กฐินธรรมชัย สร้างทุกสิ่ง สุดยอดแห่งบุญ ประจำปี 2554


[ 21 ก.ค. 2554 ] - [ 18277 ] LINE it!
View this page in: English

พิธีทอดกฐิน 

มหากฐินสามัคคี 2554

 
"กฐินธรรมชัย สร้างทุกสิ่ง"
 
สุดยอดแห่งบุญ 1 ปี มีเพียงครั้งเดียว
 
 
 
วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2554  ณ วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี
มหากาลทาน มหากฐิน สุข สำเร็จ สมปรารถนา

 
     กฐินมหากาลทาน ธรรมดาอานิสงส์ของบุญกฐินนั้นมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวที่หาอ่านได้ในพระไตรปิฎก เช่น มหาทุคคตะ เป็นต้น กฐิน ในปีนี้เป็นกฐินธรรมชัย เพื่อสร้างทุกสิ่งทุกอย่างที่ใช้ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกายไปทั่วโลก พระเดชพระคุณหลวงพ่อธัมมชโย ท่านมีเมตตาให้ลูกได้บุญใหญ่ ด้วยการดำริให้กฐินในปีนี้เป็นกฐินสร้างทุกสิ่ง คือ อาคารพระผู้ปราบมาร (พระมงคลเทพมุนี สดจนฺทสฺโร) ซึ่งจะใช้ประโยชน์เป็นที่พักสงฆ์
 
     อาคารที่พักสงฆ์นี้มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาวิชชาธรรมกาย เพราะในปัจจุบันมีพระอาจารย์ พระพี่เลี้ยง พระภิกษุเพิ่มขึ้นมากมาย นับตั้งแต่ได้มีการจัดการบวชขึ้นมาในแต่ละโครงการ ถ้าเราลองมานึกย้อนดู เข้าพรรษาปีที่ผ่านมา มีพระภิกษุบวชในช่วงเข้าพรรษาน้อยมาก แม้แต่วัดในกรุงเทพฯที่เคยมีพระบวชเป็นจำนวนมาก ก็กลับลดลง พระเดชพระคุณหลวงพ่อของเรา ท่านได้ยินเช่นนี้แล้วก็รู้ว่าพระพุทธศาสนากำลังมีภัย จึงได้ดำริโครงการบวชโครงการแรกขึ้นมา คือ กองพันสถาปนา ในต้นปี 2553 และจัดบวชโครงการ 7,000 รูป 7,000 ตำบล ในช่วงกลางปี 2553 เลยทันที โดยมีพระภิกษุจากโครงการแรก คือ กองพันสถาปนานั้นเป็นพระพี่เลี้ยง
 
     หลังจากนั้นโครงการบวชพระ 1 แสนรูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทยก็ได้เกิดขึ้น ซึ่งจัดต่อเนื่องทั้งรุ่นภาคฤดูร้อน และรุ่นเข้าพรรษา ผ่านมาจนถึงตอนนี้วัดพระธรรมกายสร้างพระแท้ให้เกิดขึ้นมากมาย แม้ในขณะนี้ พระภิกษุที่บวชเข้ามาในโครงการทั้งหลายและมีความตั้งใจบวชอยู่ในพระพุทธศาสนาเพื่อช่วยเผยแผ่ขยายงานพระศาสนา สอนธรรมะโปรดญาติโยมผู้รอคอยเนื้อนาบุญ การได้ทำหน้าที่เป็นพระพี่เลี้ยง เพื่อสร้างพระแท้รุ่นต่อรุ่น รุ่นแล้วรุ่นเล่า บัดนี้พระภิกษุจำนวนไม่น้อยได้ปฏิบัติหน้าที่ รับภารกิจของพระศาสนาได้กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ และทั่วโลกในอนาคต
 
     พระภิกษุทั้งหลายผู้ได้ชื่อว่าเป็นแม่ทัพของกองทัพธรรม ไม่ว่าจะเป็นตามเมืองต่างๆ จังหวัดต่างๆ รวมถึงพระภิกษุที่ทำหน้าที่เป็นกองกลาง ปฏิบัติหน้าที่ประจำอยู่ที่ศูนย์กลาง คือ วัดพระธรรมกาย ทำให้มีจำนวนพระภิกษุเพิ่มมากขึ้น และบ่อยครั้งที่ท่านต้องเดินทางมาประชุมงานที่วัดพระธรรมกาย ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีอาคารที่พักเพียงพอสำหรับรองรับ ดังนั้น กฐินปีนี้ จึงเป็นบุญใหญ่ เป็น กฐินธรรมชัย เพื่อสร้างทุกสิ่ง ซึ่งก็คือ อาคารที่พักสงฆ์ อาศรมอุบาสิกา และอาคารจอดรถเพื่อรองรับสาธุชนและพุทธบุตรจำนวนมากในอนาคต
 
