายใจไม่ได้ ต้องเช็คตัวเองว่าเราทำท่าจะอยู่ในข่าวนี่หรือเปล่า เพราะมันส่งผลต่อชีวิตเยอะมากเลย นักเรียนเรียนหนังสืออยู่ก็หยิบสมาร์ทโฟนขึ้นมา สมาธิก็เสียแล้วไม่ได้อยู่เรื่องการเรียน เข้าที่ประชุมเดี่ยวก็หยิบสมาร์ทโฟนขึ้นมาดู เขาประชุมอะไรกันเราก็จะไม่รู้เรื่อง อยู่บนโต๊ะกินข้าวหยิบสมาร์ทโฟนขึ้นมาดู สมาธิก็เสีย สัมพันธภาพก็เสียหาย มันส่งผลต่อชีวิตทุกอนูเลย
 
FOMO
FOMO โรคติดข่าวสาร

ทำไมคนเราถึงติดสมาร์ทโฟนหรือแท็บเลต

      จริงๆ แล้วเราจะติดอะไร ถ้าทำบ่อยๆ มักจะติด เรื่องนี้ต้องมองแยก 2 อย่าง พอมีสมาร์ทโฟนแล้วก็มีแอฟพิเคชั่น พวกโซเซียลเน็ตเวิค เมืองไทยที่ฮิตมากก็ Facebook เมืองไทยมีคนใช้ Facebook 22 ล้านคน จากประชากร 60 กว่าล้านคน และอีกอันนึงคือ Line คนใช้เกือบ 20 ล้านคนแล้วเหมือนกัน

      ผลคือเมื่อเวลามีคนส่งอะไรเข้ามาก็อยากรู้ แล้วคนเราพอเกิดความอยากรู้ขึ้นมาก็จะลืมเรื่องอื่น สังเกตบางคนอยู่ในที่ประชุมเงียบๆ พอดีลืมปิดมือถือ เกิดเสียงดังขึ้นมา ทุกคนในห้องประชุมหันมามองหมดเลย แทนที่เจ้าตัวจะปิดเครื่อง กลับหยิบเครื่องขึ้นมาแล้วคุยและรีบออกจากห้องประชุมไป เพราะใจมันไปจดจ่อกับเรื่องการสื่อสารที่เข้ามา เรื่องกาลเทศะก็ลืมไปเลย
 
FOMO
FOMO โรคติดข่าวสาร

     เพราะฉะนั้น เมื่อมีแรงจูงใจว่ามีใครต้องการจะติดต่อเรา เราอยากรู้ ทำให้ต้องเปิดเช็คบ่อยๆ เมื่อเปิดบ่อยก็ติดเป็นนิสัย แม้ไม่มีใครเรียกเข้ามาก็หยิบมากด กดดูนั่น ดูนี่ไปเรื่อย เพราะมันติดไปแล้ว บางคนขับรถอยู่ยังกดข้อความส่งเลย แม้จะเสียงและอันตรายมากก็ทำ เพราะความเคย

แล้วเราจะจัดการอย่างไร

      หัวใจสำคัญคือเราต้องจัดการอย่าง Active คือเราเป็นผู้กระทำ ถ้าเมื่อไหร่เรามีปฏิสัมพันธ์กับเครื่องแบบ Passive คือเราถูกกระทำ ถูกสมาร์ทโฟน แท็บเลตบังคับเรา เมื่อนั้นเราแย่

แล้วจะเช็คอย่างไร ว่าเราใช้เครื่อง หรือเครื่องใช้เรา

     เราแบ่งข้อมูลข่าวสารออกเป็น 2 ส่วน

     1. ข่าวสารสาธารณะ เช่น ข่าวสารความเป็นไปของบ้านเมือง
     2. ข่าวสารส่วนตัว เช่น การแชทกับเพื่อน การอัพเดตสเตตัสในโซเซียลเน็ตเวิค เป็นต้น

