มุทิตาเปรียญธรรม 9 ประโยค


[ 3 ส.ค. 2553 ] - [ 18270 ] LINE it!

 มุทิตาเปรียญธรรม 9 ประโยค

โอวาท พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ปธ.9, ราชบัณฑิต)
เนื่องในพิธีมุทิตาสักการะ พระภิกษุ-สามเณรผู้สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยคระดับโลก
วันที่ 1 สิหาคม พ.ศ.2553 ณ วัดพระธรรมกาย
เรียบเรียงจากรายการถ่ายทอดสดพิธีมุทิตาสักการะ พระภิกษุ-สามเณร ผู้สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค
 
 
 
        ภาพประเพณีอันดีงามแบบนี้ เกิดขึ้นได้ด้วยอาศัยความเมตตาของพระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ หลวงพ่อธัมมชโย ซึ่งได้จัดกิจกรรมต่อเนื่องมายาวนาน และได้ความร่วมมือของทุกฝ่ายทำให้เกิดภาพประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ตลอดมา ปีนี้เป็นปีที่ 23 มีพระภิกษุสอบได้เปรียญทั้งหมด 43 รูป ภาพประวัติศาสตร์นี้เกิดขึ้นได้ด้วยอาศัยจิตมุทิตาเป็นหลักใหญ่ ถ้าไม่มีจิตเมตตามุทิตาก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ มุทิตาเป็นธรรมะของผู้ยิ่งใหญ่ เป็นพรหมวิหารธรรม (คุณธรรมของพรหม) ซึ่งมีทั้งหมด 4 ข้อ ใน 4 ข้อ ที่เกิดง่ายที่สุด คือ เมตตาและกรุณา ส่วนมุทิตาก็เกิดยากขึ้นไปอีกหน่อย อุเบกขาเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยากที่สุด เมตตาเป็นเรื่องของการให้ เป็นการแสดงความรักและปรารถนาดีต่อผู้อื่น กรุณาต้องมีอะไรมากระทบก่อนคือเมื่อเราเห็นภาพที่ประจักษ์ต่อสายตา เราก็จะทนเห็นไม่ได้จึงมีจิตเกิดความกรุณา
 
 
 
        การเกิดมุทิตาก็ต้องมีเหตุมากระทบก่อนเช่นกัน และเกิดเป็นสภาวะของจิตที่ทนไม่ได้ เห็นเขามีความสุขต้องเข้าไปแสดงความยินดี เห็นคนอื่นได้รับความสำเร็จก็ต้องเข้าไปแสดงความชื่นชมเขา ส่วนอุเบกขาไม่มีอะไรมากระทบ เป็นเรื่องของจิตที่วางเฉย คนที่ไม่มีจิตมุทิตา เราเรียกว่า อรติ คือ ความไม่ยินดี คือ เห็นคนอื่นได้ดีก็จะมองหาข้อเสียที่จะมาลบล้าง หาทางกำจัดความดี
 
 
        การศึกษาเปรียญธรรมเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะเหตุนี้ การจัดมุทิตาจึงเป็นการกระตุ้นพระภิกษุและสามเณร ให้มีกำลังใจในการศึกษาเล่าเรียน ภาพแห่งการมุทิตาเป็นภาพที่สามเณรน้อยและพระภิกษุทั้งหลายได้เห็นภาพที่ประทับใจในทุกๆปี ซึ่งจะเป็นภาพแห่งความทรงจำที่แสนจะประทับใจในแบบอย่าง ในต้นแบบที่ได้เห็น การเรียนรู้พระพุทธศาสนาต้องเรียนรู้ให้ครบวงจรจึงจะสามารถรักษาพระพุทธศาสนาให้สืบเนื่องต่อไปได้
 
 
        ความรู้ที่เราสามารถจะเรียนรู้ได้ มีหลักใหญ่อยู่ 3 ประการ คือ รู้จำ รู้จริง รู้แจ้ง รู้จำ คือ จำได้ ฝึกฝนแล้วจำได้ ท่องได้ที่เรียกว่า สัญญา แต่ความจำประเภทนี้สามารถลืมได้ ต่อไป คือ รู้จริง คือ ศึกษาคำแปลความหมายว่า คืออะไร แบบไหน อย่างไร รู้จากการได้เห็นจริงด้วยตนเอง ความรู้ระดับนี้เป็นความรู้ระดับปัญญา ลำดับต่อไปเป็นความรู้สูงสุด คือ รู้แจ้ง คือ รู้อย่างชัดเจนปลอดโปร่งไม่มีอะไรเคลือบแคลง เป็นความรู้ระดับขั้นญาณเป็นการสรุปความรู้ที่ถูกต้องแน่นอนแม่นยำ เห็นผลประจักษ์ด้วยตนเอง และสามารถพิสูจน์ได้ไม่มีข้อสงสัย การรู้แจ้ง คือ การเข้าถึงในคำสอนของครูบาอาจารย์ อย่างลึกซึ้งถึงแก่นแท้ พิสูจน์ได้อย่างไม่มีข้อเคลือบแคลงสงสัยใดๆ
   
 
        การศึกษาผู้ที่รู้จำจะทำได้ก็แค่เอาตัวรอด ผู้ที่รู้จริงจะทำได้ก็แค่เอาตัวรอด ส่วนผู้รู้แจ้ง คือ สามารถเอาตัวรอดจากกิเลสทั้งปวงได้ และต้องนำวิชาความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมาช่วยกันกอบกู้และสืบสานพระพุทธศาสนาให้คงอยู่สืบต่อไป
 
 
 
 
 
ฟังความรู้สึกของพระเถรานุเถระในวันมหาปีติ 1 สิงหาคม พ.ศ.2553 คลิกที่นี่
 
ชม Video Scoop ทบทวนบุญ วันแห่งมหาปีติ
 



Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
กลยุทธของชีวิตที่ทำให้ประสบความสำเร็จกลยุทธของชีวิตที่ทำให้ประสบความสำเร็จ

4 self เพื่อพัฒนาตนเอง4 self เพื่อพัฒนาตนเอง

6 ทักษะสำหรับการทำงานในอนาคต6 ทักษะสำหรับการทำงานในอนาคต



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

Review รายการ