ประเพณีการบวชพระ ขั้นตอนการบวชพระทำอย่างไร


[ 14 ก.พ. 2554 ] - [ 18442 ] LINE it!

การเตรียมตัวเข้าอบรมโครงการอุปสมบทหมู่กิจกรรมระหว่างอบรมในโครงการอุปสมบทหมู่รวมผลการปฎิบัติธรรมพระธรรมทายาทในโครงการอุปสมบทหมู่
บวชเปลี่ยนชีวิต พลิกชีวิตด้วยบุญบวชเริ่มก้าวย่างออกเดินธุดงค์ ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาธุดงค์ธรรมชัยเส้นทางมหาปูชนียาจารย์ ปีที่ 2

">
">

">
">
ประเพณีการบวชพระ ขั้นตอนการบวชพระ
 
ประเพณีบวชพระชีวิตลูกผู้ชาย
การบวชพระคือช่วงเวลาอันทรงคุณค่าของชีวิตลูกผู้ชาย


ประเพณีการบวชพระ


      ประเพณีการบวชพระ เป็นการปฏิบัติที่สืบเนื่องมาจากความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชน ตามประเพณีปฏิบัติในการบวชนั้น ชายที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์จะต้องเข้าพิธีอุปสมบท (บวชพระ) การอุปสมบทเป็นประเพณีที่มีความสำคัญมากอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะชายที่มีอายุครบ 20 ปี เป็นวัยที่เข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ซึ่งจะต้องมีความรับผิดชอบในชีวิตของตนมากยิ่งขึ้น
 
     ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจความจริงของชีวิต เพราะพระพุทธศาสนาเป็นหลักคำสอนแห่งความจริงในโลก ที่สอนให้มนุษย์รู้สาเหตุของการเกิด แก่ เจ็บ และตาย  ช่วยให้มนุษย์มีสติสัมปชัญญะที่จะนำไปสู่ในทางที่ดีที่ชอบ การอุปสมบทจึงมีความสำคัญโดยเฉพาะต่อผู้ที่จะเป็นหลักของครอบครัว อีกทั้งผู้บวชยังได้ศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นพระบรมครูของเรา ผู้บวชสามารถนำข้อปฏิบัติที่ได้จากการบวชพระมาใช้ในการดำรงชีวิตสืบต่อไปได้อย่างมีความสุข
 

">
">
">
">โครงการบวช ประจำปี พ.ศ. 2558

หรือ ดูเพิ่มเติมที่ หน้าโครงการบวช

โครงการอบรม ประจำปี พ.ศ. 2557
 
 

