ลักษณะของพระบรมธาตุ


[ 8 ก.พ. 2557 ] - [ 18363 ] LINE it!

พระบรมธาตุ

ลักษณะของพระบรมธาตุ

ลักษณะของพระบรมธาตุ
 

ภาพประกอบใช้เพื่อการสื่อความหมาย

วรรณะ


     ผิวพรรณหรือวรรณะของพระบรมธาตุนั้น เมื่อสังเกตให้ดีจะเห็นว่าแตกต่างจากกวดทรายทั่วไป คือจะมีวรรณะงดงาม เปล่งปลั่งกว่า นำมาส่องกล้องจุลทรรศน์บางครั้งจะเป็นรุ้งสีทองแวววาวน่าชม บางครั้งมีละอองทองหรือเงินคล้ายกากเพชรหรือผงทองคำเปลวเกาะอยู่

รูปทรง


มีหลายลักษณะ

     -    เม็ดข้าวสารหัก
     -    เมล็ดถั่วแตก
     -    เมล็ดพันธุ์ผักกาด
     -    เม็ดกรวดเม็ดทราย
     -    ดอกมะลิตูม (สีพิกุล) (ในตำนานว่ามี 6 ทะนาน)
     -    แก้วมุกดา (สีผลึก) ในตำนานว่ามี 5 ทะนาน)
     -    ผงทองคำ (จุณ) (ในตำนานว่ามี 5 ทะนาน) อาจเรียกว่า สีทองอุไร (กิมซัว)
     -    รูปทรงอื่นๆ ที่ไม่ตรงตามตำราก็มี

ขนาด


      ขนาดเล็ก เท่าเมล็ดพันธ์ผักกาด มักมีสีเหลืองดอกมะลิตูม
      ขนาดกลางหรือค่อนข้างใหญ่ เท่าเม็ดข้าวสารหักกลาง มีสีเหมือนแก้วมุกดาหรือไข่มุก
      ขนาดใหญ่ ขนาดเมล็ดถั่วเขียวผ่ากลาง ถั่วเหลืองหรือถั่วมุคคะสีเหมือนทองคำหรือทองอุไร

สี (ทางกายภาพ)


     -    สีเนื้อแก้วใสงาม หรือเหมือนเพชร
     -    สีขาว
     -    สีดอกพิกุลแห้ง
     -    สีครึ่งขุ่นครึ่งใส
     -    เนื้อมัน สีต่างๆ
     -    เทา ดำเป็นมัน
     -    สีเขียวไข่นกการะเวก
     -    สีชมพุใส
     -    ขาวอมแดง แดงเป็นจุดหรือเป็นบริเวณ
     -    สีใส มีเกล็ดเงิน ทองมาเกาะ

พลังงาน

 
      วิมุตติธรรมจากองค์พระบรมธาตุหาใช่นามธรรมล้วนไม่ พลังงานที่กระจายออกจากพระบรมธาตุมีอยู่ตลอดเวลาและมีมากเป็นพิเศษในบางโอกาส ผู้มีจิตสะอาด สงบ สว่างถึง ระดับหนึ่ง จะสัมผัสกับพลังงานดังกล่าวได้ คุณประโยชน์ของวิมุตติธรรมจากองค์พระบรมธาตุนั้นมีมากมายมหาศาลอเนกอนันต์ หลวงปู่บุดดา ถาวโร พระอรหันต์แห่งสิงห์บุรีเคยกล่าวว่าวิมุตติธรรมอันเป็นของแท้นั้น จะว่าเป็นรูปธรรมก็ไม่ใช่ จะว่าเป็นนามธรรมก็ไม่ใช่ จะว่าเป็นนามธรรมก็ไม่ใช่ ตรงนี้สำหรับปุถุชนทั่วไปไม่ใช่ง่ายเลยที่จะเข้าใจ เพราะตามระบบการเรียนการสอนในยุคปัจจุบันนั้น ถ้าไม่ใช่รูปธรรมก็จะต้องเป็นนามธรรม ไม่ใช่นามธรรมก็จะต้องเป็นรูปธรรม ที่เป็นเช่นนี้เพราะความเข้าใจในเรื่องของธรรมจักร สูญญํ อนุสัยและอาสวะกิเลส รวมถึงความเข้าใจแยกแยะสมมุติวิมุตติ นั้นได้เสื่อมถอยลงไปมาก

รัศมี


      เกิดจากพลังธรรมจักร อันเป็นเหตุแห่งพระธาตุและหล่อเลี้ยงดำเนินเป็นธรรม (สมาบัติ) อยู่ภายในและรอบนอกขององค์พระธาตุ เมื่อมีเหตุการณ์สำคัญมีปฏิสัมพันธ์ หรือกระทบกับอธิษฐานบารมีของผู้มีบุญญาธิการวิมุตติธรรมอันเป็นธรรมหล่อเลี้ยงทุกอณูอยู่จะเหวี่ยงตัวสมาบัติรุนแรงขึ้นอย่างเป็นระเบียบ ปรากฏการแผ่รัศมีออกไปในวงกว้างกว่าเดิม เป็นแสงสีอันประณีต บางครั้งมีการเสด็จของพระบรมธาตุ พร้อมกับการแผ่รัศมีด้วยสีของรัศมีหรือฉัพพรรณรังสีที่ปรากฏมีหลายสี เป็นรัศมีที่ประณีตละเอียดอ่อนกว่าแสงสีใดในโลกรวมทั้งแสงสีที่มนุษย์สามารถประดิษฐ์ขึ้นมาไม่ว่าจะด้วยวิธีใดๆ ก็ตาม

