ฟันร้าว และการรักษาฟันร้าว ตอนที่ 1


[ 4 ม.ค. 2557 ] - [ 18271 ] LINE it!

ฟันร้าว การรักษาฟันร้าว

ฟันร้าว ตอนที่ 1
เรียบเรียงมาจากรายการ สุขกาย สบายใจ ที่ออกอากาศทางช่องDMC


ฟันร้าว การรักษาฟันร้าว

อาการฟันร้าว


     ฟันร้าว เป็นมหันภัยเงียบของช่องปาก เพราะไม่ค่อยมีอาการแสดงให้รับรู้ ซึ่งบางครั้งอาจจะไม่ทันในการป้องกันปัญหาที่แก้ไม่ได้ อาจทำให้เกิดการสูญเสียฟัน ที่เรียกว่าฟันร้าวเป็นมหันภัยเงียบในกรณีที่ฟันของคนไข้ทั่วๆไป ถ้ามีการชำรุดในลักษณะที่แตกออกไปทันตแพทย์ส่วนมากจะทำการซ่อมบูรณะทันที อย่างเช่น การล้ม การเกิดอุบัติเหตุ แต่ในกรณีที่เป็นฟันร้าวบางครั้งไม่มีอาการที่แสดงออกหรือบางครั้งมีอาการก็ไม่ตรงกับที่ที่เป็นฟันร้าว เช่น ฟันร้าวข้างล่างแต่ไปรู้สึกข้างบนแทน จะมีอาการเสียวฟัน อาการกัดแล้วรู้สึกเจ็บ บางครั้งอาการที่เกิดขึ้นเลยขั้นตอนไป อาการที่มักจะพบส่วนใหญ่เป็นช่วงที่ฟันร้าวที่ยาวนานและมีการขยายการร้าวเพิ่มขึ้นถึงจะพบอาการได้


สาเหตุการเกิดฟันร้าว


ฟันร้าว1

ปัญหาของการเกิดฟันร้าว


     ตั้งแต่เด็กฟันจะมีการสะสมแร่ธาตุแต่ในช่วงการพัฒนาของฟันที่จะขึ้นมาเป็นซี่ขึ้นมา  ถ้าไม่สมบูรณ์มีความผิดปกติของแร่ธาตุไปสะสมไม่สมบูรณ์ทำให้ฟันซี่นั้นเกิดอาการไม่แข็งแรง  เมื่อใช้งานไปอาจเกิดอาการฟันร้าวในภายหลังอีกอาการที่พบซึ่งสังเกตจากคนที่อายุประมาณ 40-50 ปี ที่จะมาพบทันตแพทย์เนื่องจากอาการเจ็บฟัน เสียวฟันและมาพบว่าเป็นฟันร้าวที่พบมากส่วนใหญ่จะเป็นฟันซี่ที่เรียกกันว่า ฟันซี่ 4 ซี่ 5 สาเหตุเพราะฟันตรงตำแหน่งนั้นจะมีปุ่มฟันสูงทั้งสองข้างและมีแอ่งตรงกลางลึกรากฟันที่จะกว้างออกเพื่อรับน้ำหนักของฟันซี่นั้น  กลายเป็นสอบเข้าเกิดความไม่สมดุลกันทำให้ฟันซี่นั้นเกิดอาการฟันร้าวเป็นส่วนมาก

      ซึ่งในกรณีนี้ส่วนมากจะทำการกรอฟัน เพื่อเอาชั้นผิวเคลือบฟันด้านนอกออก ลดความสูงของฟันและแรงกระแทก นอกจากนั้นการทานอาหารประเภทเปรี้ยว อาหารที่มีความแข็งก็ทำให้เกิดฟันสึกได้ เป็นการใช้งานเกินกำลังของฟัน ทำให้เกิดฟันสึกและบางลงเป็นที่มาของการเกิดฟันแตกร้าวได้ และการใช้ฟันที่ผิดประเภท เช่น การใช้ฟันเปิดขวด กัดของที่แข็ง หรือแม้กระทั่งการนอนกัดฟันก็เป็นที่มาของฟันร้าวเช่นเดียวกัน

ฟันร้าว1

การใส่ฟันปลอมก็เป็นสาเหตุของฟันร้าว

ปัญหาการเกิดฟันร้าว

    บางกรณีที่คนไข้มีฟันผุที่ค่อนข้างใหญ่ เมื่อพบทันตแพทย์อาจจะกรอแต่งเนื้อฟันที่กว้างเกินไป ทำให้เหลือเนื้อฟันที่หุ้มโดยรอบไว้บาง เมื่อใช้ไปเวลานานอาจทำให้ร้าว  ในรายที่ทำฟันปลอมก็เช่นกันถ้าฟันที่ทำไม่รับกันอย่างสมดุลเมื่อมีการขบเคี้ยวอาหารจะทำให้เกิดการกระแทกกับฟันเดิม  และเกิดฟันร้าวขึ้นอาการของฟันร้าวที่เป็นใหม่เราอาจแก้ไขเฉพาะจุดที่มีปัญหา 

     ถ้าลุกลามเข้าไปมากอาจจะต้องใช้วิธีที่มากกว่าการอุดฟันธรรมดา  เพราะบางครั้งการเกิดฟันร้าวไม่ได้เป็นเฉพาะส่วนของฟันแต่ลามไปจนถึงส่วนของเหงือกเมื่อใช้วิธีอุดฟันโดยทั่วไปก็ไม่เกิดผลที่ดีขึ้น  เพราะถ้าส่วนร้าวลงไปใต้เหงือกทำให้เครื่องมือที่จะแก้ไขทำได้ยากขึ้น  อาจจะต้องใช้วิธีพิมพ์นอกปากทำเป็นชิ้นงานมาปิดเข้าไปอีกทีหนึ่งเพื่อบูรณะส่วนนั้น  หรือถ้าจะเลือกเป็นวิธีการอุดฟันก็อาจทำการอุดเป็นชั้นส่วนที่อยู่ใต้เหงือกก็ใช้วัสดุที่กันน้ำไว้ใต้เหงือก

ฟันร้าว

ทำการอุดฟันที่มีปัญหาฟันร้าว 


    

บทความเกี่ยวกับสุขภาพปากและฟันฟัน

ฟันน้ำนมสำคัญไฉน ทำไมต้องมีการดูแลฟันน้ำนม


วิธีการรักษาฟันร้าวติดตามต่อได้ในครั้งหน้า


รับชมวิดีโอ


รับชมคลิปวิดีโอฟันร้าว (1)
ชมวิดีโอฟันร้าว (1)   Download ธรรมะฟันร้าว (1)



Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
ฟันร้าว และการรักษาฟันร้าว ตอนที่ 1 ฟันร้าว และการรักษาฟันร้าว ตอนที่ 1

ฟันร้าว2ฟันร้าว2

ฟันน้ำนมสำคัญไฉน ทำไมต้องมีการดูแลฟันน้ำนมฟันน้ำนมสำคัญไฉน ทำไมต้องมีการดูแลฟันน้ำนม



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

สุขภาพและวิธีการดูแลสุขภาพของนักสร้างบารมี