อานิสงส์การถือธุดงควัตร (ภาคพิเศษ) ตอนที่ 2


[ 10 ม.ค. 2555 ] - [ 18343 ] LINE it!

ทบทวนฝันในฝัน วันที่ 9 มกราคม พ.ศ.2555
อานิสงส์การถือธุดงควัตร (ภาคพิเศษ) ตอนที่ 2


อานิสงส์การถือธุดงควัตร (ภาคพิเศษ) ตอนที่ 2
เรียบเรียงจากรายการโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา
 
 
การฉันภัตตาหารเพียงมื้อเดียวต่อวันเท่านั้นโดยพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างอุกฤษฏ์หรืออย่างเข้มงวด
 
การฉันภัตตาหารเพียงมื้อเดียวต่อวันเท่านั้นโดยพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างอุกฤษฏ์หรืออย่างเข้มงวด
 
        5. เอกาสะนิกังคะ คือ ถือการฉันในอาสนะเดียวเป็นวัตรหรือที่เรียกกันว่า ฉันเอกา หมายถึง
การฉันภัตตาหารเพียงมื้อเดียวต่อวันเท่านั้นโดยพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างอุกฤษฏ์หรืออย่างเข้มงวด จะรับภัตตาหารเฉพาะในช่วงก่อนที่จะลงมือฉันเท่านั้น   เมื่อเริ่มลงมือฉันภัตตาหารแล้ว จะรับได้แต่เภสัช หรือยารักษาโรค  เช่น เนยใส,  เนยข้น, น้ำมัน, น้ำผึ้ง  และน้ำอ้อย  เป็นต้น
 
        สำหรับพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างกลาง สามารถที่จะรับภัตตาหารจากญาติโยมเพิ่มได้ตราบเท่าที่ภัตตาหารในบาตรยังไม่หมด เพื่อเป็นการรักษาศรัทธาญาติโยม   แต่จะรับเท่าที่ตัวเองพอฉันหมด หรือพูดง่ายๆ ว่า ประมาณในการฉัน นั่นเองส่วนพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างเบา สามารถที่จะรับภัตตาหารจากญาติโยมเพิ่มได้ตราบเท่าที่ยังไม่ลุกจากอาสนะ
 
 เพื่อจะได้ไม่ติดในรสชาติอาหาร
 
 เพื่อจะได้ไม่ติดในรสชาติอาหาร
 
สำหรับวัตถุประสงค์ของการถือธุดงควัตรข้อนี้นั้น ก็เป็นไปเพื่อ
 
1. กำจัดความอึดอัดหรือความแน่นท้องอันเนื่องมาจากการฉันภัตตาหารมากเกินไปซึ่งก็จะทำให้ร่างกายเบาสบาย  กระปรี้กระเปร่า  สดชื่น  และสามารถบำเพ็ญสมณธรรมอย่างสะดวกสบาย
2. เพื่อจะได้ไม่ติดในรสชาติอาหาร
3. ฝึกให้เราเป็นผู้มีความมักน้อย   เป็นต้น
 
 การนำภัตตาหารคาวหวานที่จะฉันทั้งหมดมาใส่รวมกันไว้ในบาตร   แล้วจึงจะฉันภัตตาหารเหล่านั้น
 
 การนำภัตตาหารคาวหวานที่จะฉันทั้งหมดมาใส่รวมกันไว้ในบาตร   แล้วจึงจะฉันภัตตาหารเหล่านั้น
 
        6. ปัตตะปิณฑิกังคะคือ ถือการฉันในบาตรเป็นวัตร หรือที่เรียกกันว่า ฉันสำรวม หมายถึง การนำภัตตาหารคาวหวานที่จะฉันทั้งหมดมาใส่รวมกันไว้ในบาตร   แล้วจึงจะฉันภัตตาหารเหล่านั้น โดยพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างอุกฤษฏ์ หรือ อย่างเข้มงวดจะนำภัตตาหารทั้งหมดมาคลุกเคล้าใส่รวมลงไปในบาตร ซึ่งภัตตาหารที่นำมารวมกันในบาตรนี้จะแยกส่วนที่ฉันไม่ได้เช่นก้างปลา หรือกระดูกไก่ เป็นต้น ออกแล้ว จากนั้น ก็จะฉันภัตตาหารเหล่านั้นจนหมด   โดยไม่ทิ้งเศษอาหารใดๆ เลย ยกเว้นแต่กากอ้อยเท่านั้น
 
        สำหรับพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างกลาง สามารถที่จะใช้มือข้างหนึ่งแยกภัตตาหารแต่ละอย่างภายในบาตรได้   เพื่อให้ภัตตาหารดูน่าฉันขึ้นและเพื่อให้รสชาติอาหารแต่ละอย่างไม่ปนกันมากเกินไป ส่วนพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างเบา สามารถที่จะใช้มือ
ทั้งสองแยกภัตตาหารแต่ละอย่างภายในบาตรได้
 