เพศ

อายุ

วันที่อบรม

การศึกษา

สถานที่

ชื่อโครงการ

เบอร์โทรศัพท์

ชาย

14-18

26 มีค - 19 เมย

มัธยมศึกษาตอนปลาย

ศูนย์อบรมทั่วประเทศ

บรรพชาสามเณร AEC

02-831-1234

ชาย

14-18

23 มีค - 11 พค

มัธยมศึกษาตอนปลาย

วัดพระธรรมกาย

สามเณรมัชฌิมธรรมทายาท

083-443-3000,

085-120-0777

ชาย

11-13

6 เมย - 3 พค

ประถมศึกษา 5-6

วัดพระธรรมกาย

หน่อแก้วเปรียญธรรม

087-522-7668,

083-299-2881

ชาย

11-15

22 เมย

ประถมศึกษา 6

วัดพระธรรมกาย

สามเณรใหม่ วัดพระธรรมกาย

085-191-0555,

080-592-4781

ชาย

9-12

23 มีค - 20 เมย

.3 - .6

วัดพระธรรมกาย

สามเณรยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์ #1

084-677-8990

ชาย

13-15

23 มีค - 20 เมย

.1 - .3

วัดพระธรรมกาย

สามเณรยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์ #2

089-663-3776

ชาย

18-25

18 มีค - 18 พค

อุดมศึกษา

วัดพระธรรมกาย

ธรรมทายาท อุดมศึกษา โครงการ 1

083-443-3000

ชาย

18-25

23 มิย - 10 สค

อุดมศึกษา

วัดพระธรรมกาย

ธรรมทายาท อุดมศึกษา โครงการ 2

083-443-3000

ชาย

20-60

26 มีค - 14 พค

สูงกว่ามัธยมศึกษา 3

ศูนย์อบรมทั่วประเทศ

อุปสมบทหมู่ 100,000 รูป

02-831-1234

ชาย

20-50

18 มีค - 18 พค

สูงกว่ามัธยมศึกษา 6

วัดพระธรรมกาย

70 ปี พระเทพญาณมหามุนี

02-831-1848-9,

089-754-8925

หญิง

15-18

7 เมย - 5 พค

มัธยมศึกษาตอนปลาย

วัดพระธรรมกาย

มัชฌิมธรรมทายาทหญิง

083-540-5780

หญิง

18-25

30 มีค - 18 พค

อุดมศึกษา

วัดพระธรรมกาย

ธรรมทายาทหญิง

087-506-3939,

082-790-7223

">

">

">

 

ขั้นตอนการบวชพระทำอย่างไร

">

">
 
">

">

">
     ก่อนที่เราจะไปศึกษาในเรื่องของขั้นตอนการบวชพระ จะขอกล่าวถึงพิธีการบวชพระที่ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งมีอยู่  2  แบบด้วยกัน  คือ แบบอุกาสะ และแบบเอสาหัง  โดยคำว่า "อุกาสะ"  แปลว่า ขอโอกาส  ส่วนคำว่า "เอสาหัง" แปลว่า ข้าพเจ้านั้น ในประเทศไทยการบวชพระแบบอุ กาสะนั้น จะใช้กันในคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ซึ่งเป็นแบบเดิมที่ใช้กันมาแต่โบราณกาล ส่วนการบวชพระแบบเอสาหัง จะใช้ในคณะสงฆ์ธรรมยุตินิกาย โดยการประยุกต์มาจากแบบอุกาสะเพื่อย่อขั้นตอนให้สั้นขึ้น  มีใช้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4  พระบาลสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยยึดรูปแบบมาจากพระสงฆ์ประเทศพม่า
">
">
 
">
">

">

">

">
      ขั้นตอนการบวชพระ ในที่นี้จึงจะขอกล่าวถึงเฉพาะพิธีการบวชพระแบบอุกาสะเท่านั้น เนื่องจากเป็นการบวชแบบเดิมที่มีมาแต่โบราณ แม้ว่าการบวชในประเทศไทยจะมี 2 แบบ แต่ก็ยึดหลักการบวชตามพุทธบัญญัติทุกประการ ต่างกันเพียงข้อปลีกย่อยบางข้อเท่านั้น ขั้นตอนการบวชพระแบบอุกาสะ มีดังนี้
 
">
">
">
พิธีโกนผมนาคในงานบวชพระ
พิธีโกนผมนาค ก่อนทำการบวชพระ
">

">

">
 
">

">

">
       1. โกนผมนาค เริ่มโดยพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่  หรือผู้ที่มาร่วมบุญงานบวชพระในครั้งนี้ ทำการขลิบผมให้นาคเป็นปฐมฤกษ์ จากนั้นพระสงฆ์จะทำการโกนผมให้นาค ตามประเพณีการบวชพระที่ปฏิบัติโดยทั่วกันนั้น ผมนาคที่โกนแล้วจะห่อด้วยใบบัวแล้วนำไปลอยที่แม่น้ำหรือวางไว้ใต้ร่มโพธิ์   โดยเชื่อว่าจะทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข   ในการปลงผมนั้นจะปลงที่บ้านหรือที่วัดก็ได้แล้วแต่ความสะดวก   แต่โดยทั่วไปนิยมปลงผมที่วัดมากกว่า  เนื่องจากญาติหรือแขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมงานจะได้มีโอกาสร่วมพิธีตัดผมนาค อีกทั้งยังเป็นการประหยัดเวลาของเจ้าภาพและแขกที่มาร่วมงานอีกด้วย เพราะเมื่อปลงผมเสร็จจะได้ทำพิธีเวียนประทักษิณรอบสีมา และเข้าอุโบสถประกอบพิธีอุปสมบทต่อไป 
 
