พิธีทอดผ้าป่า ประวัติความเป็นมาของการทำบุญทอดผ้าป่า


[ 17 พ.ย. 2554 ] - [ 18486 ] LINE it!

ทบทวนฝันในฝัน วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ.2554
พิธีทอดผ้าป่า และประวัติความเป็นมาของการทำบุญทอดผ้าป่า
 
 
 
 
พิธีทอดผ้าป่า
ประวัติความเป็นมาของการทำบุญทอดผ้าป่า
เรียบเรียงจากรายการโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา


"ในสมัยพุทธกาลเดิมพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ทรงมีพระบรมพุทธานุญาตให้พระภิกษุรับ“คฤหบดีจีวร” หรือ “จีวรที่มีผู้ถวายโดยตรง”
แต่มีเทพธิดาองค์หนึ่งนามว่า "ชาลินี"เกิดความตั้งใจว่าจะถวายจีวรแด่พระอนุรุทธะเถระผู้มีจีวรเก่า
ซึ่งกำลังเที่ยวแสวงหาเศษผ้าจากกองหยากเยื่อต่างๆอยู่
จึงคิดออกอุบายขึ้นมาเพื่อที่จะได้ถวายจีวรแด่ท่านได้... "
 
 
 
    ทอดผ้าป่า

เปิดศักราชใหม่แห่งปี พ.ศ. 2555 ด้วยพิธีทอดผ้าป่าธรรมชัย


      การทำบุญทอดผ้าป่า ถือว่าเป็น “ซุปเปอร์ไจแอ้นบิ๊กบุญ” เพราะเป็นบุญที่มีอานิสงส์อันไม่มีประมาณ และที่สำคัญ ยังเป็นบุญที่มาแรงที่สุดในช่วงนี้ เนื่องจากวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2555 ที่กำลังจะมาถึงนี้ ถือเป็นอุดมมงคลฤกษ์ เพราะจะเปิดโอกาสให้ลูกๆ นักเรียนโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยาทุกคนที่มาไม่ทันสร้างวัดตั้งแต่ยุคแรก ได้มีส่วนในบุญจากการสร้างทุกสิ่ง และมีโอกาสทำบุญสร้างทุกอย่างที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยการทอดผ้าป่าธรรมชัยกันตั้งแต่วันเปิดศักราชวันแรกแห่งปี พ.ศ.2555 เพื่อเป็นการมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับชีวิตของลูกๆ ทุกคน เพื่อที่ลูกๆ ทุกคนจะได้รวยเร็ว รวยแรง รวยโลด แบบตลอดปี และตลอดไป

           ผ้าป่าสร้างทุกสิ่ง ได้บุญทุกอย่าง
    
บุญทอดผ้าป่า เพื่อสร้างทุกสิ่ง


            บุญ จากการทอดผ้าป่าเป็นบุญที่มีอานิสงส์อันไม่มีประมาณ ทั้งนี้ก็เป็นเพราะว่าบุญจากการทอดผ้าป่า เป็นบุญพิเศษที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ   อีกทั้ง วัดเราก็ห่างหายจากการทำบุญทอดผ้าป่าไปนานถึง 10 ปี

            ดังนั้น ลูกๆ นักเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยาจึงไม่ควรพลาด หรือตกบุญจากการทอดผ้าป่าในครั้ง นี้เลย แต่ก่อนที่เราจะไปศึกษาถึงอานิสงส์ของการทอดผ้าป่าว่าจะดีมากเพียงไหนนั้น ลูกๆ นักเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา ต้องมาศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับการทำบุญทอดผ้าป่ากันก่อน ว่ามีประวัติความเป็นมาอย่างไรกันบ้าง เพื่อจะได้สมกับเป็นนักเรียนอนุบาลฝันในฝันฯ ผู้มีวิสัยทัศน์ในเรื่องบุญ ดังนั้น เรามาติดตามกันเลย

