ความขัดแย้งในการทำงาน วิธีแก้ไขความขัดแย้งในทีมงาน


[ 9 ก.พ. 2554 ] - [ 18452 ] LINE it!

">
ความขัดแย้งกับการสร้างทีม

ความขัดแย้ง
ความขัดแย้งเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา
">
">
 
      ความขัดแย้งเป็นประเด็นอมตะเพราะตั้งแต่เกิดเป็นมนุษย์ขึ้นมาเราย่อมเจอความขัดแย้งเสมอ เพราะเมื่อมีคนที่มีความแตกต่างกัน มาอยู่ร่วมกันโดยเฉพาะมาทำงานร่วมกัน มักเกิดความขัดแย้งขึ้น หากเอ่ยถึงความขัดแย้ง จะมีมุมมองด้วยกัน 2 มุมมอง คือ
 
1.   มองว่าตัวความคิดคือตัวเรา ถ้าใครคิดไม่เหมือนก็ไปอยู่ฝ่ายตรงข้าม เป็นศัตรูกับเราโดยตรง มุมมองลักษณะอย่างนี้จะทำให้การบริหารความขัดแย้งเป็นไปด้วยความยากลำบาก และเป็นมุมมองของการต่อสู้ ฟาดฟันกัน
">
 
2.  มองว่าจริงๆ แล้วมันมีความจริงอยู่ แต่ไม่ได้เป็นสิ่งที่ถูกที่สุด คือทุกอย่างเป็นความจริงอันนี้ก็จริงอันนั้นก็จริง ไม่มีอะไรถูกทีสุด เพราะฉะนั้นเวลามีปัญหากันก็แค่เอามาแสดงออก แล้วสามารถทะเลาะกันบนโต๊ะได้ พอจบจากโต๊ะไปก็สามารถนั่งกอดคอ กินข้าวกันได้
 
สาเหตุของความขัดแย้งมีด้วยกันหลากหลาย ตัวอย่างเช่น
">
 
1.  ความขัดแย้งในเรื่องของผลประโยชน์ ทั้งส่วนบุคคล ส่วนสถาบัน  
">
2.  ความขัดแย้งในการยึดมั่นกับความคิดของตัวเองมากเกินไป 
">
3.  ความขัดแย้งที่เกินจากการแยกไม่ออกระหว่างเรื่องส่วนตัวและเรื่องส่วนรวม 
">
4.  ความขัดแย้งเรื่องไม่สามารถเข้าใจในวิธีคิด ระเบียบวิธีคิด และบุคลิกลักษณะนิสัยของแต่ละคนที่แตกต่างกัน 
">
5.  ความขัดแย้งที่เกิดจากการขาดสติ เวลาเกิดความผิดก็พยายามปกป้องหน้าตาตัวเองด้วยการแสดงออก สร้างความถูกต้อง ยกเหตุผลต่างๆ นานามาอ้างมากมายเพื่อให้ตัวเองถูก
">
 
แก้ปัญหาความขัดแย้งในทีม
การทำให้เห็นภาพงานตรงกัน แก้ไขความขัดแย้งได้
">
 
การบริหารงานตามแนวตะวันตก แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
">
 
1.  แบ่งแยกแล้วปกครอง คือ เป็นการแบ่งแยกเพื่อสร้างความขัดแย้งในปริมาณที่เล็กน้อย ให้เป็นพลังขับดันในสิ่งที่ดีกว่า เหมือนกับว่าแตกแล้วโต โตแล้วแตกมีการแข่งขันกันภายในองค์กรเล็กๆ น้อยๆ แต่งานนี้ต้องอาศัย Project Manager  คือคนที่มาบริหารตรงจุดนี้ต้องเปลี่ยนพลังความขัดแย้งมาเป็นพลังทางบวก นี่คือวิธีบริหารงานแบบแรก
 
2.  ปกครองแบบทำให้สมาชิกในทีมเกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีเป้าหมายเดียวกัน เพื่อมุ่งหน้าสู่ความสำเร็จให้จงได้
 