     อาคารที่พักสงฆ์ จะเป็นอาคารสูง 12 ชั้น 3 อาคาร เข้าพักได้ถึง 6 ,000 รูป โดยแบ่งเป็นส่วนของที่พักสงฆ์ ห้องประชุม ห้องสวดมนต์ ห้องปฏิบัติธรรม ห้องเอนกประสงค์ ห้องพักชั่วคราว เป็นต้น
 
 
 อาศรมบรรพชิต
ทัศนียภาพอาคารพระผู้ปราบมาร พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) 


 
อาคารพระผู้ปราบมาร
  

ตึกที่พักสงฆ์ อาคารพระผู้ปราบมาร

 
ทัศนียภาพอาคารที่พักสงฆ์ วัดพระธรรมกาย
 

 
 
อาคารที่พักสงฆ์


อาศรมอุบาสิกา
ทัศนียภาพอาคารคุณยาย หนึ่งไม่มีสอง (คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง)
 

 
อาศรมอุบาสิกา อาคารคุณยาย หนึ่งไม่มีสอง



 
อาคารที่จอดรถ


อาคารที่จดรถ


 
อานิสงส์การสร้างอาคารพระผู้ปราบมาร พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) และอาคารคุณยาย หนึ่งไม่มีสอง (คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง)

     1. ผู้ให้สถานที่ขึ้นชื่อว่าให้ทุกสิ่ง ซึ่งบุญกุศลที่เกิดจากการให้ทุกสิ่ง จะทำให้สมบูรณ์พร้อมทุกด้านอย่างง่าย ๆ

     2. เมื่อไปเกิดในภพชาติใด ผู้สร้างจะปลอดกังวลในเรื่องที่อยู่อาศัย เพราะจะบังเกิดสมบัติที่เป็นที่อยู่อาศัยอันประณีตไว้รอท่า อีกทั้งยังเป็นที่อยู่อาศัยที่ทำเลดี อยู่ในปฏิรูปเทส 4 ซึ่งทำให้เกิดความสะดวกสบายในหนทางการสร้างบารมี เพราะได้สร้างเหตุเอาไว้ในภพชาตินี้

     3. ผู้สร้างจะมีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรงทั้งกายและใจ นั่ง นอน ยืน เดิน หลับเป็นสุข ตื่นเป็นสุขเพราะได้สร้างสถานที่พัก และที่จำวัด ถวายแด่พระภิกษุสงฆ์และเจ้าหน้าที่จำนวนมาก

     4. ผู้สร้างจะมีสายบุญเชื่อมกับมหาปูชนียาจารย์ และจะสามารถบรรลุธรรมที่ท่านบรรลุได้โดยง่าย
สามารถเข้าถึงนิพพาน และที่สุดแห่งธรรมได้โดยง่าย

     5. ผู้สร้างจะเกิดในตระกูลสูง เข้าถึงฐานะอันสูงส่ง เป็นที่เคารพ นับถือ เกรงใจ ของเหล่ามนุษย์และเทวาเพราะขึ้นชื่อว่าบูชาบุคคลที่ควรบูชา ซึ่งถือว่าเป็นมงคลอันสูงสุด

     6. ผู้สร้างจะมีบุตร บริวาร ที่มีความเคารพ กตัญญู อยู่ในโอวาท เพราะทำทานด้วยความเคารพ
ความกตัญญูที่มีต่อมหาปูชนียาจารย์

     7. ผู้สร้างจะเป็นผู้มีปัญญาเป็นเลิศ เพราะได้สร้างมหากาลทานที่ประกอบด้วยปัญญา บูชาผู้ที่มีปัญญาที่ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ

     8. ผู้สร้างจะเป็นผู้มีสัมมาทิฐิ เกิดในปฏิรูปเทส ในดินแดนที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง
เพราะได้สร้างเหตุแห่งความเจริญไว้ในพระพุทธศาสนา

     9. หลังจากละโลกแล้ว จะได้ไปเสวยทิพยสมบัติ ถึงพร้อมด้วยลาภ ยศ สรรเสริญ สุข และอธิปไตยอันไม่มีประมาณ

     10. เมื่อลงมาเกิดเป็นมนุษย์ จะเข้าถึงความเป็นมหาเศรษฐีได้โดยง่าย ถึงพร้อมด้วยโภคทรัพย์อันมากมาย เพราะได้บริจาคทรัพย์ไว้ในพระพุทธศาสนา และเนื้อนาบุญอันเลิศ ฯลฯ
 
...............................................................................
 