พิธีทอดผ้าป่า

บุญทอดผ้าป่า เพื่อสร้างทุกสิ่ง


            การทำบุญทอดผ้าป่าถือเป็น “ซุปเปอร์ไจแอ้นบิ๊กบุญ” เพราะเป็นบุญที่จัดเป็น “มหาสังฆทาน” คือ เป็นการถวายทานที่ไม่เฉพาะเจาะจงแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ซึ่งบุญที่จัดว่าเป็นสังฆทานนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า “มีอานิสงส์มากกว่าการถวายทานจำเพาะเจาะจงแด่พระองค์   ซึ่งเป็นปาฏิปุคคลิกทานเสียอีก”
 
            นอกจากนั้น การทำบุญทอดผ้าป่า ถือเป็นบุญที่ไม่ถูกจำกัดด้วยกาล คือ สามารถทำได้ทุกฤดูกาล และที่สำคัญ วัดๆ หนึ่งจะจัดให้มีการทำบุญทอดผ้าป่าต่อปีกี่ครั้งก็ได้
    
            ถ้าฟังดูแล้วก็อาจทำให้คิดว่าเราจะหาบุญนี้ทำได้แบบง่ายๆ แต่หากคิดอย่างผู้มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลแล้ว เราจะรู้ว่าการทอดผ้าป่านั้นไม่ง่ายเลย เพราะบุญทอดผ้าป่า เป็นบุญที่มีเฉพาะในพระพุทธศาสนาเท่านั้น

            แม้ใครจะเอาชื่อนี้ไปใช้ว่าเป็นผ้าป่า ก็ไม่เป็นผ้าป่า   เพราะถือว่าเป็นการลอกเลียนแบบเพื่อให้ผู้ที่ไม่รู้เรื่องรู้ราวหลงเข้าใจผิด คิดไปนับถือ จะได้มีลาภสักการะบังเกิดขึ้นกับตัวเองและพวกพ้องบริวาร   เหมือนอย่างพวกเดียรถีย์ในสมัยพุทธกาล
    
            ฉะนั้น   ดูแล้วก็คล้ายๆ กับการลอกเลียนแบบสินค้าแบรนด์เนม หรือ สินค้าที่มียี่ห้อดังๆ นั่นเอง  ดังนั้น ถ้าหากไม่มีการบังเกิดขึ้นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  พระธรรม  และพระสงฆ์แล้วเราก็ไม่มีโอกาสได้ทำบุญทอดผ้าป่านั่นเอง

พระในสมัยพุทธกาลเดิมต้องแสวงหาผ้าเก่ามาทำเป็นจีวร
    
สมัยพุทธกาลพระภิกษุต้องเที่ยวหาผ้าที่ทิ้งแล้วมาย้อมเป็นจีวรเอง


            หากลูกๆ นักเรียนโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา ได้ย้อนศึกษาเกี่ยวกับเรื่องราวของการทอดผ้าป่าก็จะพบว่า เดิมทีเดียว “การทอดผ้าป่า” เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นเลยที่เป็นเช่นนี้ก็เป็นเพราะในยุคต้นๆ ของสมัยพุทธกาล พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ทรงมีพระบรมพุทธานุญาตให้พระภิกษุรับ “คฤหบดีจีวร” หรือ “จีวรที่มีผู้ถวายโดยตรง”

           ดังนั้น พระภิกษุที่บวชอยู่ในพระพุทธศาสนา จึงต้องเที่ยวเก็บผ้าที่พวกชาวบ้านไม่ต้องการแล้วจากที่ต่างๆ เช่น จากป่าบ้าง,  จากกองหยากเยื่อบ้าง, จากกองขยะบ้าง,  หรือจากผ้าห่อศพบ้าง เป็นต้นและเมื่อรวบรวมเอาผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยได้พอแก่ความต้องการแล้ว ท่านก็จะนำมาซักทำความสะอาด   แล้วค่อยนำมาตัดเย็บ ย้อม เพื่อทำเป็นจีวร สบง หรือสังฆาฏิซึ่งเราจะเห็นว่า กว่าจะได้ผ้ามาทำเป็นจีวรนั้น ค่อนข้างยากลำบากมากๆ