ไม่ต้องลำบากในการจัดเตรียมและรักษาภาชนะทั้งหลาย
 
ไม่ต้องลำบากในการจัดเตรียมและรักษาภาชนะทั้งหลาย
 
สำหรับวัตถุประสงค์ของการถือธุดงควัตรข้อนี้นั้น ก็เป็นไปเพื่อ
 
1. จะได้ไม่ติดในรสชาติอาหาร
2. ฝึกให้เราเป็นผู้รู้จักประมาณในการฉัน
3.ไม่ต้องลำบากในการจัดเตรียมและรักษาภาชนะทั้งหลาย
4. ฝึกให้เราเป็นผู้มีความมักน้อย   เป็นต้น
 
ถือการห้ามภัตรที่ถวายภายหลังเป็นวัตรหมายถึง การไม่ฉันภัตตาหารที่ญาติโยมนำมาถวายเพิ่มในภายหลัง
 
ถือการห้ามภัตรที่ถวายภายหลังเป็นวัตรหมายถึง การไม่ฉันภัตตาหารที่ญาติโยมนำมาถวายเพิ่มในภายหลัง
 
        7.ขะลุปัจฉาภัตติกังคะ คือ ถือการห้ามภัตรที่ถวายภายหลังเป็นวัตรหมายถึง การไม่ฉันภัตตาหารที่ญาติโยมนำมาถวายเพิ่มในภายหลังนั่นเอง แต่สามารถที่จะรับเพื่อรักษาศรัทธาของญาติโยมได้ โดยพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างอุกฤษฏ์ หรือ อย่างเข้มงวด เมื่อกลืนภัตตาหารคำแรกลงไปแล้ว จะไม่ฉันภัตตาหารที่ญาติโยมนำมาถวายเพิ่มอีกเลย แต่สามารถที่จะรับเพื่อรักษาศรัทธาของญาติโยมได้
 
        สำหรับพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างกลาง สามารถที่จะรับและฉันภัตตาหารที่ญาติโยมนำมาถวายเพิ่มได้เรื่อยๆ   ตราบเท่าที่ยังไม่ได้กำหนดใจว่า “ จะห้ามภัตร หรือ คิดว่าภัตรในบาตรเพียงพอสำหรับตัวเองแล้ว”   แต่เมื่อใดที่เริ่มกำหนดใจว่า “ จะห้ามภัตร ”   เมื่อนั้น ก็จะไม่ฉันภัตตาหารที่ญาติโยมนำมาถวายเพิ่มอีกเลย แต่สามารถที่จะรับเพื่อรักษาศรัทธาของญาติโยมได้ ส่วนพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างเบา สามารถที่จะรับและฉันภัตตาหารที่ญาติโยมนำมาถวายเพิ่มได้เรื่อยๆตราบเท่าที่ยังไม่ลุกจากอาสนะ
 
ฝึกให้เราเป็นผู้ไม่สะสมอามิส หรือสิ่งของที่เกินความจำเป็น
 
ฝึกให้เราเป็นผู้ไม่สะสมอามิส หรือสิ่งของที่เกินความจำเป็น
 
สำหรับวัตถุประสงค์ของการถือธุดงควัตรข้อนี้นั้น ก็เป็นไปเพื่อ
 
1. กำจัดความอึดอัดหรือความแน่นท้องที่จะเกิดขึ้นจากการฉัน
2. ฝึกให้เราเป็นผู้ไม่สะสมอามิส หรือสิ่งของที่เกินความจำเป็น
3. กำจัดความความโลภ หรือความอยากได้ในภัตตาหาร
4. ฝึกให้เราเป็นผู้มีความมักน้อยและสันโดษ คือมีความยินดีในภัตตาหารที่เกิดขึ้นแล้วแก่ตน  เป็นต้น
 
ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรหมายถึง การพักอาศัยอยู่แต่ในป่าเท่านั้น   โดยจะไม่เข้าไปพักอาศัยอยู่ในหมู่บ้านเลย
 
ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรหมายถึง การพักอาศัยอยู่แต่ในป่าเท่านั้น   โดยจะไม่เข้าไปพักอาศัยอยู่ในหมู่บ้านเลย  
 
        8. อารัญญิกังคะ  คือ ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรหมายถึง การพักอาศัยอยู่แต่ในป่าเท่านั้น   โดยจะไม่เข้าไปพักอาศัยอยู่ในหมู่บ้านเลย  ซึ่งพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างอุกฤษฏ์ หรือ อย่างเข้มงวดจะต้องรับอรุณหรือพักอาศัยอยู่ในป่าตลอดทั้งปี
 
        สำหรับพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างกลาง สามารถที่จะพักอาศัยอยู่ในเสนาสนะ หรือ ที่พัก บริเวณชายป่าซึ่งอยู่ใกล้กับหมู่บ้านได้ 4 เดือนในช่วงฤดูฝนแต่จะต้องพักอาศัยอยู่ในป่าตลอด 8 เดือนในช่วงฤดูร้อนและฤดูหนาว
  
