พิธีทอดผ้าป่าธรรมชัยเพื่องานพระพุทธศาสนาทั่วไทย


[ 15 พ.ย. 2554 ] - [ 18459 ] LINE it!
View this page in: English

   พิธีทอดผ้าป่า

พิธีทอดผ้าป่าธรรมชัยเพื่องานพระพุทธศาสนาทั่วไทย
วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2559
ณ วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี




 พิธีทอดผ้าป่า


    ผ้าป่า คือ ผ้าที่ถวายแต่พระโดยวิธีปล่อยทิ้งไว้ให้พระมาหยิบเอาไปเอง ครั้งพุทธกาลเรียกผ้าบังสุกลจีวร ตามธรรมเนียมจะถวายหลังเทศกาลกฐินออกไป

    การทอดผ้าป่ามีหลายชนิด ที่เรียกว่าผ้าป่าแถมกฐิน หรือ ผ้าป่าหางกฐิน คือ การทอดกฐินแล้วทอดผ้าป่าด้วย บางแห่งนำผ้าป่าบรรทุกเรือพ่วงไปทางน้ำ เรียกกันว่า ผ้าป่าโยง ผ่านไปถึงวัดไหนก็ทอดวัดนั้น

    พิธีทอดผ้าป่าข้อสำคัญมีอยู่ว่า ให้อุทิศเป็นผ้าป่าจริงๆ อย่าถวายแก่ใครโดยเฉพาะ เพียงแต่ตั้งใจในขณะทอด ขออุทิศผ้าและเครื่องบริวารเหล่านี้แด่ภิกษุผู้ต้องการผ้าบังสุกุลมาถึง เฉพาะหน้าเท่านี้ก็ได้ชื่อว่าทอดและถวายผ้าป่าแล้ว

    หรือ

    ผ้าป่า เดิมหมายถึงผ้าที่ทิ้งอยู่ในป่าจริง ๆ ปัจจุบันหมายถึงผ้าที่สมมุติว่าตกอยู่ทอดทิ้งอยู่ในป่า นิยมถวายแก่พระสงฆ์อีกส่วนหนึ่งนอกเหนือจากผ้ากฐิน ผ้าป่านั้นนับเข้าในผ้าบังสุกุล

    ผ้าบังสุกุล แปลว่า ผ้าเปื้อนฝุ่น เป็นชื่อของผ้าซึ่งไม่มีเจ้าของ เป็นเศษผ้าที่เขาทิ้งตามกองขยะบ้าง ผ้าที่เจ้าของทอดทิ้งเพราะสกปรกบ้าง ผ้าเช่นนั้นพระภิกษุเก็บเอามาปะติดปะต่อ ซักฟอก แล้วย้อมด้วยด้วยน้ำฝาดทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม มาภายหลังประชาชนมุ่งถวายความสะดวกแก่พระ จึงเอาผ้าดี ๆ ทำเป็นจีวรสำเร็จรูปไปทอดทิ้งไว้ในป่าบ้าง ในป่าช้าบ้าง ตามปกติเจ้าภาพจะเอาผ้าพาดไว้บนกิ่งไม้แล้วทิ้งไว้ พระรูปใดมาพบเข้าก็ชักเอาไป หรือจะนิมนต์พระให้มาชักผ้าป่าก็ได้ ต่อมาก็นิยมทอดที่โลงศพ หรือทอดบนสายโยงศพเพื่อให้พระชักผ้านั้นไป เป็นการอุทิศกุศลให้แก่ผู้ตาย
 