 
ปัจจุบันมีประเพณีทอดผ้าป่าเพื่อถวายผ้าจีวรแด่พระภิกษุแล้ว

พิธีทอดผ้าป่า เป็นโอกาสที่พวกเราจะได้สั่งสมบุญใหญ่อีกคร้ั้งหนึ่ง


         แต่เนื่องจาก ผ้าบังสุกุลจีวรเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นแบบสุดๆ สำหรับชีวิตสมณะ เพราะเป็นผ้าที่เป็นประดุจธงชัยแห่งพระอรหันต์ ซึ่งท่านจะต้องใช้นุ่งห่มเพื่อฝึกตน ทนหิว บำเพ็ญตบะ  เป็นพระแท้ ไปจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต และที่สำคัญ ผ้าบังสุกุลจีวรนี้ ยังเป็นผ้าชุดสุดท้ายที่เป็นที่สุดของชีวิตในวัฏสงสารอีกด้วย
    
          ดังนั้น นับเป็นความโชคดีอย่างที่สุดของลูกๆ นักเรียนโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยาที่ในอนาคตอันใกล้นี้ ลูกๆ ทุกคนจะได้มีโอกาสทำบุญทอดผ้าป่า ถวายผ้าที่เป็นประดุจธงชัยแห่งพระอรหันต์ ซึ่งก็จะทำให้ลูกๆ ทุกคนได้บุญมากแบบสุดๆ อย่างจะนับจะประมาณมิได้
    
         แต่ก่อนที่ลูกๆ จะได้ไปทำบุญทอดผ้าป่าในวันขึ้นปีใหม่ที่จะถึงนี้ พวกเราก็ควรที่จะศึกษาประวัติความเป็นมาของการทำบุญทอดผ้าป่ากันก่อนว่า คนที่เป็นจุดกำเนิด หรือต้นกำเนิดของการทอดผ้าป่าท่านแรกนั้น คือใคร..?? มาจากไหน..?? เป็นคนหรือไม่..?? หรือมีความพิเศษอย่างไร..??

 
พระภิกษุเที่ยวแสวงหาผ้าเก่าตามป่า ตามที่ต่างๆที่ถูกทิ้งไว้
    
พระอนุรุทธะเถระเที่ยวแสวงหาเศษผ้าจากที่ต่างๆ
เพื่อนำมาทำเป็นผ้าจีวร



        ผู้ที่เป็นบุคคลในประวัติศาสตร์แห่งการทอดผ้าป่าหรือทอดผ้าบังสุกุลท่านแรกนั้นเป็นผู้ที่ ไม่ธรรมดา เพราะเหนือกว่าขั้นธรรมดา เนื่องจากเธอเป็นเทพธิดาที่อยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ที่มีนามอันไพเราะว่า “เทพธิดาชาลินี”

         เรื่องก็มีอยู่ว่า ในวันหนึ่ง "พระอนุรุทธะเถระ" ผู้มีจีวรเก่าได้กำลังเที่ยวแสวงหาเศษผ้าจากกองหยากเยื่อ ต่างๆ เพื่อเอาไปทำจีวร เนื่องจากในสมัยนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ทรงมีพระบรมพุทธานุญาตให้พระภิกษุรับผ้าจีวรจาก คฤหบดีที่มาถวายโดยตรง


เทพธิดาชาลินีน้อมผ้าทิพย์ไปวางไว้ให้พระอนุรุทธะได้เดินผ่านมาเก็บไปทำเป็นจีวร
    
เทพธิดาชาลินีนำผ้าทิพย์ที่ตั้งใจถวายพระอนุรุทธะเถระ
ไปวางไว้ในบริเวณที่ท่านต้องเดินผ่านมาเห็น


         ซึ่งในขณะที่พระอนุรุทธเถระกำลังเที่ยวแสวงหาเศษผ้าอยู่นั้นเทพธิดาชาลินีก็ ได้ไปเห็นเข้า เธอจึงตั้งใจว่าจะเอาผ้าทิพย์ 3 ผืน ยาว 13 ศอก กว้าง 4 ศอก น้อมถวายแด่ท่าน  แต่แล้วเธอก็กลับฉุกคิดในใจได้ว่า “ถ้าเราจะถวายโดยตรงพระเถระก็จะไม่รับ”  เนื่องจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ทรงมีพระบรมพุทธานุญาตให้รับ