        ส่วนพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างเบา สามารถที่จะพักอาศัยอยู่ในเสนาสนะ หรือ ที่พัก บริเวณชายป่าซึ่งอยู่ใกล้กับหมู่บ้านได้ 8 เดือนในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว   แต่จะต้องพักอาศัยอยู่ในป่าตลอด 4 เดือนในช่วงฤดูร้อน
 
กำจัดความคิดฟุ้งซ่านไปในเรื่องราวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องรูป,  เสียง,  กลิ่น,  รส  และสัมผัส
 
กำจัดความคิดฟุ้งซ่านไปในเรื่องราวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องรูป,  เสียง,  กลิ่น,  รส  และสัมผัส 
 
สำหรับวัตถุประสงค์ของการถือธุดงควัตรข้อนี้นั้น ก็เป็นไปเพื่อ
1. เพิ่มพูนความก้าวหน้าของสมาธิ  คือ ทำสมาธิที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น   และรักษาสมาธิที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป
2. ฝึกให้เราเป็นผู้มีใจมั่นคง ไม่หวั่นหวั่น และปราศจากความสะดุ้งกลัว
3. กำจัดความคิดฟุ้งซ่านไปในเรื่องราวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องรูป,  เสียง,  กลิ่น,  รส  และสัมผัส  เป็นต้น
4. กำจัดความรู้สึกอาลัยห่วงใย  และความยึดมั่นถือมั่นในชีวิตเป็นต้น 
 
ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร   หมายถึง การพักอาศัยอยู่ใต้ต้นไม้เท่านั้น   โดยเว้นจากการเข้าไปพักอาศัยอยู่ในที่ที่มีหลังคามุงบัง
 
ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร   หมายถึง การพักอาศัยอยู่ใต้ต้นไม้เท่านั้น   โดยเว้นจากการเข้าไปพักอาศัยอยู่ในที่ที่มีหลังคามุงบัง
 
9. รุกขะมูลิกังคะ  คือ ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร   หมายถึง การพักอาศัยอยู่ใต้ต้นไม้เท่านั้น   โดยเว้นจากการเข้าไปพักอาศัยอยู่ในที่ที่มีหลังคามุงบัง โดยพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างอุกฤษฏ์ หรือ อย่างเข้มงวด  เมื่อเลือกต้นไม้ได้แล้ว จะต้องกวาดทำความสะอาดบริเวณโคนไม้ด้วยตัวเอง
 
       สำหรับพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างกลาง สามารถที่จะเรียกผู้มีบุญที่ผ่านมาในบริเวณนั้น ให้มาช่วยกวาดทำความสะอาดบริเวณโคนไม้ ซึ่งเป็นที่พักของตัวเอง ได้ส่วนพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างเบา สามารถที่จะเรียกคนงานในวัดหรือสามเณรให้มาช่วยกวาดทำความสะอาดและก่อสร้างที่พักบริเวณใต้ต้นไม้ได้ เช่น ปรับพื้นที่ให้ราบเรียบเสมอกัน,  เกลี่ยทราย  และทำรั้วเป็นต้น
 
 การพิจารณาเห็นว่าสิ่งทั้งหลายมีความไม่เที่ยง คือ มีการเกิดขึ้น  ตั้งอยู่  และก็เสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา
 
 การพิจารณาเห็นว่าสิ่งทั้งหลายมีความไม่เที่ยง คือ มีการเกิดขึ้น  ตั้งอยู่  และก็เสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา 
 
สำหรับวัตถุประสงค์ของการถือธุดงควัตรข้อนี้นั้น ก็เป็นไปเพื่อ
 
1. เพิ่มพูนอนิจจสัญญา หรือ การพิจารณาเห็นว่าสิ่งทั้งหลายมีความไม่เที่ยง คือ มีการเกิดขึ้น  ตั้งอยู่  และก็เสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา  ที่เป็นเช่นนี้ก็เป็นเพราะ เราจะได้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของใบไม้และต้นไม้อยู่ตลอดเวลา
2. กำจัดความตระหนี่หรือความยึดติดในเสนาสนะ และขจัดความเพลิดเพลินยินดีในงานก่อสร้าง
3. ฝึกให้เราเป็นผู้มีความมักน้อย  เป็นต้น
 
ส่วนว่า ธุดงควัตรข้อต่อไปจะมีรายละเอียดเป็นอย่างไรนั้นเราก็คงจะต้องมาติดตามกันต่อในตอนต่อไป  
 
 
อานุภาพพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ
 


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
DMC ที่โซโลมอนDMC ที่โซโลมอน

Solomon Islands หมู่เกาะมนุษย์กินคนSolomon Islands หมู่เกาะมนุษย์กินคน

เกาะที่ใกล้ขั้วโลกเหนือมากที่สุด ที่มนุษย์อยู่ได้เกาะที่ใกล้ขั้วโลกเหนือมากที่สุด ที่มนุษย์อยู่ได้



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

ช่วงเด่นฝันในฝัน