 
ประเพณีทอดกฐิน บุญใหญ่แห่งปี
 
     การทอดกฐินเป็นประเพณีอันดีงามของชาวพุทธที่ศาสนิกชนประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลายาวนานกว่า 2,500 ปี กำเนิดขึ้นเมื่อครั้งที่พระภิกษุชาวเมืองปาไฐยรัฐออกเดินทางไกล เพื่อไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ วัดพระเชตวัน พระภิกษุเหล่านั้นมีจีวรที่เปรอะเปื้อนเปียกชุ่มและเปื่อยขาดด้วยความเก่า พระบรมศาสดาจึงทรงมีพุทธานุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษารับผ้ากฐินได้หลังออกพรรษา เพื่อนำมาผลัดเปลี่ยนผ้าเก่า ประเพณีทอดกฐินได้เกิดขึ้นตั้งแต่ครั้งนั้นและสืบทอดมาจนกระทั่งปัจจุบัน
 
     บุญจากการทอดกฐินเป็นบุญพิเศษที่ทำได้ยากกว่าบุญอื่น ด้วยสาเหตุหลายประการ ดังนี้ จำกัดกาลเวลา คือ ต้องถวายภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันออกพรรษา จำกัดชนิดทาน คือ ต้องถวายเป็นสังฆทานเท่านั้นจะถวายเจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเหมือนทานอย่างอื่นไม่ได้ จำกัดคราว คือ แต่ละวัดรับกฐินได้เพียงปีละ 1 ครั้ง เท่านั้น จำกัดผู้รับ คือ พระภิกษุผู้รับกฐินได้จะต้องจำพรรษาที่วัดนั้นครบไตรมาส (3 เดือน) และต้องมีจำนวนตั้งแต่ 5 รูปขึ้นไป จำกัดงาน คือ เมื่อพระภิกษุรับผ้ากฐินแล้ว จะต้องกรานกฐินให้เสร็จภายในวันนั้น จำกัดของถวาย คือ ไทยธรรมที่ถวายต้องเป็นผ้าผืนใดผืนหนึ่งในไตรจีวรเท่านั้น โดยทั่วไปนิยมใช้สังฆาฏิ ไทยธรรมอื่นจัดเป็นบริวารกฐิน เกิดจากพุทธประสงค์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีพุทธานุญาตให้พระภิกษุสงฆ์รับผ้ากฐินเพื่อผลัดเปลี่ยนไตรจีวรเก่า แต่ทานอย่างอื่นทายกทูลขอให้ทรงอนุญาต เช่น มหาอุบาสิกาวิสาขาทูลขออนุญาตถวายผ้าอาบน้ำฝน
 
     นอกจากนี้การทอดกฐินยังเป็นทานที่พิเศษ คือ ทั้งพระภิกษุและญาติโยมผู้ทอดกฐินได้อานิสงส์ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย การทอดกฐินจึงเป็นบุญใหญ่ ที่ผู้ให้ (คฤหัสถ์) และผู้รับ (พระภิกษุสงฆ์) ต่างก็ได้บุญอย่างมหาศาล
 
“บุคคลใดให้ทานด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นให้ทำด้วย บุคคลเช่นนี้ไปเกิดที่ใดย่อมได้ทั้งโภคทรัพย์สมบัติและบริวารสมบัติ ในที่ที่ตนไปเกิดนั่นเอง”  (พุทธพจน์)
  
