จำนวนองค์พระธาตุในเจดีย์


[ 12 ก.พ. 2557 ] - [ 18270 ] LINE it!

พระบรมธาตุ

จำนวนองค์พระธาตุในเจดีย์
 
จำนวนองค์พระธาตุในเจดีย์
 

จำนวนองค์พระธาตุในเจดีย์

     เจดีย์พระบรมธาตุแต่ละแห่งจะบรรจุจำนวนองค์พระบรมในปริมาณที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ

     -    พุทธประสงค์ หรือ การอธิษฐานของพระพุทธเจ้า (เมื่อครั้งเสด็จมา ณ ที่นั่นๆ ) ว่าควรจะประดิษฐานพระธาตุของพระองค์ไว้ที่ใดมากน้อยเท่าใด จึงจะเหมาะสมและช่วยให้การกระจายวิมุตติธรรมของพระองค์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด นอกจากนี้ในช่วงที่ยังไม่หมด 5000 ปี แห่งศาสนาของพระพุทธโคตรมะ จำนวนพระบรมธาตุในแต่ละสถานที่อาจเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา โดยเป็นไปตามหลักความเหมาะสมในแง่ผลรวมของประสิทธิภาพหรือยุทธศาสตร์ในการแผ่กุศลธรรมของพระพุทธองค์และเหล่าอรหันตสาวกทั้งหลาย
 
     -    บารมีของผู้สร้างและเหล่าผู้สร้าง ถ้ามีบารมีสูง มีจิตบริสุทธิ์ มีวิมุตติธรรมสูง มีพลังธรรมจักรทรงอานาภพถูกส่วน ก็มีโอกาสได้พระบรมธาตุมาบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์มาก
 
    ตัวอย่างจำนวนองค์พระบรมธาตุที่บรรจุในเจดีย์สำคัญบางองค์

     -    วัดหน้าพระธาตุ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ 100 องค์
     -    พระธาตุบังพวน จ.หนองคาย 29 องค์
     -    วัดถ้ำพระ จ.อุดรธานี สาวกธาตุ 1600 องค์
     -    พระธาตุพนม รวม 253 องค์
     -    วัดศรีเกิด เชียงใหม่ 500 องค์
     -    วัดพระแก้วดอนเต้า ลำปาง เกศาพระพุทธเจ้า 4 พระองค์ รวม 164 เส้น
     -    วัดพระธาตุลำปางหลวง มีมากกว่า 84,000 องค์
     -    วัดหัวข่วงแก้ว อ.เมือง พะเยา 500 องค์

     การบูชาพระบรมธาตุให้ถูกวิธี ไม่ควรแยกแยะหรือแบ่งแยกว่าเจดีย์องค์นี้มีพระธาตุมากองค์เจดีย์องค์นั้นมีพระธาตุน้อยองค์ เพราะเพียงพระบรมธาตุ 1 องค์นั้น ถ้าบูชา อธิษฐาน ปฏิบัติจิตให้ถูกวิธีแล้ว จะมีอานุภาพมหาศาล มีคุณอเนกอนันต์เหลือคณานับ ดังนั้นผู้เข้าใจลึกซึ้งถึงความสำคัญ และอานุภาพแห่งพระบรมธาตุ เช่น อริยสงฆ์ อริยบุคคล หรือกษัตริย์มหาราชทั้งหลายในอดีตกาลจึงไม่ลังเลหรือย่อท้อเลย ที่จะเดินทางเป็นร้อยเป็นพันกิโลเมตร เพื่อไปกราบนมัสการ อธิษฐานบารมีต่อองค์เจดีย์พระบรมธาตุ แม้ว่าเจดีย์นั้นจะบรรจุพระบรมธาตุไว้เพียงองค์เดียวเท่านั้นด้วยเหตุที่พระบรมธาตุเป็นสิ่งสูงสุดอันหาได้ยากยิ่ง และมีน้อยมาก เมื่อเทียบกับสสารทั้งหลายในจักรวาล

ตำแหน่งที่ประดิษฐานองค์พระธาตุในเจดีย์

      เจดีย์พระธาตุที่สร้างในสมัยโบราณ ตั้งแต่สมัยพระเข้าอโศกมหาราชเป็นต้นมานิยมประดิษฐานพระบรมธาตุไว้ใต้ฐานพระเจดีย์เพราะมั่นคงปลอดภัย คือถ้าส่วนบนของเจดีย์พังลงมาก็ไม่กระทบกระเทือนต่อองค์พระบรมธาตุเจดีย์ ในสมัยหลังๆ นิยมประดิษฐานไว้ส่วนบน (มักจะเป็นคอระฆัง หรือในเกศบัวตูม)

รูปทรงของเจดีย์พระบรมธาตุ

     ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช นิยมสร้างเป็นรูปทรงกลมเหมือนขันน้ำหรือ โอคว่ำ ข้างบนทำเป็นพุทธอาสน์ 4 เหลี่ยมตั้งไว้ มีฉัตรปักไว้บนสุด เป็นยอดใต้องค์สถูปทำเป็นฐานรองรอบฐานทำเป็นที่สำหรับเดินประทักษิณ แล้วมีรั้วล้อมรอบภายนอกอีกชั้น เจดีย์พระบรมธาตุในสมัยต่อๆ มามีรูปทรงแตกต่างกันไปบ้างตามวัฒนธรรมและศิลปะของแต่ละท้องถิ่น เช่น แบบพม่า แบบล้านนา แบบขอม แบบของภาคอีสาน แบบสุโขทัย อยุธยา แบบศรีวิชัย (ภาคใต้)

จาก :  หนังสือพระบรมธาตุ เขียนโดย : อ.บริภัทร
พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ.2539
 
อ่านบทความอื่นๆ



Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
การกระจายตัวของเจดีย์พระบรมธาตุการกระจายตัวของเจดีย์พระบรมธาตุ

ปรากฏการณ์สำแดงอานุภาพของพระบรมธาตุปรากฏการณ์สำแดงอานุภาพของพระบรมธาตุ

ปรากฏการณ์สำแดงอานุภาพของพระบรมธาตุ (1)ปรากฏการณ์สำแดงอานุภาพของพระบรมธาตุ (1)



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

พระพุทธศาสนา