    
">
     ในความจริงแล้วเราไม่อาจจะบอกได้ว่าองค์กรนี้ปกครองแบบนี้ องค์กรนั้นปกครองแบบไหน เพราะความจริงแล้วมันเป็นศาสตร์ และศิลปะของผู้นำองค์กรที่จะใช้สถานการณ์ไหนกับบุคคลแบบนี้ เหตุการณ์แบบนี้ ในการทำงานเป็นทีมนั้นจะมีสัญญาณในเวลาที่จะเกิดความขัดแย้งภายในขึ้นมา แล้วเราต้องบริหารความขัดแย้งในอยู่ในระดับที่เหมาะสม มันจะต้องมีตัวชี้วัดว่าเมื่อไหร่ที่เป็นสัญญาณอันตรายที่จะเกิดขึ้น
 
ความขัดแย้งภายในองค์กร 
ความขัดแย้งเกิดได้ทั้งกับทีมงานหรือหัวหน้างาน
">
 
ข้อแรก คือ เมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้นอีกคนอยู่อีกคนต้องไป ไม่สามารถจะอยู่ร่วมกันได้ ถ้าเกิดเหตุการณ์นี้แสดงว่ามันเกินเหตุไปแล้ว ต้องยุติเปลี่ยนวิธีใหม่ แล้วสร้างทีมขึ้นมาใหม่
">
 
ข้อที่สอง คือ เริ่มเกิดภาวการณ์นินทาภายในองค์กร แสดงว่าความขัดแย้งเกิดการควบคุมแล้ว
">
 
ข้อที่สาม คือ เริ่มมีปัญหาคนในองค์กรหมดขวัญกำลังใจในการทำงาน ซึ่งแสดงว่าทีมไม่ดีแล้ว
">
 
ข้อที่สี่ คือ ภายในองค์กรเริ่มมีการแบ่งก๊กแบ่งเหล่าเกิดขึ้น
">
 
ข้อที่ห้า คนในองค์กรเริ่มมีปัญหาปัดความรับผิดชอบ เวลามีเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้วเดินหนีเลย ไม่ยอมรับความผิด
">
 
ข้อที่หก ไม่มีการตัดสินใจอะไรที่เป็นรูปธรรม ขัดแย้งกันจนขาดพลังที่จะทำให้องค์กรเดินต่อไปได้ ไร้ซึ่งผลงานที่มีคุณภาพ
 
ความขัดแย้งแก้ไขได้ถ้าเข้าใจกัน 
">
ความขัดแย้งเป็นปัญหาใหญ่ที่แก้ไขได้เสมอ
">
 
วิธีการแก้ไขความขัดแย้ง
">
 
1.  เป้าหมายต้องชัด ต้องมากำหนดเป้าหมายกันใหม่ว่าจริงๆ แล้วเราจะเอาอะไรกันแน่ ว่าที่เราทะเลาะกันไปมานี่จริงๆ แล้วกลายเป็นเราเอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่ จนลืมเป้าหมายที่แท้จริงขององค์กรไปเลย
">
 
2.  กำหนดบทบาทของแต่ละคนให้ชัดเจนขึ้น จะได้รู้ว่าคนแต่ละคนในองค์กร ในทีมทำอะไร มีหน้าที่อะไรกันบ้าง แบ่งให้ทราบกันชัดๆ ไปเลย และผู้บริหารคาดหวังอะไร
">
 
3.  กำหนดหลักปฏิบัติพื้นฐานร่วมกัน คือเป็นกฎขั้นต้น เช่น เวลามีความขัดแย้งเกิดขึ้น ห้ามโยนความขัดแย้งนี้ให้บุคคลที่ 3 ตัดสิน เพราะเขาจะตัดสินความคิดของเขาเพราะใครจะมารู้ดีเท่าตัวเรา และอาจทำให้กลายเป็นเรื่องทีร้ายแรงกว่าเดิม และต้องไม่หันไปหาพวกเพื่อหากำลังเสริม ถ้าเป็นอย่างนี้องค์กรจะเริ่มแตกเป็น 2 ส่วนแล้ว หากเกิดปัญหาแล้วต้องไปปล่อยทิ้งไว้นาน ต้องแก้ให้เสร็จใน 2-3 วัน อย่าทิ้งไว้นานจนเกินปัญหาเรื้อรัง จนแก้ไม่ทันแล้ว
">
 
