บอกข่าวร้ายแบบไม่ทำร้ายคนฟัง


[ 22 ต.ค. 2556 ] - [ 18271 ] LINE it!


บอกข่าวร้ายแบบไม่ทำร้ายคนฟัง

     ในโลกของเรามี 2 ด้านเสมอ ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นโลกธรรม 8 ก็คือ ในเมื่อมีลาภ มียศ มีสรรเสริญ สุข นั้น เราก็จะต้องเจอกับการเสื่อมลาภเสื่อมยศ การนินทา และความทุกข์ค่ะ ในเมื่อการเผชิญข่าวร้าย หรือเรื่องร้าย ๆ เป็นเรื่องปกติ สิ่งหนึ่งที่เราจะต้องเรียนรู้ก็คือ เราจะแจ้งข่าวร้ายให้กับคนที่เรารักอย่างไรโดยไม่ทำร้ายจิตใจเขา
 


     ทุกคนก็ต้องมีทั้งข่าวดีข่าวร้ายในชีวิตนะครับ แล้วก็การบอกข่าวร้ายนี่ ความจริงแล้ว ก็ต้องยอมรับว่าไม่ได้เป็นเรื่องที่น่ายินดีเลย แต่บางครั้งการบอกข่าวร้ายผิดที่ผิดเวลานี่ ยิ่งจะเป็นเรื่องสร้างความลำบากแล้วก็แย่หนักขึ้นไปอีกเพราะฉะนั้นความยากของเรื่องนี้ก็คือว่า มันไม่ใช่ เรื่องง่ายทั้งผู้บอกข่าวร้าย แล้วก็ผู้ที่รับฟังด้วย เพราะฉะนั้นจึงต้องอาจจะมีการที่จะศึกษา
 
      ในของเรื่องปฏิกิริยาว่าเวลามีข่าวร้ายคนเราจะมีปฏิกิริยาอย่างไรบ้างซึ่งดอกเตอร์ อลิซาเบธ คูเบอร์ รอส นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เขาก็สรุปว่าปฏิกิริยาของมนุษย์มีอยู่ 5 ขั้นตอนเวลาพบกับข่าวร้าย คือ

     ขั้นแรก คือการตกใจอย่างแรงที่เรียกว่า Shock  แล้วก็ปฏิเสธไม่จริง ๆ เป็นไปไม่ได้คือก็จะมีอาการชา แล้วขาดความรู้สึกไปชั่วขณะหนึ่งแล้วรู้สึกไม่ใช่ตัวเองไม่สามารถที่จะตั้งสติได้ ลำดับเหตุการณ์ไม่ได้ ไม่รู้ว่าอะไรเกิดขึ้นกับตนเองหรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง

     ขั้นที่ 2 ก็จะเริ่มเกิดความรู้สึกโกรธหรือเพ่งโทษ ก็คือรู้สึกว่า เอ๊ะ ทำไมเหตุการณ์นี้ต้องมาเกิดกับตัวเอง ทำไมไม่เกิดกับคนอื่น พยายามโทษว่าเป็นความผิดของคนใดคนหนึ่ง หรือบางครั้งโทษแม้กับสิ่งที่เรามองไม่เห็นเป็นเรื่องของการโทษพลังที่เหนือธรรมชาติไป

     ขั้นที่ 3 ก็คือเป็นขั้นของการต่อรองคือว่าในส่วนที่เรายอมรับไม่ได้ก็จะเริ่มต่อรองแล้วว่า ขอให้ผ่านช่วงนี้ไปก่อนได้ไหม คือพยายามที่จะหาพื้นที่ที่สร้างความมั่นใจในตัวเองใหม่ขึ้นมา ก็เลยเป็นเรื่องเหมือนกับเป็นการปลอบใจตัวเอง คือมีความรู้สึกว่าตัวเองที่เกิดขึ้นมามันยังยอมรับไม่ได้

     ขั้นตอนที่ 4 คือขั้นตอนของความซึมเศร้า คือเป็นสภาวะ ที่เราไม่สามารถที่จะจัดการอะไร อะไรได้ คือทุกอย่างมันเหนือความควบคุม คือไม่สามารถจัดการกับปัญหาได้ ไม่สามารถจะบังคับได้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นจะเอาหรือไม่เอา เพราะฉะนั้นนี่ ช่วงซึมเศร้านี่ เป็นช่วงที่ต้องระมัดระวัง เพราะว่า อาจจะมีอาการอย่างอื่นมากขึ้น เช่น การทำร้ายตัวเองหรือว่าทำร้ายผู้อื่น ตรงขั้นตอนนี้ก็ต้องเป็นขั้นตอนที่จะต้องผ่านไปให้ได้