การแต่งตัวของผู้ที่จะเข้าพิธีบวชพระ
ประเพณีการบวชพระ นาคแต่งชุดขาวสง่างาม
 
      2. แต่งตัวนาค  การแต่งตัวนาคนั้นควรแต่งด้วยชุดขาวทั้งหมด ซึ่งจะบ่งบอกถึงความสะอาดบริสุทธิ์ ทั้งกาย วาจา ใจ ของผู้ที่จะบวช การแต่งตัวนาค ไม่ควรมีเครื่องประดับประดามากจนเกินไป   โดยขอแนะนำเครื่องแต่งตัวนาคตามประเพณีนิยมดังนี้ 1. เสื้อเชิ้ตแขนยาวสีขาว 2. สบงขาว 3. อังสะขาว 4. เข็มขัด หรือสายรัดสำหรับรัดสบง ในส่วนเข็มขัดนี้ ใช้สำหรับรัดสบงขาว  ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมใช้เข็มขัดนาค  ในกรณีที่ไม่มีเข็มขัดนาคจะใช้เข็มขัดอย่างอื่นหรือสายรัดแทนก็ได้  ไม่ใช่ข้อกำหนดตายตัว แต่การใช้เข็มขัดนาคเป็นการปฏิบัติตามประเพณีการบวชพระที่นิยม เพื่อให้สอดคล้องกับคำว่า  "นาค"  ซึ่งเป็นชื่อเรียกผู้ที่จะบวชในพระพุทธศาสนาเท่านั้น  5. เสื้อคลุมนาค 6. สร้อยคอ หากมีสร้อยคอจะสวมให้นาคก็ได้ หรือไม่สวมก็ได้ แต่ไม่ควรคล้องพวงมาลัยให้นาค เพราะจากนาคจะกลายเป็นนักร้องแทน
 
      3. การเดินประทักษิณเวียนขวารอบสีมา  การเวียนประทักษิณในทางพระพุทธศาสนา คือ การกระทำที่สุจริตถูกต้องชอบธรรมทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ การหมุนไปทางขวา คือการหมุนไปสู่ความดีทั้งทางกาย วาจา และใจ ตรงกันข้ามกับการหมุนไปด้านซ้ายเป็นการหมุนทวนความดี คือ การกระทำที่เป็นทุจริตทางกาย วา และใจ การทำประทักษิณเวียนขวารอบสีมาก่อนเข้าอุโบสถของผู้ที่จะบวชพระนี้ นอกจากจะเป็นการแสดงความเคารพตามธรรมเนียมโบราณแล้ว ยังเป็นอุบายที่คนโบราณสอนให้รู้ว่า สิ่งที่จะทำต่อไปนี้เป็นการกระทำที่สุจริตถูกต้องชอบธรรมทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ
 
ทำประทักษิณก่ิอนเริ่มพิธีบวชพระ
การเวียนประทักษิณรอบอุโบสถ
 
     นอกจากนั้นการทำประทักษิณก่อนเข้าสู่พิธีอุปสมบท  ยังเป็นช่วงเวลาให้นาคได้มีโอกาสทำสมาธิรวบรวมจิตใจไม่ให้ตื่นเต้นจนเกินเหตุ ญาติของนาคจึงไม่ควรส่งเสียงหรือโห่ร้อง ร้องรำทำเพลง ประโคมดนตรีอันจะเป็นการรบกวนสมาธิของนาค อีกทั้งไม่ควรให้นาคขี่คอ  ขึ้นคานหาม หรือแบกหามซึ่งจะดูไม่เรียบร้อย หากพลัดตกลงมาอาจเป็นอันตรายจนถึงชีวิตทำให้นาคไม่ได้บวช  จึงควรให้นาคเดินตามปกติ โดยให้นาคประณมมือ มีดอกไม้ที่เตรียมไว้อยู่ในมือเดินทำประทักษิณเวียนขวารอบอุโบสถ 3 รอบ จะมีผู้กั้นสัปทนให้นาคก็ได้ การทำประทักษิณให้เริ่มต้นจากสีมาตรงกลางด้านหน้าอุโบสถ (เริ่มจากสีมาที่จะวันทา) ส่วนญาติๆ ถือบริขารพร้อมทั้งเครื่องไทยทานที่จัดเตรียมไว้ ตามความนิยมโดยทั่วไปบิดาจะสะพายบาตรถือตาลปัตร ส่วนมารดาถือพานแว่นฟ้าสำหรับใส่ผ้าไตรครองเดินตามหลังนาค แถวถัดมาเป็นธูปเทียนแพ เครื่องไทยทานสำหรับพระอุปัชฌาย์และพระคู่สวด และเครื่องบริขารอย่างอื่นโดยลำดับ ในขณะเดินให้นาคสวดบทพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ดังนี้ "อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ ฯลฯ"
 
