พิธีกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา


[ 5 ส.ค. 2554 ] - [ 18379 ] LINE it!

ศาสนพิธีของศาสนาพุทธ
ศาสนพิธีทางพระพุทธศาสนาและหน้าที่ชาวพุทธ
 
พิธีกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
 
ศาสนพิธีในวันวิสาขบูชา Vesak Day
  
พิธีเวียนเทียนในวันวิสาขบูชา ณ วัดพระธรรมกาย
พิธีวิสาขบูชา
 
      ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6  เป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ประชาชนจะพากันทำบุญตักบาตร  ฟังพระธรรมเทศนาตอนเช้า  ครั้นตอนย่ำค่ำ  ต่างพากันนำดอกไม้ธูปเทียน  เครื่องสักการะไปพร้อมกันที่วัด  เพื่อเวียนเทียน  โดยยืนเบื้องหน้าพระพุทธปฏิมากร  กล่าวคำบูชา  และ  เดินเวียนเทียน  ทำวัตรสวดมนต์  และฟังพระธรรมเทศนาต่อไปจนเสร็จพิธี
 
พิธีเข้าพรรษาและออกพรรษา
  
        ปฐมเหตุที่จะมีประเพณีเข้าพรรษาในพระพุทธศาสนานั้น  ปรารภเหตุจาก  สมัยหนึ่งพระพุทธองค์ประทับอยู่ ร กรุงราชคฤห์  ในขณะนั้นยังไม่มีการอนุญาตเรื่องจำพรรษา  พระภิกษุสงฆ์จึงนำเที่ยวจาริกไปตลอดฤดูกาลแม้แต่ในฤดูฝนก็ยังเที่ยวสัญจรไปมา  ทำให้ไปเหยียบย่ำข้าวกล้าในนาของชาวเมืองจนเสียหายประชาชนพากันติเตียน  พระพุทธองค์จึงทรงบัญญัติเป็นธรรมเนียมให้พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่จำพรรษา 3 เดือน  นับตั้งแต่แรม 1 ค่ำเดือน 8  จนถึงกลางเดือน 11  ห้ามมิให้ไปพักค้าง ณ ที่อื่น ยกเว้นมีเหตุจำเป็น
 
วันเข้าพรรษา
  
     ถือกันว่าเป็นวันพิเศษในพระพุทธศาสนา  พุทธศาสนิกชนขะมักเขม้นในการบุญกุศลยิ่งกว่าธรรมดาบางคนรักษาศีลอุโบสถตลอด 3 เดือน (ไตรมาส)  บางคนไปวัดฟังเทศน์ทั้ง 3 เดือน  บางคนตั้งใจงดเว้นบาปทั้งปวง
 
เข้าพรรษา พระภิกษุอยู่จำพรรษา บำเพ็ญสมณธรรมให้ยิ่งๆ ขึ้นไป
 
พระภิกษุสงฆ์เมื่อใกล้ถึงวันเข้าพรรษาก็ปัดกวาดเสนาสนะตั้งใจบำเพ็ญสมณธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป
 
     ส่วนพระภิกษุสงฆ์  เมื่อใกล้ถึงวันเข้าพรรษา  ก็ปัดกวาดเสนาสนะ  ตั้งใจบำเพ็ญสมณธรรมยิ่งๆ  ขึ้นไปในวันเข้าพรรษา  จะประชุมกันในพระอุโบสถ  ไหว้พระ  สวดมนต์  ทำพิธีเข้าพรรษา(อธิษฐานพรรษา)  แล้วขอขมาต่อกันและกัน  ครั้นในวันถัดไปก็เอาดอกไม้ ธูป เทียน ไปขอขมาพระเถรานุเถระต่างวัดซึ่งเป็นที่เคารพนับถือ
 
วันออกพรรษา
  
      พระภิกษุสงฆ์จะทำการปวารณาแทนการทำอุโบสถ  คือ  เปิดโอกาสให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้และเมื่อออกพรรษาแล้วพระภิกษุจะไปค้างแรมที่ใดๆ ก็ได้ตามพุทธานุญาต  สำหรับพุทธศาสนิกชนเมื่อถึงวันออกพรรษาต่างพากันไปทำบุญตักบาตร  รักษาศีล  เจริญภาวนา  ฟังเทศน์ตาวัดวาอารามต่างๆ 
 
พิธีทอดกฐิน
  
     คำว่ากฐิน  คือ  กรอบไม้สำหรับขึงผ้าให้ตึง  เพื่อสะดวกแก่การเย็บผ้า  ซึ่งเรียกว่า  สะดึง
      ผ้ากฐิน  คือ  ผ้าสำเร็จรูปโดยอาศัยไม้สะดึงขึงผ้าแล้วช่วยกันเย็บ  เมื่อสำเร็จเป็นรูปแล้วก็ปลดออกจากสะดึง
     การทอดกฐิน  คือ  การทอดผ้าซึ่งเย็บจากไม้สะดึง (แม้ปัจจุบันไม่ได้ใช้ไม้สะดึงแล้วก็ยังเรียกเหมือนเดิม  จึงเป็นความหมายสำหรับพิธีประจำปี)  ระยะเวลาในการอนุญาตให้ทอดกฐินได้  ตามพระวินัยบัญญัติ  คือ  ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12  รวมเป็นเวลา 1 เดือน
 
พิธีมาฆบูชา
  
     ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3  เป็นวันที่เรียกว่า  จาตุรงคสันนิบาต  แปลว่าการประชุมที่ประกอบด้วยองค์ 4 คือ
 
ศาสนพิธีในวันมาฆบูชา
 
พิธีจุดมาฆประทีป ณ ลานธรรมมหาธรรมกายเจดีย์ วัดพระธรรมกาย
 
     1.  วันนั้นเป็นวันเพ็ญเต็มดวงเสวยมาฆฤกษ์
     2.  พระภิกษุสงฆ์ 1250 รูป  มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย
     3.  พระภิกษุสงฆ์เหล่านั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญาทั้งสิ้น
     4.  พระภิกษุสงฆ์เหล่านั้นล้วนเป็นผู้ได้รับการอุปสมบทแบบเอหิภิกขุ  คือ  ได้รับการบวชจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยตรงทั้งสิ้น
 
     และวันเพ็ญมาฆะนี้  เป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปลงอายุสังขาร  (ตกลงพระทัยเพื่อจะปรินิพพาน)  ในพรรษาสุดท้ายของพระพุทธองค์
 
      พุทธศาสนิกชนนิยมทำบุญตักบาตร  ไปวัดฟังธรรมเทศนา  ส่วนทางวัดก็มีการจัดประทีป  ธูปเทียน  เป็นเครื่องบูชา  บางวัดก็เทศน์สอนตลอดรุ่ง  บางวัดก็จุดมาฆประทีปบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างยิ่งใหญ่และเมื่อถึงเวลาประกอบพิธี  พระภิกษุสงฆ์และสามเณรตลอดทั้งพุทธศาสนิกชนต่างเตรียมดอกไม้ ธูป เทียน ไปประชุมพร้อมกันในพระอุโบสถ  พุทธศาสนิกชนยืนเบื้องหลังพระภิกษุสงฆ์สามเณร  จุดเทียนธูปประนมมือ  กล่าวคำบูชาพระพุทธคุณ  พระธรรมคุณ  พระสังฆคุณ  และกล่าวถึงกาลกำหนดวันมาฆบูชา  ซึ่งพระพุทธองค์ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์  ในที่ประชุมสงฆ์ ฯลฯ  ต่อจากนั้นก็เดินเวียนเทียนรอบพระสถูปหรือพระเจดีย์ 3 รอบ  เดินด้วยอาการสงบสำรวม  ระลึกถึงพระพุทธคุณ พระสังฆคุณ  ด้วยการสวดบท “อิติปิโส ภะคะวา”  จากนั้นพุทธศาสนิกชนก็จะมาประชุมพร้อมกันในพระอุโบสถ  หรือศาลาเพื่อฟังธรรม  ซึ่งบางวัดอาจจะมีการทำวัตรสวดมนต์  หรือนั่งสมาธิ
 
รับชมวิดีโอ
 
 

รายการวิดีโอที่เกี่ยวข้อง

เพลงธรรมะ ฟังเพลงธรรมะออนไลน์
ศูนย์รวมเพลงธรรมะ สามารถดาว์นโหลดเพลงธรรมะได้ทั้ง Video และ MP3 FREE
 
บทความที่เกี่ยวข้องกับศาสนพิธี ตอนพิธีกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
 


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
วันวิสาขบูชา Vesak Day ตอน วันปรินิพพานวันวิสาขบูชา Vesak Day ตอน วันปรินิพพาน

วันวิสาขบูชา  ตอน วันตรัสรู้วันวิสาขบูชา ตอน วันตรัสรู้

วันวิสาขบูชา ตอน วันประสูติวันวิสาขบูชา ตอน วันประสูติ



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

พุทธประวัติ - วันสำคัญในพระพุทธศาสนา