     ขั้นตอนที่ 5 คือขั้นตอนสุดท้ายก็เป็นขั้นยอมรับคือว่าเมื่อ เวลาผ่านไปช่วงระยะหนึ่งไม่ว่าจะระยะสั้นหรือระยะยาวสติฟื้นคืนมาความรู้สึกแย่ ๆ ก็คืนไป อารมณ์เศร้าก็ค่อย ๆ ลดลง เพราะฉะนั้นอีกอย่างหนึ่ง ก็คือเราเริ่มได้รับข้อมูลใหม่ เริ่มรู้ว่าบางอย่างนี่ มันเป็นความสูญเสียไปแล้ว เอาคืนมาไม่ได้ แล้วก็เลยเหมือนกับว่าบางอย่างมันเป็นสิ่งที่ผ่านไปแล้วแก้ไขก็ไม่ได้เอาคืนมาก็ไม่ได้ มันก็ต้องปล่อยให้ผ่านไป    
 


แล้วเราจะลัดขั้นตอนได้ไหม จาก 1 แล้วไป 5 เลยอย่างนี้ ไม่ต้องผ่าน 2-3-4 ???

      ความจริงแล้ว ถ้าเราที่จะทำให้เกิดอาการรับข้อมูลข่าวสารแล้ว เข้าไปถึงขั้นที่ยอมรับได้ก็ต้องมีวิธี ก็คือวิธีในการที่จะบอกข่าวร้ายอย่างเตรียมตัวอย่างมาอย่างดี อย่างที่บอกไปตั้งแต่ต้นแล้วว่า การบอกข่าวร้ายยากพอ ๆ กับการฟังข่าวร้าย เพราะฉะนั้นถ้าเราเตรียมตัวทั้งสองด้าน คือการเตรียมตัวฟังข่าวร้าย ก็คือเป็นสิ่งที่เหมือนกับว่าเราต้องพร้อมเสมอเพราะว่าเหตุที่เกิดขึ้นในโลกนี้ไม่มีอะไรแน่นอน เราก็ได้เรียนรู้ไปแล้วว่าขั้นตอนของการปฏิกิริยาต่อข่าวร้ายมีอยู่ 5 ข้อ ถ้าเราเรียนรู้ในเรื่องนี้แล้วไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับตัวเรา เราก็พร้อมเสมอเราก็ลัดขั้นตอนได้ขั้นหนึ่งแต่อีกขั้นหนึ่งที่สำคัญ คือคนพูดนี่ล่ะ

การเตรียมตัวของคนพูด

      ต้องเตรียมตัววิธีบอกข่าวร้าย บางครั้ง แน่นอน ทุกคนจะต้องรับบทบาทนี้ไม่วันใดก็วันหนึ่ง เพราะฉะนั้นเราต้องเริ่มต้นจากตัวเราก่อนว่า.....
 
     ขั้นที่ 1  ข่าวร้ายที่เราได้รับมาแล้วเราจะต้องบอกต่อ ตัวเรานี่เหมาะสมไหมที่จะบอก ครับ ถ้าเราจัดการตัวเราเองได้ จัดการกับอารมณ์ของเราได้เราก็เหมาะสมที่จะบอกไหมนะครับ เราผ่านขั้นตอน ขั้นแรกคือตกใจ ช๊อค ปฏิเสธ ตื่นเต้น เสียใจอะไรก็แล้วแต่ มีความโกรธ แล้วเราก็ตั้งสติได้ทันที อย่างนี้เราก็เหมาะที่จะเป็นคนพูดนะครับบอกข่าวร้ายนั้น  เพราะฉะนั้นเมื่อเราผ่านขั้นตอนทางอารมณ์แล้วเราจัดการได้เสร็จเรียบร้อยหมดแล้ว เราตั้งสติได้แล้วก็ต้องพยายามทำความเข้าใจในเรื่องที่เราจะพูดต้องคอยซักซ้อม แล้วเรื่องที่เราจะพูดทั้งหมดก็ต้องมีการเตรียมการเรียบเรียงคำพูด กระชับ สั้น ๆ แต่ได้ใจความ แล้วก็มีการซักซ้อม แล้วพิจารณาวิธีสื่อสาร จริง ๆ แล้ว คือว่า การสื่อสารมีได้หลายแบบนะครับ ส่งเป็นข้อความ โทรศัพท์ไป แต่ส่วนใหญ่แล้วข่าวร้ายแล้วนี่ต้องพูดต่อหน้าแล้วก็การที่จะเข้าไปพูดรู้ว่าสิ่งไหนควรพูด สิ่งไหนไม่ควรพูดแล้วก็ฝึกฝนด้วย แล้วก็ต้องรู้จักยืดหยุ่นประนีประนอม เวลาเขาตอบกลับมาหรืออะไรต่าง ๆ เหล่านี้ เราต้องรู้วิธีที่จะประคับประคองสถานการณ์นั้น ประคับประคองอารมณ์นั้นไปอย่างไร