    สาธุชนผู้มีบุญทั้งหลาย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า “การสั่งสมบุญ นำสุขมาให้” เพราะบุญคือผลที่เกิดขึ้นจากการทำความดี ที่จะคอยหนุนนำชีวิตของเราให้ประสบแต่ความสุขความสำเร็จ “เมื่อมีบุญมากอุปสรรคก็น้อย เมื่อมีบุญน้อยอุปสรรคก็มาก” ดังนั้น บัณฑิตผู้ฉลาดจึงหมั่นสั่งสมบุญอยู่เป็นนิตย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “บุญกฐิน” มหาทานบารมีแห่งปี..ซึ่งเป็นบุญใหญ่ที่จะช่วยเติมเต็มความสุขความสำเร็จให้บังเกิดขึ้นกับชีวิตของเราในชาตินี้และเพื่อชีวิตที่ดีกว่าในภพชาติต่อๆ ไป ตราบกระทั่งวันเข้าสู่พระนิพพาน
 
อานิสงส์บุญทอดกฐินสามัคคี
 
     1.       ทำให้มั่งคั่งด้วยโภคทรัพย์สมบัติ
     2.       ทำให้ประสบความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน
     3.       ทำให้เป็นผู้มีสัมมาทิฐิ พบเจอแต่บัณฑิตกัลยาณมิตร เพราะบูชาบุคคลที่ควรบูชา
     4.       ทำให้มีชื่อเสียงและเป็นที่เคารพศรัทธาของมหาชน
     5.       ทำให้มีจิตใจแช่มชื่น บริสุทธิ์ ผ่องใส และมีความสุขอยู่เสมอ
     6.       ทำให้มีจิตใจตั้งมั่นเป็นสมาธิและเข้าถึงธรรมได้ง่าย
     7.       ได้ชื่อว่ารู้จักใช้ทรัพย์สมบัติให้เกิดเป็นบุญติดตัวไป ในภพหน้าอย่างเต็มที่
     8.       ทำให้มีรูปงาม ผิวพรรณงาม ไม่ขาดแคลนเครื่องนุ่งห่มอันประณีต และเป็นที่รักของบุคคลทั่วไป
     9.       ได้บังเกิดในปฏิรูปเทส ภายใต้ร่มเงาพระพุทธศาสนา
     10.   เมื่อละจากโลกมนุษย์แล้วจะได้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
 
จารึกชื่อบนแผ่นทอง 
 
แผ่นทองจารึกชื่อประธานกองกฐินธรรมชัย 
 
      การทำบุญทอดกฐินเป็นบุญที่ทำได้ปีละครั้ง หรือที่เรียกว่าเป็นบุญตามกาล คือ ให้ตามเวลาที่ควรจะให้ เช่น ให้กับพระหรือคนที่กำลังเดินทาง หรือให้ผลไม้ตามฤดูกาลเป็นทาน หรือให้ของกับผู้ที่กำลังเจ็บไข้ได้ป่วย ที่สำคัญการทอดกฐินเป็นการทำบุญกับพระภิกษุที่เพิ่งจำพรรษาครบ 3 เดือน ซึ่งเป็นเนื้อนาบุญเป็นอย่างดี และผู้ที่ทำบุญตามกาลเช่นนี้ จะมีผลบุญติดตัวไป คือ ไม่ว่าจะเกิดมากี่ภพ กี่ชาติ ก็จะเป็นผู้มีสมบัติมาก ได้รับความสำเร็จตามประสงค์ในเวลาที่ต้องการได้โดยง่าย หรือเรียกได้ว่ามีสมบัติมาไม่ขาดมือ แม้อาจจะไม่ใช่คนรวย แต่หากอยากได้สิ่งใดก็จะได้ดั่งใจ หรือถ้าจะไปอ่านในพระไตรปิฎกเพิ่มเติมก็จะพบว่า อานิสงส์ของการทำบุญทอดกฐินนั้น ในชาติที่เกิดมาเจอพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็จะได้รับการบวชแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทามีผ้าลอยลงมาจากบนท้องฟ้า
 
     กฐิน เป็นภาษาพระวินัย เป็นชื่อเรียกผ้าพิเศษ ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้วรับมานุ่งห่มได้
               
     กฐิน แปลตามศัพท์ว่า ไม้สะดึง คือกรอบไม้หรือไม่แบบสำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร ผ้าที่เย็บสำเร็จจากกฐินหรือไม้สะดึงแบบนี้เรียกว่า ผ้ากฐิน
               
     กฐิน มีกำหนดระยะเวลาถวาย จะถวายตลอดไปเหมือนผ้าชนิดอื่นมิได้ ระยะเวลานั้นมีเพียง 1 เดือน คือตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 (วันเพ็ญเดือน 12) ระยะเวลานี้เรียกว่า กฐินกาล คือระยะเวลาทอดกฐินหรือเทศกาลทอดกฐิน
ความหมายของกฐินและทอดกฐิน
 
ห้องจารึกชื่อบนแผ่นทอง 
 
ห้องจารึกชื่อผู้มีบุญ สถานที่ประดิษฐานแผ่นทองจารึกชื่อประธานกองกฐินธรรมชัย "สร้างทุกสิ่ง"
 
 
ความหมายของกฐินที่เกี่ยวข้องกันอยู่หลายความหมายดังนี้
 
     กฐินที่เป็นชื่อของกรอบไม้ กรอบไม้แม่แบบสำหรับทำจีวร ซึ่งอาจเรียกว่าสะดึงก็ได้ เนื่องจากในครั้งพุทธกาลการทำจีวรให้มีรูปลักษณะตามที่กำหนดกระทำได้โดยยาก จึงต้องทำกรอบไม้สำเร็จรูปไว้ เพื่อเป็นอุปกรณ์สำคัญในการทำเป็นผ้านุ่งหรือผ้าห่ม หรือผ้าห่มซ้อนที่เรียกว่าจีวรเป็นส่วนรวม ผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ ในภาษาไทยนิยมเรียก ผ้านุ่ง ว่า สบง ผ้าห่ม ว่า จีวร และ ผ้าห่มซ้อน ว่า สังฆาฏิ
 
      กฐินที่เป็นชื่อของผ้า หมายถึงผ้าที่ถวายให้เป็นกฐินภายในกำหนดกาล 1 เดือน นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ผ้าที่จะถวายนั้นจะเป็นผ้าใหม่ หรือผ้าเทียมใหม่ เช่น ผ้าฟอกสะอาด หรือผ้าเก่า หรือผ้าบังสุกุล คือผ้าที่เขาทิ้งแล้ว และเป็นผ้าเปื้อนฝุ่นหรือผ้าที่มีผู้ถวายจะเป็นคฤหัสถ์ก็ได้ เป็นภิกษุหรือสามเณรก็ได้ ถวายแก่สงฆ์แล้วก็เป็นอันใช้ได้
 
     กฐินที่เป็นชื่อของบุญกิริยา คือการทำบุญ คือการถวายผ้ากฐินเป็นทานแก่พระสงฆ์ผู้จำพรรษาอยู่ในวัดใดวัดหนึ่งครบไตรมาส เพื่อสงเคราะห์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบให้มีผ้านุ่งหรือผ้าห่มใหม่ จะได้ใช้ผลัดเปลี่ยนของเก่าที่จะขาดหรือชำรุด การทำบุญถวายผ้ากฐิน หรือที่เรียกว่า ทอดกฐิน คือทอดหรือวางผ้าลงไปแล้วกล่าวคำว่าถวายในท่ามกลางสงฆ์ เรียกได้ว่าเป็น กาลทาน คือการถวายก่อนหน้านั้น หรือหลังจากนั้นไม่เป็นกฐิน ท่านจึงถือโอกาสทำได้ยาก
 
กฐินธรรมชัยสร้างทุกสิ่ง
 
กฐินธรรมชัย สร้างทุกสิ่ง เพื่อรองรับงานเผยแผ่พระพุทธศานา วิชชาธรรมกาย
 
      กฐินที่เป็นชื่อของสังฆกรรม คือกิจกรรมของสงฆ์ก็จะต้องมีการสวดประกาศขอรับความเห็นชอบจากที่ประชุมสงฆ์ ในการมอบผ้ากฐินให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เมื่อทำจีวรสำเร็จแล้วด้วยความร่วมมือของภิกษุทั้งหลายก็จะได้เป็นโอกาสให้ได้ช่วยกันทำจีวรของภิกษุรูปอื่น ขยายเวลาทำจีวรได้อีก 4 เดือน ทั้งนี้เพราะในสมัยพุทธกาลการหาผ้า การทำจีวรทำได้โดยยาก ไม่ทรงอนุญาตให้เก็บสะสมผ้าไว้เกิน 10 วัน แต่เมื่อได้ช่วยกันทำสังฆกรรมเรื่องกฐินแล้วอนุญาตให้แสวงหาผ้าและเก็บไว้ทำเป็นจีวรได้จนตลอดฤดูหนาว คือจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 4
 