         เมื่อเป็นดังนี้ เทพธิดาชาลินีจึงได้น้อมนำเอาผ้าทิพย์ของเธอไปใส่ไว้ในกองหยากเยื่อ ซึ่งอยู่บริเวณที่พระอนุรุทธเถระท่านจะต้องเดินผ่าน ซึ่งขณะที่นำผ้าทิพย์ไปใส่นั้น เธอก็ตั้งใจให้ชายผ้าทิพย์โผล่พ้นออกมาให้ดูเห็นง่ายๆ และในที่สุดพระอนุรุทธเถระท่านก็ได้ไปเห็นผ้าทิพย์ดังกล่าวจริงๆ จากนั้น ท่านก็จับที่ชายผ้าแล้วดึงออกมาเพื่อนำกลับไปทำจีวรต่อไป


ชาวบ้านต่างนำผ้ามาวางทอดไว้หมายให้พระภิกษุมาเก็บไปทำจีวร
 
จากนั้นจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ผู้ที่ต้องการถวายผ้าแด่พระภิกษุต้องนำผ้าไปทอดวางไว้ตามที่ต่างๆ
เสมือนว่า ผ้านี้ทิ้งแล้ว เพื่อให้ท่านได้เก็บไปทำเป็นจีวรต่อไป

   
         จากเหตุการณ์นี้เอง จึงกลายมาเป็นจุดเริ่มต้น หรือเป็นต้นเรื่องที่ทำให้ผู้ใจบุญในสมัยพุทธกาลเกิดความคิดที่จะทำตามแบบ เทพธิดาชาลินี ซึ่งเมื่อเกิดความคิดดังนั้นแล้ว ผู้ใจบุญในสมัยพุทธกาลจึงเลียนแบบแล้วก็นำไปพัฒนาต่อนั่นเอง โดยการจงใจนำผ้าไปไว้ตามที่ต่างๆ เช่น ที่ต้นไม้,  ตามกองขยะ, กองหยากเยื่อ, ในป่า  หรือตามข้างทาง  เป็นต้น   ซึ่งเป็นที่ที่ผู้ใจบุญคิดแล้วว่าพระภิกษุสงฆ์จะต้องเดินผ่าน โดยทำทีเป็นเหมือนว่า “ผ้านี้ทิ้งแล้ว” เมื่อมีพระภิกษุเดินไปพบท่านก็จะหยิบและนำผ้าดังกล่าวไปทำเป็นจีวร เพราะถือว่าเป็นผ้าที่ไม่มีเจ้าของซึ่งผ้าชนิดนี้จะเรียกว่า “ผ้าป่า” เพราะเอามาจากป่า หรือ “ผ้าบังสุกุล” ที่แปลว่า ผ้าเปื้อนฝุ่นนั่นเอง

          เรื่องราวประวัติความเป็นมาของการทำบุญทอดผ้าป่าจะเป็นอย่างไรต่อไป    ลูกๆ ทุกคนก็คงจะต้องอดใจรอฟังกันต่อในตอนต่อไป

ธรรมะน่ารู้จากคุณครูไม่ใหญ่
พิธีทอดผ้าป่า ประวัติความเป็นมาของการทำบุญทอดผ้าป่า
พิธีทอดผ้าป่าธรรมชัย สร้างทุกสิ่ง สุดยอดแห่งบุญต้อนรับปีใหม่ พ.ศ.2555
กำหนดการ พิธีทอดผ้าป่าธรรมชัย เพื่อสร้างทุกสิ่ง



       
 


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
DMC ที่โซโลมอนDMC ที่โซโลมอน

Solomon Islands หมู่เกาะมนุษย์กินคนSolomon Islands หมู่เกาะมนุษย์กินคน

เกาะที่ใกล้ขั้วโลกเหนือมากที่สุด ที่มนุษย์อยู่ได้เกาะที่ใกล้ขั้วโลกเหนือมากที่สุด ที่มนุษย์อยู่ได้



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

ช่วงเด่นฝันในฝัน