ความแตกต่างของการศึกษาในอดีตและปัจจุบัน


[ 2 ก.ย. 2553 ] - [ 18518 ] LINE it!

ความแตกต่างของการศึกษาเล่าเรียนในอดีตและปัจจุบัน
 
 
        การศึกษาเล่าเรียนในสมัยก่อน ถ้าเป็นผู้หญิงก็ต้องเรียนรู้การบ้านการเรือนจากจากคุณแม่คุณยาย ถ้าเป็นผู้ชายต้องศึกษาในวัด เพราะวัดเป็นที่รวมสรรพวิชา การเรียนการสอนในสมัยก่อนเป็นการฝึก การอ่านออก เขียนได้ จับประเด็นได้ เรียนรู้พื้นฐานคณิตศาสตร์ บวก ลบ คูณ หาร การคัดลายมือ ศิลปะเฉพาะด้านเช่นช่างฝีมือ ช่างแกะสลัก
 

   
        สมัยสุโขทัย (พ.ศ. 1781-1921)ใครผ่านการบวชเรียนก็จะเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม ว่าเป็นผู้ที่มีวิชาความรู้มีความสามารถ และต่อมาในสมัยอยุธยาได้ให้ความสำคัญกับการบวชเรียนมาก โดยมีหลักเกณฑ์ว่าใครที่ผ่านการบวชเรียนจะสามารถเข้ารับราชการได้ ระบบการศึกษาของไทย ได้มีการปฏิรูปครั้งใหญ่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มต้นด้วยการจัดตั้งโรงเรียนหลวงขึ้น ซึ่งทำให้การศึกษาวัดและโรงเรียนแยกกันออกอย่างชัดเจน
 

 

 
        ปัจจุบันบทบาททางการศึกษา เนื้อหาการเรียนมีความซับซ้อนมากขึ้น และวิวัฒนาการทางตะวันตกเข้ามา ก็มีความจำเป็นทางการศึกษาที่จะต้องมีสถาบันการเรียนเพิ่มยิ่งขึ้น ก็เลยทำให้คนที่จะเรียนมีโอกาส มีตัวเลือกมากขึ้น เลยทำให้ส่วนใหญ่คนที่จะมาบวชเรียน คือคนที่มีทุนน้อยแต่ก็มีบางกลุ่มก็มีความศรัทธาที่ต้องการจะบวชเรียน ซึ่งจริงๆแล้ว ถือว่าได้กำไรมากกว่าการเรียนทางโลก เพราะการบวชเรียนสิ่งที่จะได้คือความรู้ควบคู่ไปกับศีลธรรมเสมอ
 
 
        บทบาทและหน้าที่ของครูในทุกยุคสมัย คือการแนะนำ แนะคือ สอน ให้ความรู้ (และต้องมีทักษะในการถ่ายทอดและหาความรู้เพิ่มเติมให้ตนเองอยู่เสมอ) นำ คือทำตัวเป็นแบบอย่าง เป็นตัวอย่างที่ดี
 
 
        ในปัจจุบันก็มีแนวคิดในการสอนศีลธรรมทำควบคู่กันไป คือ มีการนิมนต์พระไปสอนหนังสือวิชาศีลธรรมตามโรงเรียนต่างๆ ซึ่งปัจจุบันมีครูพระประมาณ 20,000 รูป  แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการในสังคม แต่ความแตกต่างที่เด็กจะได้รับมีค่ามาก ในเรื่องการสอนศีลธรรมคือ การที่ครูพระได้ทำการสอน เด็กจะรับความรู้คู่ศีลธรรมไปพร้อมๆ กัน และได้เห็นแบบอย่างและตัวอย่างที่ดีของพระสงฆ์ผู้เป็นต้นแบบที่แท้จริง
 
 
        ภาพเหตุการณ์ที่น่าวิตกในสถานการณ์ปัจจุบันนี้คนเข้าวัดน้อยลง ไม่สนใจการบวชเรียน มีการบวชน้อยลง ไม่เห็นความสำคัญในการบวช สาเหตุเป็นเพราะว่า ปัจจุบันนี้วัดปรับตัวตามสังคมไม่ทัน ตามโลกไม่ทัน เลยทำให้มีพระน้อยลง วัดร้างเพิ่มมากขึ้น แต่เราก็สามารถแก้ไขได้ คือพระจะต้องสร้างคนฟื้นฟูวัฒนธรรมชาวพุทธให้กลับคืนมา เช่น มีโครงการบวชพระแสนรูปซึ่งได้เกิดขึ้นแล้วในตอนนี้ เพราะหลังจากจบโครงการการลาสิกขาไปแล้ว บุคคลเหล่านี้สามารถนำความรู้และคุณธรรมที่ได้ไปบอกต่อสอนต่อได้ โครงการที่ดีก็จะมีการบอกต่อเพิ่มขึ้น คนจะมาบวชพระเพิ่มมากขึ้น วัดจะร้างน้อยลง เด็กๆจะได้มีครูพระสอนศีลธรรมทั่วผืนแผ่นดินไทย
 


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
ช่องว่างระหว่างวัย “Generation gap”ช่องว่างระหว่างวัย “Generation gap”

กฎพาเรโต-หนทางสู่ความสำเร็จกฎพาเรโต-หนทางสู่ความสำเร็จ

ฆราวาสธรรม 4 ธรรมของผู้ครองเรือนฆราวาสธรรม 4 ธรรมของผู้ครองเรือน



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

Review รายการ