พิธีบวชพระในอุโบสถ
ประเพณีบวชพระ ช่วงพิธีกรรมในอุโบสถ
 
      เมื่อเดินครบ 3 รอบแล้ว นาคต้องวันทาสีมาหน้าอุโบสถก่อนเข้าไปในเขตสีมา นาควางดอกไม้เครื่องสักการะไว้บนพานที่เตรียมไว้ บางแห่งให้จุดธูปเทียนด้วย  แต่โดยมากนิยมให้ดอกไม้ธูปเทียนไว้บนพานหรืออุปกรณ์อย่างอื่นที่จัดเตรียมไว้ โดยมากไม่จุดธูปเทียน นาคกราบสีมา 3 หน แล้วยืนขึ้นกล่าวคำวันทาสีมา  จากนั้นให้นาคนั่งคุกเข่ากราบ 3 หน แล้วเข้าไปภายในอุโบสถ ในขณะเข้าประตูโบสถ์ไม่ควรยกนาคข้ามธรณีประตู หรือยกขึ้นเพื่อเอามือแตะคานประตู  ตามที่นิยมปฏิบัติกันโดยขาดความเข้าใจ เพราะอาจพลัดตกลงมาแขนขาหักได้   ให้นาคเดินเข้าอุโบสถตามปกติ  โดยบิดามารดาและญาติจะแตะที่ตัวนาคตามเข้าไปก็ได้
 
       4. การบรรพชา (บวชสามเณร)  เมื่อนาคได้เข้าไปในอุโบสถแล้ว  นาคจะวันทาพระประธานอีกครั้งด้วยวิธีอย่างเดียวกันกับวันทาสีมา จากนั้นกลับไปนั่ง ณ สถานที่ที่จัดเตรียมไว้สำหรับนาค บิดา มารดา (หรือญาติผู้ใหญ่)มอบผ้าไตรให้นาค นาคคุกเข่ากราบ 3 หน ยื่นแขนประณมมือรับผ้าไตร จากนั้นประณมมือประคองผ้าไตรเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ เมื่อถึงแนวพระสงฆ์ให้คุกเข่าลงแล้วคลานเข่าเข้าไปถวายผ้าไตรนั้นแก่ท่าน รับดอกไม้ ธูปเทียนแพเครื่องสักการะ (มีผู้ส่งให้ข้างหลัง) ถวายพระอุปัชฌาย์ กราบลง 3 หน พระอุปัชฌาย์มอบผ้าไตรคืนให้ ประณมมือประคองผ้าไตร กล่าวคำ ขอบรรพชา นาคโน้มตัวเข้าไปใกล้ๆ พระอุปัชฌาย์เพื่อคล้องผ้าอังสะให้ จากนั้นนั่งพับเพียบลงประณมมือ ตั้งใจฟังโอวาทของพระอุปัชฌาย์
">
">

">
">
">
">
 
      5. การอุปสมบท (การบวชพระ)  การอุปสมบทบวชเป็นพระภิกษุนี้  มีข้อที่ควรทำความเข้าใจ  คือ ถึงแม้จะบวชเป็นพระภิกษุ  แต่ก็ต้องเริ่มต้นด้วยการบวชเป็นสามเณรก่อนทุกครั้ง  ผู้ที่จะบวชเป็นพระภิกษุต้องขอนิสัยจากพระอุปัชฌาย์ การจะอุปสมบทบวชเป็นพระภิกษุ บริขารต้องครบทุกอย่างที่เรียกว่าบริขาร 8 จึงจะสามารถบวชได้   สามเณรรับบาตรจากบิดามารดาที่นำมาประเคนเดินด้วยเข่าเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ น้อมบาตรถวายท่าน กราบลง 3 หน  แล้วยืนขึ้นกล่าวคำขออุปสมบท 
 