4. ห้ามพูดพาดพิงถึงบุคคลอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่กำลังขัดแย้งกับเรา ในที่ประชุมตอนเขาไม่อยู่ ถ้าจะพูดก็ต้องพูดกันต่อหน้า
">
 
5.  ห้ามทำให้ความขัดแย้งทางความคิดกลายเป็นความขัดแย้งระหว่างบุคคล
 
ความขัดแย้งเปลี่ยนเป็นสามัคคี 
เปลี่ยนความขัดแย้งให้เป็นความเข้าใจเพื่อทีมงานที่มีศักยภาพ
">
 
การสร้างทีมที่มีศักยภาพ
">
 
1. ต้องหายอดฝีมือมาอยู่ในกลุ่ม 
">
2. ให้โชว์ศักยภาพแสดงฝีมือ
3.หัวหน้าทีมต้องมีความสามารถในการไกล่เกลี่ย สามารถที่จะนำคนที่แตกต่างกันมาร่วมหัวจมท้ายกันได้ 
">
4. สร้างความกระจ่างในบทบาทหน้าที่ของแต่ละคน แบ่งให้ชัดเจนกันไปเลย
">
 
      ถ้าเราเป็นผู้บริหารเราจะจัดการความขัดแย้งในทีมงานของเราอย่างไร มีข้อคิดหลักๆ อยู่ด้วยกัน 3 ประเด็น
">
 
1.  การทำให้เห็นภาพงานตรงกัน แต่ก็ไม่ใช่ไม่มีอะไรที่เห็นต่างกันเลย แต่คือให้เห็นเป้าหมายตรงกัน เห็นเงื่อนไขการทำงานตรงกัน แม้จะเห็นภาพตรงกัน ความคิดอาจจะไม่ตรงกันก็ได้ ถ้าเห็นเป้าไม่ตรงกันเลยมันยากที่จะประสานความคิดให้เข้ากันได้อาจทำให้เกิดความขัดแย้งได้ ถ้าเป้าหมายตรงกันแล้ว ที่แตกต่างคือรายละเอียดวิธีการสู่เป้าหมายเดี๋ยวเราจะค่อยๆ รวมสติปัญญาความคิดทุกคนเข้ามา แล้วเกิดเป็นวิธีการที่สมบูรณ์เป็นมติของหมู่คณะได้ แต่ถ้าเกิดภาพรวมเห็นไม่ตรงกัน รวมยังไงก็รวมไม่ติดจะเกิดปัญหาตามมาอย่างแน่นอน การทำให้เห็นภาพรวมตรงกันมีวิธีอีกแบบคือ การหมุนงาน จะทำให้เจ้าหน้าที่แต่ละฝ่ายเห็นภาพงานชัดขึ้น เข้าใจคนที่ทำงานด้านอื่นๆ มากขึ้น เพราะฉะนั้นการหมุนงานเป็นระยะๆ มีความจำเป็น หรืออีกวิธีคือวิธีการในการจ่ายงาน แต่ละคนจะมีฝ่ายรุก ฝ่ายรับ องค์กรจะโตได้ต้องเน้นฝ่ายรุกเยอะหน่อย ถ้าให้เจ้าหน้าที่ทุกส่วนในองค์กรได้ทำหน้าที่ฝ่ายรุกบ้าง จะเริ่มทำให้ทุกคนเห็นภาพตรงกันเพราะต้องรับภารกิจเหมือนกัน
">
 