      เวลาพูดก็อย่าไปเผชิญหน้า ก็คือ นั่งเฉียง ๆ แล้วก็ท่าทีผ่อนคลาย ไม่กอดอกหรือไม่ไขว่ห้างแต่พยายามโน้มตัว เข้าไปหาผู้ฟัง ภาษากายนี่สำคัญจะทำให้เกิดรู้สึกกดดัน ถ้าภาษากายไม่ดี

     ขั้นที่ 2 ต้องให้ความสำคัญกับสถานที่และเวลา สถานที่ก็ต้องสงบเป็นส่วนตัว ถ้าเกิดเราจำเป็นที่จะต้องพูดในห้องทำงาน ในที่ทำงานอาจจะต้องเข้าไปในห้องประชุมแล้วก็ปิดผ้าม่านลงนิดหนึ่ แต่ก็ไม่ต้องให้ถึงกับมืด คือต้องให้มีความสว่างเข้า ให้มีความเป็นส่วนตัว อย่างตรงไหนที่มันเป็นนั่น เราก็อาจจะเอาฉากลงมา คือทำมุมนิดหนึ่งหรืออะไรอย่างนี้ เพื่อที่จะให้สถานที่มีความเป็นส่วนตัวระดับหนึ่ง เวลาก็เกี่ยวข้องเหมือนกันเวลาที่พูด บางครั้งการรอคอย มันจำเป็นต้องรอ แต่บางอย่างมันรอไม่ได้ อย่างเช่นเรื่องอุบัติเหตุ

      เพราะฉะนั้นก็ต้องดูว่าเขาพร้อมที่จะรับฟังหรือยัง แล้วก็เครื่องมือสื่อสารอะไรนี่ ควรจะปิด เพราะในระหว่างที่กำลังพูดข่าวร้ายอยู่ดี ๆ เสียงโทรศัพท์ดัง มันจะไปทำลายสมาธิทุกอย่าง 

      ขั้นตอนที่ 3 เขาเริ่มต้นฟังอีกฝ่ายอย่างตั้งใจก่อนก็คือผู้เชี่ยวชาญเขาแนะนำว่าให้เราถามไปก่อนใส่ใจเขา ความรู้สึกของอีกฝ่ายหนึ่งตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง เวลาอีกฝ่ายตอบกลับมาเหมือนกับพูดคุยกันเฉย ๆ นะครับ เราก็ตั้งใจรับฟัง เสร็จแล้วเวลาตอบกลับนี่ ก็ควรจะมีคำของประโยคสุดท้ายของผู้พูด เหมือนกับว่าเราใส่ใจคำพูดของเขาไม่ใช่ว่า อยากจะพูดอะไรก็พูดไป คือเหมือนกับว่าเราตอบสนองในคำพูดที่รับฟังมาแล้วก็ตอบกลับด้วยประโยคสุดท้ายนั้นด้วย

     ขั้นตอนที่ 4 ในการเตรียมตัวคือในเมื่อเราบอกข่าวร้ายออกไปผู้ฟังย่อมมีอารมณ์ผู้ฟังย่อมมีปฏิกิริยาหลายอย่าง มีความเป็นไปได้หลายอย่าง เพราะฉะนั้น ตอนนี้ก็คือว่า ความสงบสยบความเคลื่อนไหว คือเราต้องพร้อมในการที่เราจะตั้งรับอารมณ์ การกระทำ หรืออะไรต่าง ๆ ที่จะตอบสนอง ออกมา แน่นอน ถ้าเกิดว่า ถ้าเราตอบรับด้วยอารมณ์ด้วยผลลัพท์ไม่น่าจะดีก็คือต่างคนต่าง Emotion กันไปทั่วกันไปหมดเลย ไม่ได้ช่วยทำให้สถานการณ์อะไรดีขึ้นเลย