ที่มาของประเพณีทอดกฐิน
 
     ในสมัยพุทธกาล ภิกษุชาวเมืองปาไฐยรัฐจำนวน 30 รูป เดินทางมาเฝ้าพระศาสดา แต่ไม่ทันวันเข้าพรรษา จึงจำพรรษา ณ เมืองสาเกตุ ในระหว่างทาง พอออกพรรษาฝนยังตกชุกอยู่ ภิกษุเหล่านั้นก็เดินทางมาเข้าเฝ้าพระศาสดาด้วยความลำบาก ระยะนั้นมีฝนตกชุก หนทางที่เดินชุ่มไปด้วยน้ำ เป็นโคลนเป็นตม ต้องบุกต้องลุยมาจนกระทั่งถึงกรุงสาวัตถี พระศาสดาตรัสถามถึงความเป็นอยู่และการเดินทาง ภิกษุเหล่านั้นจึงกราบทูลให้ทรงทราบ จากนั้นพระพุทธองค์ทรงมีพุทธานุญาตให้มีการถวายผ้ากฐินแก่ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาครบถ้วนไตรมาส โดยกำหนดระยะเวลา คือ นับจากวันออกพรรษาตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เป็นระยะเวลา 1 ดือน กฐิน จึงได้ชื่อว่าเป็น กาลทาน
 
กฐินจัดเป็นกาลทาน
 
กฐินเป็นกาลทานในปีหนึ่งแต่ละวัดสามารถรับกฐินได้เพียงครั้งเดียว
 
ความพิเศษของกฐินทาน
 
     ในปีหนึ่ง แต่ละวัดสามารถรับกฐินได้เพียงครั้งเดียว นอกจานั้นแล้วกฐินทานก็มีความพิเศษแตกต่างจากทานอย่างอื่น ได้แก่
 
1. จำกัดประเภททาน คือ ต้องถวายเป็นสังฆทานเท่านั้น จะถวายเฉพาะเจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเหมือนทานอย่างอื่นไม่ได้
 
2. จำกัดเวลา คือ ต้องถวายภายในระยะเวลา 1 เดือน นับแต่วันออกพรรษาเป็นต้นไป
 
3. จำกัดงาน คือ พระภิกษุที่กรานกฐินต้องตัด เย็บ ย้อม และครองให้เสร็จภายในวันที่กรานกฐิน
 
4. จำกัดไทยธรรม คือ ผ้าที่ถวายต้องถูกต้องตามลักษณะที่สงฆ์กำหนดไว้
 
5. จำกัดผู้รับ คือ พระภิกษุผู้รับกฐิน ต้องเป็นผู้ที่จำพรรษาในวัดนั้นโดยไม่ขาดพรรษา และมีจำนวนไม่น้อยกว่า 5 รูป
 
6. จำกัดคราว คือ วัดๆ หนึ่งรับกฐินได้เพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น
 
7. เป็นพระบรมพุทธานุญาต ทานอย่างอื่นทายกทูลขอให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาต เช่นมหาอุบาสิกาวิสาขาทูลขออนุญาตถวายผ้าอาบน้ำฝน แต่ผ้ากฐินนี้พระองค์ทรงอนุญาตเอง นับเป็นพระพุทธประสงค์โดยตรง
 
ประเพณีทอดกฐินในปัจจุบัน
 
     ช่วงเช้าเหล่าอุบาสก อุบาสิกา จะเริ่มต้นเช้าอันเป็นวันมงคลด้วยการทำบุญตักบาตรพระภิกษุสามเณรที่จำพรรษา ณ อาวาสดังกล่าว
 
กฐิน ช่วงเช้ามีพิธีใส่บาตร
 
งานบุญทอดกฐินเริ่มต้นเช้าอันเป็นวันมงคลด้วยการทำบุญตักบาตรพระภิกษุสามเณร
 
     ภาพพระภิกษุและสามเณรเดินเรียงรายเป็นทิวแถวด้วยอาการสงบ สีเหลืองทองของผ้ากาสาวพัสต์ต้องแสงตะวันยามเช้า สร้างเลื่อมใสศรัทธาให้เอิบอาบในใจจิตพุทธศาสนิกชนทุกคนที่ได้พบเห็นอย่างไม่เสื่อมคลาย
 