2.  การให้คุณ ให้โทษเป็นทีม เพราะคนเราจะเรียนรู้จากการให้คุณให้โทษ ทำแบบไหนแล้วเขาได้รับผลดี เขาก็จะทำแบบนั้นอีก ดังนั้นถ้าเราให้คุณให้โทษเป็นทีมจะมีผลเยอะต่อความสามัคคีของทีม เราลองสังเกตว่าบริษัทที่ทำเป็นทีมเก่งคือญี่ปุ่น เพราะเขาสามารถรวมบริษัทรถยนต์ต่างๆ มาทำค้นคว้าวิจัยแล้วก็แบ่งปันประโยชน์ที่ได้อย่างสมส่วน เวลาแข่งก็แข่ง เวลาร่วมมือก็คือร่วมมือ ในฝ่ายเดียวกันมีหลายแผนก เขาก็แข่งกัน แต่ขณะเดี๋ยวกันก็ร่วมมือกันเพื่อไปแข่งกับบริษัทอื่นๆ ที่เป็นอย่างนี้ได้ เพราะเขามีการให้คุณให้โทษกันเป็นทีม ถ้าทุกคนรู้กันว่างานออกมาดีทุกคนได้ประโยชน์กันหมด การสมัครสมานสามัคคีก็จะเกิดขึ้น จะไม่เกิดสภาพสร้างอาณาจักรเฉพาะตัวเกิดขึ้น ยิ่งมีการหมุนเวียนงาน อาณาจักรต่างๆ ก็จะยิ่งหายไป
 
เว่ยเจิง 
เว่ยเจิง ขุนนางฝ่ายคัดค้าน 
 
">
3. ผู้บริหารต้องรู้จักรับฟังความคิดเห็น คำคัดค้าน แม้เป็นคำคัดค้านที่ไม่เห็นด้วยกับเรา ต้องมีความกล้าหาญพอที่จะรับฟัง คนที่ไม่กล้าพอ เจอใครค้านก็จะไม่ชอบ ในประวัติศาสตร์จีนราชวงศ์ที่เจริญรุ่งเรืองมากๆ คือราชวงศ์ถัง ผู้ที่ตั้งราชวงศ์คือ พระเจ้าถังไท่จงฮ่องเต้ หรือ หลีซิบิ๋น จักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ขึ้นครองราชย์ตอนอายุ 26 ปีเท่านั้นเอง ท่านบริหารประเทศแบบรับฟังความคิดเห็นจากทุกคน ท่านตั้งขุนนางชื่อเว่ยเจิง ตั้งในตำแหน่งขุนนางคัดค้าน คอยคัดค้านฮ่องเต้โดยเฉพาะ ทำให้เกิดความรัดกุมในนโยบาย ผลคือราชวงศ์ถังเป็นราชวงศ์ที่รุ่งเรืองมากๆ จนคนจีนภูมิใจในความเป็นคนราชวงศ์ถัง นี่เป็นผลจากการที่ผู้นำรับฟังความคิดเห็น ถ้าผู้นำกล้าฟัง ลูกน้องก็กล้าพูด
">
 
     สรุปโดยรวมได้ว่าการกำจัดปัญหาความขัดแย้งคือ 1. สร้างให้ทุกคนในทีมเห็นภาพรวมตรงกันมีเป้าหมายทิศทางตรงไปในทางเดียวกัน 2. คือให้คุณให้โทษเป็นทีม ย่อยเป็นฝ่าย เป็นแผนก เป็นทีมลงไปเลย ข้อที่ 3. คือ ผู้นำกล้ารับฟังความคิดเห็นหลอมรวมทุกคนเข้าด้วยกัน แล้วเราก็จะประสบความสำเร็จได้อย่างแน่นอน
 
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
 


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
ข้อคิดรอบตัว เรื่อง วัดพระธรรมกายตอนที่ 1ข้อคิดรอบตัว เรื่อง วัดพระธรรมกายตอนที่ 1

ทุกวันอาทิตย์ เสา E6 รวมพลัง dmc.tvทุกวันอาทิตย์ เสา E6 รวมพลัง dmc.tv

ทบทวนบุญวันมาฆบูชา วันที่ 28 ก.พ. 2553ทบทวนบุญวันมาฆบูชา วันที่ 28 ก.พ. 2553



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

Review รายการ