ความสว่าง ความแรง หรือ momentum ของพลังงานที่หล่อเลี้ยงพระบรมธาตุขึ้นอยู่กับปัจจัยอะไรบ้าง


      1.    ธาตุสาวกกับพระบรมธาตุ : พระบรมธาตุจะสว่างกว่า มี momentum ของพลังงานสูงกว่าเพราะมีการสั่งสมบารมีมามากกว่า มีปฏิสัมพันธ์กับธาตุธรรมในจักรวาลต่างๆ มากมายหลากหลายลึกซึ้งกว่า มีความเป็นต้นกำเนิดหรือความดั้งเดิม (originality) สูงกว่า เพราะเป็นผู้ถ่ายทอดให้ธรรมจักรแก่พระสาวกอีกทีหนึ่ง)

      2.    ปริมาณขององค์พระธาตุ : ยิ่งมาก ยิ่งแรง ยิ่งสว่าง (โดยกำหนดให้ปัจจัยอื่นๆ คงที่)

      3.    จิตของผู้เคารพบูชา : หากมีศรัทธามากเคารพนอบน้อมซาบซึ้งมาก กระแสจิตจะไปกระทบกระตุ้นให้พลังงานศักย์ที่หล่อเลี้ยงแต่ละอณูของพระธาตุอยู่กระจายออกมาเป็นพลังงานจลน์มากกว่าผู้ศรัทธาน้อย

      4.    บารมีของผู้เคารพบูชาหรืออธิษฐาน : หากผู้บุชาหรืออธิษฐานต่อพระบรมธาตุมีบารมี (กำลังใจ) สูง จะมีปฏิสัมพันธ์และสัมผัสพลานุภาพของพระธาตุได้มากกว่า และมีโอกาสที่พระธาตุจะกระจายพลังรัศมี หรือฉัพพรรณรังสีออกมามากกว่า
 
รูปแบบ (format) ในการกระจายตัวของรัศมี

      กระจายออกจากศูนย์กลาง (องค์พระธาตุ) ไปโดยรอบ บางครั้งแสงรัศมีนั้นจะวนเวียนทักษิณาวัตร (เวียนขวา) รอบองค์พระเจดีย์จากล่างขึ้นบน บนลงล่าง วนรอบตัวผู้มีบุญญาธิการ
 
เหตุแห่งการเป็นพระบรมธาตุ
 
 
 
      พระอริยะหรืออริยบุคคลที่ปฏิบัติธรรมถูกหลักธรรมจักรฯ นั้น กายและใจของท่านจะได้รับการซักฟอก ชำระล้างด้วยวิมุติธรรม (ธาตุธรรมอันบริสุทธิ์แม้อยู่ระหว่างรูปกับนาม อยู่เหนืออนิจจังแห่งภพสาม) อนุสัย และอาสวะกิเลสทั้งหลายจะค่อยๆ ถูกขจัดออกไปจากส่วนต่างๆ ทั้งกายและใจ (ทุกส่วนของขันธ์ 5) ส่วนต่างๆ ที่ลมปราณเคยผ่านไปถึงจึงค่อยๆ กลายเป็นพระธาตุไป กล่าวอย่างย่อก็คือว่าจิตอันบริสุทธิ์ของพระอรหันต์นั้น มีอำนาจซักฟอกธาตุขันธ์ให้เป็นธาตุอันบริสุทธิ์ จึงเกิดเป็นพระธาตุได้ หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม วัดป่าอรัญวิเวก ต.บ้านป่า อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม พระอริยะสำคัญสายพระอาจารย์มั่นและเป็นสหายร่วมธุดงค์ของหลวงปู่แหวนสุจิณโณ ได้เคยกล่าวไว้ว่า “อำนาจตบะที่อริยบุคคลได้ตั้งหน้าบำเพ็ญเพียร เพื่อขัดเกลากิเลสนั้น มิได้แผดเผาชำระล้างเฉพาะกิเลสเท่านั้น หากแต่ได้แผดเผา ชำระล้าง ซักฟอกกระดูกในร่างกายให้กลายเป็นพระธาตุไปด้วยในขณะเดียวกัน”
 


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
บทบาทและความสำคัญของเจดีย์พระบรมธาตุบทบาทและความสำคัญของเจดีย์พระบรมธาตุ

ปัจจัยทางภูมิศาสตร์กับการสร้างเจดีย์พระบรมธาตุปัจจัยทางภูมิศาสตร์กับการสร้างเจดีย์พระบรมธาตุ

จำนวนองค์พระธาตุในเจดีย์จำนวนองค์พระธาตุในเจดีย์



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

พระพุทธศาสนา