     พิธีทอดกฐินสามัคคี เพื่อถวายผ้ากฐินตามพระบรมพุทธานุญาต บางวัดจัดขึ้นในช่วงสายพร้อมและต่อด้วยการถวายสังฆทาน เพื่อถวายภัตตาหาร ซึ่งเป็นบุญอีกงบหนึ่ง โดยธรรมเนียมแล้ว มักมี “บริวารกฐิน” เพื่อถวายจตุปัจจัยไทยธรรม ซึ่งไว้ใช้เป็นค่าใช้จ่ายภายในวัดเป็นค่าน้ำค่าไฟตลอดทั้งปี รวมทั้งค่าก่อสร้าง ทั้งส่วนซ่อมแซมและต่อเติมเสริมใหม่กิจการพระศาสนาขยายตัวได้อย่างมี ประสิทธิภาพ

     บางวัดนำมาเป็นกุศโลบายให้สาธุชนได้ปฏิบัติธรรมกัน อย่างเช่นที่วัดพระธรรมกาย กิจกรรมทอดกฐินจะทำในช่วงบ่าย ส่วนช่วงสายนั้นให้ทุกคนได้ปฏิบัติธรรมเจริญสมาธิภาวนาเพื่อกลั้นกาย วาจา ใจ ให้ใสสะอาดบริสุทธิ์ก่อนจะทำบุญใหญ่กัน
 
ขบวนอัญเชิญผ้ากฐิน ณ สภาธรรมกายสากล วัดพระธรรมกาย
 
ขบวนอัญเชิญผ้ากฐินซขึ้นกับแต่ละวัด แต่ละท้องถิ่นจะบรรลุสิ่งสวยงาม
ทรงคุณค่า คู่ควรกับความสำคัญของพิธีทอดกฐินซึ่งจัดพียงปีละครั้ง

     กิจกรรมที่มาพร้อมกับประเพณี กฐินคือ “ขบวนอัญเชิญผ้ากฐิน” ซึ่งขึ้นกับแต่ละวัด แต่ละท้องถิ่นจะบรรลุสิ่งสวยงาม ทรงคุณค่า คู่ควรกับความสำคัญของพิธีทอดกฐินซึ่งจัดพียงปีละครั้ง ริ้วขบวนอาจประกอบด้วย ขบวนธงธิว ถ้าภาคเหนืออาจเป็นตุง ขบวนพานพุ่มดอกไม้ โดยใช้ทั้งสาธุชนและบุตรหลานเยาวชนมาร่วมขบวน ซึ่งแสดงถึงภูมิปัญญาของไทยที่หล่อหลอมให้เยาวชนใกล้วัดตั้งแต่เล็ก

     การได้ผ้ากฐินแบบมีเจ้าภาพ ถือเป็นคฤหบดีกฐินนั้น เมื่อมีผู้มาทอดผ้า ณ เบื้องหน้าคณะสงฆ์ โดยไม่ได้เจาะจงถวายแก่รูปใดรูปหนึ่ง คณะสงฆ์ต้องทำพิธีอปโลกน์กฐิน หมายถึงการที่พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเสนอขึ้นในที่ประชุมสงฆ์ถามความเห็นชอบ ว่า ผ้ากฐินในปีนี้ควรถวายแก่ภิกษุรูปใด

     ส่วนพิธีกรานกฐิน เป็นสังฆกรรมที่คณะสงฆ์ จะทำพิธีกันในพระอุโบสถ โดยพระภิกษุผู้ได้รับการเลือกสรรจากคณะสงฆ์ ว่าเป็นผู้มีสติปัญญา สามารถที่จะกรานกฐินได้
 
     ในโอกาสนี้จึงขอเชิญท่านผู้มีบุญทุกท่านมาร่วมงานบุญกฐินปีนี้ ที่วัดพระธรรมกาย ในวันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2554 โดยสวมชุดขาวๆ มาร่วมงานกันนะค่ะ/ครับ
 
 
 
 
ผลงานของวัดพระธรรมกาย
  
โครงการอุปสมบทหมู่ภาคเข้าพรรษา 100,000 รูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทย
 
โครงการอุปสมบทหมู่ภาคเข้าพรรษา 100,000 รูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทย ปี 2554 
 
อุปสมบทหมู่ 1 แสนรูป
 
 
 
โครงการบวชอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อน
     
โครงการบวชอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อน 1 ล้านคน

โครงการบวชอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อน 1 ล้านคน
 
 
V--Star กว่า 5 แสนคน ณ ลานธรรมมหาธรรมกายเจดีย์
 
เด็กดี V-Star กว่า 5 แสนคน ณ ลานธรรมมหาธรรมกายเจดีย์
 
V-Star
 
 
 