ขั้นตอนบวชพระในอุโบสถ
พิธีอุปสมบท (การบวชพระ)

 

        6. การซักซ้อมอันตริยกธรรม  อันตริยกธรรม  แปลว่า  ธรรมที่เป็นอันตรายต่อการบวช  การซักซ้อมอันตริยกธรรม  หมายถึง การซักซ้อมสอบถามสิ่งที่เป็นข้อห้ามสำหรับผู้ที่จะบวชเป็นพระภิกษุ  เช่น  ไม่เป็นโรคน่ารังเกียจ  ไม่ทุพลภาพจนช่วยเหลือตนเองไม่ได้  ไม่มีหนี้สินติดตัว  มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์  เป็นต้น  การซักซ้อมอันตรายิกธรรมเป็นการทำความเข้าใจระหว่างพระคู่สวดกับผู้ที่ขอ บวชเป็นพระภิกษุว่า  หากมีข้อห้ามเหล่านี้แล้วบวชเป็นภิกษุไม่ได้   ซึ่งผู้ขอบวชจะต้องตอบคำถามเหล่านี้ตามความเป็นจริง ท่ามกลางสงฆ์ จากนั้น ฟังสวดญัตติจตุตถกรรมวาจาเพื่อยกสามเณรขึ้นเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ถือว่าเป็นช่วงที่สำคัญที่สุด  เสร็จแล้วกราบ 3 หน ประณมมือคลานเข่าถอยหลังออกไป พอพ้นพระสงฆ์แล้วลุกขึ้นไปยืนอยู่ที่เดิม ในกรณีที่พระอุปัชฌาย์ไม่บอกอนุศาสน์เอง  ท่านจะมอบให้พระคู่สวดเป็นผู้บอกอนุศาสน์  พระคู่สวดเดินตามไปยืนบนอาสนะสวดบอกอนุศาสน์   การสวดบอกอนุสาสน์ท่านจะบอกเป็นภาษาบาลีไว้ก่อนพระใหม่ฟังสวดอนุศาสน์ไปจนจบ   เมื่อกลับถึงที่พักแล้ว  พระอาจารย์หรือพระพี่เลี้ยงจะแนะนำรายละเอียดเกี่ยวกับอนุศาสน์อีกครั้ง
 

">
">

">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
       
อนุศาสน์ หมายถึง คำสอนหรือคำชี้แจงที่พระอุปัชฌาย์หรือพระกรรมวาจาจารย์บอกแก่พระภิกษุผู้บวชใหม่หลังจากบวชเสร็จ คล้ายเป็นบทปฐมนิเทศ ซึ่งมีข้อบังคับไว้ว่าจะต้องบอกอนุศาสน์แก่ภิกษุผู้บวชใหม่ จะไม่บอกไม่ได้เพราะเป็นเรื่องที่พระบวชใหม่ต้องรู้เป็นเบื้องต้นทั้งนี้ เพื่อมิให้ทำผิดพลาดด้วยไม่รู้มาก่อน
">
อนุศาสน์มีเนื้อความกล่าวถึง นิสสัย (สิ่งที่พระภิกษุทำได้) และ
อกรณียกิจ (สิ่งที่พระไม่ควรทำ)
">
">คือ
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">

">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">

">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">

">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
 
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
        1. เที่ยวบิณฑบาต ชีวิตพระภิกษุในพระพุทธศาสนาไม่มีอาชีพอื่น เช่น ไม่มีอาชีพทำนา ทำไร่ ค้าขาย เป็นต้น แต่ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการขออาหารจากชาวบ้าน ความหมายของคำว่า ภิกษุ นัยหนึ่งแปลว่าผู้เห็นภายในวัฏสงสาร  อีกนัยหนึ่งแปลว่า ผู้ขอโดยกิริยามิใช่โดยการออกปาก การบิณฑบาตจึงเป็นการเลี้ยงชีพที่บริสุทธิ์สำหรับภิกษุ  ตามวิถีทางแห่งพระพุทธศาสนา   
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">

">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">

">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
 
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
        2. นุ่งห่มผ้าบังสุกุล  ผ้าบังสุกุล  คือ ผ้าที่ภิกษุเก็บเศษผ้าท่อนเล็กท่อนน้อยซึ่งตกอยู่ตามพื้นดิน เปื้อนผุ่นไม่สะอาด ไม่สวยไม่งาม  โดยที่สุดแม้ผ้าที่เขาใช้ห่อศพ ตกอยู่ตามป่าช้า  ภิกษุเก็บมาเย็บปะต่อกันเป็นผืน ซัก เย็บ ย้อมใช้เป็นจีวรสำหรับนุ่งห่ม ปัจจุบันภิกษุใช้ผ้าสำเร็จรูปที่ชาวบ้านถวายได้
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
 
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
        3. อยู่โคนต้นไม้  ชีวิตพระภิกษุในพระพุทธ ศาสนาต้องสละบ้านเรือน ออกบวชเป็นผู้ไม่มีบ้านเรือน  จึงต้องอาศัยอยู่ตามร่มไม้ ป่าเขา เงื้อมผา  เถื่อนถ้ำ  ภายหลังมีผู้เลื่อมใสสร้างวัดถวาย  ปัจจุบันจึงมีวัดวาอารามเป็นที่อยู่อาศัยสำหรับพระภิกษุ
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">

">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">

">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
       4. ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า   ธรรมดาสังขารร่างกายเต็มไป ด้วยโรคภัยไข้เจ็บ การจะไม่มีโรคนั้นเป็นไม่มี พระพุทธองค์จึงอนุญาตให้พระภิกษุฉันสมอและมะขามป้อมดองด้วยน้ำปัสสาวะเป็นยา ได้ตลอดเวลา   เพื่อจะได้เป็นผู้มีโรคน้อย   และมีกำลังในการบำเพ็ญกิจสงฆ์
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">

">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">

">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
 
ส่วนกิจที่พระภิกษุทำไม่ได้  เรียกว่า อกรณียกิจ มี 4 ข้อ ดังนี้
 
        1. เสพเมถุน พระภิกษุมีเพศสัมพันธ์ไม่ว่ากับคนหรือสัตว์ ทั้งที่มีชีวิตหรือตายแล้ว ขาดจากความเป็นพระภิกษุทันที    
 
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
        2. ลักขโมย ภิกษุลักทรัพย์มีราคาตั้งแต่ 5 มาสกขึ้นไป ต้องอาบัติปาราชิก ขาดจากความเป็นพระภิกษุทันที
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">

">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">

">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
 
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
        3. ฆ่ามนุษย์  ภิกษุแกล้งฆ่ามนุษย์หรือใช้ผู้อื่นให้ฆ่า   หรือทำอาวุธให้เขาด้วยเจตนาจะให้เขาฆ่าตัวตาย  หรือบังคับให้เขากินยาพิษ   หรือกล่าวพรรณนาคุณของความตายเพื่อให้เขาฆ่าตัวตาย   ทำคาถาอาคมฆ่าด้วยคุณไสย โดยที่สุดแม้การทำแท้งและแนะนำวิธีการฆ่าด้วยอุบายต่าง  ๆ  ขาดจากความเป็นพระภิกษุ
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">

">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">

">

">

">

">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">

">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">

">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
         4. พูดอวดคุณวิเศษที่ตนเองไม่มี การพูดอวดคุณวิเศษ หมายถึง คุณวิเศษที่เกิดจาการปฏิบัติธรรม เจริญสมาธิวิปัสสนาจนได้บรรลุคุณวิเศษทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ ฌาน  4  คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน  วิชชา 3  คือ  ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ การระลึกชาติได้   จตูปปาตญาณ  ญาณกำหนดการเกิดการตายของสรรพสัตว์  และอาสวักขยญาณ  ญาณที่รู้การทำลายกิเลส เป็นต้น  ที่ตนเองไม่มี ไม่ได้บรรลุ  เพื่อต้องการให้คนอื่นนับถือศรัทธา  โดยหวังลาภสักการะชื่อเสียงเกียรติยศ หรืออื่นใดก็ตาม  ขาดจากความเป็นภิกษุ
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">

">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">

">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">

 
     การบอกอนุศาสน์  พระอุปัชฌาย์จะเป็นผู้บอกพระภิกษุใหม่ทันทีภายหลังจากบวชเสร็จสิ้นลงแล้ว เพื่อสอนให้รู้ถึงการดำเนินชีวิตอย่างพระภิกษุ  และการป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการเป็นพุทธบุตร อนุศาสน์ทั้ง 8 ข้อนี้ท่านจะสวดเป็นภาษาบาลี สวดจบแต่ละข้อให้พระภิกษุใหม่รับ "อามะ ภันเต"
 
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
กรวดน้ำหลังจากพิธีบวชพระเสร็จ
การกรวดน้ำ หลังเสร็จพิธีการบวชพระ
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">

">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">

">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">

 
7. การกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญส่วนกุศล
 
     1. ควรเตรียมน้ำสะอาดใส่ภาชนะที่ง่ายแก่การหลั่งริน
     2. มือขวาใช้จับ มือซ้ายประคองหลั่งน้ำ
     3. เมื่อพระสงฆ์เริ่มอนุโมทนาบท “ยะถา วาริวหา ปูรา” ให้เริ่มกรวดน้ำ
     4. น้ำที่กรวดควรให้ไหลติดต่อกันไม่ขาดสายไม่หลั่งน้ำลงบนฝ่ามือหรือใช้นิ้วรองน้ำ      
     5. ตั้งใจอุทิศส่วนบุญในใจไปจนจบหรือกล่าวคำอุทิศส่วนบุญว่า “อิทัง เม      ญาตินัง  โหตุ”  ขอบุญกุศลนี้ จงสำเร็จประโยชน์แก่ญาติทั้งหลายของ     ข้าพเจ้าด้วยเถิด
     6. เมื่อพระสวดถึงตอนที่ว่า “มะณิ โชติระโส ยะถา” ควรหลั่งน้ำที่มีอยู่ให้หมดแล้วประนมมือรับพรจากพระ 
 
     เมื่อเสร็จพิธีตามที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ เป็นอันจบพิธีบรรพชาและอุปสมบท พระพุทธศาสนาก็จักได้ศาสนทายาทเพิ่ม เพื่อมาช่วยกันทำนุบำรุงให้พุทธศาสนาเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป อีกทั้งการมีโอกาสได้บวชพระดำรงเพศสมณะเป็นผู้ตั้งใจฝึกฝนอบรมตนเอง แม้อาจเพียงช่วงเวลาสั้นๆ ก็สามารถค้นหาแหล่งความสุขที่แท้จริง ศึกษาเรื่องราวความจริงของชีวิต เป้าหมายของการเกิดมาเป็นมนุษย์ ว่าเกิดมาทำไม ตายแล้วไปไหน บาปบุญคุณโทษ นรกสวรรค์ ภพนี้ภพหน้าและสังสารวัฏ ซึ่งเป็นความรู้ที่มีอยู่แต่ในพระพุทธศาสนาที่ทนทานต่อการพิสูจน์ แม้เวลาจะผ่านไปยาวนานแค่ไหน
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">

">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">
">

 


การบวชพระคืออะไร และอานิสงส์ที่ผู้บวชจะได้จากการบวชพระนี้ มีดังบทความต่อไปนี้

 



Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
ข้อคิดรอบตัว เรื่อง วัดพระธรรมกายตอนที่ 1ข้อคิดรอบตัว เรื่อง วัดพระธรรมกายตอนที่ 1

ทุกวันอาทิตย์ เสา E6 รวมพลัง dmc.tvทุกวันอาทิตย์ เสา E6 รวมพลัง dmc.tv

ทบทวนบุญวันมาฆบูชา วันที่ 28 ก.พ. 2553ทบทวนบุญวันมาฆบูชา วันที่ 28 ก.พ. 2553



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

Review รายการ