      เพราะฉะนั้นผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า คนที่พูดข่าวร้ายนี่ ต้องสะกดอารมณ์ ต้องตั้งสติ แล้วก็อดทน แล้วนิ่งสงบ วิธีที่ดีที่สุด คือ การแสดงความเห็นอกเห็นใจ และแสดงความเข้าอกเข้าใจ พยายามเอาใจเขามาใส่ใจเรา มีความรู้สึกร่วมกับคู่สนทนา ในขณะเดียวกัน ถ้าหากมันเป็นเรื่องร้าย ๆ ที่อาจไปกระทบบุคคลอื่น มีปฏิกิริยาตอบสนองออกมาอย่างรุนแรงก็ไม่ควรจะไปซ้ำไม่ควรจะชวนกันไปเข้ารกเข้าพงเลย เราต้องตั้งสติแล้วแสดงความเห็นใจเขาอย่างเดียว คือเราอย่าไปตามอารมณ์เขา เราต้องตั้งสติเรากลับ ไม่งั้นก็คือไปด้วยกันเลย

     ข้อสุดท้าย คือ ถ้าเราไม่ไหวให้หาตัวช่วย ก็คือถ้าเรื่องไหนที่เราประเมินแล้วมันเกินกำลัง ต้องหาผู้ช่วย ข่าวร้ายต่าง ๆ มันมักจะมีอยู่ 2 อย่าง คือ ความสูญเสีย ในเรื่องของการสูญเสีย แน่นอนให้เราประเมินมันเป็นเรื่องของการสูญเสียอะไร สูญเสียคนรัก สูญเสียของรัก สูญเสียสิ่งที่ตนเองตั้งความหวังเอาไว้ตั้งใจเอาไว้ กับอันสุดท้ายก็คือสูญเสียคุณค่าของความเป็นคนในตัวของคนนั้นด้วย

      บางครั้งมันมาพร้อม ๆ กัน ต้องดูให้ดี ถ้าประเมินแล้วคิดว่า ชักเห็นท่าไม่ดี ถ้าเราจะให้การบอกข่าวร้ายนี้ผ่านไปอย่างด้วยดี อาจจะต้องมองตัวช่วย เช่น ดูเรื่องสมาชิกในครอบครัว ดูว่าเพื่อนสนิทหรือบุคคลที่เขาเคารพรักมาร่วมฟังด้วย อย่างน้อยที่สุดนี่ เขาก็จะรู้สึกผ่อนคลาย แล้วก้อ รู้สึกว่ามีคนที่รักเขา แล้วก็เขาไว้วางใจอยู่เคียงข้างเขา แล้วก็มีความเห็นอกเห็นใจ แต่ว่าเราบอกข่าวร้ายด้วยความปรารถนาดีอย่างจริงใจ แล้วก็ทำให้ข่าวร้ายนั้นผ่านไปได้ด้วยดี
 

เราต้องเตรียมอุปกรณ์อะไรไหมในการบอกข่าวร้าย

     ความจริงแล้วก็คือ เราต้องเตรียมคำพูด เตรียมแสดงความเห็นอกเห็นใจ แล้วก็อย่าลืมเตรียมกระดาษทิชชู่ไปด้วย  เพราะว่าพอถึงเวลา วิ่งหากระดาษทิชชู่กันรู้สึกเหมือน Move  มันขัดนิดหนึ่ง คือพอถึงเวลาแล้ว เอ๊ะ ทิชชู่อยู่ไหน

     ข่าวร้ายอาจเกิดขึ้นทุกวันอะไรก็เกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้นการเตรียมตัวต้องเตรียมตัวทุกขณะจิตเลย ค่ะ ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสกับพระอานนท์ที่ว่าให้ระลึกถึงความตายตลอดเวลา นอกจากความตายแล้วเราก็อาจสูญเสียอย่างอื่นในโลกธรรม 8 ไม่ว่าจะเป็น ลาภ ยศ สรรเสริญ หรือว่าสุข ซึ่งเราอาจสูญเสียไปได้ ถ้าเราเตรียมใจให้พร้อมอะไรมากระทบก็ไม่กระเทือน อย่างนั้น จะเป็นเรื่องที่ดีที่สุด

     ตรงนี้ก็เป็นส่วนของทันโลกแต่ในส่วนของทันธรรม พระอาจารย์ พระมหา ดร.สมชาย ฐานวุฒโฒ ท่านจะมีวิธีการเตรียมตัวให้เราบอกข่าวร้ายอย่างไม่กระทบกระเทือนใจผู้ฟังอย่างไร ?
 
 

    พระมหาสมชาย ฐานวุฑฺโฒ : เจริญพร  วันนี้เรามาคุยกันเรื่อง บอกข่าวร้ายแบบไม่ทำร้ายคนฟัง ความจริงต้องบอกว่าไม่ใช่ข่าวร้ายอย่างเดียวนะ แม้แต่ข่าวดี ดีมากเกินนี่ รู้แบบกะทันหันบางทีช็อคตายไปก็มีเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จริง ๆ ต้องบอก การบอกข่าวแบบไม่ทำร้ายคนฟัง

      เราคงได้ยินข่าว ตอนที่มหาวิทยาลัยทางอิสานถูกยุบ มีคุณครูท่านหนึ่งเขาไปสมัครเรียนการบริหารการศึกษา กะว่าจะเป็นวุฒิที่เป็นเครดิตเป็นความรู้แล้วก็ใช้ไต่เต้าให้มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานอุตสาห์จ่ายเงินจ่ายทองค่าเล่าเรียนนี่ก็เป็นแสนนะ แล้วก็ไปเรียนหนังสือทำตามกติกาทุกอย่างจนกระทั่งจบมหาวิทยาลัยมีปัญหาพอดี มีคณะกรรมการส่วนกลางส่งเข้ามาดูแล พอมหาวิทยาลัยถูกยุบ ตัวเองไม่ได้ปริญญาโทเท่านั้นเอง พอทราบข่าว ช็อคเสียชีวิตไปเลย แต่ข่าวร้ายมาถึงตูมเดียว ช็อคเลย เพราะคาดหวังไว้สูงมากอย่างนี้ก็มี

     อีกรายหนึ่งนี่ เป็นเพราะคนทำมาหากินปรากฏว่าไปถูกลอตเตอรี่รางวัลที่ 1 แจ๊กพอทได้มา 34 ล้าน ช็อคคาโรงพักเลยต้องเอารถพยาบาลมาส่ง โชคดียังไม่ตายนะ ฟื้นขึ้นมาได้เกือบจะไม่ได้ใช้รางวัลตั้ง สามสิบกว่าล้าน เพราะข่าวดีมาเร็วเกิน เตรียมตัวเตรียมใจไม่ทัน

      เพราะฉะนั้น เราจะแจ้งข่าวบอกข่าวใครต้องดูตรงนี้ให้ดี ข่าวร้ายก็ต้องระวังให้มากพิเศษ แต่แม้ข่าวดี ดีเกิน แล้วดีใหญ่ ๆ นี่ก็มีโอกาสเกิดเรื่องเหมือนกัน ถามว่าน้ำหนักในการที่เราเองจะพูด จะต้องบอกเขาว่าต้องทำอย่างไร ถ้าข่าวดีล่ะก้อไม่ยาก อย่าตั้งใจจะ เซอร์ไพร์สเขา เซอร์ไพร์สมากเกินไป ช็อคไปทีเดียวนี่ แย่เลย ฉะนั้นอย่าไปคิดเซอร์ไพร์สเขา ต้องให้เขาค่อย ๆ รู้ก็แล้วกัน

     เพราะโดยธรรมชาติคนเรา พอใจอยู่แล้วเรื่องข่าวดี อย่าให้จู่โจมเกินไปก็คงจะโอเค อันนี้ไม่ยาก แต่ในกรณีข่าวร้ายอันนี้ละเอียดอ่อนมาก มันเป็นเรื่องที่มนุษย์โดยทั่วไปไม่ปรารถนาที่จะได้รับฟัง แล้วเราจะบอกเขาอย่างไรดีล่ะ ขอให้รู้หลักอย่างหนึ่งว่า ถ้ามาอย่างพรวดพราด บางทีมันตั้งหลักเตรียมใจไม่ทัน เพราะฉะนั้นเราเองต้องใจเย็น ๆ ไม่ใช่ว่ารู้อะไรมาปั๊บ เจอปั๊บ เม๊าส์เลยพูดเลย อีกฝ่ายตั้งตัว ตั้งหลักไม่ทัน ช็อคตายไปเลย หรือว่าซึมเศร้า เกิดอาการขึ้นมา

      เราลองมาดูหลักที่พระพุทธเจ้าพระองค์ตรัสมีกรณีหนึ่งเคยยกตัวอย่างเรื่องนี้หลายครั้ง คือพระเจ้าปเสนทิโกศลพระองค์เป็นกษัตริย์แคว้นโกศล เป็นมหาราชยุคหนึ่งในแคว้นนั้น แล้วพระมเหสีคือพระนางมัลลิกานี่เป็นคนใจบุญนะ ใจบุญสุนทานทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างเต็มที่ เป็นผู้ที่ให้คำแนะนำให้พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ให้ทานที่เลิศที่สุดที่เรียกว่า อัสทิสทาน คือทานไม่มีใครเสมอเลยนี่ แต่ว่าวิบากกรรมในอดีตก็ตามมาทัน มีอยู่คราวหนึ่งพระนางไปเข้าห้องน้ำแล้วมีสุนับตัวโปรดเข้ามาด้วย ปรากฏว่าสุนัขโดนตัวปั๊บใจอ่อนวูบวาบไป เลยมีอะไรอะไรกับสุนัขเลยสาเหตุเป็นเพราะว่าภพในอดีตเคยเป็นสามีของพระนางรักกันมาก แล้วก็อธิษฐานจิตว่าเกิดกันภพใดชาติใดขอให้เจอกันแล้วได้เป็นสามีภรรยากันอีก ไปอธิษฐานผิดเพราะคนเรามีสามีภรรยาจะรักใคร่ดูดดื่มปานใดก็ตามแต่ละคนทำบุญทำกรรมไม่เท่ากันใช่ไหม รักกันก็จริง
 

     บางทีภรรยาใจบุญ สามีไปนั่งกินเหล้าเป็นต้น พอตายไปคนละภพละภูมิสิ ภรรยาสร้างบุญไว้ดีมาเกิดเป็นมเหสีกษัตริย์ ฝ่ายสามีไปเกิดเป็นสุนัข แต่ด้วยแรงอธิษฐานนั่นเองพอไปเจอกันปุ๊บถูกตัว ใจอ่อนวูบวาบไปเลยนี่ ไปมีอะไรกับสุนัข ทั้งที่ปกติเป็นคนใจบุญมาก ฝ่ายพระเจ้าปเสนทิโกศลดูที่ระเบียงมองมาเห็นพอดี โกรธมาก ไปตามพระนางมัลลิกามา เจ้าหญิงถ่อยไปทำอย่างนั้น ได้อย่างไรเสียเกียรติยศศักดิ์ศรีหมด แต่พระนางมัลลิกาเป็นคนฉลาด พระเจ้าปเสนทิโกศลเป็นคนหัวทึบ ๆ หน่อย ปฏิภาณไหวพริบพระนางมัลลิกาดีมาก แก้ทันทีบอกว่า อะไรหรือคะเกิดอะไรขึ้น พระเจ้าปเสนทิโกศลบอกว่า อย่ามาทำพูดดีไปมีอะไรกับสุนัขในห้องน้ำ พระนางมัลลิกาก็บอกว่า เปล่าเลยไม่เห็นมีอะไรเลย อ้าวก็แต่เห็นเขาบอกว่าห้องน้ำนั้นมีอาถรรพ์นะใครเข้าไปจะเห็นภาพแปลก ๆ ไหนพระองค์ลองเข้าไปดูสิ พอพระองค์เข้าไปในห้องน้ำ งง ๆ เดินเข้า พระนางมัลลิกา ก็ทำเป็นร้องวี๊ดว๊ายทำอย่างนั้นได้อย่างไรเสียหายแล้วบอกว่าพระองค์ไปมีอะไร ๆ กับสัตว์นี่ พระเจ้าปเสนทิโกศลบอกไม่มีอะไรนะ ไม่ได้ทำอะไรนะ อย่าพูดเห็นอยู่ชัด ๆ พระเจ้าปเสนทิโกศลก็นึกว่าห้องน้ำนี้มีอาถรรพ์ ให้คนทุบทิ้ง เรื่องก็เลยคลี่คลายจบไป ถือว่าพระนางมัลลิกาเอาตัวรอดในชาตินี้ แต่กฎแห่งกรรมน่ะไม่รอดนะ ไปผิดศีลข้อ 3 ด้วย แล้วแถมซ้ำด้วยศีลข้อ 4 อีก โกหกพระสวามีอีก พอก่อนตาย นึกถึงเรื่องนี้แล้วไม่สบายใจ จิตเศร้าหมอง พอจิตเศร้าหมอง ต้องไปอบายดูดวู่บลงอเวจีมหานรกเลยนะ

     พอพระนางมัลลิกาสวรรคต พระเจ้าปเสนทิโกศลก็เสียอกเสียใจไปกราบพระพุทธเจ้า ตั้งใจถามว่าพระนางมัลลิกาไปเกิดที่ไหน แต่พระพุทธเจ้าพระองค์รู้ด้วยพุทธานุภาพว่าถ้าบอกตอนนี้นะตกนรกอยู่ พระเจ้าปเสนทิโกศลรับไม่ได้หรอกแล้วเผลอ ๆ เดี๋ยวจะกลายเป็นมิจฉาทิฎฐิ พระมเหสีเราสร้างบุญขนาดนี้ จะตกนรกได้อย่างไร ไม่เข้าใจ รับไม่ได้ เดี๋ยวจะเสื่อมศรัทธา พระองค์ก็เลยใช้พุทธานุภาพ ทำให้พระเจ้าปเสนทิโกศล ลืมคุยเรื่องอื่น ๆ ก็ลืมไป กลับวังคุยเรื่องอื่นลืมอีก 7 วัน พอ 7 วัน บุญที่พระนางมัลลิกาเทวีทำไว้มากมายได้ช่องส่งผล ผลึบไปทำให้พระนางนี่ใจใสขึ้นแล้วก็พ้นจากวิบากกรรมในอเวจีมหานรกไปเกิดบนดุสิตโลกสวรรค์ วันที่ 8 พระเจ้าปเสนทิโกศลมากราบพระพุทธเจ้า คราวนี้ไม่ลืมแล้ว พระพุทธเจ้าบอก พระนางมัลลิกาเทวีได้ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิตแล้ว พระเจ้าปเสนทิโกศลฟังปั๊บก็บอก นึกแล้วคนดีอย่างมเหสีของข้าพระองค์ไม่ไปเกิดในดุสิตบุรีแล้วล่ะก้อ ใครล่ะจะไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต ปลื้มอกปลื้มใจความเศร้าโศกก็คลายลง พอรู้ว่าพระมเหสีไปดีแล้วก็กลับวังไป สังเกตพระพุทธเจ้าไหมพระองค์ยังต้องมีจังหวะเลยนะ ไม่ใช่มาถึงปั๊บ มาถาม ถามก็ถามมา ตอบผลั๊วะเดียวนี่ ช็อคเลย ก็เลยเพี้ยนเป๋เสียไปเลย พระองค์ไม่ ดูTiming ดูจังหวะนะ ถ้าเป็นเรา บอกเอ๊ะเราไม่มีพุทธานุภาพ จะไปดึงให้เขาลืมก็ทำไม่ได้ แล้วจะทำยังไงคือให้เราเองจับหลักวิธีการ บางเรื่องนี่ไม่ใช่รู้ปุ๊บแล้วพูดปั๊บ แต่ใจเย็น ๆ ให้จังหวะอารมณ์เขาพร้อมก่อน สถานการณ์เรื่องราวคล่อย ๆ คลี่คลายจุดนั้นก่อน บางอย่างก็ให้นัยยะนิด ๆ ให้เขาคิดแต่ว่าพอได้เซนส์ แต่ว่าไม่ค่อยแน่ใจ ห้าสิบห้าสิบเป็นการเตรียมตัวเตรียมใจ พอถึงคราวรู้ปั๊บ มันก็เตรียมตัวเตรียมใจไปพอสมควรแล้วเป็นต้น

     ไม่ใช่รู้ปุ๊บก็โป้งเดียวปั๊บ คนฟังก็ช็อคตายไปเลยนี่อย่าให้ถึงขนาดนั้นดูจังหวะจะโคนให้ดีแล้วตัวของเราเองสำคัญนะ คือ ถ้าหากเราเองอยู่ในบุญ สวดมนต์นั่งสมาธิให้ใจเรานิ่ง ๆ ถึงคราวจะบอกเขาแล้วไม่มีอารมณ์แทรกเลย ตัวเราใจเรานี่ นิ่งจริง ๆ เรานึกถึงผู้ที่เราบอกข่าวให้เขาใส ๆ ที่ศูนย์กลางกายของเราที่กลางท้องนี่นะ พรุ่งนี้จะไปบอกข่าวร้ายกับเขานี่ จำเป็น ไม่พ้นแล้วค่อย ๆ ปูตามลำดับ โอเคต้องพูดแล้ว นั่งสมาธิเป็นพิเศษ แล้วให้นึกถึงบุคคลที่เราจะไปบอกเขาให้เห็นตัวเขาที่ศูนย์กลางองค์พระของเรานี่ นึกให้เขาใส ๆ สว่าง ๆ มีจิตตั้งความปรารถนาดีต่อเขาอย่างเต็มที่ พอรุ่งขึ้นจะไปบอกเขานี่ ใจเรานิ่งเต็มที่ สีหน้าแววตา อากัปกิริยารวมทั้งน้ำเสียงเราเองจะเย็น ๆ ให้ผู้ที่รับฟังข่าวเขา ปรับตัวปรับใจได้ง่ายไม่หวือหวาตื่นเต้นเศร้าโศกเสียใจเกินไป เพราะว่าได้รับกระแสแห่งความสงบ เย็นกาย เย็นใจจากตัวของเราออกไป สุดท้ายทุกอย่างจะวกกลับไปสู่ใจของเรา ถ้านิ่งจริง ๆ เย็นจริง ๆ นี่ มีความปรารถนาดีจริง ๆ ชนะไปกว่าครึ่งแล้ว ดู Timing นิด ๆ หน่อย ๆ เรื่องราวที่จะเรียงร้อยออกไปคิดไตร่ตรองให้รอบคอบรัดกุม แล้วทุกอย่างจะดำเนินไปได้ด้วยดี ข่าวร้ายจะร้ายเท่าไร ก็พอรับได้ ให้ข่าวร้ายไปแล้วก็อย่าลืมให้ ธัมมิกถา ก็คือให้ธรรมะเขาไปด้วย แนะทางออกแนะให้อยู่ในบุญต่าง ๆ ไปด้วยนี่

      คนเรากำลังเจอเรื่องร้าย ๆ กำลังงง ๆ ว่าจะเอายังไงดี ใช่ไหม พอเรานิ่ง ๆ แล้วหวังดีกับเขาจริง ๆ ให้คำแนะนำที่ถูกต้องก็จะจูงเขาที่กำลังงง ๆ เหมือนคนหลงทางนี่ เดินไปบนหนทางที่ถูกต้อง ให้เขาสามารถแก้ปัญหาได้ด้วย ถ้าอย่างนี้ทุกอย่างคลี่คลาย เพราะงั้นโดยสรุปนะ 1.ดู Timing ให้ดี ปูเรื่องอย่าให้พรวดพราดจนกระทั่งเขาตกใจ ปรับตัวปรับใจไม่ทัน ประการที่ 2 คือ ให้อยู่ในบุญตั้งใจนั่งสมาธิให้ใจนิ่ง แล้วก็มีความปรารถนาดีกับเขาอย่างเต็มที่ อันที่ 3 คือเมื่อค่อย ๆ เรียงลำดับเรื่องราวกล่าวไปแล้วนี่ ขอให้แนะทางออกให้เขาด้วย ให้เขาเองอยู่ในบุญนะ มันอย่างนี้แหละ ช่วยกันสู้ ช่วยกันแก้ ส่งบุญช่วยเดี๋ยวก็จะค่อย ๆ คลี่คลาย เออ คนอื่นที่เรื่องร้าย ๆ เจอหนักกว่าเราก็ยังมี ยกตัวอย่างคนนั้นคนนี้ แล้วสุดท้ายเขาแก้ได้ยังไง ๆ นี่ ให้กำลังใจกันไป ให้เขาอุ่นใจได้ว่าแม้ในยามร้ายที่สุดก็ยังมีเราเคียงข้างเป็นกัลยาณมิตร  คอยให้กำลังใจ ถ้าอย่างนี้ล่ะก้อ เราก็สามารถจะบอกข่าวที่ร้ายแสนร้ายเพียงใดโดยไม่ทำร้ายคนฟังได้ เจริญพร

     ข้อสรุป : สิ่งที่แน่นอนเหลือหลายก็คือ ความไม่แน่นอน เพราะฉะนั้นทุกเวลานาทีที่เกิดขึ้นมีสิ่งที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้นได้เสมอ ขอเพียงให้เราเตรียมใจให้พร้อม เพราะพรุ่งนี้ เราไม่รู้จะไปเจออะไรเตรียมให้พร้อมที่จะรับมือกับข่าวดี ข่าวร้ายทุก ๆ ข่าว เราก็จะมีจิตใจที่ตั้งมั่น ก็ผ่านพ้นขั้นตอนข่าวร้ายไปชั่ววินาที ชั่วนาทีเท่านั้นเอง

รับชมวิดีโอ
 
 


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
ข้อคิดรอบตัว เรื่อง วัดพระธรรมกายตอนที่ 1ข้อคิดรอบตัว เรื่อง วัดพระธรรมกายตอนที่ 1

ทุกวันอาทิตย์ เสา E6 รวมพลัง dmc.tvทุกวันอาทิตย์ เสา E6 รวมพลัง dmc.tv

ทบทวนบุญวันมาฆบูชา วันที่ 28 ก.พ. 2553ทบทวนบุญวันมาฆบูชา วันที่ 28 ก.พ. 2553



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

Review รายการ