ผ้าป่าธรรมชัย วัดพระธรรมกาย

 
    การทอดผ้าป่าไม่มีกำหนดเหมือนทอดกฐิน จะทอดได้ทุกฤดูกาล แต่นิยมทำต่อท้ายทอดกฐิน คือ เมื่อทอดกฐินแล้วก็จัดการทอดผ้าป่าตามไปด้วย ซึ่งเรียกว่า ผ้าป่าหางกฐิน เวลาจะทอดผ้าป่านั้น ท่านให้ตั้งใจถวายต่อสงฆ์ไม่เจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง โดยการนำไปวางเสมือนว่าเป็นผ้าทิ้งอยู่ในป่า เมื่อภิกษุสามเณรมาพบเข้าก็ทำพิธีบังสุกุลเอาไป ก็เป็นอันหมดพิธี ไม่มีพิธีมากมายเหมือนการทอดกฐิน
 
      ความจริง ผ้าป่า กับ กฐิน ก็เป็นสังฆทานด้วยกันทั้งคู่นะ แต่ทว่าอานิสงส์ โดยเฉพาะ กฐิน ได้มากกว่า เพราะว่ากฐินมีเวลาจำกัด คือจะทอดได้ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงกลางเดือน 12 แต่อานิสงส์ได้ทั้งสองฝ่าย คือ ผู้ทอดก็ได้ พระผู้รับก็ได้ พระผู้รับมีอำนาจคุ้มครองพระวินัยได้หลายสิกขาบท ทำให้สบายขึ้น ต้นเหตุแห่ง การทอดกฐินนี้ ก็มีนางวิสาขาเป็นคนแรก ในสมัยนั้น พระพุทธเจ้าท่านทรงบัญญัติการจำพรรษา เพื่อป้องกันพระไปเดินเหยียบต้นพืช ต้นข้าว ที่ชาวบ้านเขาปลูกไว้ในฤดูฝน ไม่ให้เสียหาย
 
     ครั้นเมื่อออกพรรษาแล้ว ภิกษุชาวปาฐา 30 รูป เดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ซึ่งในเวลานั้น พระสงฆ์ทั้งหลายมีผ้าจำกัดเพียง 3 ผืนเท่านั้น เมื่อมาถึง ในขณะที่นางวิสาขาเฝ้าพระพุทธเจ้าอยู่พอดี เห็นพระมีผ้าสบงจีวรเปียกโชก ด้วยน้ำฝนและน้ำค้าง จึงได้กราบทูลขอพรแด่พระพุทธเจ้าว่า

      "หลังจากออกพรรษาแล้ว ขอบรรดาประชาชนทั้งหลายจงมีโอกาสถวายผ้าไตรจีวร แก่คณะสงฆ์ด้วยเถิด" พระพุทธเจ้าก็ทรงอนุมัติ
 
     ส่วนผ้าป่าก็เป็นสังฆทาน แต่อานิสงส์จะน้อยไปนิดหนึ่ง แต่ทั้งสองอย่างก็เป็นสังฆทานเหมือนกัน แต่เป็นสังฆทานเฉพาะกิจ กับสังฆทานไม่เฉพาะกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผ้าป่า ผู้ให้ก็ได้อานิสงส์ ผู้รับก็มีอานิสงส์แต่เพียงแค่ใช้ เป็นอันว่า ทั้งสองอย่างนี้ ถือว่าอานิสงส์ การทอดกฐินมากกว่าผ้าป่า
 

กำหนดการ
 
ภาคเช้า 06.30 น. พิธีตักบาตร
ภาคสาย 09.30 น. พิธีบูชาข้าวพระ
ภาคบ่าย 15.00 น. พิธีทอดผ้าป่าธรรมชัย

(กรุณาสวมชุดขาวมาร่วมพิธี เพื่อรักษาวัฒนธรรมอันดีงามของชาวพุทธ)
สอบถาม โทร. (02) 831-1000

 


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
วันวิสาขบูชา Vesak Day ตอน วันปรินิพพานวันวิสาขบูชา Vesak Day ตอน วันปรินิพพาน

วันวิสาขบูชา  ตอน วันตรัสรู้วันวิสาขบูชา ตอน วันตรัสรู้

วันวิสาขบูชา ตอน วันประสูติวันวิสาขบูชา ตอน วันประสูติ



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง