องค์กรสหประชาชาติ -สันติภาพโลก


[ 3 พ.ย. 2553 ] - [ 18288 ] LINE it!

สันติภาพโลก

   องค์กรสหประชาชาติ หรือ UN, (United Nation Organization) ก่อตัวขึ้นในปี พ.ศ. 2484    โดยมีนาย แฟรงคลิน ดี รูสเวลต์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ก่อตั้ง โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 4 ประการคือ
 
 
 
1.รักษาสันติภาพโลก
 
2.พัฒนาความสัมพันธ์ฉันท์มิตรในหมู่ประเทศ
 
3.ช่วยเหลือคนจนให้มีชีวิตที่ดีขึ้น ขจัดโรคภัยไข้เจ็บและความไม่รู้หนังสือในโลก และส่งเสริมให้เกิดความเคารพในสิทธิและเสรีภาพของกันและกัน
 
4.เป็นศูนย์สำหรับช่วยเหลือประเทศต่างๆ ให้บรรลุถึงเป้าหมายที่วางไว้
 
         องค์การสหประชาชาติมีหน่วยงานหลักอยู่ 6 แห่ง (Organization Chart of the United Nation System)
 
1.สมัชชา (General Assembly) เป็นหน่วยงานกลางของสหประชาชาติ มีหน้าที่จัดประชุม โดยประชุมปกติปีละครั้ง เริ่มเดือนกันยายน เป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือน แต่การประชุมฉุกเฉินอาจมีขึ้นได้ทุกเมื่อ ในเรื่องของวันวิสาขบูชาที่ได้รับให้เป็นวันสำคัญของโลก ก็มีมติมาจากการประชุมนี้ โดยประเทศศรีลังกาเป็นผู้เสนอ
 
2.คณะรัฐมนตรีความมั่นคง (Security Council) ถูกกำหนดให้เป็นผู้ดูแลในเรื่องสันติภาพของโลก เหมือนเป็นตำรวจโลกนั้นเอง ประกอบด้วยสมาชิก 15 ประเทศ โดยมี 5 ประเทศเป็นสมาชิกถาวร ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน  ฝรั่งเศส  สหพันธ์รัสเซีย  สหราชอาณาจักร
 
3.คณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจและสังคม (Economic and Social Council - ECOSOC) มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับปัญหา เศรษฐกิจ การค้า การขนส่ง การขยายอุตสาหกรรม และปัญหาการพัฒนาและสังคม รวมทั้งเรื่อง ประชากร เด็ก ที่อยู่อาศัย สิทธิสตรี การแบ่งผิว ยาเสพติด อาชญากรรม สวัสดิการสังคม เยาวชน สิ่งแวดล้อมมนุษย์ และอาหาร  โดยมีหน่วย งานชำนาญพิเศษ ทำหน้าที่ศึกษาปัญหา ทำข้อเสนอแนะและให้ความช่วยเหลือ เช่น ILO องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization), FAO องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations), UNESCO องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Science and Culture Organization), WTO องค์การการค้าโลก (World Trade Organization) เป็นต้น
 
4.คณะมนตรีภาวะทรัสตี (Trusteeship Council) ทำหน้าที่ช่วยดูแลดินแดนที่ยังไม่เป็นประเทศ โดยจะตรวจตราความก้าวหน้าทางสังคม ของประชาชนที่อาศัยอยู่ในดินแดนเหล่านี้ ภายหลังการดำเนินงาน เกือบ 50 ปี คณะมนตรีฯ ได้หยุดการปฏิบัติงานอย่างเป็นทางการแล้ว   
 
 
 
5.ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice) หรือรู้จักกันนาม “ศาลโลก” นั่นเอง ทำหน้าที่ตัดสินข้อพิพาทระหว่างประเทศเท่านั้น  ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีผู้พิพากษา 15 คน ซึ่งเลือกโดย สมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคง ผู้พิพากษา 2 คน จะมาจากประเทศเดียวกันไม่ได้
 
6.สำนักเลขาธิการ (Secretariat) เลขาธิการคนปัจจุบันคือนายบัน คีมูน จากประเทศเกาหลี เลขาธิการทำหน้าที่เป็นกรรมการตัดสินปัญหาขัดแย้ง ระหว่างประเทศสมาชิก บางครั้งอาจเป็นผลจากการไกล่เกลี่ย หรือตำแหน่งหน้าที่ ในการแก้ไขปัญหา โดยมิต้องนำเรื่องเข้าสู่คณะมนตรีความมั่นคงหรือสมัชชาแต่อย่างใด
 
    บทความข้างต้นเป็นการรักษาสันติภาพโลก ด้วยวิธีการทางโลก ต่อไปนี้คือการรักษาสันติภาพโลกด้วยแนวทางด้านพระพุทธศาสนา
 
     ในยุคปัจจุบันมีคำถามหลายคำถามเกี่ยวกับท่าทีของคณะสงฆ์ต่อความขัดแย้งทางการเมือง ว่าคณะสงฆ์ควรจะมีบทบาทอะไรบ้าง
 
     คำตอบ คือ เราลองดูตัวอย่างจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากันก่อนว่าสถานการณ์ที่เกิดความขัดแย้งทางการเมือง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงวางท่าทีอย่างไร ขอยกตัวอย่าง เรื่องของพระเจ้าวิฑูฑภะ กษัตริย์แห่งแคว้นโกศล ยกกองทัพจะไปล้างกรุงกบิลพัสดุ์ ล้างศากยะวงศ์ ด้วยความแค้นส่วนตัว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทราบเรื่องนี่ พระองค์จึงเสด็จมาห้าม เมื่อพระเจ้าวิฑูฑภะเห็นก็เกิดความเกรงใจ จึงยกทัพกลับ แต่แรงแค้นยกสุมอก จึงยกทัพมาใหม่อีก พระพุทธเจ้าก็มาห้ามไว้อีก พอครั้งที่สามที่ยกทัพมา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้เสด็จไปห้าม เพราะทราบว่าเหตุที่เกิดขึ้นจริงๆ มาจากแรงกรรมของศากยะวงศ์ ซึ่งภพในอดีตเคยทำกรรมปาณาติบาตหมู่ร่วมกันไว้ วิบากกรรมตามมาทัน ห้ามยังไงก็ช่วยไม่ได้ สุดท้ายพระเจ้าวิฑูฑภะก็ยกทัพมาล้างศากยะวงศ์จนราบทั้งเมืองเลย มีหนีรอดเพียงไม่กี่คน แต่วิบากกรรมก็ตามมาในไม่ช้า กองทัพของพระเจ้าวิฑูฑภะถูกน้ำท่วมเสียชีวิตกันทั้งกองทัพ
 
     เมื่อเกิดเหตุการณ์อย่างนี้แล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงถือธรรมเป็นใหญ่ ถือหลักการเป็นใหญ่ ยืนหยัดรักษาหลักการ ขนาดหมู่ญาติของพระองค์ถูกฆ่า ท่านยังไม่สนับสนุนให้ไปฆ่าตอบหรือแก้แค้นเลย เพราะผิดหลักการ เพราะเป็นอย่างนี้ ตลอด มา 2,500 กว่าปี พระพุทธศาสนาจึงไม่เคยเกิดสงครามศาสนาเลย ดังนั้นคณะสงฆ์ต้องรักษาจุดยืน ไม่เข้าไปแทรกแซงยุ่งเกี่ยวกับการเมืองโดยตรง แต่ก็มีคำถามเข้ามาว่า แล้วอย่างนี้จะให้พระสงฆ์นั่งเฉยๆ ใช่ไหม จะดูเห็นแก่ตัวไปรึเปล่า
 
 
 
สิ่งที่คณะสงฆ์ควรทำในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองคือ
 
1.การให้ปัญญากับสังคม ให้เขารู้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ตรงไหน
 
2.ดึงใจผู้คนในสังคมให้มานึกถึงการทำความดี นึกถึงบุญกุศล อันนี้เหมือนไม่ได้แก้ปัญหาโดยตรง แต่เป็นการแก้โดยอ้อมไม่ให้สถานการณ์เลวร้าย จนเกิดการฆ่าฟันกันเกิดขึ้น นี่คือบทบาทของคณะสงฆ์ และเป็นท่าทีของพระพุทธศาสนาในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง                 
 

 


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
การปลุกยักษ์ในตัวคุณ-ทันโลกทันธรรมการปลุกยักษ์ในตัวคุณ-ทันโลกทันธรรม

ศูนย์การศึกษาเขาแก้วเสด็จ-ทันโลกทันธรรมศูนย์การศึกษาเขาแก้วเสด็จ-ทันโลกทันธรรม

โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก Change-the-Worldโครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก Change-the-World



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

Review รายการ