โครงการตักบาตรพระ 1,000,000 รูป
 
โครงการตักบาตรพระ 1,000,000 รูป 77 จังหวัดทุกวัดทั่วไทย
     
โครงการตักบาตรพระ 1,000,000 รูป
 
 
 
พิธีถวายสังฆทาน 286 วัด 4 จังหวัดภาคใต้
 
พิธีถวายสังฆทาน 286 วัด 4 จังหวัดภาคใต้
   
ถวายสังฆทาน 286 วัด 4 จังหวัดภาคใต้
 
 
กำหนดการงานมหากฐินสามัคคี วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
 
พิธีภาคเช้า
 
06.30 น.                 พิธีตักบาตร ณ บ้านแก้วเรือนทองของคุณยาย
09.30 น.                 ปฏิบัติธรรม / บูชาข้าวพระ
11.00 น.                 ถวายสังฆทาน
 
พิธีภาคบ่าย
 
13.30 น.                 พิธีทอดกฐินสามัคคี / ปฏิบัติธรรม
15.30 น.                 เสร็จพิธีทอดกฐิน
18.00 น.                 คณะสงฆ์ทำพิธีกรานกฐิน
 
(กรุณาสวมชุดขาวมาร่วมพิธี เพื่อรักษาวัฒนธรรมอันดีงามของชาวพุทธ) สอบถาม โทร. (02) 831-1000
 
**สำหรับท่านที่ต้องการร่วมบุญกฐินประจำปี 2554 กับกอง dmc.tv  ได้ที่
รหัสกอง 08-6006-851-6880

 
พระผู้ปราบมาร
 
พระผู้ปราบมาร (หลวงปู่แก้วใส น้ำหนัก 1.4 กิโลกรัม) หล่อจากภาชนะเครื่องแก้วที่ผ่านการบูชาข้าวพระมากว่า 50 ปี
มอบให้กับ ประธานกองกฐินธรรมชัย  "สร้างทุกสิ่ง" เพื่อตรึกระลึกถึงบุญใหญ่ครั้งนี้


พระของขวัญที่ระลึกสำหรับผู้ร่วมบุญกฐินธรรมชัย พ.ศ.2554
พระของขวัญที่ระลึก ไว้ระลึกนึกถึงบุญ
สำหรับผู้ร่วมบุญกฐินธรรมชัยเพื่อสร้างทุกสิ่ง

 
 
 
 
พิเศษ ! สำหรับท่านที่ร่วมบุญกฐินธรรมชัย สร้างทุกสิ่งปีนี้กับกองเว็บไซต์ DMC.tv
ท่านจะได้รับพระของขวัญไว้ตรึกระลึกนึกถึงบุญในครั้งนี้ ดังนี้
 
สำหรับท่านผู้มีบุญที่ร่วมบุญ 1 กอง จะได้รับรูปเหมือนหลวงปู่ขนาดหน้าตัก 3 นิ้ว 1 องค์ มีให้เลือก 3 สี คือ สีทอง สีใส และสีหยก
สำหรับท่านผู้มีบุญที่ร่วมบุญ 3 กอง จะได้รับรูปเหมือนหลวงปู่ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว 1 องค์
สไหรับท่านผู้มีบุญที่ร่วมบุญ 4 กอง จะได้รับองค์พระธรรมกายขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว 1 องค์
สำหรับท่านผู้มีบุญที่ร่วมบุญ 5 กอง จะได้รับรูปเหมือนหลวงปู่ขนาดหน้าตัก 10 นิ้ว 1 องค์
 
 
กรอกแบบฟอร์ม เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม  
 
ชื่อ-สกุล โทรศัพท์
Email

รายละเอียดที่ต้องการสอบถามเพิ่มเติม


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
วันวิสาขบูชา Vesak Day ตอน วันปรินิพพานวันวิสาขบูชา Vesak Day ตอน วันปรินิพพาน

วันวิสาขบูชา  ตอน วันตรัสรู้วันวิสาขบูชา ตอน วันตรัสรู้

วันวิสาขบูชา ตอน วันประสูติวันวิสาขบูชา ตอน วันประสูติ



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

พุทธประวัติ - วันสำคัญในพระพุทธศาสนา