      ทั้ง 2 ส่วน ถ้าเราเป็นฝ่ายใช้เครื่อง เราจะดูได้ว่าในกรณีข่าวสาธารณะ เราอยากรู้ข่าวเรื่องอะไรก็เข้าไปหาข้อมูล แต่ถ้าเราเป็นฝ่ายถูกกระทำ เหมือนถูกเครื่องบังคับ จะเป็นแบบแม้ไม่ใช่เรื่องที่เราอยากรู้ แต่เราถูกทำให้อยากรู้ เช่น มีโฆษณามาเราก็เข้าไปดู หรือเราตั้งใจจะเข้าไปหาข้อมูลอย่างหนึ่ง แต่ไปเจอหัวข้อหนึ่ง จึงเกิดความอยากรู้ขึ้นมาจึงเข้าไปดู เสร็จแล้วก็ไปเจอเรื่องโน้น เรื่องนี้โยงไปอีก 10 เรื่อง บางทีสิ่งที่อยากรู้ตั้งแต่ต้นยังไม่ค้นเจอเลย จนลืมไปเลยว่าอยากรู้เรื่องอะไร นั่นคือเราถูกกระทำให้อยากรู้ในเรื่องที่ไม่อยากรู้มาก่อน นั่นแสดงว่า เราเป็นฝ่ายถูกกระทำแล้ว ปล่อยไว้เดี่ยวจะแย่
 
FOMO
FOMO โรคติดข่าวสาร

      เราจะต้องใช้เครื่อง ใช้อุปกรณ์ไอที อย่างเป็นผู้กระทำ ฝืนเอาหน่อย พอเป็นนิสัยก็จะโอเค ส่วนข่า
วสารส่วนตัว ถ้าจัดเวลาได้ เช่น เลิกงานช่วงไหนที่เหมาะสม วันนึงครึ่งชั่วโมง หรือช่วงพักเที่ยง 15 นาที แต่ต้องเป็นเวลาที่เหมาะสม แต่ถ้าเกิดว่า 24 น. กลางคืนลุกมาเข้าห้องน้ำยังต้องหยิบขึ้นมาดู แล้วมานั่งแชทต่ออย่างนี้ไม่ใช่ แสดงว่าเราเป็นฝ่ายถูกกระทำแล้ว เป็นอาการของโรค FOMO : Fear Of Missing Out อย่างนี้ต้องปรับปรุงแก้ไข

      ลองหาเวลาที่ปิดอุปกรณ์สื่อสารทุกอย่าง แล้วหลับตานั่งสมาธิให้ใจนิ่งๆ วันนึงอย่างน้อยสักชั่วโมงจะเป็นช่วงที่เราปลอดโปร่ง โล่งจากเรื่องราวภายนอก แล้วเคลียร์ใจเราให้เกลี้ยง ให้โปร่งเบา แล้วหลับอย่างเป็นสุขทุกๆ วัน สัปดาห์หนึ่งหาเวลาไปวัด เคลียร์ใจให้เกลี้ยง สวดมนต์นั่งสมาธิ หรือหาเวลาไปปฏิบัติธรรมสัก 5 วัน เป็นระยะๆ ปีละครั้ง สองครั้ง สามครั้งก็แล้วแต่ ถ้าอย่างนั้นจะดีมากๆ ถ้าตั้งใจจริง เราจะแก้โรคติดข้อมูลข่าวสารได้ แล้วใช้อุปกรณ์ไอทีเสริมคุณภาพชีวิตเรา โดยเราเป็นผู้กระทำ

FOMO
 

รับชมคลิปวิดีโอfomo โรคติดข่าวสาร
ชมวิดีโอfomo โรคติดข่าวสาร   Download ธรรมะfomo โรคติดข่าวสาร


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
โครงการธุดงค์ธรรมชัยโครงการธุดงค์ธรรมชัย

กุศลกรรมบถ 10 ประการกุศลกรรมบถ 10 ประการ

ไสยศาสตร์? ไสยศาสตร์มีจริงหรือไม่ เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาหรือเปล่าไสยศาสตร์? ไสยศาสตร์มีจริงหรือไม่ เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาหรือเปล่า



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

Review รายการ